Skip to main content

จากเหตุการณ์ #กราดยิงโคราช เราเห็นอะไรเกี่ยวกับทหารไทยบ้าง

1. ทหารชั้นผู้ใหญ่หาผลประโยชน์จากทหารชั้นผู้น้อย ข่าวความคับแค้นใจจากการถูกนายทหารชั้นผู้ใหญ่และญาตินายทหารชั้นผู้ใหญ่โกง ข่าวความไม่โปร่งใสของการทำธุรกิจที่ดินระหว่างทหารชั้นผู้ใหญ่กับทหารชั้นผู้น้อย แสดงถึงประโยชน์ทับซ้อน การหาผลประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรมในกองทัพ การฉ้อฉลในกองทัพ ทั้งหมดนี้รอการตรวจสอบต่อไป แต่นี่เป็นเพียงเหตุเฉพาะหน้าของเหตุการณ์ เหตุซึ่งใหญ่กว่านั้นในระดับโครงสร้างคือการหละหลวมของระบบ และความล้าหลังของบุคลากรและองค์กรกองทัพไทย ที่เราก็ได้เห็นจากเหตุการณ์นี้เช่นกัน

2. ทหารชั้นผู้น้อยไม่มีวินัย ควบคุมตนเองไม่ได้ ความไร้วินัยของทหารบางคน ไม่ได้แสดงถึงแค่ระดับปัจเจก แต่แสดงถึงการที่กองทัพไม่รู้จักวิธีควบคุมกำลังคนที่ถืออาวุธ การสร้างวินัยไม่ใช่แค่การควบคุมท่าทางในการนั่ง ยืน เดิน ตามที่เป็นข่าวแล้วกองทัพก็รีบออกมาปฏิเสธ นั่นไม่ใช่สาระของวินัยทหาร แต่ยังต้องมีเป็นการดูแลสภาพจิตใจ ตรวจสอบลักษณะนิสัย การฝึกฝนให้เคารพหน้าที่ เคร่งครัดกับระเบียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใครก็ตามที่เข้าถึงอาวุธสงครามร้ายแรงได้ ยิ่งต้องมีการตรวจสอบควบคุมอย่างใกล้ชิด การปล่อยให้คนมีลักษณะนิยมความรุนแรงเป็นพื้นฐาน สามารถเข้าถึงอาวุธสงครามร้ายแรงได้ ทำให้น่าสงสัยว่าทหารไทยคิดถึงระเบียบวินัยแบบไหนกัน

3. ทหารทั้งค่ายทหารไม่สามารถป้องกันตนเองได้ เรื่องน่าวิตกกังวลแก่ทั้งสังคมคือ ศักยภาพในการป้องกันตนเองของทหาร โดยเฉพาะทหารที่ดูแลคลังอาวุธสงคราม และการคุ้มครองประชาชน การที่คนเพียงคนเดียว แม้จะมีอาวุธแต่ในระหว่างที่เขาเข้าไปชิงอาวุธนั้น เขาน่าจะยังไม่ได้ใช้อาวุธสงครามร้ายแรง แต่เพียงเท่านั้นก็ยังสามารถเข้าถึงคลังอาวุธและนำอาวุธพร้อมขับรถทหารออกมาตามลำพังได้ นี่ย่อมทำให้ประชาชนขาดความมั่นใจว่าทหารจะสามารถทำหน้าที่คุ้มครองประชาชนได้หรือไม่ เพราะขนาดทหารเองยังคุ้มครองตนเองไม่ได้เลย

4. ทหารทั้งค่ายทหารไม่สามารถป้องกันการก่อการร้ายทั้งในค่ายและที่จะเกิดต่อเนื่องในสังคมวงกว้างได้ หลังจากคนร้ายได้อาวุธร้ายแรงไปแล้ว ค่ายทหารทั้งค่ายก็ปล่อยให้เขาหลุดรอดจนออกไปก่อเหตุได้ นี่แสดงถึงความไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันเหตุร้ายที่กำลังจะขยายตัวออกไป ประชาชนยังสงสัยอีกด้วยว่าค่ายทหารมีการซ้อมการป้องกันภัยอย่างไรหรือไม่ มีขั้นตอนที่เป็นระเบียบปฏิบัติอย่างไร หากทหารทั้งค่ายไม่มีกลไกในการป้องกันการก่อการร้าย ไม่สามารถสกัดกั้นเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นได้ แล้วทหารจะปกป้องประชาชนได้อย่างไร นี่ยังไม่นับว่าจะไปรบทัพจับศึกกับใครเขาได้ 

5. ทหารชั้นผู้ใหญ่ไม่มีวุฒิภาวะในภาวะความสูญเสีย ในภาวะของความสูญเสีย ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่เคยเกิดขึ้นเสียเลยจนนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่เป็นถึงระดับผู้นำกองทัพจะไม่เคยมีประสบการณ์ แต่ประสบการณ์อาจจะไม่ได้สอนคนคนนั้นเลยหากเขาไม่มีพื้นฐานจิตใจที่ดีงามต่อประชาชนอย่างแท้จริง หากเขายังคงมองประชาชนว่าเป็นคนอยู่ใต้การปกครอง ใต้การบังคับบัญชาของเขาเท่านั้น ข้อนี้จึงน่ากังวลว่า หากกองทัพไทยยังคงอบรบสั่งสอนให้บุคลากรมีนิสัยกักขฬะต่อประชาชนเช่นนี้ หากกองทัพยังคงยอมรับและปล่อยให้คนแบบนี้มาเป็นผู้นำเรื่อยๆ จะเป็นกองทัพที่รับใช้ ดูแลทุกข์สุข เห็นใจประชาชนได้อย่างไร

6. ทหารชั้นผู้ใหญ่ไม่รู้จักสำนึกผิด ความยอมรับผิดต่อหน้าที่ต่อความรับผิดชอบมีย่อมมากขึ้นตามอำนาจที่มี ยิ่งอำนาจมากยิ่งต้องมีความรับผิดอบมากและยิ่งต้องมีสำนึกต่อความรับผิดมาก แต่ทหารชั้นผู้ใหญ่ไทยกลับเป็นตรงกันข้าม ยิ่งผิดมากยิ่งแก้ตัวมาก ยิ่งปัดความรับผิดชอบมาก ยิ่งไม่แยแสมาก ในเหตุการณ์นี้ เห็นได้ชัดว่าทหารชั้นผู้ใหญ่ปัดความรับผิดชอบให้ทหารชั้นผู้น้อยที่ก่อความผิด ทหารชั้นผู้ใหญ่ไม่รู้จักยอมรับความบกพร่องของการรักษาความปลอดภัยในค่ายทหารเอง ประชาชนย่อมสงสัยว่าพวกเขาห่วงการมีอยู่ของฐานะ ตำแหน่ง รายได้ หน้าตา ของตนเอง มากกว่าการมีความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของประชาชนหรือไม่

7. ทหารทั้งกองทัพไร้ธรรมาภิบาล ทหารทั้งกองทัพชอบแก้ตัวให้แก่กันมากกว่าทบทวนตรวจสอบปัญหา เมื่อเกิดปัญหาแล้ว แทนที่จะตั้งกรรมการตรวจสอบ ทบทวนตนเอง ทบทวนความบกพร่อม ไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อปรับปรุง กองทัพไทยกลับมีแต่กลไกการแก้ตัว หน่วยงานประชาสัมพันธ์มีหน้าที่แก้ต่างให้กับความผิดของทหารชั้นผู้ใหญ่ แก้ต่างให้กับความด้อยประสิทธิภาพของกองทัพ แก้ปัญหาด้วยปากมากกว่าการสร้างระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ การตรวจสอบจะต้องมาจากภายนอก หรือมีคนจากภายนอกมีส่วนร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการตรวจสอบความผิดพลาด ไม่ใช่เหตุเกิดยังไม่ทันข้ามวัน ก็แก้ตัวแล้วว่าไม่มีข้อผิดพลาด ไม่มีความบกพร่อง หรืออ้างกระทั่งว่าตรวจสอบแล้วไม่พบความบกพร่อง 

ทั้งหมดนี้ยังไม่ต้องพูดถึงการปฏิรูปกองทัพใดๆ เลย แค่ทำในสิ่งที่ควรจะทำ แค่เป็นทหารที่ควรจะเป็น แค่ทำหน้าที่ตนเองให้ดี ทหารไทยทุกระดับยังแสดงให้เห็นไม่ได้เลยว่ามีความสามารถทำได้ แล้วประชาชนจะเชื่อมั่นในคำพูดว่าจะปกป้องคุ้มครองประชาชน จะป้องกันประเทศชาติได้อย่างไร มิพักต้องเอ่ยถึงว่า ที่ทุกวันนี้กองทัพไทยเข้ามายุ่มย่ามกับการบริหารประเทศ คือทำเกินหน้าที่ของตนเองนั้น จะทำให้ดีได้อย่างไร เพราะแม้แต่หน้าที่ของตนเองยังทำให้ดีไม่ได้เลย

#ทหารมีไว้ทำไม

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เกียวโตไม่ใช่เมืองที่ผมไม่เคยมา ผมมาเกียวโตน่าจะสัก 5 ครั้งแล้วได้ มาแต่ละครั้งอย่างน้อย ๆ ก็ 7 วัน บางครั้ง 10 วันบ้าง หรือ 14 วัน ครั้งก่อน ๆ นั้นมาสัมมนา 2 วันบ้าง 5 วันบ้าง หรือแค่ 3 ชั่วโมงบ้าง แต่คราวนี้ได้ทุนมาเขียนงานวิจัย จึงเรียกได้ว่ามา "อยู่" เกียวโตจริง ๆ สักที แม้จะช่วงสั้นเพียง 6 เดือนก็ตาม เมื่ออยู่มาได้หนึ่งเดือนแล้ว ก็อยากบันทึกอะไรไว้สักเล็กน้อยเกี่ยวกับการใช้ชีวิตที่นี่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการญี่ปุ่นที่ผมรู้จักมากสัก 10 กว่าปีมีจำนวนมากพอสมควร ผมแบ่งเป็นสองประเภทคือ พวกที่จบเอกจากอังกฤษ สหรัฐอเมริกา กับพวกที่จบเอกในญี่ปุ่น แต่ทั้งสองพวก ส่วนใหญ่เป็นทั้งนักดื่มและ foody คือเป็นนักสรรหาของกิน หนึ่งในนั้นมีนักมานุษยวิทยาช่างกินที่ผมรู้จักที่มหาวิทยาลัยเกียวโตคนหนึ่ง ค่อนข้างจะรุ่นใหญ่เป็นศาสตราจารย์แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สองวันก่อนเห็นสถาบันวิจัยชื่อดังแห่งหนึ่งในประเทศไทยนำการเปรียบเทียบสัดส่วนทุนวิจัยอย่างหยาบ ๆ ของหน่วยงานด้านการวิจัยที่ทรงอำนาจแต่ไม่แน่ใจว่าทรงความรู้กี่มากน้อยของไทย มาเผยแพร่ด้วยข้อสรุปว่า ประเทศกำลังพัฒนาเขาไม่ทุ่มเทลงทุนกับการวิจัยพื้นฐานมากกว่าการวิจัยประยุกต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรส่งเสริมการทำวิจัยแบบที่สามารถนำไปต่อยอดทำเงินได้ให้มากที่สุด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ต้นปีนี้ (ปี 2559) ผมมาอ่านเขียนงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ผมมาถึงเมื่อวานนี้เอง (4 มกราคม 2559) เอาไว้จะเล่าให้ฟังว่ามาทำอะไร มาได้อย่างไร ทำไมต้องมาถึงที่นี่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นับวัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะยิ่งตกต่ำและน่าอับอายลงไปทุกที ล่าสุดจากถ้อยแถลงของฝ่ายการนักศึกษาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันถือได้ว่าเป็นการแสดงท่าทีของคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยต่อการแสดงออกของนักศึกษาในกรณี "คณะส่องทุจริตราชภักดิ์" ที่มีทั้งนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รวมอยู่ด้วย ผมมีทัศนะต่อถ้อยแถลงดังกล่าวดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สำหรับการศึกษาระดับสูง ผมคิดว่านักศึกษาควรจะต้องใช้ความคิดกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบ เป็นชุดความคิดที่ใหญ่กว่าเพียงการตอบคำถามบางคำถาม สิ่งที่ควรสอนมากกว่าเนื้อหาความรู้ที่มีอยู่แล้วคือสอนให้รู้จักประกอบสร้างความรู้ให้เป็นงานเขียนของตนเอง ยิ่งในระดับปริญญาโทและเอกทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ถึงที่สุดแล้วนักศึกษาจะต้องเขียนบทความวิชาการหรือตัวเล่มวิทยานิพนธ์ หากไม่เร่งฝึกเขียนอย่างจริงจัง ก็คงไม่มีทางเขียนงานใหญ่ ๆ ให้สำเร็จด้วยตนเองได้ในที่สุด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่เห็นด้วยกับการเซ็นเซอร์ ไม่เห็นด้วยกับการห้ามฉายหนังแน่ๆ แต่อยากทำความเข้าใจว่า ตกลงพระในหนังไทยคือใคร แล้วทำไมรัฐ ซึ่งในปัจจุบันยิ่งอยู่ในภาวะกะลาภิวัตน์ อนุรักษนิยมสุดขั้ว จึงต้องห้ามฉายหนังเรื่องนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใน บทสัมภาษณ์นี้ (ดูคลิปในยูทูป) มาร์แชล ซาห์ลินส์ (Marshall Sahlins) นักมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกให้สัมภาษณ์ต่อหน้าที่ประชุม ซาห์สินส์เป็นนักมานุษยวิทยาอเมริกันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งที่แวดวงมานุษยวิทยายังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เขาเชี่ยวชาญสังคมในหมู่เกาะแปซิฟิค ทั้งเมลานีเชียนและโพลีนีเชียน ในบทสัมภาษณ์นี้ เขาอายุ 83 ปีแล้ว (ปีนี้เขาอายุ 84 ปี) แต่เขาก็ยังตอบคำถามได้อย่างแคล่วคล่อง ฉะฉาน และมีความจำดีเยี่ยม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การรับน้องจัดได้ว่าเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่ง เป็นพิธีกรรมที่วางอยู่บนอุดมการณ์และผลิตซ้ำคุณค่าบางอย่าง เนื่องจากสังคมหนึ่งไม่ได้จำเป็นต้องมีระบบคุณค่าเพียงแบบเดียว สังคมสมัยใหม่มีวัฒนธรรมหลายๆ อย่างที่ทั้งเปลี่ยนแปลงไปและขัดแย้งแตกต่างกัน ดังนั้นคนในสังคมจึงไม่จำเป็นต้องยอมรับการรับน้องเหมือนกันหมด หากจะประเมินค่าการรับน้อง ก็ต้องถามว่า คุณค่าหรืออุดมการณ์ที่การรับน้องส่งเสริมนั้นเหมาะสมกับระบบการศึกษาแบบไหนกัน เหมาะสมกับสังคมแบบไหนกัน เราเองอยากอยู่ในสังคมแบบไหน แล้วการรับน้องสอดคล้องกับสังคมแบบที่เราอยากอยู่นั้นหรือไม่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การได้อ่านงานทั้งสามชิ้นในโครงการวิจัยเรื่อง “ภูมิทัศน์ทางปัญญาแห่งประชาคมอาเซียน” ปัญญาชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (และที่จริงได้อ่านอีกชิ้นหนึ่งของโครงการนี้คืองานศึกษาปัญญาชนของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามคนสำคัญอีกคนหนึ่ง คือเจื่อง จิง โดยอ.มรกตวงศ์ ภูมิพลับ) ก็ทำให้เข้าใจและมีประเด็นที่ชวนให้คิดเกี่ยวกับเรื่องปัญญาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น ผมคงจะไม่วิจารณ์บทความทั้งสามชิ้นนี้ในรายละเอียด แต่อยากจะตั้งคำถามเพิ่มเติมบางอย่าง และอยากจะลองคิดต่อในบริบทที่กว้างออกไปซึ่งอาจจะมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์กับผู้วิจัยและผู้ฟังก็สุดแล้วแต่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เชอร์รี ออร์ตเนอร์ นักมานุษยวิทยาผู้เชี่ยวชาญเนปาล แต่ภายหลังกลับมาศึกษาสังคมตนเอง พบว่าชนชั้นกลางอเมริกันมักมองลูกหลานตนเองดุจเดียวกับที่พวกเขามองชนชั้นแรงงาน คือมองว่าลูกหลานตนเองขี้เกียจ ไม่รู้จักรับผิดชอบตนเอง แล้วพวกเขาก็กังวลว่าหากลูกหลานตนเองไม่ปรับตัวให้เหมือนพ่อแม่แล้ว เมื่อเติบโตขึ้นก็จะกลายเป็นผู้ใช้แรงงานเข้าสักวันหนึ่ง (ดู Sherry Ortner "Reading America: Preliminary Notes on Class and Culture" (1991)) 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (23 กค. 58) ผมไปนั่งฟัง "ห้องเรียนสาธารณะเพื่อประชาธิปไตยใหม่ครั้งที่ 2 : การมีส่วนร่วมและสิทธิชุมชน" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตลอดทั้งวันด้วยความกระตืนรือล้น นี่นับเป็นงานเดียวที่ถึงเลือดถึงเนื้อมากที่สุดในบรรดางานสัมมนา 4-5 ครั้งที่ผมเข้าร่วมเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา เพราะนี่ไม่ใช่เพียงการเล่นกายกรรมทางปัญญาหรือการเพิ่มพูนความรู้เพียงในรั้วมหาวิทยาลัย แต่เป็นการรับรู้ถึงปัญหาผู้เดือดร้อนจากปากของพวกเขาเองอย่างตรงไปตรงมา