Skip to main content

การดีเบตระหว่างนักเรียนกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการที่หน้ากระทรวงฯ เมื่อวาน (5 กย. 63) ชี้ให้เห็นชัดว่า หากยังจะให้คนที่มีระบบคิดวิบัติแบบนี้ดูแลกระทรวงศึกษาธิการอยู่ ก็จะยิ่งทำให้การศึกษาไทยดิ่งลงเหวลึกไปยิ่งขึ้น

เมื่อวาน กลุ่ม #นักเรียนเลว ได้นัด #รัฐมนตรีเลว (เพราะไม่ยอม #ไปต่อแถว  แต่ได้ดีเพราะเป่านกหวีดล้มการเลือกตั้งจนปูทางสู่การรัฐประหารปี 2557) ให้มาแลกเปลี่ยนความเห็นกัน รัฐมนตรี (รมต.)​โอ้เอ้อยู่นานกว่าจะออกมาพบนักเรียนที่อุตส่าห์มีตัวแทนเดินทางมาจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ มาเล่าปัญหาและรับฟังแนวทางแก้ไขปัญหาของรัฐมนตรี ในที่สุดรัฐมนตรีก็ออกมา  
 
ในบรรดาคำถามและข้อเท็จจริงหลายประการที่นักเรียนซักไซ้เอาจากรัฐมนตรี นอกจากรัฐมนตรีจะมีข้อมูลน้อยกว่านักเรียนแล้ว ความเสื่อมของรัฐมนตรีคนนี้อย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือความวิบัติในตรรกะของเขา ที่จับได้พอสังเขปมีดังนี้
 
ข้อแรก ต่อคำถามเรื่องการแก้ปัญหาความรุนแรงในโรงเรียน นักเรียนแจ้งว่ามีกรณีนักเรียนถูกคุกคามจากการแสดงออกทางการเมือง 109 โรงเรียน รมต. บอกว่า ครูมี 5 แสนคน มีกรณีคุกคามเพียงแค่ส่วนน้อยซึ่งเขากำลังจัดการตามวินัยอยู่  
 
ประเด็นคือ หากประเทศไทยทั้งประเทศมีโจร 10,000 คน แล้วประชากรทั้งหมดมี 70 ล้านคน คุณจะบอกว่า มีคนอีกตั้งหลายสิบล้านคนที่ไม่เป็นโจร ขอให้วางใจ อย่างนั้นเหรอ ประเด็นคือ แค่มีโจรเพียงรายเดียวก็ต้องไม่ได้แล้วสิ นี่คือความไม่เด็ดขาดของ รมต. และคือวิธีการเข้าใจปัญหาแบบใช้คณิตศาสตร์อย่างวิบัติ ต่อปัญหาความรุนแรงในโรงเรียน แม้เกิดขึ้นรายสองราย ก็ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ จะเอาตัวเลขว่าครูส่วนใหญ่ยังเป็นครูที่ดีอยู่มาอ้างกลบเกลื่อนปัญหาแบบนี้ใช้ไม่ได้
 
ข้อสอง การแจ้งเบาะแสความรุนแรงในโรงเรียน รมต. บอกว่านักเรียนสามารถแจ้งมาได้ เปิดช่องทางให้แล้ว แล้วยังบอกว่า พวกนักเรียนก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหาด้วย  
 
ปัญหาคือ ครูมีทั้งอำนาจในการให้คุณให้โทษนักเรียน และมีสถานะทางสังคมที่เหนือกว่านักเรียน แทนที่ รมต. จะพยายามหาวิธีให้นักเรียนที่แจ้งเหตุความรุนแรงได้รับความปลอดภัย และกล้าที่จะนำเสนอปัญหา หรือลงพื้นที่ไปไต่สวนอย่างจริงจัง แต่ รมต. กลับมาเรียกร้องให้นักเรียนให้ความเป็นธรรมกับครูที่ถูกกล่าวหา แทนที่พวกเขาจะต้องการได้รับความยุติธรรม เขาก็จะยังไม่มั่นใจในความปลอดภัยว่าหากแจ้งแล้ว เหยื่อการถูกทำร้ายเหล่านี้ก็อาจถูกทำร้ายซ้ำซ้อนจากครูที่กระทำรุนแรงต่อพวกเขายิ่งขึ้นเข้าไปอีก
 
ข้อสาม เรื่องการใส่เครื่องแบบนักเรียน รมต. อ้างว่าเครื่องแบบนักเรียนมีความปลอดภัย ผู้คนพบเห็นจะปกป้อง ไม่ทำร้ายนักเรียน  
 
ข้อนี้คือความเลอะเทอะขั้นสูงสุดของความคิดที่ รมต. แสดงออกมาเมื่อวาน นักเรียนแย้งทันทีว่าเครื่องแบบไม่ใช่ชุดเกราะ ไม่สามารถปกป้องภัยอะไรได้ เพราะแม้แต่ในโรงเรียน นักเรียนใส่เครื่องแบบตลอดเวลายังถูกครูทำร้าย ครูใช้คามรุนแรงทั้งทางกายและวาจา ไม่เว้นแม้แต่จากระบบอาวุโส รุ่นพี่รุ่นน้องในโรงเรียน ที่เกิดเหตุการทำร้ายร่างกาย ทำร้ายจิตใจ ผ่านการรับน้องกันอยู่เป็นประจำทุกปี แถมเครื่องแบบนักเรียนปัจจุบันยังกลายเป็นวัตถุทางเพศ ความเด็กถูกผูกติดกับเครื่องแบบนักเรียน ทำให้เครื่องแบบนักเรียนกลายเป็นสิ่งยั่วยุทางเพศ
 
ข้อสี่ เรื่องทรงผม นักเรียนถามว่าหากนักเรียนชายจะไว้ผมยาวถึงหลังแล้วเสียหายตรงไหน รมต. ตอบว่า ยังมีคนอีกมากเขาไม่ได้อยากเห็นแบบนี้ เหมือนกับว่า รมต. จะนิยมตรรกนี้มากเป็นพิเศษ เพราะมักใช้กับประเด็นอื่นๆ ด้วย
 
นี่คือตัวอย่างการใช้ความเป็นเสียงส่วนใหญ่เพื่อทำลายหลักการที่ถูกต้อง ทรงผมและการแต่งกายเป็นสิทธิส่วนตัวในการแสดงออกซึ่งตัวตน โรงเรียนละเมิดสิทธิของนักเรียนในข้อนี้มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน การที่ใครจะไม่พอใจกับทรงผมหรือการแต่งกายของคนอื่นอย่างไร ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะมีสิทธิมาแทรกแซงการแต่งกายของคนอื่นได้  
 
ที่สำคัญคือ การสอนระเบียบวินัยไม่จำเป็นต้องบังคับที่การแต่งการและทรงผม ดูอย่างคนที่แต่งกายในเครื่องแบบอย่างหทาร ตำรวจ ในระเทศไทยสิ ยังละเมิดกฎหมาย คุกคามประชาชน ฉีกรัฐธรรมนูญได้เสมอ หากเครื่องแบบสามารถสร้างระเบียบวินัยได้จริง ทำไมเรายังมีทหารและตำรวจสวมเครื่องแบบก่อการรัฐประหาร เป็นกบฏ ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย ละเมิดกฎหมายสูงสุดของประเทศอยู่เสมอๆ ล่ะ
 
การดีเบตเมื่อวาน เห็นได้ชัดว่านักเรียนชนะขาดทั้งในเชิงตรรกะและข้อมูล และก็สมควรแล้วที่เขาจะไล่คุณออกจากการเป็น รมต. ถ้าคุณยังเรียกการถกเถียงด้วยเหตุด้วยผลและข้อเท็จจริงลักษณะนี้ว่าการคุกคามอีกล่ะก็ คุณจะให้นักเรียนเรียกสิ่งที่คุณกับขบวนการ กปปส. ทำกับประเทศนี้ว่าอะไร หากไม่ใช่การปล้นอำนาจประชาชนแล้วเสวยอำนาจเป็นรัฐมนตรีอย่างหน้าไม่อาย
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกจากซิดนีย์ ออสเตรเลีย วันที่ 23 เมษายน 2557
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คงจะมีการจากไปของนักเขียนในโลกไม่กี่ครั้งที่จะได้รับความสนใจจากคนทั่วโลกมากเท่าการจากไปของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากอำมาตย์ชนะ...โลกวิชาการไทยจะเป็นอย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สองเดือนที่ผ่านมาผมเดินทางอย่างบ้าระห่ำ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ไปเวียดนาม 4 วัน กลับมาแล้วไปญี่ปุ่น 12 วัน กลับมาแล้วไปเชียงใหม่ 2 วัน แล้วไปมาเลเซีย 5 วัน แล้วต่อไปนครศรีธรรมราช 3 วัน ที่จริงเดือนหน้าก็จะไปต่อ คราวนี้ไปออสเตรเลีย 5 วัน กลับมาเดือนต่อไปมีคนชวนไปทุ่งใหญ่นเรศวรอีก 5 วัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ไปสัมมนาวิชาการที่กัวลาลัมเปอร์ จัดโดยมหาวิทยาลัยมาลายา เมื่อเสร็จงานตัวเองแล้ว ขอพักผ่อนด้วยการบันทึกถึงมหาวิทยาลัยมาลายา ซึ่งผมได้มาเยือนครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การบอกเล่าเรื่องราวของ "คนอื่น" ที่ต่างจากเรามากๆ ให้ "พวกเรา" อ่าน อย่างมากก็ทำได้แค่ บอกเล่าผ่านถ้อยคำ ผ่านประสบการณ์ที่ "พวกเรา" ต่างคุ้นเคยกันดี พูดอีกอย่างก็คือ การเล่าเรื่องคนอื่นคือ "การแปล" หรือ "การแปร" เรื่องที่แตกต่างให้คุ้นเคย เป็นการดัดแปลงของคนอื่นให้เราเข้าใจในภาษา ในสัญญะแบบที่พวกเราเองรับรู้อยู่ก่อนแล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปิดท้ายชั้นเรียนวิชา "มานุษยวิทยาอาหาร" กับนักเรียนปริญญาโทและปริญญาเอกเมื่อสองวันก่อนด้วยมื้อการไปกินอาหารไทยพื้นๆ แสนอร่อยราคาประหยัดที่แพร่งภูธร พระนคร ตลอดภาคการศึกษา พวกเราพยายามเข้าใจอาหารผ่านหลายๆ คำถาม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายคนถามผมว่า "ไปญี่ปุ่นทำไมบ่อยๆ" นั่นสินะ ไปทีไรกลับมาก็มีของฝากบ้าง เรื่องเล่าบ้าง รูปวาดบ้าง เล่าว่าไปเที่ยวที่นั่นที่นี่ ไม่เห็นมีบอกตรงไหนว่าไปทำงานมา ก็เลยขอเล่าสักหน่อยแล้วกันว่าไปทำอะไรมาบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การคงอยู่ของการชุมนุมในขณะนี้ แม้ว่าจะสูญเสียความชอบธรรมไปมากแล้ว เพราะสนับสนุนการใช้ความรุนแรง มีการใช้กำลังอาวุธ ผู้ชุมนุมข่มขู่คุกคามประชาชน สื่อ และเจ้าหน้าที่รัฐรายวัน รวมทั้งไม่สามารถปกป้องดูแลความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมชุมนุมได้ แต่ทำไมยังมีใครพยายามเลี้ยงกระแสการชุมนุมนี้ไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่ออยู่ที่อื่น ก็คิดถึงถิ่นฐานอันคุ้นเคย แต่เมื่อกลับมาถึงบ้านแล้ว ก็ยังอาลัยอาวรณ์กับถิ่นที่ชั่วคราวที่ได้ไปเยือน บางคนก็คงมีอารมณ์อย่างนี้กันบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"รู้สึกไหมว่า การศึกษาต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (13 กพ. 57) ไปเยี่ยมชม Kyoto Museum for World Peace ตามคำบอกเล่าของหลายๆ คน และตามความประสงค์ของผู้ร่วมเดินทาง มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ชวนให้คิด มีถ้อยคำหลอกหลอนมากมาย มีภาพความรุนแรง มีบทเรียนที่มนุษย์ไม่เคยเรียนรู้ มีการเห็นคนไม่เป็นคน และสุดท้ายสะท้อนใจถึงความรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย