Skip to main content

ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 

ก่อนมาก็เลยไปหาซื้อเสื้อผ้าสำหรับเมืองร้อน ที่บาง แต่กันแดดได้ ส่วนหนึ่งคือผ้าลินิน และทุกวันก็เตรียมเสื้อเชิร์ตแขนยาวมาใส่ เพราะต้องเรียบร้อยเนื่องจากต้องเจอผู้คน และต้องกันแดดได้ แต่จะให้เปลี่ยนตู้เสื้อผ้าเพื่อการเดินทางทั้ง 10 วัน ก็เกินไปหน่อย จึงซื้อเพิ่มไม่กี่ตัว 

เมื่อมาถึงลาฮอร์ อุณหภูมิ 41-42 ก็ว่าร้อนมากแล้ว แถมแดดจัดทุกวัน แต่ละวันจึงรู้สึกคอแห้งนิดๆ เสมอ ดื่มน้ำบ่อย แต่บ่อยมากก็ไม่ดีเพราะห้องน้ำหายากหน่อย 

แต่ประสบการณ์อย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ การฉี่ที่นี่ เปล่า ไม่ได้มีท่าฉี่พิสดารอะไรหรอก แต่พบว่าร่างกายปรับตัวด้วยการฉี่ในความถี่จำนวนครั้งที่ปกติ แต่ในปริมาณแต่ละครั้งที่น้อยกว่าตอนอยู่เมืองไทยมาก แม้แต่หลังดื่มชา ดื่มเบียร์ ซึ่งปกติผมจะฉี่มากขึ้น อยู่นี่ก็น้อยลง

 

ร่างกายมันคงพยายามเก็บน้ำให้มากที่สุด

 

กับความร้อน เมื่อมาถึงซักเกอร์และซินธ์ จึงได้เผชิญกับความร้อนระดับ 45-46 และมันอาจขึ้นไปถึง 50 คือจุดสูงสุดของมันได้ แถมเมื่อวาน เดินดลางแดดเพื่อดูโบราณสถานโมเฮน-โจ-ดาโรจนทำให้นักสังคมวิทยาเอ่ยปากว่า “ได้รู้แล้วว่านักโบราณคดีเขาทำงานกันในสภาพแบบไหน ชั้นไม่มาเป็นและจะไม่ให้ลูกหลานมาเป็นเด็ดขาด”

 

ส่วนนักมานุษวิทยา ที่แค่ชอบอ่านงานโบราณคดี แต่ให้เป็นก็คงกระเทาะหินเป็นหัวขวานไม่สำเร็จ คิดในใจว่า “ดีแค่ไหนแล้วที่ไม่ชอบความวิทยาศาสตร์ของโบราณคดี แต่ชอบเฉพาะจินตนาการของนักโบราณคดี ก็เลยไม่ได้อยากเป็นนักโบราณคดีที่ต้องตรากตรำร่างกายขนาดนี้”

 

เมื่อคืน (25 พค. 61) เจออีกประสบการณ์ร่างกาย คือไฟดับตั้งแต่เที่ยงคืน ผลคือต้องนอนโดยไม่มีแอร์ ปกติที่มาเมืองลาร์คานา เมืองหนึ่งของจังหวัดซินธ์ เราดำรงชีพอยู่ในห้องแอร์เป็นส่วนใหญ่ แล้วไฟก็ตก ติดๆ ดับๆ เสมอ จนเมื่อคืนคิดว่า เดี๋ยวไฟก็มา แต่มันไม่มายันเช้า

 

3 ชั่วโมงแรก หลับสนิท คงเพราะความเพลีย ฤทธิ์เบียร์ และอาหารเย็นตอน 5 ทุ่ม แต่สักตี 3 รู้สึกตัวว่าเหงื่อท่วม พบว่าไฟไม่ติดทั้งคืนแน่แล้ว ออกมานอกห้อง เดามีห้องเราเท่านั้นที่ดับเพราะอีกตึกมีแสงไฟ ความที่ห้องนี้อยู่นอกอาคารต่างหากจากคนอื่น ก็เลยไปขอพึ่งคนอื่นไม่ได้ 

 

นอนกระสับกระส่ายอยู่สักพัก แล้วพบว่า เพื่อนร่วมห้องคืออาจารย์สุดแดนนอนได้กรนสบาย ก็เลยพยายามนอนบ้าง ปรากฏว่าหลับต่อได้จนถึงเช้า ตื่นขึ้นมาตี 5 ครึ่ง ไม่นอนต่อแล้ว เปิดประตูห้องออกมา เช็คอุณหภูมิ เขาว่า 29 เซลเซียส แต่ความรู้สึกคือ เย็นสบายมาก คาดว่าถ้ากลับไปกรุงเทพฯ เที่ยวนี้ คงจะสวมเสื้อกันหนาวไปอีกสัก 2-3 วัน

 

อีกเรื่องคือการกิน คนที่นี่กินอาหารไม่เป็นเวลาเอามากๆ ยิ่งที่ซินธ์ ยิ่งเพี้ยน มื้อกลางวันมื้อแรกที่นี่ กินตอน 4 โมงเย็น แล้ววันนั้นกว่าจะได้กินข้าวเย็นก็เที่ยงคืน วันที่สอง มื้อเช้า 9 โมง มื้อกลางวันเที่ยงวัน แล้วมื้อเย็นก็ 5 ทุ่ม 

 

แต่ร่างกายก็ไม่แปรปรวนอะไร ไม่รู้เพราะอะไร ส่วนใหญ่เราคงใช้พลังงานน้อย เดินมากไม่ได้เพราะร้อนมาก เคลื่อนไหวช้าๆ พักดื่มชา (ชาที่นี่ต้มกับนมควาย ใส่ครื่องเทศจางๆ แล้วเติมน้ำตาลกรวด) ร่างกายก็เลยไม่หิวโหยมาก และคงเพราะน้ำในตัวมีน้อย น้ำย่อยก็เลยน้อยไปด้วย ไม่รู้เหมือนกัน แต่ไม่หิวรุนแรง

 

“Big Boss” คนที่ดูแลพวกเราที่ซินธ์เป็นนักเล่าเรื่อง เขาบอกว่า หมาเป็นสัตว์ที่ปรับตัวง่าย ที่ร้อน ที่หนาว ก็อยู่ได้หมด เขาเลยเอาไว้เรียกคนที่ปลิ้นปล้อนว่า “dog temperature man” โดยเฉพาะพวกนักการเมืองปลิ้นปล้อน

 

แต่จากที่มาอยู่เมืองร้อนจัด เคยอยู่เมืองหนาวจัด อยู่กรุงเทพฯ แบบไม่ติดห้องแอร์ ก็ทำให้พบว่า คนนี่แหละที่ร่างกายปลิ้นปล้อนมาก ไม่แพ้หรืออาจจะยิ่งกว่าหมา

 

ยังมีเวลาอยู่ที่ปากีสถานอีกหลายวัน ยังมีเรื่องที่ยังไม่ได้เล่าอีกมาก จะค่อยๆ ทยอยเล่าเหมือนปริมาณน้ำฉี่ที่นี่ไปก็แล้วกัน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงผมก็นึกไม่ถึงว่าจะมีคนสนใจข่าวนี้กันมากนัก เรื่องอาจจะเป็นเพราะมีการใช้คำในการรายงานข่าวเบื้องต้นอย่างคลาดเคลื่อนไป ก็เลยทำให้เป็นที่น่าตกใจ แต่อีกนัยหนึ่งก็ชี้ให้เห็นปัญหาการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนจนกระทั่งเมื่อมีการแสดงการต่อต้านด้วยการปฏิเสธที่จะอยู่ใต้อำนาจกดทับนั้น คนก็จึงตอบรับกันอย่างกระหน่ำ อย่างไรก็ดี ผมก็อยากชี้แจงให้กระจ่างเพิ่มเติมว่า ทำไมผมจึงเลือกที่จะแสดงสถานภาพในการเดินทางมาต่างประเทศของผมในครั้งนี้เพิ่มเติมผ่านข้อเขียนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพิ่งผ่านมาเพียง 5 เดือนอาจจะยังเร็วเกินไปที่จะถามว่า หลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 แล้วขบวนการประชาชนจะเป็นอย่างไรต่อไป แต่หากมองย้อนกลับไป แล้วมองไปข้างหน้าอีกสักหน่อย ก็น่าจะลองคิดถกเถียงกันบ้างว่า ขบวนการประชาชนน่าจะไปทางไหนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
TED รายการบรรยายสาธารณะที่มีชื่อเสียงและผมก็ติดตามเรียนรู้มาสม่ำเสมอ ได้เผยแพร่คลิปบรรยายของคีท เชน นักเศรษฐศาสตร์ที่เสนอข้อถกเถียงว่า ภาษามีความเชื่อมโยงกับการออมตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว แต่ผมเพิ่งได้ยินเกี่ยวกับการศึกษานี้มาตั้งแต่ต้นภาคการศึกษานี้ในชั้นเรียนวิชามานุษยวิทยาภาษา ที่นักศึกษาคนหนึ่งเอ่ยถึงการศึกษานี้ และเพิ่งได้ดูด้วยตัวเองเมื่อ 3-4 วันก่อนนี้เอง เห็นว่าน่าสนใจดีก็เลยนำไปให้นักศึกษาดูและถกเถียงกันในชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การอัตวินิบาตกรรมของคุณนวมทอง ไพรวัลย์ทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง นัยหนึ่งถือว่าเป็นการประท้วงต่อการรัฐประหาร อีกนัยหนึ่งถือเป็นการยืนยันความจริงจังและบริสุทธิ์ใจต่ออุดมการณ์ อีกนัยหนึ่งอาจปลุกเร้าสำนึกของผู้ร่วมอุดมการณ์ หรืออีกนัยหนึ่งก็เกรงว่าจะเป็นความสูญเสียที่สูญเปล่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยแตกต่างจากการสอนหนังสือในระดับโรงเรียนก็คงจะตรงที่ว่า ผู้สอนในระดับมหาวิทยาลัยไม่ได้เรียนการสอนมาก่อน อาจจะมีการอบรมเรื่องการเรียนการสอนบ้าง มีการประเมินผลให้ผู้สอนพิจารณาปรับปรุงตนเองบ้าง มีการประเมินตนเองบ้าง แต่ถึงที่สุดแล้ว ผู้สอนมีส่วนสร้างระบบการเรียนการสอนด้วยตนเอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"อาร์บอรีทั่ม" (Arboretum) เป็นสวนพฤกษศาสตร์ขนาดใหญ่ร่วม 3 พันไร่ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน สวนนี้ไม่ได้ตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งมหาวิทยาลัย แต่ก็อยู่ห่างออกไปไม่ไกลนัก หากขยันเดิน สักชั่วโมงหนึ่งก็ถึง ถีบจักรยานไปก็สัก 20 นาที อาจเร็วกว่าขับรถที่ต้องเจอกับป้ายหยุด ทางแยก ไฟสัญญาณ กว่าจะถึงก็สัก 30 นาที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการมิได้มีสถานภาพพิเศษแตกต่างไปจากคนอื่นๆ ในสังคม เพียงแต่อาชีพนักวิชาการเป็นอาชีพที่ต้องพัฒนาความคิดความอ่านตลอดเวลา นักวิชาการจึงไม่ควรมีขอบเขตของความคิดความอ่าน พร้อมๆ กับที่ไม่ควรปิดกั้นขอบเขตของความคิดคนอื่น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กว่า 3 เดือนที่ผ่านมาผมไปชมการแสดงดนตรีไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ นึกเสียดายที่เมื่อ 10 กว่าปีก่อนที่มาเรียนไม่ค่อยมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้เลย เมื่อวานนี้ (ตามเวลาที่อเมริกา) ผมก็เพิ่งออกจากห้องแสดงดนตรีมา จนทำให้ผมคิดขึ้นมาได้ว่า นี่ผมอยู่ในโลกไหนกัน แล้วทำไมที่ที่ผมอยู่เป็นปกติเขาถึงไม่ทำสถาบันการศึกษาให้เป็นสถานที่บ่มเพาะความเจริญของจิตใจได้อย่างนี้บ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดอร์ แรธสเคลเลอร์เป็นบาร์เบียร์ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ตั้งอยู่ในตึกกิจกรรมนักศึกษา (ที่นี่เรียกว่า Memorial Union) ตึกกิจฯ นี้ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1928 โน่นเลย บาร์เบียร์แห่งนี้ก็น่าจะอายุไม่น้อยไปกว่าตึกที่มันอาศัยอยู่เท่าใดนัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมเข้าร่วมกิจกรรมสังคมวิชาการซ้ำซ้อนกันหลายงาน ตั้งแต่บรรยายเรื่องการทำวิจัยในเวียดนามให้นักศึกษาบัณฑิตศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฟัง ต่อด้วยปาร์ตี้ประจำปีของศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของมหา'ลัยวิสคอนซิน ซึ่งเป็นงานแบบ potluck party และก็ฟองดูปาร์ตี้เล็กๆ ที่บ้านอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งก็ไม่ใช่อะไรมากไปกว่าขนมปังจุ่มชีสต้มเดือด ทั้งหมดนั้นได้อะไรสนุกๆ มามากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผ่านมาได้ 3 สัปดาห์ วิชาที่ผมสอนที่วิสคอนซินเริ่มสนุกขึ้นเรื่อยๆ ในห้องมีนักเรียน 10 คน ขนาดพอๆ กับที่เคยสอนที่ธรรมศาสตร์ แต่ที่ต่างคือในห้องเดียวกันนี้มีทั้งนักเรียนปริญญาตรี โท และเอกเรียนร่วมกัน เพียงแต่ข้อกำหนดของงานและความคาดหวังจากนักเรียนระดับ ป.ตรีกับ ป.โท-เอก ย่อมแตกต่างกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ท่านถามอย่างนี้กับสื่อมวลชน ต่อหน้าสาธารณชน ใครเขาจะกล้าตอบ ก็ในเมื่อท่านมีปืนอยู่ในมือ ใครเอาปืนจี้หัวท่านไว้แล้วท่านจะตอบความในใจที่ขัดความรู้สึกเขาได้ไหมล่ะ เรื่องแค่นี้น่าจะเข้าใจนะ