Skip to main content

ขอแสดงความคารวะจากใจจริงถึงความกล้าหาญจริงจังของพวกคุณ พวกคุณแสดงออกซึ่งโครงสร้างอารมณ์ของยุคสมัยอย่างจริงใจไม่เสแสร้ง อย่างที่แม่ของพวกคุณคนหนึ่งบอกกล่าวกับผมว่า "พวกเขาก็เป็นผลผลิตของสังคมในยุค 10 ปีที่ผ่านมานั่นแหละ" นั่นก็คือ พวกคุณได้สื่อถึงความห่วงใยต่ออนาคตของสังคมไทยที่พวกคุณนั่นแหละจะต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อไปให้สังคมได้รับรู้แล้ว

ถึงกระนั้น ผมก็อยากเสนอความเห็นให้พิจารณาถึงจังหวะก้าวและความเข้าใจสถานะความเคลื่อนไหวของพวกคุณสักหน่อย เพื่อที่ว่าพวกคุณจะได้ไม่คิดเพียงว่าย่างก้าวของพวกคุณเป็นเพียงส่วนหนึ่งหรือดำเนินตามโมเดลของขบวนการนักศึกษาในอดีต 

จริงอยู่ที่ย่างก้าวของพวกคุณในขณะนี้คือการแสดงตนเพื่อชี้ให้เห็นถึงปัญหาของการใช้อำนาจอย่างอยุติธรรมและไร้ความชอบธรรมของคณะรัฐประหาร พร้อมกับทั้งเรียกร้องมโนธรรมสำนึกของประชาชนทั่วไปให้เข้าใจถึงปัญหาพื้นฐานของการอยู่ใต้ระบอบเผด็จการอย่างในปัจจุบัน การเคลื่อนไหวของพวกคุณในขณะนี้จึงดูละม้ายคล้ายกันกับการเคลื่อนไหวของคณะนักศึกษาในอดีต  

อย่างไรก็ดี ผมก็ยังหวังว่าพวกคุณจะมองเห็นความแตกต่างอย่างสำคัญของการเคลื่อนไหวในขณะนี้กับการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาในอดีต แม้ว่าอำนาจที่พวกคุณนำธงต่อสู้อยู่นั้นจะเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จดังในอดีต แต่พวกคุณก็ต้องประเมินโฉมหน้าของเผด็จการในปัจจุบันให้แหลมคมยิ่งขึ้น 

ดังที่มีผู้มากประสบการณ์และเฝ้าประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดคนหนึ่งวิเคราะห์ไว้ถึงเงื่อนไขของการต่อสู้กับเผด็จการในอดีต ผมเห็นด้วยแต่ก็จะไม่กล่าวซ้ำความเห็นนั้น ผมแค่อยากเสนอเพิ่มเติมว่า เผด็จการปัจจุบันอาจมีโฉมหน้าแตกต่างออกไปบ้าง ก็ด้วยเพราะมีผู้สนับสนุนที่มีต้นทุนทางสังคมและต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูง ซึ่งก็คือเหล่า "ชนชั้นสูงระดับล่าง" (แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า upper middle class) สนับสนุนอยู่อย่างหนาแน่น ผมหวังว่าคุณจะพิจารณาเงื่อนไขนี้อย่างถี่ถ้วน เพื่อที่ว่าการต่อสู้ของพวกคุณจะเห็นเงื่อนงำที่ยากเย็นเพราะไม่มีทางที่จะหาฉันทานุมัติจากสังคมได้โดยง่าย 

ในอีกด้านหนึ่ง ผมคิดว่าก็ควรพิจารณาเงื่อนไขส่งเสริมใหม่ๆ คือพลังสนับสนุนและพลังความหวังต่อความก้าวหน้าของสังคมที่มีมาจากประชาชนผู้ด้อยเสียง ผู้ไม่ถูกรับรู้ในสังคม พลังในเชิงโครงสร้างที่เข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ ของคนกลุ่มนี้ ที่ผมขอเรียกว่า "ชนชั้นใหม่" จะเป็นเงื่อนไขใหม่ๆ ที่เกินเลยความคาดหวังของเผด็จการ ด้วยเพราะมันสมองของเผด็จการมองข้ามพลังเหล่านี้ พวกเขาจึงประเมินพลังเหล่านี้ต่ำเกินไปกว่าแค่เดินถือปืนข่มขู่ในหมู่บ้านแล้วพวกเขาก็จะเงียบสงบลงเอง เกินไปกว่าแค่มวลชนไร้สำนึกที่ถูกชักจูงล่อหลอกโดยนักการเมือง 

อีกพลังหนึ่งที่เป็นเงื่อนไขใหม่ซึ่งคณะรัฐประหารครั้งนี้เผชิญอย่างรุนแรงเหนือความคาดหมายเกินกว่าการรัฐประหารครั้งที่แล้ว เป็นพลังที่อำนาจเผด็จการในอดีตเคยได้รับการสนับสนุนคือ พลังทัดทานจาก "โลกสากล" ที่เรียกว่าโลกสากลเพราะไม่ใช่แค่ลมประชาธิปไตยตะวันตก แต่ทั้งญี่ปุ่น เหาหลีใต้ ไต้หวัน และพลังก้าวหน้าในอาเซียนเอง ก็ทั้งส่งสัญญาณและเฝ้าระวังอยู่อย่างเงียบๆ ว่าการถดถอยลงของก้าวย่างประชาธิปไตยในประเทศไทยจะนำมาซึ่งการกลับมาของพลังอนุรักษ์นิยมในภูมิภาค ที่ผ่านมาผมเห็นพวกคุณเข้าใจและเข้าหาพลังเหล่านี้ได้ดี หากแต่ผมก็ยังอยากเสนอให้พิจารณาว่า พวกคุณจะสานต่อกับพลังทัดทานใหม่ๆ ที่เผด็จการไทยไม่คุ้นเคยมาก่อนเหล่านี้อย่างไร  

แต่ถึงอย่างนั้น ก็อย่างประเมินเผด็จการคณะนี้ต่ำเกินไป อาการ "เลือดเข้าตา" "เสือลำบาก" ก็อาจจะก่อโศกนาฏกรรมโง่ๆ ดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วได้ ผมยังหวังว่าความกล้าหาญของพวกคุณจะไม่กลับกลายเป็นความดันทุรัง แม้ว่าจุดสมดุลนี้จะหาได้ยาก แต่ผมก็ยังเชื่อมั่นในวิจารณญาณของพวกคุณว่าจะไม่ตัดปัจจัยความบ้าบอไร้สติของคณะรัฐประหารนี้ออกไปเสีย  

สุดท้าย ผมอยากจะบอกว่า พวกคุณได้จุดไฟของการลุกขึ้นยืนไปอีกก้าวหนึ่ง ผมคิดว่าสังคมก็ไม่ได้อยากจะวางภาระหนักอึ้งนี้ให้พวกคุณเสียสละโดยลำพัง เพียงแต่จังหวะและโอกาสที่สังคมจะสานต่อแปลงพลังนี้ไปสู่การเปลี่ยนแปลงอาจจะต้องแลกด้วยความอดทนของพวกคุณบ้าง ก็หวังว่าพวกคุณจะคิดอ่านอย่างสงบนิ่งและหนักแน่นพอ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกจากซิดนีย์ ออสเตรเลีย วันที่ 23 เมษายน 2557
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คงจะมีการจากไปของนักเขียนในโลกไม่กี่ครั้งที่จะได้รับความสนใจจากคนทั่วโลกมากเท่าการจากไปของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากอำมาตย์ชนะ...โลกวิชาการไทยจะเป็นอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สองเดือนที่ผ่านมาผมเดินทางอย่างบ้าระห่ำ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ไปเวียดนาม 4 วัน กลับมาแล้วไปญี่ปุ่น 12 วัน กลับมาแล้วไปเชียงใหม่ 2 วัน แล้วไปมาเลเซีย 5 วัน แล้วต่อไปนครศรีธรรมราช 3 วัน ที่จริงเดือนหน้าก็จะไปต่อ คราวนี้ไปออสเตรเลีย 5 วัน กลับมาเดือนต่อไปมีคนชวนไปทุ่งใหญ่นเรศวรอีก 5 วัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ไปสัมมนาวิชาการที่กัวลาลัมเปอร์ จัดโดยมหาวิทยาลัยมาลายา เมื่อเสร็จงานตัวเองแล้ว ขอพักผ่อนด้วยการบันทึกถึงมหาวิทยาลัยมาลายา ซึ่งผมได้มาเยือนครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การบอกเล่าเรื่องราวของ "คนอื่น" ที่ต่างจากเรามากๆ ให้ "พวกเรา" อ่าน อย่างมากก็ทำได้แค่ บอกเล่าผ่านถ้อยคำ ผ่านประสบการณ์ที่ "พวกเรา" ต่างคุ้นเคยกันดี พูดอีกอย่างก็คือ การเล่าเรื่องคนอื่นคือ "การแปล" หรือ "การแปร" เรื่องที่แตกต่างให้คุ้นเคย เป็นการดัดแปลงของคนอื่นให้เราเข้าใจในภาษา ในสัญญะแบบที่พวกเราเองรับรู้อยู่ก่อนแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปิดท้ายชั้นเรียนวิชา "มานุษยวิทยาอาหาร" กับนักเรียนปริญญาโทและปริญญาเอกเมื่อสองวันก่อนด้วยมื้อการไปกินอาหารไทยพื้นๆ แสนอร่อยราคาประหยัดที่แพร่งภูธร พระนคร ตลอดภาคการศึกษา พวกเราพยายามเข้าใจอาหารผ่านหลายๆ คำถาม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนถามผมว่า "ไปญี่ปุ่นทำไมบ่อยๆ" นั่นสินะ ไปทีไรกลับมาก็มีของฝากบ้าง เรื่องเล่าบ้าง รูปวาดบ้าง เล่าว่าไปเที่ยวที่นั่นที่นี่ ไม่เห็นมีบอกตรงไหนว่าไปทำงานมา ก็เลยขอเล่าสักหน่อยแล้วกันว่าไปทำอะไรมาบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การคงอยู่ของการชุมนุมในขณะนี้ แม้ว่าจะสูญเสียความชอบธรรมไปมากแล้ว เพราะสนับสนุนการใช้ความรุนแรง มีการใช้กำลังอาวุธ ผู้ชุมนุมข่มขู่คุกคามประชาชน สื่อ และเจ้าหน้าที่รัฐรายวัน รวมทั้งไม่สามารถปกป้องดูแลความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมชุมนุมได้ แต่ทำไมยังมีใครพยายามเลี้ยงกระแสการชุมนุมนี้ไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่ออยู่ที่อื่น ก็คิดถึงถิ่นฐานอันคุ้นเคย แต่เมื่อกลับมาถึงบ้านแล้ว ก็ยังอาลัยอาวรณ์กับถิ่นที่ชั่วคราวที่ได้ไปเยือน บางคนก็คงมีอารมณ์อย่างนี้กันบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"รู้สึกไหมว่า การศึกษาต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (13 กพ. 57) ไปเยี่ยมชม Kyoto Museum for World Peace ตามคำบอกเล่าของหลายๆ คน และตามความประสงค์ของผู้ร่วมเดินทาง มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ชวนให้คิด มีถ้อยคำหลอกหลอนมากมาย มีภาพความรุนแรง มีบทเรียนที่มนุษย์ไม่เคยเรียนรู้ มีการเห็นคนไม่เป็นคน และสุดท้ายสะท้อนใจถึงความรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย