Skip to main content

ข้อสังเกตจากการแถลงของ ผบทบ. ล่าสุด แสดงการปัดความรับผิดชอบของผู้นำกองทัพไทยอย่างเห็นได้ชัดดังนี้

1. การผลักภาระให้ปัจเจกบุคคล ปัจเจกบุคคลผู้รับผิดในเหตุ #กราดยิงโคราช ก็คือจ่าสิบเอกคนนั้นคนเดียว เขาถูกผลักออกจากการเป็นทหาร แล้วถูกตีตราว่าเป็นอาชญากร โดยพฤติกรรมแล้วเขาเป็นอาชญากรอย่างไม่ต้องสงสัย หากแต่พฤติกรรมเดียวกันนี้ การสังหารผู้บริสุทธิ์โดยทหารด้วยอาวุธสงครามบางครั้ง (เช่นในกรณีพฤษภาคม 2553) ก็ไม่ได้ถูก ผบทบ. คนเดียวกันนี้ตีตราว่าเป็นอาชญากรรมเสมอไป คำพูดที่ว่า “วินาที ที่ผู้ก่อเหตุลั่นไกสังหารประชาชนนั้น เขาคืออาชญากร ไม่ใช่ทหารอีกต่อไปแล้ว” จึงไม่ได้พูดออกมาจากหลักการใดๆ แต่พูดออกมาจากการพยายามปัดความรับผิดชอบเป็นกรณีๆ ไปเท่านั้น

2. การรับผิดแต่เพียงลำพัง ผบทบ. กล่าวในลักษณะของการรับภาระแต่เพียงลำพังว่า “อย่าด่าว่ากองทัพบก อย่าว่าทหาร ถ้าจะด่า จะตำหนิ ท่านมาด่า พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผมน้อมรับคำตำหนิ" นั่นคือการยอมรับผิดแต่เพียงเขาผู้เดียว ไม่ยอมรับว่าความผิดพลาดนี้ ทั้งกองทัพต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วย เพราะการที่เขามาเป็นผู้บังคับบัญชากองทัพ ไม่ใช่มาด้วยตัวเขาเองคนเดียว ต้องมีกลไกกองทัพทั้งระบบรองรับเขาทั้ง การที่กองทัพให้คนอย่างเขามาเป็นผู้บังคับบัญชา จะปฏิเสธความรับผิดชอบในระดับกองทัพได้อย่างไร

3. การรับผิดแต่ไม่รับโทษ การกล่าวยอมรับผิด ยอมให้ประชาชนกล่าวตำหนิ ไม่ได้หมายความว่าความรับผิดชอบจะหมดสิ้นไปเพียงเมื่อร้องไห้แสดงความเสียใจแล้วกล่าวโทษตนเองเช่นนี้ ในกระบวนการของระบบการบริหารราชการ หรือการบริหารองค์กรขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพใดๆ ก็ตาม จะต้องมีการตรวจสอบ ไต่สวนความผิด และอาจจะต้องพิจารณาโทษทางวินัยหากความบกพร่องของผู้บังคับบัญชามีส่วนต่อความบกพร่องจนเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสียของประชาชนและเกิดความสะเทือนใจไปทั่วอย่างกรณีนี้ แต่ก็ไม่เห็นว่า ผบทบ. จะเอ่ยถึงกระบวนการดังกล่าวแต่อย่างใด

4. การไม่ยอมรับว่าเป็นปัญหาของระบบ การรับผิดด้วยตนเอง การผลักความผิดให้ผู้ก่อความรุนแรง เพียงเท่านั้น ยังนับว่าเป็นการปัดความรับผิดชอบที่ระบบของกองทัพทั้งระบบจะต้องรับผิดชอบด้วยเช่นกัน การปกป้องกองทัพให้พ้นจากความรับผิดชอบ เท่ากับเป็นความไม่รับผิดชอบในระดับร้ายแรง เพราะหากผู้บังคับบัญชาสูงสูดของกองทัพเองยังไม่ยอมรับว่า ความบกพร่องในลักษณะนี้เป็นความบกพร่องที่เกินไปกว่าเพียงปัจเจกบุคคลคนใด หรือแม้แต่เพียงตัว ผบทบ. เองคนเดียวจะแบกรับภาระได้ หากแต่เป็นความบกพร่องของทั้งระบบ ก็น่าเป็นห่วงว่าประเทศชาติ ประชาชนจะฝากความรับผิดชอบให้แก่กองทัพได้อย่างไร 

ประชาชนชาวไทยรักกองทัพ รักทหาร และต้องการความเชื่อมั่นจากกองทัพ จากทหาร ไม่น้อยไปกว่า ผบทบ. และด้วยความรัก และความเชื่อมั่นนั้น ประชาชนชาวไทยต้องการให้มีกลไกการสอบสวนเหตุนี้อย่างโปร่งใส มีขั้นมีตอน และเป็นกลางคือมีผู้แทนของประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบนี้ด้วย 

หากคำพูดและน้ำตาของ ผบทบ. ก็ยังไม่เพียงพอที่จะเยียวยาความสูญเสียใดๆ ได้ แล้วคำพูดและนำ้ตาของ ผบทบ. จะสามารถเยียวยาปัญหาของกองทัพไทยได้อย่างไร

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงผมก็นึกไม่ถึงว่าจะมีคนสนใจข่าวนี้กันมากนัก เรื่องอาจจะเป็นเพราะมีการใช้คำในการรายงานข่าวเบื้องต้นอย่างคลาดเคลื่อนไป ก็เลยทำให้เป็นที่น่าตกใจ แต่อีกนัยหนึ่งก็ชี้ให้เห็นปัญหาการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนจนกระทั่งเมื่อมีการแสดงการต่อต้านด้วยการปฏิเสธที่จะอยู่ใต้อำนาจกดทับนั้น คนก็จึงตอบรับกันอย่างกระหน่ำ อย่างไรก็ดี ผมก็อยากชี้แจงให้กระจ่างเพิ่มเติมว่า ทำไมผมจึงเลือกที่จะแสดงสถานภาพในการเดินทางมาต่างประเทศของผมในครั้งนี้เพิ่มเติมผ่านข้อเขียนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพิ่งผ่านมาเพียง 5 เดือนอาจจะยังเร็วเกินไปที่จะถามว่า หลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 แล้วขบวนการประชาชนจะเป็นอย่างไรต่อไป แต่หากมองย้อนกลับไป แล้วมองไปข้างหน้าอีกสักหน่อย ก็น่าจะลองคิดถกเถียงกันบ้างว่า ขบวนการประชาชนน่าจะไปทางไหนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
TED รายการบรรยายสาธารณะที่มีชื่อเสียงและผมก็ติดตามเรียนรู้มาสม่ำเสมอ ได้เผยแพร่คลิปบรรยายของคีท เชน นักเศรษฐศาสตร์ที่เสนอข้อถกเถียงว่า ภาษามีความเชื่อมโยงกับการออมตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว แต่ผมเพิ่งได้ยินเกี่ยวกับการศึกษานี้มาตั้งแต่ต้นภาคการศึกษานี้ในชั้นเรียนวิชามานุษยวิทยาภาษา ที่นักศึกษาคนหนึ่งเอ่ยถึงการศึกษานี้ และเพิ่งได้ดูด้วยตัวเองเมื่อ 3-4 วันก่อนนี้เอง เห็นว่าน่าสนใจดีก็เลยนำไปให้นักศึกษาดูและถกเถียงกันในชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การอัตวินิบาตกรรมของคุณนวมทอง ไพรวัลย์ทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง นัยหนึ่งถือว่าเป็นการประท้วงต่อการรัฐประหาร อีกนัยหนึ่งถือเป็นการยืนยันความจริงจังและบริสุทธิ์ใจต่ออุดมการณ์ อีกนัยหนึ่งอาจปลุกเร้าสำนึกของผู้ร่วมอุดมการณ์ หรืออีกนัยหนึ่งก็เกรงว่าจะเป็นความสูญเสียที่สูญเปล่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยแตกต่างจากการสอนหนังสือในระดับโรงเรียนก็คงจะตรงที่ว่า ผู้สอนในระดับมหาวิทยาลัยไม่ได้เรียนการสอนมาก่อน อาจจะมีการอบรมเรื่องการเรียนการสอนบ้าง มีการประเมินผลให้ผู้สอนพิจารณาปรับปรุงตนเองบ้าง มีการประเมินตนเองบ้าง แต่ถึงที่สุดแล้ว ผู้สอนมีส่วนสร้างระบบการเรียนการสอนด้วยตนเอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"อาร์บอรีทั่ม" (Arboretum) เป็นสวนพฤกษศาสตร์ขนาดใหญ่ร่วม 3 พันไร่ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน สวนนี้ไม่ได้ตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งมหาวิทยาลัย แต่ก็อยู่ห่างออกไปไม่ไกลนัก หากขยันเดิน สักชั่วโมงหนึ่งก็ถึง ถีบจักรยานไปก็สัก 20 นาที อาจเร็วกว่าขับรถที่ต้องเจอกับป้ายหยุด ทางแยก ไฟสัญญาณ กว่าจะถึงก็สัก 30 นาที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการมิได้มีสถานภาพพิเศษแตกต่างไปจากคนอื่นๆ ในสังคม เพียงแต่อาชีพนักวิชาการเป็นอาชีพที่ต้องพัฒนาความคิดความอ่านตลอดเวลา นักวิชาการจึงไม่ควรมีขอบเขตของความคิดความอ่าน พร้อมๆ กับที่ไม่ควรปิดกั้นขอบเขตของความคิดคนอื่น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กว่า 3 เดือนที่ผ่านมาผมไปชมการแสดงดนตรีไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ นึกเสียดายที่เมื่อ 10 กว่าปีก่อนที่มาเรียนไม่ค่อยมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้เลย เมื่อวานนี้ (ตามเวลาที่อเมริกา) ผมก็เพิ่งออกจากห้องแสดงดนตรีมา จนทำให้ผมคิดขึ้นมาได้ว่า นี่ผมอยู่ในโลกไหนกัน แล้วทำไมที่ที่ผมอยู่เป็นปกติเขาถึงไม่ทำสถาบันการศึกษาให้เป็นสถานที่บ่มเพาะความเจริญของจิตใจได้อย่างนี้บ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดอร์ แรธสเคลเลอร์เป็นบาร์เบียร์ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ตั้งอยู่ในตึกกิจกรรมนักศึกษา (ที่นี่เรียกว่า Memorial Union) ตึกกิจฯ นี้ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1928 โน่นเลย บาร์เบียร์แห่งนี้ก็น่าจะอายุไม่น้อยไปกว่าตึกที่มันอาศัยอยู่เท่าใดนัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมเข้าร่วมกิจกรรมสังคมวิชาการซ้ำซ้อนกันหลายงาน ตั้งแต่บรรยายเรื่องการทำวิจัยในเวียดนามให้นักศึกษาบัณฑิตศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฟัง ต่อด้วยปาร์ตี้ประจำปีของศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของมหา'ลัยวิสคอนซิน ซึ่งเป็นงานแบบ potluck party และก็ฟองดูปาร์ตี้เล็กๆ ที่บ้านอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งก็ไม่ใช่อะไรมากไปกว่าขนมปังจุ่มชีสต้มเดือด ทั้งหมดนั้นได้อะไรสนุกๆ มามากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผ่านมาได้ 3 สัปดาห์ วิชาที่ผมสอนที่วิสคอนซินเริ่มสนุกขึ้นเรื่อยๆ ในห้องมีนักเรียน 10 คน ขนาดพอๆ กับที่เคยสอนที่ธรรมศาสตร์ แต่ที่ต่างคือในห้องเดียวกันนี้มีทั้งนักเรียนปริญญาตรี โท และเอกเรียนร่วมกัน เพียงแต่ข้อกำหนดของงานและความคาดหวังจากนักเรียนระดับ ป.ตรีกับ ป.โท-เอก ย่อมแตกต่างกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ท่านถามอย่างนี้กับสื่อมวลชน ต่อหน้าสาธารณชน ใครเขาจะกล้าตอบ ก็ในเมื่อท่านมีปืนอยู่ในมือ ใครเอาปืนจี้หัวท่านไว้แล้วท่านจะตอบความในใจที่ขัดความรู้สึกเขาได้ไหมล่ะ เรื่องแค่นี้น่าจะเข้าใจนะ