Skip to main content

"ฟ้าข้างในนี้กว้างกว่าข้างนอก ฟ้าในนี้กว้างจนแทบจะเห็นขอบฟ้า" 

นั่นเป็นประโยคแรกๆ ที่เพื่อนอาจารย์ "ผู้ถูกคุมขังทางความคิด" กล่าวต่อผมหลังคำทักทาย ผมตกใจและแอบปลาบปลื้มใจที่อาจารย์ก้าวพ้นความตระหนกกลัวไปสู่ประสบการณ์ของขอบฟ้าที่แปลกใหม่แม้อยู่ในที่แคบๆ 

 

นี่เป็นครั้งแรกที่ผมมีโอกาสได้ไปเยี่ยมอาจารย์ หลังจากที่อาจารย์ถูกละเมิดสิทธิ์การประกันตัว อันเป็นสิทธิ์ที่พึงได้รับในระหว่างดำเนินคดี หากใครติดตามกระบวนการในการดำเนินคดีลักษณะนี้อย่างใกล้ชิดเพียงพอ ก็จะเข้าใจได้ว่าผมไม่ได้กล่าวเกินเลยไปหรอก

 

แรกๆ ที่คุยกันอาจารย์คงเกร็ง ก็เลยเล่าเร็วๆ ว่าตื่นเช้าขึ้นมาจนเข้านอนในแต่ละวันก็มีกิจวัตรที่อาจารย์สรุปว่า "เหมือนกับที่ฟูโกต์กล่าวถึง docile body เลยนั่นแหละครับ" 

 

เมื่อผ่อนคลายขึ้น อาจารย์ก็เริ่มสนุก แล้วก็เล่าเรื่องประทับใจอย่างตื่นเต้นตาเป็นประกายเหมือนนักเรียนมานุษยวิทยาที่เพิ่งกลับจากการวิจัยภาคสนามในดินแดนไกลโพ้น เช่น 

 

"ข้างในแมวเยอะมาก พวกมันจะนอนรวมกันอยู่มุมนึง นักโทษบางคนเขาก็ไม่ชอบแมว"

 

"แดนนี้เป็นแดนขังเด็กๆ (อายุไม่เกิน 30) ดีกว่าแดนที่เคยอยู่แม้จะแออัดกว่า เด็กๆ ดูสดใสกันมาก แต่ละคนต้องโทษคดีต่างๆ แต่พวกเขาอยากรู้อยากเห็นมาก หลายคนชอบมาคุยกับผม ชอบมาถามโน่นถามนี่ เขาอยากเรียนรู้"

 

อีกเรื่องหนึ่งที่อาจารย์ตื่นเต้นมากคือการนิยามพื้นที่ อาจารย์เล่าว่า "พวกเขาจัดการพื้นที่หลายอย่างด้วยวิธีของพวกเขา แม้แต่ห้องน้ำเอง เป็นที่รู้กันว่าหากมีม่านซึ่งพวกเขาทำกันเองกั้นอยู่ ทำที่เกี่ยวผนังกันเอง ก็อย่าไปรบกวน เพราะคนข้างในกำลัง "มาสเตอเบท" อยู่"

 

อาจารย์บอกว่าได้พบปะคนมากมายหลายแบบ จึงได้เขียนบันทึกไว้มากทีเดียว 

 

ส่วนกับครอบครัว อาจารย์เล่าว่าครอบครัวเข้าใจแกดี คุยกันตลอด พวกเขาดำเนินชีวิตตามปกติ 

 

สุดท้าย ผมฝากคำพูดกับอาจารย์ไว้ว่า "นักวิชาการจากทั่วโลกกำลังเฝ้าดูอยู่ ปีนี้จะมีการประชุมวิชาการนานาชาติในประเทศไทย 3 รายการ นักวิชาการเหล่านี้รู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้น" 

 

อาจารย์แทรกว่า "งานผมได้รับคัดเลือกให้ไปเสนอด้วย" ผมเลยกำชับว่า "หวังว่าอาจารย์จะได้ออกมาและได้ไปเสนองาน แต่หากอาจารย์ไม่ได้ออกมาทันเสนองานที่อาจารย์ได้รับคัดเลือกให้ไปเสนอ นักวิชาการเหล่านี้ก็จะต้องทำอะไรบางอย่าง"

 

ผมเห็นอาจารย์กระตือรือล้นมาก เห็นอาจารย์ตื่นเต้นกับเรื่องราวและผู้คนแปลกใหม่ ได้รับรู้ความรู้สึกแรกที่อาจารย์อยากบอกเล่าที่เป็นเรื่องประสบการณ์ต่อที่ว่าง จากมุมของคนที่อยู่ในที่แคบ แล้วก็ตื้นตันใจและมั่นใจว่าอาจารย์มีกำลังใจต่อสู้กับชีวิตช่วงนี้อย่างเปี่ยมล้น

 

ที่จริงหลังจากที่อาจารย์บอกว่า "ฟ้าข้างในกว้างกว่าข้างนอก" อาจารย์ก็บอกอีกว่า "แต่ไม่มีโอกาสได้เห็นพระจันทร์นะ เพราะตอนกลางคืนต้องเข้าห้อง" 

 

ผมคิดว่าคำพูดอาจารย์เป็นประสบการณ์ที่เยาะเย้ยเสรีภาพจอมปลอมนอกห้องคุมขัง พร้อมๆ กับเป็นคำดูแคลนการกักขังเรือนร่างกลวงเปล่า เพราะอย่าว่าแต่ความสำนึกคิดของอาจารย์เลย แม้แต่เลือดเนื้อ ผัสสะ ที่ก่อรูปประสบการณ์ของอาจารย์ ก็ไม่อาจถูกคุมขังได้

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงผมก็นึกไม่ถึงว่าจะมีคนสนใจข่าวนี้กันมากนัก เรื่องอาจจะเป็นเพราะมีการใช้คำในการรายงานข่าวเบื้องต้นอย่างคลาดเคลื่อนไป ก็เลยทำให้เป็นที่น่าตกใจ แต่อีกนัยหนึ่งก็ชี้ให้เห็นปัญหาการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนจนกระทั่งเมื่อมีการแสดงการต่อต้านด้วยการปฏิเสธที่จะอยู่ใต้อำนาจกดทับนั้น คนก็จึงตอบรับกันอย่างกระหน่ำ อย่างไรก็ดี ผมก็อยากชี้แจงให้กระจ่างเพิ่มเติมว่า ทำไมผมจึงเลือกที่จะแสดงสถานภาพในการเดินทางมาต่างประเทศของผมในครั้งนี้เพิ่มเติมผ่านข้อเขียนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพิ่งผ่านมาเพียง 5 เดือนอาจจะยังเร็วเกินไปที่จะถามว่า หลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 แล้วขบวนการประชาชนจะเป็นอย่างไรต่อไป แต่หากมองย้อนกลับไป แล้วมองไปข้างหน้าอีกสักหน่อย ก็น่าจะลองคิดถกเถียงกันบ้างว่า ขบวนการประชาชนน่าจะไปทางไหนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
TED รายการบรรยายสาธารณะที่มีชื่อเสียงและผมก็ติดตามเรียนรู้มาสม่ำเสมอ ได้เผยแพร่คลิปบรรยายของคีท เชน นักเศรษฐศาสตร์ที่เสนอข้อถกเถียงว่า ภาษามีความเชื่อมโยงกับการออมตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว แต่ผมเพิ่งได้ยินเกี่ยวกับการศึกษานี้มาตั้งแต่ต้นภาคการศึกษานี้ในชั้นเรียนวิชามานุษยวิทยาภาษา ที่นักศึกษาคนหนึ่งเอ่ยถึงการศึกษานี้ และเพิ่งได้ดูด้วยตัวเองเมื่อ 3-4 วันก่อนนี้เอง เห็นว่าน่าสนใจดีก็เลยนำไปให้นักศึกษาดูและถกเถียงกันในชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การอัตวินิบาตกรรมของคุณนวมทอง ไพรวัลย์ทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง นัยหนึ่งถือว่าเป็นการประท้วงต่อการรัฐประหาร อีกนัยหนึ่งถือเป็นการยืนยันความจริงจังและบริสุทธิ์ใจต่ออุดมการณ์ อีกนัยหนึ่งอาจปลุกเร้าสำนึกของผู้ร่วมอุดมการณ์ หรืออีกนัยหนึ่งก็เกรงว่าจะเป็นความสูญเสียที่สูญเปล่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยแตกต่างจากการสอนหนังสือในระดับโรงเรียนก็คงจะตรงที่ว่า ผู้สอนในระดับมหาวิทยาลัยไม่ได้เรียนการสอนมาก่อน อาจจะมีการอบรมเรื่องการเรียนการสอนบ้าง มีการประเมินผลให้ผู้สอนพิจารณาปรับปรุงตนเองบ้าง มีการประเมินตนเองบ้าง แต่ถึงที่สุดแล้ว ผู้สอนมีส่วนสร้างระบบการเรียนการสอนด้วยตนเอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"อาร์บอรีทั่ม" (Arboretum) เป็นสวนพฤกษศาสตร์ขนาดใหญ่ร่วม 3 พันไร่ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน สวนนี้ไม่ได้ตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งมหาวิทยาลัย แต่ก็อยู่ห่างออกไปไม่ไกลนัก หากขยันเดิน สักชั่วโมงหนึ่งก็ถึง ถีบจักรยานไปก็สัก 20 นาที อาจเร็วกว่าขับรถที่ต้องเจอกับป้ายหยุด ทางแยก ไฟสัญญาณ กว่าจะถึงก็สัก 30 นาที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการมิได้มีสถานภาพพิเศษแตกต่างไปจากคนอื่นๆ ในสังคม เพียงแต่อาชีพนักวิชาการเป็นอาชีพที่ต้องพัฒนาความคิดความอ่านตลอดเวลา นักวิชาการจึงไม่ควรมีขอบเขตของความคิดความอ่าน พร้อมๆ กับที่ไม่ควรปิดกั้นขอบเขตของความคิดคนอื่น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กว่า 3 เดือนที่ผ่านมาผมไปชมการแสดงดนตรีไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ นึกเสียดายที่เมื่อ 10 กว่าปีก่อนที่มาเรียนไม่ค่อยมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้เลย เมื่อวานนี้ (ตามเวลาที่อเมริกา) ผมก็เพิ่งออกจากห้องแสดงดนตรีมา จนทำให้ผมคิดขึ้นมาได้ว่า นี่ผมอยู่ในโลกไหนกัน แล้วทำไมที่ที่ผมอยู่เป็นปกติเขาถึงไม่ทำสถาบันการศึกษาให้เป็นสถานที่บ่มเพาะความเจริญของจิตใจได้อย่างนี้บ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดอร์ แรธสเคลเลอร์เป็นบาร์เบียร์ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ตั้งอยู่ในตึกกิจกรรมนักศึกษา (ที่นี่เรียกว่า Memorial Union) ตึกกิจฯ นี้ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1928 โน่นเลย บาร์เบียร์แห่งนี้ก็น่าจะอายุไม่น้อยไปกว่าตึกที่มันอาศัยอยู่เท่าใดนัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมเข้าร่วมกิจกรรมสังคมวิชาการซ้ำซ้อนกันหลายงาน ตั้งแต่บรรยายเรื่องการทำวิจัยในเวียดนามให้นักศึกษาบัณฑิตศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฟัง ต่อด้วยปาร์ตี้ประจำปีของศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของมหา'ลัยวิสคอนซิน ซึ่งเป็นงานแบบ potluck party และก็ฟองดูปาร์ตี้เล็กๆ ที่บ้านอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งก็ไม่ใช่อะไรมากไปกว่าขนมปังจุ่มชีสต้มเดือด ทั้งหมดนั้นได้อะไรสนุกๆ มามากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผ่านมาได้ 3 สัปดาห์ วิชาที่ผมสอนที่วิสคอนซินเริ่มสนุกขึ้นเรื่อยๆ ในห้องมีนักเรียน 10 คน ขนาดพอๆ กับที่เคยสอนที่ธรรมศาสตร์ แต่ที่ต่างคือในห้องเดียวกันนี้มีทั้งนักเรียนปริญญาตรี โท และเอกเรียนร่วมกัน เพียงแต่ข้อกำหนดของงานและความคาดหวังจากนักเรียนระดับ ป.ตรีกับ ป.โท-เอก ย่อมแตกต่างกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ท่านถามอย่างนี้กับสื่อมวลชน ต่อหน้าสาธารณชน ใครเขาจะกล้าตอบ ก็ในเมื่อท่านมีปืนอยู่ในมือ ใครเอาปืนจี้หัวท่านไว้แล้วท่านจะตอบความในใจที่ขัดความรู้สึกเขาได้ไหมล่ะ เรื่องแค่นี้น่าจะเข้าใจนะ