Skip to main content
ทัศนะแบบนี้ปรากฏตัวบ่อยครั้งในข้อถกเถียงทางการเมืองไทย ในระบบการศึกษาไทย ตำราเรียนไทย ประวัติศาสตรืไทยแบบทางการก็ยังสอนแบบนี้อยู่ คนไทยไม่ว่าจะใส่เสื้อสีใด ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อแบบนี้อยู่ ทัศนะแบบนี้คงกะลาความเป็นไทยเอาไว้อย่างหนาเตอะเกรอะกรัง

 
แต่แวดวงการศึกษาเรื่องไทยในโลกสากล เสนอทั้งข้อมูลและกรอบการวิเคราะห์โต้แย้งทัศนะแบบนี้ไว้อย่างพิศารมากมายเนิ่นนานมาหลายสิบปีแล้ว อย่าเพิ่งรังเกียจ "แวดวงวิชาการไทยศึกษาสากล" เพียงเพราะแวดวงนี้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก เพราะแวดวงนี้ไม่ได้มีแต่ฝรั่ง มีคนเอเชียอื่นๆ รวมทั้งคนไทยอยู่ด้วยมากมาย ผลงานวิชาการก็มีทั้งภาษาไทย อังกฤษ ญี่ปุ่น เกาหลี จีน ฯลฯ สมัยนี้ใครทำงานไทยศึกษานานาชาติแล้วไม่อ่านงานนักวิชาการไทย ยิ่งตกยุคไปกันใหญ่
 
ไม่ว่าจะมองผ่านเรื่องเศรษฐกิจ การเมืองระหว่างประเทศ ระบบศาลยุติธรรม หรือวัฒนธรรมด้านต่างๆ ทัศนะที่ว่า "ไทยไม่เคยตกเ็นเมืองขึ้นฝรั่ง" นั้น เป็นความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนไปหมด
 
นับตั้งแต่อำนาจฝรั่งตะวันตกเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปลียนทิศทางไป จากการค้าขายแลกเปลี่ยน ไปเป็นการแข่งขันทางการค้าและการยึดพื้นที่การผลิตวัตถุดิบในศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา พื้นที่ต่างๆ ทั่วทั้งภูมิภาคนี้ล้วนได้รับผลกระทบทั้งสิ้น 
 
ในกรณีของสยาม ไหนจะทำให้ชนชั้นนำเสียอำนาจการผูกขาดการค้าขาย ไหนจะการเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตทำให้คนในอานัติต่างชาติหากทำผิดก็ไม่ต้องขึ้นศาลสยาม ไหนจะการเปิดพื้นที่สาธารณะของการถกเถียงผ่านหนังสือพิมพ์และการพิมพ์ ที่ส่วนหนึ่งเฟื่องฟูเพราะสิทธิสภาพนอกอาณาเขตที่ว่าทำให้คนนอกอานัติสยามกล้าแสดงความเห็นด้วยภาษาไทยด้วยซ้ำ 
 
ไหนจะการปฏรูปเปลี่ยนแปลงธรรมเนียมต่างๆ ทางวัฒนธรรมที่กระทบตั้งแต่ในวังไปจนถึงชาวบ้านร้านตลาด เช่น การยกเลิกการหมอบกราบ ไหนจะการนำเข้าวรรณคดีและความคิดจากต่างประเทศของชนชั้นนำเอง และการบริโภคสินค้าจากต่างประเทศอย่างล้นเหลือของชนชั้นนำเอง เหล่านี้ทำให้ต้องประเมินกันให้ดีว่า ตกลง "ไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง" จริงหรือ
 
เอาเข้าจริงๆ แทนที่จะเป็นบุญคุณความสามารถพิเศษของใครที่ไหน ที่จริงคนไทยควรขอบคุณฝรั่งเศสกับอังกฤษที่ตกลงกันได้ว่าจะเก็บสยามไว้เป็นรัฐกันชนระหว่างอินโดจีนกับบริติชอินเดีย หลักฐานข้อนี้นักวิชาการสำนัก "ไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง" ไม่เคยเห็นกันหรือไง หรือไม่อยากเห็นก็เลยไม่ค้นคว้า
 
ลึกลงไปกว่านั้น การเลิกทาส การเลิกระบบไพร่ และการสร้างระบบการปกครองส่วนภูมิภาค การสร้างเอกภาพของรัฐสมัยใหม่ผ่านจินตนาการตัวตนบนแผนที่ การสร้างสำนึกความเป็นคนไทยร่วมกัน การลดทอนทำลายความเป็นท้องถิ่น การศึกษาสมัยใหม่ ฯลฯ เหล่านี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำให้ท้องถิ่นและคนกลุ่มต่างๆ กลายเป็นอาณานิคมของกรุงเทพฯ ไม่ต่างจากที่ฝรั่งทำกับประเทศใต้อาณานิคม
 
ล่าสุด ทัศนะแบบ "ไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง" ปรากฏตัวอีกครั้งผ่านข้อเขียนสั้นๆ ของนักหนังสือพิมพ์อาวุโส ที่หลายคนเคยยกย่องว่าเป็นครู แต่ตอนนี้แม้จะเอ่ยชื่อยังไม่อยากเอ่ยถึงให้แปดเปื้อนหน้ากระดาษ (http://www.ryt9.com/s/tpd/1969581)
 
แถมบทความนี้ยังอ้างงานนักมานุษยวิทยาชื่อดังที่เคยเขียนรายงานซึ่งไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ให้สหรัฐอเมริกามาสนับสนุน (ค.ศ. 1943 เผยแพร่โดยคอร์แนลปี 1952 และ 1963) ตลกไหมล่ะ วันนี้สหรัฐฯ (ค.ศ. 2014) ต่อต้านรัฐประหารในไทย แต่สมัยสงครามเย็น สหรัฐฯ สนับสนุนร่วมมือกระทั่งสร้างและอุ้มชูรัฐบาลเผด็จการในไทย เอกสารสมัยที่สหรัฐฯ สนับสนุนประชาธิปไตยกลับไม่อ้าง แต่นักหนังสือพิมพ์สำนัก "ไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง" กลับไปอ้างเอกสารสหรัฐฯ สมัยที่สหรัฐฯ สนับสนุนเผด็จการเมื่อ 71 ปีที่แล้วเพื่อเข้าใจสังคมไทยปัจจุบัน (http://www.nla.gov.au/apps/doview/nla.gen-vn5040081-p.pdf)
 
ผมไม่อยากเสียเวลามากนัก แต่ขอกล่าวถึงงานเขียนของรูธ เบเนดิกต์ชิ้นนี้สั้นๆ ว่า ปัจจุบันที่ใครจะอ่านบทความนี้เพื่อเข้าใจสังคมไทยจริงๆ นั้น น้อยมากแล้ว นักเรียนมานุษยวิทยาเขาอ่านเพื่อเข้าใจวิธีคิดของนักทฤษฎีสมัยนั้นเท่านั้น ทำไมล่ะ ก็เพราะว่า ที่จะบอกว่าคนไทยเป็นแบบใดแบบหนึ่งเหมือนๆ กันไปหมดน่ะ ความคิดแบบนั้นมันล้าหลังงตกขอบไปตั้งแต่ทศวรรษ 1970 แล้ว ถ้าความคิดนี้ยังใช้ได้ ก็จะไม่มีทางเข้าใจนักศึกษาไทยที่ลุกขึ้นมาต่อต้านเผด็จการทหารในทศวรรษ 1970 ได้หรอก ไม่เข้าใจคนเสื้อแดงที่ต่อสู้กับความไม่ยุติธรรมได้หรอก ไม่เข้าใจการต่อต้านการรัฐประหารครั้งล่าสุดได้หรอก
 
นี่ยังไม่นับว่า คนเขียนเอกสารยาวแค่ 50 กว่าหน้านี้แม้จะโด่งดัง แต่ก็ไม่เคยมาทำวิจัยในประเทศไทย แถมเบเนดิกต์ยังหูหนวกส่วนหนึ่ง ข้อนี้รู้กันทั่วว่าเธอทำวิจัยเอกสารเป็นหลัก จึงไม่ได้จะแม้แต่สัมภาษณ์คนไทย นักการทูตไทย ข้อมูลที่ได้จึงเป็นเอกสารที่ผ่านการตีความมาแล้วอีกทีทั้งสิ้น แถมเธอยังเลือกเฉพาะเอกสารที่ช่วยให้สรุปไปได้ทางเดียวทั้งสิ้น ภาพสังคมไทยจึงเป็นก้อนเดียวเหมือนกันไปหมด สมัยนี้การวิจัยแบบนี้ไม่ได้รับการยอมรับกันในแวดวงมานุษยวิทยาแล้ว (นี่ไม่ได้หมายความว่างานของรูธ เบเนดิกต์ชิ้นอื่นๆ อีกมากมายจะไม่ควรศึกษาอีกต่อไป ได้โปรดอย่าสรุปง่ายๆ อย่างนั้น)
 
แนวคิด "ไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง" เป็นคำพูดหลอกตัวเองจริงๆ คำพูดนี้ลดทอนความสลับซับซ้อนของความสัมพันธ์ระหว่างสยาม/ไทยกับโลกสากล ยิ่งกว่านั้น คำพูดนี้ยังเป็นการหลอกประชาชนว่า ที่สยาม/ไทยคงความเป็นเอกราชอยู่ได้นี่ก็เพราะบุญคุณของชนชั้นนำที่สามารถปกป้องประเทศและประชาชนจากฝรั่งได้ ทั้งที่ความจริงมีเงื่อนไขการเมืองระหว่างประเทศมากมายที่รองรับสถานะเฉพาะข้อนี้ของสยาม/ไทย
 
เหนืออื่นใด การผลิตซ้ำคำพูด "ไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง" ยังเป็นการหลอกประชาชนมาทุกยุคทุกสมัย เพื่อให้ชนชั้นนำสามารถคงอำนาจเหลื่อมล้ำที่ทำให้ตัวเองเหนือกว่าประชาชนเอาไว้

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงผมก็นึกไม่ถึงว่าจะมีคนสนใจข่าวนี้กันมากนัก เรื่องอาจจะเป็นเพราะมีการใช้คำในการรายงานข่าวเบื้องต้นอย่างคลาดเคลื่อนไป ก็เลยทำให้เป็นที่น่าตกใจ แต่อีกนัยหนึ่งก็ชี้ให้เห็นปัญหาการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนจนกระทั่งเมื่อมีการแสดงการต่อต้านด้วยการปฏิเสธที่จะอยู่ใต้อำนาจกดทับนั้น คนก็จึงตอบรับกันอย่างกระหน่ำ อย่างไรก็ดี ผมก็อยากชี้แจงให้กระจ่างเพิ่มเติมว่า ทำไมผมจึงเลือกที่จะแสดงสถานภาพในการเดินทางมาต่างประเทศของผมในครั้งนี้เพิ่มเติมผ่านข้อเขียนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพิ่งผ่านมาเพียง 5 เดือนอาจจะยังเร็วเกินไปที่จะถามว่า หลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 แล้วขบวนการประชาชนจะเป็นอย่างไรต่อไป แต่หากมองย้อนกลับไป แล้วมองไปข้างหน้าอีกสักหน่อย ก็น่าจะลองคิดถกเถียงกันบ้างว่า ขบวนการประชาชนน่าจะไปทางไหนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
TED รายการบรรยายสาธารณะที่มีชื่อเสียงและผมก็ติดตามเรียนรู้มาสม่ำเสมอ ได้เผยแพร่คลิปบรรยายของคีท เชน นักเศรษฐศาสตร์ที่เสนอข้อถกเถียงว่า ภาษามีความเชื่อมโยงกับการออมตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว แต่ผมเพิ่งได้ยินเกี่ยวกับการศึกษานี้มาตั้งแต่ต้นภาคการศึกษานี้ในชั้นเรียนวิชามานุษยวิทยาภาษา ที่นักศึกษาคนหนึ่งเอ่ยถึงการศึกษานี้ และเพิ่งได้ดูด้วยตัวเองเมื่อ 3-4 วันก่อนนี้เอง เห็นว่าน่าสนใจดีก็เลยนำไปให้นักศึกษาดูและถกเถียงกันในชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การอัตวินิบาตกรรมของคุณนวมทอง ไพรวัลย์ทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง นัยหนึ่งถือว่าเป็นการประท้วงต่อการรัฐประหาร อีกนัยหนึ่งถือเป็นการยืนยันความจริงจังและบริสุทธิ์ใจต่ออุดมการณ์ อีกนัยหนึ่งอาจปลุกเร้าสำนึกของผู้ร่วมอุดมการณ์ หรืออีกนัยหนึ่งก็เกรงว่าจะเป็นความสูญเสียที่สูญเปล่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยแตกต่างจากการสอนหนังสือในระดับโรงเรียนก็คงจะตรงที่ว่า ผู้สอนในระดับมหาวิทยาลัยไม่ได้เรียนการสอนมาก่อน อาจจะมีการอบรมเรื่องการเรียนการสอนบ้าง มีการประเมินผลให้ผู้สอนพิจารณาปรับปรุงตนเองบ้าง มีการประเมินตนเองบ้าง แต่ถึงที่สุดแล้ว ผู้สอนมีส่วนสร้างระบบการเรียนการสอนด้วยตนเอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"อาร์บอรีทั่ม" (Arboretum) เป็นสวนพฤกษศาสตร์ขนาดใหญ่ร่วม 3 พันไร่ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน สวนนี้ไม่ได้ตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งมหาวิทยาลัย แต่ก็อยู่ห่างออกไปไม่ไกลนัก หากขยันเดิน สักชั่วโมงหนึ่งก็ถึง ถีบจักรยานไปก็สัก 20 นาที อาจเร็วกว่าขับรถที่ต้องเจอกับป้ายหยุด ทางแยก ไฟสัญญาณ กว่าจะถึงก็สัก 30 นาที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการมิได้มีสถานภาพพิเศษแตกต่างไปจากคนอื่นๆ ในสังคม เพียงแต่อาชีพนักวิชาการเป็นอาชีพที่ต้องพัฒนาความคิดความอ่านตลอดเวลา นักวิชาการจึงไม่ควรมีขอบเขตของความคิดความอ่าน พร้อมๆ กับที่ไม่ควรปิดกั้นขอบเขตของความคิดคนอื่น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กว่า 3 เดือนที่ผ่านมาผมไปชมการแสดงดนตรีไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ นึกเสียดายที่เมื่อ 10 กว่าปีก่อนที่มาเรียนไม่ค่อยมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้เลย เมื่อวานนี้ (ตามเวลาที่อเมริกา) ผมก็เพิ่งออกจากห้องแสดงดนตรีมา จนทำให้ผมคิดขึ้นมาได้ว่า นี่ผมอยู่ในโลกไหนกัน แล้วทำไมที่ที่ผมอยู่เป็นปกติเขาถึงไม่ทำสถาบันการศึกษาให้เป็นสถานที่บ่มเพาะความเจริญของจิตใจได้อย่างนี้บ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดอร์ แรธสเคลเลอร์เป็นบาร์เบียร์ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ตั้งอยู่ในตึกกิจกรรมนักศึกษา (ที่นี่เรียกว่า Memorial Union) ตึกกิจฯ นี้ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1928 โน่นเลย บาร์เบียร์แห่งนี้ก็น่าจะอายุไม่น้อยไปกว่าตึกที่มันอาศัยอยู่เท่าใดนัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมเข้าร่วมกิจกรรมสังคมวิชาการซ้ำซ้อนกันหลายงาน ตั้งแต่บรรยายเรื่องการทำวิจัยในเวียดนามให้นักศึกษาบัณฑิตศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฟัง ต่อด้วยปาร์ตี้ประจำปีของศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของมหา'ลัยวิสคอนซิน ซึ่งเป็นงานแบบ potluck party และก็ฟองดูปาร์ตี้เล็กๆ ที่บ้านอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งก็ไม่ใช่อะไรมากไปกว่าขนมปังจุ่มชีสต้มเดือด ทั้งหมดนั้นได้อะไรสนุกๆ มามากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผ่านมาได้ 3 สัปดาห์ วิชาที่ผมสอนที่วิสคอนซินเริ่มสนุกขึ้นเรื่อยๆ ในห้องมีนักเรียน 10 คน ขนาดพอๆ กับที่เคยสอนที่ธรรมศาสตร์ แต่ที่ต่างคือในห้องเดียวกันนี้มีทั้งนักเรียนปริญญาตรี โท และเอกเรียนร่วมกัน เพียงแต่ข้อกำหนดของงานและความคาดหวังจากนักเรียนระดับ ป.ตรีกับ ป.โท-เอก ย่อมแตกต่างกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ท่านถามอย่างนี้กับสื่อมวลชน ต่อหน้าสาธารณชน ใครเขาจะกล้าตอบ ก็ในเมื่อท่านมีปืนอยู่ในมือ ใครเอาปืนจี้หัวท่านไว้แล้วท่านจะตอบความในใจที่ขัดความรู้สึกเขาได้ไหมล่ะ เรื่องแค่นี้น่าจะเข้าใจนะ