Skip to main content

การเสียสละกับการรักษาหลักการมักถูกนำมาใช้อ้างหรือมากกว่านั้นคืออาจมีส่วนใช้ในการตัดสินใจ

ผมไม่สามารถตัดสินใจแทนเพื่อนได้ แต่ผมยังคิดว่าเพื่อนมีเวลาและกล้าหาญพอที่จะตัดสินใจเลือกแนวทางที่ไม่ต้องอ้างเรื่องการเสียสละ หรือคิดให้มากขึ้นถึงต้นทุนของทั้งสังคมที่ใหญ่กว่าและเครือข่ายสังคมของเพื่อนเอง

เวลาเราคิดว่าต้องเสียสละ เราเสียอะไรบ้าง บางคนอาจคิดจากหลักของความเป็นผู้มีคุณธรรม การเสียสละมักเป็นเรื่องทางศาสนา งานศึกษาเรื่องการเสียสละมีตั้งแต่การมองว่า การเสียสละคือการสื่อสารกับสิ่งเหนือมนุษย์ หากจะถือว่าสิ่งเหนือมนุษย์ก็คือสังคมนั่นแหละ การเสียสละก็คือการทำงานเพื่อคนอื่น เป็นการอุทิศตัวให้สังคม

 

แต่การศึกษาสังคมมนุษย์ยังมีอีกแนวทางหนึ่งที่มองว่า การเสียสละไม่ใช่คุณธรรมสูงส่งอะไรหรอก แต่มันเป็นการสร้างข้อแลกเปลี่ยน หรือพูดให้ตรงกว่านั้นคือ มันเป็นการแลกเปลี่ยนอย่างหนึ่งนั่นเอง ผู้ที่เสีย หรือเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่าเขายอมเสียโดยไม่รับอะไรกลับคืนมาเลย ยอมให้ในขนาดที่ผู้รับทั้งไม่อาจปฏิเสธได้และไม่สามารถให้ตอบแทนคืนได้นั่น อันที่จริงเขาก็คือผู้มีอำนาจสูงสุดแบบหนึ่งนั่นเอง

 

ให้ชัดกว่านั้น มีผู้กล่าวว่า การเสียสละก็คือการสะสมทุนแบบหนึ่งของผู้เสียสละ มันคือการสะสมทุนทางสังคมและเศรษฐกิจ ผ่านการหลบเลี่ยงว่าเขาเป็นผู้ให้ เป็นผู้ละทิ้ง เป็นผู้สละตน หากแต่ผลที่เขาจะได้รับตอบแทนก็คือ อำนาจราชศักดิ์ต่างๆ ที่ทั้งแปลงไปเป็นทุนทางสังคม เครือข่ายผู้ภักดี และทุนทางเศรษฐกิจแบบต่างๆ

 

ผมเชื่อในมุมมองการเสียสละอย่างหลังมากกว่า และเลือกทีาจะมองว่า การเสียสละมีต้นทุนเสมอ หากเบือกว่านะเสียสละอะไรไป ก็ต้องคิดง่ายๆ ด้วยว่า สิ่งที่เสียไปกับที่จะได้มามันคุ้มกันไหม 

 

การเสียสละบางอย่างถูกใช้อ้างเพื่อหักล้างต่อหลักการของตนเอง เพื่อรักษาเครือข่ายทางสังคมของตนเอง เพราะเชื่อว่าหากยอมทิ้งหรือปิดตาข้างหนึ่งยอมลืมหลักการที่ดีกว่า อาจจะดีกว่าการยอมยึดถือหลักการแต่ต้องเสียเครือข่ายไป ผมเห็นคนมากมายเลือกแบบนั้นแล้วสุดท้ายเขาก็เสื่อมลงๆ

 

หากเพื่อนเชื่อมั่นต่อหลักการที่ยึดถือและป่าวประกาศมาตลอดว่าสังคมนี้จะต้องก้าวไปสู่สังคมที่เคารพในสิทธิเสรีภาพของประชาชน ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย การยอมสูญเสียหลักการนี้เพื่อรักษาตำแหน่งแห่งที่ของตน รักษาเครือข่ายของตนนั้น อย่างไหนเรียกว่าเป็นการเสียสละมากกว่ากันแน่

 

เราได้เห็นกันมามากแล้วว่า การก้าวเข้าไปในวังวนของอำนาจแบบเผด็จการนั้น ไม่เคยช่วยอะไรแก่สังคม ชุมชน ประชาชนโดยกว้างได้ แต่หากเพื่อนเราบางคนยังคงยังเชื่ออยู่ว่า เขาต้องยอมเสียสละเพื่อรักษาเครือข่ายทางสังคมของเขา ผมก็เสียใจที่ทำได้แค่นั่งรอดูว่า เขาจะไปอยู่ในกลุ่มผู้อับจนและเสื่อมถอยทางการเมืองแบบประชาธิปไตยไปได้อีกถึงไหน

 

แต่หากเพื่อนกล้าถอยออกมา ผมมั่นใจว่าเครือข่ายทางสังคมของเพื่อนรวมทั้งผมเอง ก็ย่อมเข้าใจและพร้อมสู้ร่วมกับเพื่อนต่อไป

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เกียวโตไม่ใช่เมืองที่ผมไม่เคยมา ผมมาเกียวโตน่าจะสัก 5 ครั้งแล้วได้ มาแต่ละครั้งอย่างน้อย ๆ ก็ 7 วัน บางครั้ง 10 วันบ้าง หรือ 14 วัน ครั้งก่อน ๆ นั้นมาสัมมนา 2 วันบ้าง 5 วันบ้าง หรือแค่ 3 ชั่วโมงบ้าง แต่คราวนี้ได้ทุนมาเขียนงานวิจัย จึงเรียกได้ว่ามา "อยู่" เกียวโตจริง ๆ สักที แม้จะช่วงสั้นเพียง 6 เดือนก็ตาม เมื่ออยู่มาได้หนึ่งเดือนแล้ว ก็อยากบันทึกอะไรไว้สักเล็กน้อยเกี่ยวกับการใช้ชีวิตที่นี่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการญี่ปุ่นที่ผมรู้จักมากสัก 10 กว่าปีมีจำนวนมากพอสมควร ผมแบ่งเป็นสองประเภทคือ พวกที่จบเอกจากอังกฤษ สหรัฐอเมริกา กับพวกที่จบเอกในญี่ปุ่น แต่ทั้งสองพวก ส่วนใหญ่เป็นทั้งนักดื่มและ foody คือเป็นนักสรรหาของกิน หนึ่งในนั้นมีนักมานุษยวิทยาช่างกินที่ผมรู้จักที่มหาวิทยาลัยเกียวโตคนหนึ่ง ค่อนข้างจะรุ่นใหญ่เป็นศาสตราจารย์แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สองวันก่อนเห็นสถาบันวิจัยชื่อดังแห่งหนึ่งในประเทศไทยนำการเปรียบเทียบสัดส่วนทุนวิจัยอย่างหยาบ ๆ ของหน่วยงานด้านการวิจัยที่ทรงอำนาจแต่ไม่แน่ใจว่าทรงความรู้กี่มากน้อยของไทย มาเผยแพร่ด้วยข้อสรุปว่า ประเทศกำลังพัฒนาเขาไม่ทุ่มเทลงทุนกับการวิจัยพื้นฐานมากกว่าการวิจัยประยุกต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรส่งเสริมการทำวิจัยแบบที่สามารถนำไปต่อยอดทำเงินได้ให้มากที่สุด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ต้นปีนี้ (ปี 2559) ผมมาอ่านเขียนงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ผมมาถึงเมื่อวานนี้เอง (4 มกราคม 2559) เอาไว้จะเล่าให้ฟังว่ามาทำอะไร มาได้อย่างไร ทำไมต้องมาถึงที่นี่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นับวัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะยิ่งตกต่ำและน่าอับอายลงไปทุกที ล่าสุดจากถ้อยแถลงของฝ่ายการนักศึกษาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันถือได้ว่าเป็นการแสดงท่าทีของคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยต่อการแสดงออกของนักศึกษาในกรณี "คณะส่องทุจริตราชภักดิ์" ที่มีทั้งนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รวมอยู่ด้วย ผมมีทัศนะต่อถ้อยแถลงดังกล่าวดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สำหรับการศึกษาระดับสูง ผมคิดว่านักศึกษาควรจะต้องใช้ความคิดกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบ เป็นชุดความคิดที่ใหญ่กว่าเพียงการตอบคำถามบางคำถาม สิ่งที่ควรสอนมากกว่าเนื้อหาความรู้ที่มีอยู่แล้วคือสอนให้รู้จักประกอบสร้างความรู้ให้เป็นงานเขียนของตนเอง ยิ่งในระดับปริญญาโทและเอกทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ถึงที่สุดแล้วนักศึกษาจะต้องเขียนบทความวิชาการหรือตัวเล่มวิทยานิพนธ์ หากไม่เร่งฝึกเขียนอย่างจริงจัง ก็คงไม่มีทางเขียนงานใหญ่ ๆ ให้สำเร็จด้วยตนเองได้ในที่สุด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่เห็นด้วยกับการเซ็นเซอร์ ไม่เห็นด้วยกับการห้ามฉายหนังแน่ๆ แต่อยากทำความเข้าใจว่า ตกลงพระในหนังไทยคือใคร แล้วทำไมรัฐ ซึ่งในปัจจุบันยิ่งอยู่ในภาวะกะลาภิวัตน์ อนุรักษนิยมสุดขั้ว จึงต้องห้ามฉายหนังเรื่องนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใน บทสัมภาษณ์นี้ (ดูคลิปในยูทูป) มาร์แชล ซาห์ลินส์ (Marshall Sahlins) นักมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกให้สัมภาษณ์ต่อหน้าที่ประชุม ซาห์สินส์เป็นนักมานุษยวิทยาอเมริกันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งที่แวดวงมานุษยวิทยายังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เขาเชี่ยวชาญสังคมในหมู่เกาะแปซิฟิค ทั้งเมลานีเชียนและโพลีนีเชียน ในบทสัมภาษณ์นี้ เขาอายุ 83 ปีแล้ว (ปีนี้เขาอายุ 84 ปี) แต่เขาก็ยังตอบคำถามได้อย่างแคล่วคล่อง ฉะฉาน และมีความจำดีเยี่ยม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การรับน้องจัดได้ว่าเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่ง เป็นพิธีกรรมที่วางอยู่บนอุดมการณ์และผลิตซ้ำคุณค่าบางอย่าง เนื่องจากสังคมหนึ่งไม่ได้จำเป็นต้องมีระบบคุณค่าเพียงแบบเดียว สังคมสมัยใหม่มีวัฒนธรรมหลายๆ อย่างที่ทั้งเปลี่ยนแปลงไปและขัดแย้งแตกต่างกัน ดังนั้นคนในสังคมจึงไม่จำเป็นต้องยอมรับการรับน้องเหมือนกันหมด หากจะประเมินค่าการรับน้อง ก็ต้องถามว่า คุณค่าหรืออุดมการณ์ที่การรับน้องส่งเสริมนั้นเหมาะสมกับระบบการศึกษาแบบไหนกัน เหมาะสมกับสังคมแบบไหนกัน เราเองอยากอยู่ในสังคมแบบไหน แล้วการรับน้องสอดคล้องกับสังคมแบบที่เราอยากอยู่นั้นหรือไม่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การได้อ่านงานทั้งสามชิ้นในโครงการวิจัยเรื่อง “ภูมิทัศน์ทางปัญญาแห่งประชาคมอาเซียน” ปัญญาชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (และที่จริงได้อ่านอีกชิ้นหนึ่งของโครงการนี้คืองานศึกษาปัญญาชนของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามคนสำคัญอีกคนหนึ่ง คือเจื่อง จิง โดยอ.มรกตวงศ์ ภูมิพลับ) ก็ทำให้เข้าใจและมีประเด็นที่ชวนให้คิดเกี่ยวกับเรื่องปัญญาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น ผมคงจะไม่วิจารณ์บทความทั้งสามชิ้นนี้ในรายละเอียด แต่อยากจะตั้งคำถามเพิ่มเติมบางอย่าง และอยากจะลองคิดต่อในบริบทที่กว้างออกไปซึ่งอาจจะมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์กับผู้วิจัยและผู้ฟังก็สุดแล้วแต่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เชอร์รี ออร์ตเนอร์ นักมานุษยวิทยาผู้เชี่ยวชาญเนปาล แต่ภายหลังกลับมาศึกษาสังคมตนเอง พบว่าชนชั้นกลางอเมริกันมักมองลูกหลานตนเองดุจเดียวกับที่พวกเขามองชนชั้นแรงงาน คือมองว่าลูกหลานตนเองขี้เกียจ ไม่รู้จักรับผิดชอบตนเอง แล้วพวกเขาก็กังวลว่าหากลูกหลานตนเองไม่ปรับตัวให้เหมือนพ่อแม่แล้ว เมื่อเติบโตขึ้นก็จะกลายเป็นผู้ใช้แรงงานเข้าสักวันหนึ่ง (ดู Sherry Ortner "Reading America: Preliminary Notes on Class and Culture" (1991)) 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (23 กค. 58) ผมไปนั่งฟัง "ห้องเรียนสาธารณะเพื่อประชาธิปไตยใหม่ครั้งที่ 2 : การมีส่วนร่วมและสิทธิชุมชน" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตลอดทั้งวันด้วยความกระตืนรือล้น นี่นับเป็นงานเดียวที่ถึงเลือดถึงเนื้อมากที่สุดในบรรดางานสัมมนา 4-5 ครั้งที่ผมเข้าร่วมเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา เพราะนี่ไม่ใช่เพียงการเล่นกายกรรมทางปัญญาหรือการเพิ่มพูนความรู้เพียงในรั้วมหาวิทยาลัย แต่เป็นการรับรู้ถึงปัญหาผู้เดือดร้อนจากปากของพวกเขาเองอย่างตรงไปตรงมา