Skip to main content

ตกใจเหมือนกันที่ Divas Cafe จะเลิกออกอากาศแล้ว อยากบันทึกสั้นๆ ว่าผมดีใจ ภูมิใจ ปลื้มใจ ที่เคยได้เป็นแขกในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เป็นรายการที่ไปคุยด้วยสนุกมาก พิธีกรรุกเร้ามาก เวลาสั้นจนต้องปรับจังหวะการพูดให้เร็วมาก แถมบางครั้งยังต้องหาจังหวะแย่งพิธีกรพูดอีก

ครั้งแรกไปเรื่องหวานแหววมาก "วาเลนไทน์สไตล์นักมานุษยวิทยา" จำได้ว่า เหมือนว่าคุณแขก (คำ ผกา) กะจะชงไปในทางที่ว่า ความรักโรแมนติกมันเป็นเรื่องปั้นแต่งกันมาใหม่ในสังคมแบบตะวันตกสมัยใหม่ แต่นักมานุษยวิทยากลับไปหาประเด็นเจอข้อมูลที่พลิกไปอีกทางว่า ความรักโรแมนติกมันมีความสากลของมันอยู่ https://www.youtube.com/watch?v=HMPnFdM45EU

ส่วนตอนล่าสุด คือแค่ 3 วันก่อนการรัฐประหาร เรื่อง "วิวาทะสันติวิธี" เป็นปี่เป็นขลุ่ยกับคุณแขกวิจารณ์ "นักวิชาการสันติวิธี" ที่มีข้อเสนอไม่สนับสนุนให้ประเทศดินหน้าด้วยการเลือกตั้ง แล้วเสนอทำนองให้ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ความเห็นที่ผมและคุณแขกในรายการว่า หากทำตามข้อเสนอเหล่านั้นของนักสันติวิธีแล้วแนวโน้มของประเทศต่อไปจะเป็นอย่างไรนั้น ไม่ได้หนีกับสิ่งที่กำลังแสดงตัวในร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยเท่าไรนัก https://www.youtube.com/watch?v=c4Vpesu_pYc

ที่จริงวันเดียวกันนั้น (19 พฤษภาคม 2557) ผมไปอัดเทปอีกรายการของช่อง 9 อสมท. อัดเทปไว้ยาวมาก แต่ออกไปได้เพียงครึ่งเดียว (หา link ไม่เจอแล้ว) อีกครึ่งหนึ่งไม่ได้ออกอากาศเพราะเกิดรัฐประหารไปเสียก่อน หลังอัดรายการวันนั้นก็สังหรณ์ใจเพราะเมื่อเดินออกมาจากห้องอัดตอนเย็น มีการสับเปลี่ยนกำลังทหารมาที่สถานีเต็มไปหมด แล้ววันรุ่งขึ้นก็มีการประกาศกฎอัยการศึก จากนั้นอีกสองวันก็รัฐประหาร แล้วประเทศไทยก็เป็นอย่างทุกวันนี้แหละครับ 

ผมว่ารายการดีวาส์ฯ เป็นรายการที่ตอบโจทย์ของสังคมไทยที่เป็นสังคมเล่าเรื่อง เป็นสังคมมุขปาฐะได้ดี แต่แม้ว่าดีว่าส์ฯ จะนำเสนอในทำนองเดียวกับรายการเล่าข่าวอื่นๆ แต่ดีว่าส์ฯ ก็มีสาระเฉพาะตัวอยู่สูงมาก อาจจะประมวลได้ดังนี้ 

หนึ่ง ดีว่าส์ฯ เป็นรายการเล่าข่าวที่ไม่ใช่ทำหน้าที่เพียงจับเรื่องราวมาเล่าต่อด้วยการใส่น้ำเสียง เพิ่มอารมณ์ ขายดราม่าต่อจากเนื้อข่าว หากแต่ยังเป็นการสร้างบทวิเคราะห์ต่อจากข่าว ที่จริงจะเรียกว่าดีว่าส์ฯ เป็นรายการเล่าข่าวก็ไม่ถูกนัก เพราะดีว่าส์ฯ มักเน้นช่วงวิเคราะห์สังคม วิเคราะห์การเมือง วิเคราะห์ประวัติศาสตร์ จากเรื่องราวที่ปรากฏในปัจจุบัน นี่ทำให้ดีว่าส์ฯ ขยับจากการเป็นรายการข่าวที่นำเสนอข้อมูล ไปสู่การเป็นรายการวิเคราะห์เหตุการณ์ความเป็นไป เป็นการนำเสนอทั้งข้อมูลและมุมมองไปด้วยในตัว ส่วนผู้ชมจะเห็นด้วยหรือไม่ก็เป็นเรื่องของผู้ชม 

สอง แม้แต่ตัวข่าวเอง ดีว่าส์ฯ ก็มีเนื้อหาข่าวที่แตกต่างจากข่าวของรายการเล่าข่าวของสำนักข่าวอื่นๆ ดีว่าส์ฯ นำเอาความเชี่ยวชาญของพิธีกร ที่แต่ละคนถนัดเรื่องแตกต่างกัน เช่นเรื่องไอที เรื่องแฟชั่น เรื่องท่องเที่ยว เรื่องวิชาการ ศิลปวัฒนธรรม มาถ่ายทอดในรายการ ดังนั้น "ข่าว" ของดีว่าส์ฯ จึงเป็นข่าวที่มีเนื้อหาแตกต่างจากสำนักข่าวอื่นๆ โดยเฉพาะสำนักข่าวที่เรตติ้งสูงๆ ซึ่งมักเน้นข่าวการเมือง ข่าวความทุกข์ระทมของผู้คนด้อยโอกาส ข่าวอาชญากรรม การที่ข่าวของดีว่าส์ฯ แตกต่างไปทำให้ผู้ชมได้รับรู้เรื่องราวที่หลากหลายไปกว่ารายการเล่าข่าวอื่นๆ  

สาม ลักษณะโดดเด่นของดีว่าส์ฯ อีกประการคือการเน้น "ความเป็นผู้หญิงเก่ง" รายการเล่าข่าวผู้หญิงในระยะเดียวกับดีว่าส์ มีมากมาย หากแต่เรื่องราวที่ผู้หญิงแบบดีว่าส์ฯ นำเสนอนั้น เป็นทั้งผู้หญิงที่เป็นผู้ยิ้งผู้หญิง คือเน้นความ feminine หากแต่ก็เน้นความชาญฉลาดในการคิดวิเคราะห์ ในมุมที่บางทีถูกมองข้ามไปด้วยการมองผ่านสายตาแบบ "ผู้ชาย" หรือแม้แต่เรื่องราวแบบผู้ผญิงอย่างเรื่องแฟชั่น เรื่องความโรแมนติก เรื่องการครองคู่ รายการดีว่าส์ฯ ก็นำเสนอในเชิงคิดวิเคราะห์ให้มากกว่าแค่หยิบเรื่องผู้หญิงๆ มานำเสนอซ้ำให้รู้แค่ว่าเกิดอะไรที่ไหนแบบรายการเล่าข่าวผู้หญิงๆ ทั่วไป 

สี่ ความหรูหราอลังการของดีว่าส์ฯ ตัดขัดกันกับเรื่องราวมากมายที่ดีว่าส์ฯ นำมาเสนอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำมุมมองที่เน้นเรื่องสิทธิเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน การต่อสู้กับความด้อยโอกาส การเรียกร้องความเท่าเทียม ความเป็นประชาธิปไตย รวมความแล้วคือเรื่องความเป็นธรรมของสังคม ดีว่าส์ฯ ทำให้เราเห็นว่า เรื่องราวเหล่านี้ไม่ได้จำเป็นจะต้องพูดกันในรูปแบบของการใส่เสื้อม่อฮ่อม เอาผ้าขะม้าคล้องคอ ไว้ผมเผ้าหนวดเครารุงรัง แต่ในภาพลักษณ์แบบหรูหรา แต่งหน้าตาจัดจ้าน แต่งตัวเนี๊ยบ neat จัดเต็มด้วยแฟชั่นจากห้องเสื้อชื่อดัง ก็สามารถถกเถียงพูดคุยเรื่องเหล่านี้ได้เช่นกัน  

หลายคนอาจจะคิดว่าภาพลักษณ์ดีว่าส์ฯ ดูขัดกับเรื่องเหล่านี้ แต่ผมกลับคิดว่า คนที่มีชีวิตอยู่ในสังคมหรูหรานั่นแหละ ที่ก็ควรจะรู้จักทำความเข้าใจปัญหาเหล่านี้จากมุมมองที่ละเอียดลึกซึ้ง เกินไปกว่าการคิดแบบสังคมสงเคราะห์โปรยเงิน หรือในอีกทางหนึ่ง ดีว่าส์ฯ กำลังบอกว่า ไม่ใช่มีแต่คนที่มีภาพลักษณ์ดิดดิน ใกล้ชิดชาวบ้านเท่านั้นหรอกนะที่จะจริงจังกับเรื่องความเป็นธรรมของสังคม แต่สังคมระดับไหนๆ ก็เอาใจใส่กับความเป็นธรรมของสังคมได้เช่นกัน 

ดีใจที่ประเทศไทยเคยมีรายการแบบนี้ และเมื่อบ้านเมืองกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งไม่รู้อีกเมื่อไหร่หรือคงไม่มีสังคมไทยปกติแบบนั้นอีกแล้ว เราคงจะได้เห็นรายการในลักษณะนี้เกิดขึ้นมาใหม่อีก

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เกียวโตไม่ใช่เมืองที่ผมไม่เคยมา ผมมาเกียวโตน่าจะสัก 5 ครั้งแล้วได้ มาแต่ละครั้งอย่างน้อย ๆ ก็ 7 วัน บางครั้ง 10 วันบ้าง หรือ 14 วัน ครั้งก่อน ๆ นั้นมาสัมมนา 2 วันบ้าง 5 วันบ้าง หรือแค่ 3 ชั่วโมงบ้าง แต่คราวนี้ได้ทุนมาเขียนงานวิจัย จึงเรียกได้ว่ามา "อยู่" เกียวโตจริง ๆ สักที แม้จะช่วงสั้นเพียง 6 เดือนก็ตาม เมื่ออยู่มาได้หนึ่งเดือนแล้ว ก็อยากบันทึกอะไรไว้สักเล็กน้อยเกี่ยวกับการใช้ชีวิตที่นี่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการญี่ปุ่นที่ผมรู้จักมากสัก 10 กว่าปีมีจำนวนมากพอสมควร ผมแบ่งเป็นสองประเภทคือ พวกที่จบเอกจากอังกฤษ สหรัฐอเมริกา กับพวกที่จบเอกในญี่ปุ่น แต่ทั้งสองพวก ส่วนใหญ่เป็นทั้งนักดื่มและ foody คือเป็นนักสรรหาของกิน หนึ่งในนั้นมีนักมานุษยวิทยาช่างกินที่ผมรู้จักที่มหาวิทยาลัยเกียวโตคนหนึ่ง ค่อนข้างจะรุ่นใหญ่เป็นศาสตราจารย์แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สองวันก่อนเห็นสถาบันวิจัยชื่อดังแห่งหนึ่งในประเทศไทยนำการเปรียบเทียบสัดส่วนทุนวิจัยอย่างหยาบ ๆ ของหน่วยงานด้านการวิจัยที่ทรงอำนาจแต่ไม่แน่ใจว่าทรงความรู้กี่มากน้อยของไทย มาเผยแพร่ด้วยข้อสรุปว่า ประเทศกำลังพัฒนาเขาไม่ทุ่มเทลงทุนกับการวิจัยพื้นฐานมากกว่าการวิจัยประยุกต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรส่งเสริมการทำวิจัยแบบที่สามารถนำไปต่อยอดทำเงินได้ให้มากที่สุด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ต้นปีนี้ (ปี 2559) ผมมาอ่านเขียนงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ผมมาถึงเมื่อวานนี้เอง (4 มกราคม 2559) เอาไว้จะเล่าให้ฟังว่ามาทำอะไร มาได้อย่างไร ทำไมต้องมาถึงที่นี่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นับวัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะยิ่งตกต่ำและน่าอับอายลงไปทุกที ล่าสุดจากถ้อยแถลงของฝ่ายการนักศึกษาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันถือได้ว่าเป็นการแสดงท่าทีของคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยต่อการแสดงออกของนักศึกษาในกรณี "คณะส่องทุจริตราชภักดิ์" ที่มีทั้งนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รวมอยู่ด้วย ผมมีทัศนะต่อถ้อยแถลงดังกล่าวดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สำหรับการศึกษาระดับสูง ผมคิดว่านักศึกษาควรจะต้องใช้ความคิดกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบ เป็นชุดความคิดที่ใหญ่กว่าเพียงการตอบคำถามบางคำถาม สิ่งที่ควรสอนมากกว่าเนื้อหาความรู้ที่มีอยู่แล้วคือสอนให้รู้จักประกอบสร้างความรู้ให้เป็นงานเขียนของตนเอง ยิ่งในระดับปริญญาโทและเอกทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ถึงที่สุดแล้วนักศึกษาจะต้องเขียนบทความวิชาการหรือตัวเล่มวิทยานิพนธ์ หากไม่เร่งฝึกเขียนอย่างจริงจัง ก็คงไม่มีทางเขียนงานใหญ่ ๆ ให้สำเร็จด้วยตนเองได้ในที่สุด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่เห็นด้วยกับการเซ็นเซอร์ ไม่เห็นด้วยกับการห้ามฉายหนังแน่ๆ แต่อยากทำความเข้าใจว่า ตกลงพระในหนังไทยคือใคร แล้วทำไมรัฐ ซึ่งในปัจจุบันยิ่งอยู่ในภาวะกะลาภิวัตน์ อนุรักษนิยมสุดขั้ว จึงต้องห้ามฉายหนังเรื่องนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใน บทสัมภาษณ์นี้ (ดูคลิปในยูทูป) มาร์แชล ซาห์ลินส์ (Marshall Sahlins) นักมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกให้สัมภาษณ์ต่อหน้าที่ประชุม ซาห์สินส์เป็นนักมานุษยวิทยาอเมริกันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งที่แวดวงมานุษยวิทยายังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เขาเชี่ยวชาญสังคมในหมู่เกาะแปซิฟิค ทั้งเมลานีเชียนและโพลีนีเชียน ในบทสัมภาษณ์นี้ เขาอายุ 83 ปีแล้ว (ปีนี้เขาอายุ 84 ปี) แต่เขาก็ยังตอบคำถามได้อย่างแคล่วคล่อง ฉะฉาน และมีความจำดีเยี่ยม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การรับน้องจัดได้ว่าเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่ง เป็นพิธีกรรมที่วางอยู่บนอุดมการณ์และผลิตซ้ำคุณค่าบางอย่าง เนื่องจากสังคมหนึ่งไม่ได้จำเป็นต้องมีระบบคุณค่าเพียงแบบเดียว สังคมสมัยใหม่มีวัฒนธรรมหลายๆ อย่างที่ทั้งเปลี่ยนแปลงไปและขัดแย้งแตกต่างกัน ดังนั้นคนในสังคมจึงไม่จำเป็นต้องยอมรับการรับน้องเหมือนกันหมด หากจะประเมินค่าการรับน้อง ก็ต้องถามว่า คุณค่าหรืออุดมการณ์ที่การรับน้องส่งเสริมนั้นเหมาะสมกับระบบการศึกษาแบบไหนกัน เหมาะสมกับสังคมแบบไหนกัน เราเองอยากอยู่ในสังคมแบบไหน แล้วการรับน้องสอดคล้องกับสังคมแบบที่เราอยากอยู่นั้นหรือไม่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การได้อ่านงานทั้งสามชิ้นในโครงการวิจัยเรื่อง “ภูมิทัศน์ทางปัญญาแห่งประชาคมอาเซียน” ปัญญาชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (และที่จริงได้อ่านอีกชิ้นหนึ่งของโครงการนี้คืองานศึกษาปัญญาชนของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามคนสำคัญอีกคนหนึ่ง คือเจื่อง จิง โดยอ.มรกตวงศ์ ภูมิพลับ) ก็ทำให้เข้าใจและมีประเด็นที่ชวนให้คิดเกี่ยวกับเรื่องปัญญาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น ผมคงจะไม่วิจารณ์บทความทั้งสามชิ้นนี้ในรายละเอียด แต่อยากจะตั้งคำถามเพิ่มเติมบางอย่าง และอยากจะลองคิดต่อในบริบทที่กว้างออกไปซึ่งอาจจะมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์กับผู้วิจัยและผู้ฟังก็สุดแล้วแต่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เชอร์รี ออร์ตเนอร์ นักมานุษยวิทยาผู้เชี่ยวชาญเนปาล แต่ภายหลังกลับมาศึกษาสังคมตนเอง พบว่าชนชั้นกลางอเมริกันมักมองลูกหลานตนเองดุจเดียวกับที่พวกเขามองชนชั้นแรงงาน คือมองว่าลูกหลานตนเองขี้เกียจ ไม่รู้จักรับผิดชอบตนเอง แล้วพวกเขาก็กังวลว่าหากลูกหลานตนเองไม่ปรับตัวให้เหมือนพ่อแม่แล้ว เมื่อเติบโตขึ้นก็จะกลายเป็นผู้ใช้แรงงานเข้าสักวันหนึ่ง (ดู Sherry Ortner "Reading America: Preliminary Notes on Class and Culture" (1991)) 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (23 กค. 58) ผมไปนั่งฟัง "ห้องเรียนสาธารณะเพื่อประชาธิปไตยใหม่ครั้งที่ 2 : การมีส่วนร่วมและสิทธิชุมชน" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตลอดทั้งวันด้วยความกระตืนรือล้น นี่นับเป็นงานเดียวที่ถึงเลือดถึงเนื้อมากที่สุดในบรรดางานสัมมนา 4-5 ครั้งที่ผมเข้าร่วมเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา เพราะนี่ไม่ใช่เพียงการเล่นกายกรรมทางปัญญาหรือการเพิ่มพูนความรู้เพียงในรั้วมหาวิทยาลัย แต่เป็นการรับรู้ถึงปัญหาผู้เดือดร้อนจากปากของพวกเขาเองอย่างตรงไปตรงมา