Skip to main content

ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 

ก่อนมาก็เลยไปหาซื้อเสื้อผ้าสำหรับเมืองร้อน ที่บาง แต่กันแดดได้ ส่วนหนึ่งคือผ้าลินิน และทุกวันก็เตรียมเสื้อเชิร์ตแขนยาวมาใส่ เพราะต้องเรียบร้อยเนื่องจากต้องเจอผู้คน และต้องกันแดดได้ แต่จะให้เปลี่ยนตู้เสื้อผ้าเพื่อการเดินทางทั้ง 10 วัน ก็เกินไปหน่อย จึงซื้อเพิ่มไม่กี่ตัว 

เมื่อมาถึงลาฮอร์ อุณหภูมิ 41-42 ก็ว่าร้อนมากแล้ว แถมแดดจัดทุกวัน แต่ละวันจึงรู้สึกคอแห้งนิดๆ เสมอ ดื่มน้ำบ่อย แต่บ่อยมากก็ไม่ดีเพราะห้องน้ำหายากหน่อย 

แต่ประสบการณ์อย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ การฉี่ที่นี่ เปล่า ไม่ได้มีท่าฉี่พิสดารอะไรหรอก แต่พบว่าร่างกายปรับตัวด้วยการฉี่ในความถี่จำนวนครั้งที่ปกติ แต่ในปริมาณแต่ละครั้งที่น้อยกว่าตอนอยู่เมืองไทยมาก แม้แต่หลังดื่มชา ดื่มเบียร์ ซึ่งปกติผมจะฉี่มากขึ้น อยู่นี่ก็น้อยลง

 

ร่างกายมันคงพยายามเก็บน้ำให้มากที่สุด

 

กับความร้อน เมื่อมาถึงซักเกอร์และซินธ์ จึงได้เผชิญกับความร้อนระดับ 45-46 และมันอาจขึ้นไปถึง 50 คือจุดสูงสุดของมันได้ แถมเมื่อวาน เดินดลางแดดเพื่อดูโบราณสถานโมเฮน-โจ-ดาโรจนทำให้นักสังคมวิทยาเอ่ยปากว่า “ได้รู้แล้วว่านักโบราณคดีเขาทำงานกันในสภาพแบบไหน ชั้นไม่มาเป็นและจะไม่ให้ลูกหลานมาเป็นเด็ดขาด”

 

ส่วนนักมานุษวิทยา ที่แค่ชอบอ่านงานโบราณคดี แต่ให้เป็นก็คงกระเทาะหินเป็นหัวขวานไม่สำเร็จ คิดในใจว่า “ดีแค่ไหนแล้วที่ไม่ชอบความวิทยาศาสตร์ของโบราณคดี แต่ชอบเฉพาะจินตนาการของนักโบราณคดี ก็เลยไม่ได้อยากเป็นนักโบราณคดีที่ต้องตรากตรำร่างกายขนาดนี้”

 

เมื่อคืน (25 พค. 61) เจออีกประสบการณ์ร่างกาย คือไฟดับตั้งแต่เที่ยงคืน ผลคือต้องนอนโดยไม่มีแอร์ ปกติที่มาเมืองลาร์คานา เมืองหนึ่งของจังหวัดซินธ์ เราดำรงชีพอยู่ในห้องแอร์เป็นส่วนใหญ่ แล้วไฟก็ตก ติดๆ ดับๆ เสมอ จนเมื่อคืนคิดว่า เดี๋ยวไฟก็มา แต่มันไม่มายันเช้า

 

3 ชั่วโมงแรก หลับสนิท คงเพราะความเพลีย ฤทธิ์เบียร์ และอาหารเย็นตอน 5 ทุ่ม แต่สักตี 3 รู้สึกตัวว่าเหงื่อท่วม พบว่าไฟไม่ติดทั้งคืนแน่แล้ว ออกมานอกห้อง เดามีห้องเราเท่านั้นที่ดับเพราะอีกตึกมีแสงไฟ ความที่ห้องนี้อยู่นอกอาคารต่างหากจากคนอื่น ก็เลยไปขอพึ่งคนอื่นไม่ได้ 

 

นอนกระสับกระส่ายอยู่สักพัก แล้วพบว่า เพื่อนร่วมห้องคืออาจารย์สุดแดนนอนได้กรนสบาย ก็เลยพยายามนอนบ้าง ปรากฏว่าหลับต่อได้จนถึงเช้า ตื่นขึ้นมาตี 5 ครึ่ง ไม่นอนต่อแล้ว เปิดประตูห้องออกมา เช็คอุณหภูมิ เขาว่า 29 เซลเซียส แต่ความรู้สึกคือ เย็นสบายมาก คาดว่าถ้ากลับไปกรุงเทพฯ เที่ยวนี้ คงจะสวมเสื้อกันหนาวไปอีกสัก 2-3 วัน

 

อีกเรื่องคือการกิน คนที่นี่กินอาหารไม่เป็นเวลาเอามากๆ ยิ่งที่ซินธ์ ยิ่งเพี้ยน มื้อกลางวันมื้อแรกที่นี่ กินตอน 4 โมงเย็น แล้ววันนั้นกว่าจะได้กินข้าวเย็นก็เที่ยงคืน วันที่สอง มื้อเช้า 9 โมง มื้อกลางวันเที่ยงวัน แล้วมื้อเย็นก็ 5 ทุ่ม 

 

แต่ร่างกายก็ไม่แปรปรวนอะไร ไม่รู้เพราะอะไร ส่วนใหญ่เราคงใช้พลังงานน้อย เดินมากไม่ได้เพราะร้อนมาก เคลื่อนไหวช้าๆ พักดื่มชา (ชาที่นี่ต้มกับนมควาย ใส่ครื่องเทศจางๆ แล้วเติมน้ำตาลกรวด) ร่างกายก็เลยไม่หิวโหยมาก และคงเพราะน้ำในตัวมีน้อย น้ำย่อยก็เลยน้อยไปด้วย ไม่รู้เหมือนกัน แต่ไม่หิวรุนแรง

 

“Big Boss” คนที่ดูแลพวกเราที่ซินธ์เป็นนักเล่าเรื่อง เขาบอกว่า หมาเป็นสัตว์ที่ปรับตัวง่าย ที่ร้อน ที่หนาว ก็อยู่ได้หมด เขาเลยเอาไว้เรียกคนที่ปลิ้นปล้อนว่า “dog temperature man” โดยเฉพาะพวกนักการเมืองปลิ้นปล้อน

 

แต่จากที่มาอยู่เมืองร้อนจัด เคยอยู่เมืองหนาวจัด อยู่กรุงเทพฯ แบบไม่ติดห้องแอร์ ก็ทำให้พบว่า คนนี่แหละที่ร่างกายปลิ้นปล้อนมาก ไม่แพ้หรืออาจจะยิ่งกว่าหมา

 

ยังมีเวลาอยู่ที่ปากีสถานอีกหลายวัน ยังมีเรื่องที่ยังไม่ได้เล่าอีกมาก จะค่อยๆ ทยอยเล่าเหมือนปริมาณน้ำฉี่ที่นี่ไปก็แล้วกัน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เกียวโตไม่ใช่เมืองที่ผมไม่เคยมา ผมมาเกียวโตน่าจะสัก 5 ครั้งแล้วได้ มาแต่ละครั้งอย่างน้อย ๆ ก็ 7 วัน บางครั้ง 10 วันบ้าง หรือ 14 วัน ครั้งก่อน ๆ นั้นมาสัมมนา 2 วันบ้าง 5 วันบ้าง หรือแค่ 3 ชั่วโมงบ้าง แต่คราวนี้ได้ทุนมาเขียนงานวิจัย จึงเรียกได้ว่ามา "อยู่" เกียวโตจริง ๆ สักที แม้จะช่วงสั้นเพียง 6 เดือนก็ตาม เมื่ออยู่มาได้หนึ่งเดือนแล้ว ก็อยากบันทึกอะไรไว้สักเล็กน้อยเกี่ยวกับการใช้ชีวิตที่นี่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการญี่ปุ่นที่ผมรู้จักมากสัก 10 กว่าปีมีจำนวนมากพอสมควร ผมแบ่งเป็นสองประเภทคือ พวกที่จบเอกจากอังกฤษ สหรัฐอเมริกา กับพวกที่จบเอกในญี่ปุ่น แต่ทั้งสองพวก ส่วนใหญ่เป็นทั้งนักดื่มและ foody คือเป็นนักสรรหาของกิน หนึ่งในนั้นมีนักมานุษยวิทยาช่างกินที่ผมรู้จักที่มหาวิทยาลัยเกียวโตคนหนึ่ง ค่อนข้างจะรุ่นใหญ่เป็นศาสตราจารย์แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สองวันก่อนเห็นสถาบันวิจัยชื่อดังแห่งหนึ่งในประเทศไทยนำการเปรียบเทียบสัดส่วนทุนวิจัยอย่างหยาบ ๆ ของหน่วยงานด้านการวิจัยที่ทรงอำนาจแต่ไม่แน่ใจว่าทรงความรู้กี่มากน้อยของไทย มาเผยแพร่ด้วยข้อสรุปว่า ประเทศกำลังพัฒนาเขาไม่ทุ่มเทลงทุนกับการวิจัยพื้นฐานมากกว่าการวิจัยประยุกต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรส่งเสริมการทำวิจัยแบบที่สามารถนำไปต่อยอดทำเงินได้ให้มากที่สุด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ต้นปีนี้ (ปี 2559) ผมมาอ่านเขียนงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ผมมาถึงเมื่อวานนี้เอง (4 มกราคม 2559) เอาไว้จะเล่าให้ฟังว่ามาทำอะไร มาได้อย่างไร ทำไมต้องมาถึงที่นี่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นับวัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะยิ่งตกต่ำและน่าอับอายลงไปทุกที ล่าสุดจากถ้อยแถลงของฝ่ายการนักศึกษาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันถือได้ว่าเป็นการแสดงท่าทีของคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยต่อการแสดงออกของนักศึกษาในกรณี "คณะส่องทุจริตราชภักดิ์" ที่มีทั้งนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รวมอยู่ด้วย ผมมีทัศนะต่อถ้อยแถลงดังกล่าวดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สำหรับการศึกษาระดับสูง ผมคิดว่านักศึกษาควรจะต้องใช้ความคิดกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบ เป็นชุดความคิดที่ใหญ่กว่าเพียงการตอบคำถามบางคำถาม สิ่งที่ควรสอนมากกว่าเนื้อหาความรู้ที่มีอยู่แล้วคือสอนให้รู้จักประกอบสร้างความรู้ให้เป็นงานเขียนของตนเอง ยิ่งในระดับปริญญาโทและเอกทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ถึงที่สุดแล้วนักศึกษาจะต้องเขียนบทความวิชาการหรือตัวเล่มวิทยานิพนธ์ หากไม่เร่งฝึกเขียนอย่างจริงจัง ก็คงไม่มีทางเขียนงานใหญ่ ๆ ให้สำเร็จด้วยตนเองได้ในที่สุด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่เห็นด้วยกับการเซ็นเซอร์ ไม่เห็นด้วยกับการห้ามฉายหนังแน่ๆ แต่อยากทำความเข้าใจว่า ตกลงพระในหนังไทยคือใคร แล้วทำไมรัฐ ซึ่งในปัจจุบันยิ่งอยู่ในภาวะกะลาภิวัตน์ อนุรักษนิยมสุดขั้ว จึงต้องห้ามฉายหนังเรื่องนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใน บทสัมภาษณ์นี้ (ดูคลิปในยูทูป) มาร์แชล ซาห์ลินส์ (Marshall Sahlins) นักมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกให้สัมภาษณ์ต่อหน้าที่ประชุม ซาห์สินส์เป็นนักมานุษยวิทยาอเมริกันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งที่แวดวงมานุษยวิทยายังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เขาเชี่ยวชาญสังคมในหมู่เกาะแปซิฟิค ทั้งเมลานีเชียนและโพลีนีเชียน ในบทสัมภาษณ์นี้ เขาอายุ 83 ปีแล้ว (ปีนี้เขาอายุ 84 ปี) แต่เขาก็ยังตอบคำถามได้อย่างแคล่วคล่อง ฉะฉาน และมีความจำดีเยี่ยม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การรับน้องจัดได้ว่าเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่ง เป็นพิธีกรรมที่วางอยู่บนอุดมการณ์และผลิตซ้ำคุณค่าบางอย่าง เนื่องจากสังคมหนึ่งไม่ได้จำเป็นต้องมีระบบคุณค่าเพียงแบบเดียว สังคมสมัยใหม่มีวัฒนธรรมหลายๆ อย่างที่ทั้งเปลี่ยนแปลงไปและขัดแย้งแตกต่างกัน ดังนั้นคนในสังคมจึงไม่จำเป็นต้องยอมรับการรับน้องเหมือนกันหมด หากจะประเมินค่าการรับน้อง ก็ต้องถามว่า คุณค่าหรืออุดมการณ์ที่การรับน้องส่งเสริมนั้นเหมาะสมกับระบบการศึกษาแบบไหนกัน เหมาะสมกับสังคมแบบไหนกัน เราเองอยากอยู่ในสังคมแบบไหน แล้วการรับน้องสอดคล้องกับสังคมแบบที่เราอยากอยู่นั้นหรือไม่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การได้อ่านงานทั้งสามชิ้นในโครงการวิจัยเรื่อง “ภูมิทัศน์ทางปัญญาแห่งประชาคมอาเซียน” ปัญญาชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (และที่จริงได้อ่านอีกชิ้นหนึ่งของโครงการนี้คืองานศึกษาปัญญาชนของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามคนสำคัญอีกคนหนึ่ง คือเจื่อง จิง โดยอ.มรกตวงศ์ ภูมิพลับ) ก็ทำให้เข้าใจและมีประเด็นที่ชวนให้คิดเกี่ยวกับเรื่องปัญญาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น ผมคงจะไม่วิจารณ์บทความทั้งสามชิ้นนี้ในรายละเอียด แต่อยากจะตั้งคำถามเพิ่มเติมบางอย่าง และอยากจะลองคิดต่อในบริบทที่กว้างออกไปซึ่งอาจจะมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์กับผู้วิจัยและผู้ฟังก็สุดแล้วแต่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เชอร์รี ออร์ตเนอร์ นักมานุษยวิทยาผู้เชี่ยวชาญเนปาล แต่ภายหลังกลับมาศึกษาสังคมตนเอง พบว่าชนชั้นกลางอเมริกันมักมองลูกหลานตนเองดุจเดียวกับที่พวกเขามองชนชั้นแรงงาน คือมองว่าลูกหลานตนเองขี้เกียจ ไม่รู้จักรับผิดชอบตนเอง แล้วพวกเขาก็กังวลว่าหากลูกหลานตนเองไม่ปรับตัวให้เหมือนพ่อแม่แล้ว เมื่อเติบโตขึ้นก็จะกลายเป็นผู้ใช้แรงงานเข้าสักวันหนึ่ง (ดู Sherry Ortner "Reading America: Preliminary Notes on Class and Culture" (1991)) 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (23 กค. 58) ผมไปนั่งฟัง "ห้องเรียนสาธารณะเพื่อประชาธิปไตยใหม่ครั้งที่ 2 : การมีส่วนร่วมและสิทธิชุมชน" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตลอดทั้งวันด้วยความกระตืนรือล้น นี่นับเป็นงานเดียวที่ถึงเลือดถึงเนื้อมากที่สุดในบรรดางานสัมมนา 4-5 ครั้งที่ผมเข้าร่วมเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา เพราะนี่ไม่ใช่เพียงการเล่นกายกรรมทางปัญญาหรือการเพิ่มพูนความรู้เพียงในรั้วมหาวิทยาลัย แต่เป็นการรับรู้ถึงปัญหาผู้เดือดร้อนจากปากของพวกเขาเองอย่างตรงไปตรงมา