Skip to main content

การดีเบตระหว่างนักเรียนกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการที่หน้ากระทรวงฯ เมื่อวาน (5 กย. 63) ชี้ให้เห็นชัดว่า หากยังจะให้คนที่มีระบบคิดวิบัติแบบนี้ดูแลกระทรวงศึกษาธิการอยู่ ก็จะยิ่งทำให้การศึกษาไทยดิ่งลงเหวลึกไปยิ่งขึ้น

เมื่อวาน กลุ่ม #นักเรียนเลว ได้นัด #รัฐมนตรีเลว (เพราะไม่ยอม #ไปต่อแถว  แต่ได้ดีเพราะเป่านกหวีดล้มการเลือกตั้งจนปูทางสู่การรัฐประหารปี 2557) ให้มาแลกเปลี่ยนความเห็นกัน รัฐมนตรี (รมต.)​โอ้เอ้อยู่นานกว่าจะออกมาพบนักเรียนที่อุตส่าห์มีตัวแทนเดินทางมาจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ มาเล่าปัญหาและรับฟังแนวทางแก้ไขปัญหาของรัฐมนตรี ในที่สุดรัฐมนตรีก็ออกมา  
 
ในบรรดาคำถามและข้อเท็จจริงหลายประการที่นักเรียนซักไซ้เอาจากรัฐมนตรี นอกจากรัฐมนตรีจะมีข้อมูลน้อยกว่านักเรียนแล้ว ความเสื่อมของรัฐมนตรีคนนี้อย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือความวิบัติในตรรกะของเขา ที่จับได้พอสังเขปมีดังนี้
 
ข้อแรก ต่อคำถามเรื่องการแก้ปัญหาความรุนแรงในโรงเรียน นักเรียนแจ้งว่ามีกรณีนักเรียนถูกคุกคามจากการแสดงออกทางการเมือง 109 โรงเรียน รมต. บอกว่า ครูมี 5 แสนคน มีกรณีคุกคามเพียงแค่ส่วนน้อยซึ่งเขากำลังจัดการตามวินัยอยู่  
 
ประเด็นคือ หากประเทศไทยทั้งประเทศมีโจร 10,000 คน แล้วประชากรทั้งหมดมี 70 ล้านคน คุณจะบอกว่า มีคนอีกตั้งหลายสิบล้านคนที่ไม่เป็นโจร ขอให้วางใจ อย่างนั้นเหรอ ประเด็นคือ แค่มีโจรเพียงรายเดียวก็ต้องไม่ได้แล้วสิ นี่คือความไม่เด็ดขาดของ รมต. และคือวิธีการเข้าใจปัญหาแบบใช้คณิตศาสตร์อย่างวิบัติ ต่อปัญหาความรุนแรงในโรงเรียน แม้เกิดขึ้นรายสองราย ก็ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ จะเอาตัวเลขว่าครูส่วนใหญ่ยังเป็นครูที่ดีอยู่มาอ้างกลบเกลื่อนปัญหาแบบนี้ใช้ไม่ได้
 
ข้อสอง การแจ้งเบาะแสความรุนแรงในโรงเรียน รมต. บอกว่านักเรียนสามารถแจ้งมาได้ เปิดช่องทางให้แล้ว แล้วยังบอกว่า พวกนักเรียนก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหาด้วย  
 
ปัญหาคือ ครูมีทั้งอำนาจในการให้คุณให้โทษนักเรียน และมีสถานะทางสังคมที่เหนือกว่านักเรียน แทนที่ รมต. จะพยายามหาวิธีให้นักเรียนที่แจ้งเหตุความรุนแรงได้รับความปลอดภัย และกล้าที่จะนำเสนอปัญหา หรือลงพื้นที่ไปไต่สวนอย่างจริงจัง แต่ รมต. กลับมาเรียกร้องให้นักเรียนให้ความเป็นธรรมกับครูที่ถูกกล่าวหา แทนที่พวกเขาจะต้องการได้รับความยุติธรรม เขาก็จะยังไม่มั่นใจในความปลอดภัยว่าหากแจ้งแล้ว เหยื่อการถูกทำร้ายเหล่านี้ก็อาจถูกทำร้ายซ้ำซ้อนจากครูที่กระทำรุนแรงต่อพวกเขายิ่งขึ้นเข้าไปอีก
 
ข้อสาม เรื่องการใส่เครื่องแบบนักเรียน รมต. อ้างว่าเครื่องแบบนักเรียนมีความปลอดภัย ผู้คนพบเห็นจะปกป้อง ไม่ทำร้ายนักเรียน  
 
ข้อนี้คือความเลอะเทอะขั้นสูงสุดของความคิดที่ รมต. แสดงออกมาเมื่อวาน นักเรียนแย้งทันทีว่าเครื่องแบบไม่ใช่ชุดเกราะ ไม่สามารถปกป้องภัยอะไรได้ เพราะแม้แต่ในโรงเรียน นักเรียนใส่เครื่องแบบตลอดเวลายังถูกครูทำร้าย ครูใช้คามรุนแรงทั้งทางกายและวาจา ไม่เว้นแม้แต่จากระบบอาวุโส รุ่นพี่รุ่นน้องในโรงเรียน ที่เกิดเหตุการทำร้ายร่างกาย ทำร้ายจิตใจ ผ่านการรับน้องกันอยู่เป็นประจำทุกปี แถมเครื่องแบบนักเรียนปัจจุบันยังกลายเป็นวัตถุทางเพศ ความเด็กถูกผูกติดกับเครื่องแบบนักเรียน ทำให้เครื่องแบบนักเรียนกลายเป็นสิ่งยั่วยุทางเพศ
 
ข้อสี่ เรื่องทรงผม นักเรียนถามว่าหากนักเรียนชายจะไว้ผมยาวถึงหลังแล้วเสียหายตรงไหน รมต. ตอบว่า ยังมีคนอีกมากเขาไม่ได้อยากเห็นแบบนี้ เหมือนกับว่า รมต. จะนิยมตรรกนี้มากเป็นพิเศษ เพราะมักใช้กับประเด็นอื่นๆ ด้วย
 
นี่คือตัวอย่างการใช้ความเป็นเสียงส่วนใหญ่เพื่อทำลายหลักการที่ถูกต้อง ทรงผมและการแต่งกายเป็นสิทธิส่วนตัวในการแสดงออกซึ่งตัวตน โรงเรียนละเมิดสิทธิของนักเรียนในข้อนี้มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน การที่ใครจะไม่พอใจกับทรงผมหรือการแต่งกายของคนอื่นอย่างไร ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะมีสิทธิมาแทรกแซงการแต่งกายของคนอื่นได้  
 
ที่สำคัญคือ การสอนระเบียบวินัยไม่จำเป็นต้องบังคับที่การแต่งการและทรงผม ดูอย่างคนที่แต่งกายในเครื่องแบบอย่างหทาร ตำรวจ ในระเทศไทยสิ ยังละเมิดกฎหมาย คุกคามประชาชน ฉีกรัฐธรรมนูญได้เสมอ หากเครื่องแบบสามารถสร้างระเบียบวินัยได้จริง ทำไมเรายังมีทหารและตำรวจสวมเครื่องแบบก่อการรัฐประหาร เป็นกบฏ ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย ละเมิดกฎหมายสูงสุดของประเทศอยู่เสมอๆ ล่ะ
 
การดีเบตเมื่อวาน เห็นได้ชัดว่านักเรียนชนะขาดทั้งในเชิงตรรกะและข้อมูล และก็สมควรแล้วที่เขาจะไล่คุณออกจากการเป็น รมต. ถ้าคุณยังเรียกการถกเถียงด้วยเหตุด้วยผลและข้อเท็จจริงลักษณะนี้ว่าการคุกคามอีกล่ะก็ คุณจะให้นักเรียนเรียกสิ่งที่คุณกับขบวนการ กปปส. ทำกับประเทศนี้ว่าอะไร หากไม่ใช่การปล้นอำนาจประชาชนแล้วเสวยอำนาจเป็นรัฐมนตรีอย่างหน้าไม่อาย
 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เกียวโตไม่ใช่เมืองที่ผมไม่เคยมา ผมมาเกียวโตน่าจะสัก 5 ครั้งแล้วได้ มาแต่ละครั้งอย่างน้อย ๆ ก็ 7 วัน บางครั้ง 10 วันบ้าง หรือ 14 วัน ครั้งก่อน ๆ นั้นมาสัมมนา 2 วันบ้าง 5 วันบ้าง หรือแค่ 3 ชั่วโมงบ้าง แต่คราวนี้ได้ทุนมาเขียนงานวิจัย จึงเรียกได้ว่ามา "อยู่" เกียวโตจริง ๆ สักที แม้จะช่วงสั้นเพียง 6 เดือนก็ตาม เมื่ออยู่มาได้หนึ่งเดือนแล้ว ก็อยากบันทึกอะไรไว้สักเล็กน้อยเกี่ยวกับการใช้ชีวิตที่นี่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการญี่ปุ่นที่ผมรู้จักมากสัก 10 กว่าปีมีจำนวนมากพอสมควร ผมแบ่งเป็นสองประเภทคือ พวกที่จบเอกจากอังกฤษ สหรัฐอเมริกา กับพวกที่จบเอกในญี่ปุ่น แต่ทั้งสองพวก ส่วนใหญ่เป็นทั้งนักดื่มและ foody คือเป็นนักสรรหาของกิน หนึ่งในนั้นมีนักมานุษยวิทยาช่างกินที่ผมรู้จักที่มหาวิทยาลัยเกียวโตคนหนึ่ง ค่อนข้างจะรุ่นใหญ่เป็นศาสตราจารย์แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สองวันก่อนเห็นสถาบันวิจัยชื่อดังแห่งหนึ่งในประเทศไทยนำการเปรียบเทียบสัดส่วนทุนวิจัยอย่างหยาบ ๆ ของหน่วยงานด้านการวิจัยที่ทรงอำนาจแต่ไม่แน่ใจว่าทรงความรู้กี่มากน้อยของไทย มาเผยแพร่ด้วยข้อสรุปว่า ประเทศกำลังพัฒนาเขาไม่ทุ่มเทลงทุนกับการวิจัยพื้นฐานมากกว่าการวิจัยประยุกต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรส่งเสริมการทำวิจัยแบบที่สามารถนำไปต่อยอดทำเงินได้ให้มากที่สุด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ต้นปีนี้ (ปี 2559) ผมมาอ่านเขียนงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ผมมาถึงเมื่อวานนี้เอง (4 มกราคม 2559) เอาไว้จะเล่าให้ฟังว่ามาทำอะไร มาได้อย่างไร ทำไมต้องมาถึงที่นี่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นับวัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะยิ่งตกต่ำและน่าอับอายลงไปทุกที ล่าสุดจากถ้อยแถลงของฝ่ายการนักศึกษาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันถือได้ว่าเป็นการแสดงท่าทีของคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยต่อการแสดงออกของนักศึกษาในกรณี "คณะส่องทุจริตราชภักดิ์" ที่มีทั้งนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รวมอยู่ด้วย ผมมีทัศนะต่อถ้อยแถลงดังกล่าวดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สำหรับการศึกษาระดับสูง ผมคิดว่านักศึกษาควรจะต้องใช้ความคิดกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบ เป็นชุดความคิดที่ใหญ่กว่าเพียงการตอบคำถามบางคำถาม สิ่งที่ควรสอนมากกว่าเนื้อหาความรู้ที่มีอยู่แล้วคือสอนให้รู้จักประกอบสร้างความรู้ให้เป็นงานเขียนของตนเอง ยิ่งในระดับปริญญาโทและเอกทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ถึงที่สุดแล้วนักศึกษาจะต้องเขียนบทความวิชาการหรือตัวเล่มวิทยานิพนธ์ หากไม่เร่งฝึกเขียนอย่างจริงจัง ก็คงไม่มีทางเขียนงานใหญ่ ๆ ให้สำเร็จด้วยตนเองได้ในที่สุด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่เห็นด้วยกับการเซ็นเซอร์ ไม่เห็นด้วยกับการห้ามฉายหนังแน่ๆ แต่อยากทำความเข้าใจว่า ตกลงพระในหนังไทยคือใคร แล้วทำไมรัฐ ซึ่งในปัจจุบันยิ่งอยู่ในภาวะกะลาภิวัตน์ อนุรักษนิยมสุดขั้ว จึงต้องห้ามฉายหนังเรื่องนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใน บทสัมภาษณ์นี้ (ดูคลิปในยูทูป) มาร์แชล ซาห์ลินส์ (Marshall Sahlins) นักมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกให้สัมภาษณ์ต่อหน้าที่ประชุม ซาห์สินส์เป็นนักมานุษยวิทยาอเมริกันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งที่แวดวงมานุษยวิทยายังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เขาเชี่ยวชาญสังคมในหมู่เกาะแปซิฟิค ทั้งเมลานีเชียนและโพลีนีเชียน ในบทสัมภาษณ์นี้ เขาอายุ 83 ปีแล้ว (ปีนี้เขาอายุ 84 ปี) แต่เขาก็ยังตอบคำถามได้อย่างแคล่วคล่อง ฉะฉาน และมีความจำดีเยี่ยม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การรับน้องจัดได้ว่าเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่ง เป็นพิธีกรรมที่วางอยู่บนอุดมการณ์และผลิตซ้ำคุณค่าบางอย่าง เนื่องจากสังคมหนึ่งไม่ได้จำเป็นต้องมีระบบคุณค่าเพียงแบบเดียว สังคมสมัยใหม่มีวัฒนธรรมหลายๆ อย่างที่ทั้งเปลี่ยนแปลงไปและขัดแย้งแตกต่างกัน ดังนั้นคนในสังคมจึงไม่จำเป็นต้องยอมรับการรับน้องเหมือนกันหมด หากจะประเมินค่าการรับน้อง ก็ต้องถามว่า คุณค่าหรืออุดมการณ์ที่การรับน้องส่งเสริมนั้นเหมาะสมกับระบบการศึกษาแบบไหนกัน เหมาะสมกับสังคมแบบไหนกัน เราเองอยากอยู่ในสังคมแบบไหน แล้วการรับน้องสอดคล้องกับสังคมแบบที่เราอยากอยู่นั้นหรือไม่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การได้อ่านงานทั้งสามชิ้นในโครงการวิจัยเรื่อง “ภูมิทัศน์ทางปัญญาแห่งประชาคมอาเซียน” ปัญญาชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (และที่จริงได้อ่านอีกชิ้นหนึ่งของโครงการนี้คืองานศึกษาปัญญาชนของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามคนสำคัญอีกคนหนึ่ง คือเจื่อง จิง โดยอ.มรกตวงศ์ ภูมิพลับ) ก็ทำให้เข้าใจและมีประเด็นที่ชวนให้คิดเกี่ยวกับเรื่องปัญญาชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น ผมคงจะไม่วิจารณ์บทความทั้งสามชิ้นนี้ในรายละเอียด แต่อยากจะตั้งคำถามเพิ่มเติมบางอย่าง และอยากจะลองคิดต่อในบริบทที่กว้างออกไปซึ่งอาจจะมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์กับผู้วิจัยและผู้ฟังก็สุดแล้วแต่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เชอร์รี ออร์ตเนอร์ นักมานุษยวิทยาผู้เชี่ยวชาญเนปาล แต่ภายหลังกลับมาศึกษาสังคมตนเอง พบว่าชนชั้นกลางอเมริกันมักมองลูกหลานตนเองดุจเดียวกับที่พวกเขามองชนชั้นแรงงาน คือมองว่าลูกหลานตนเองขี้เกียจ ไม่รู้จักรับผิดชอบตนเอง แล้วพวกเขาก็กังวลว่าหากลูกหลานตนเองไม่ปรับตัวให้เหมือนพ่อแม่แล้ว เมื่อเติบโตขึ้นก็จะกลายเป็นผู้ใช้แรงงานเข้าสักวันหนึ่ง (ดู Sherry Ortner "Reading America: Preliminary Notes on Class and Culture" (1991)) 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (23 กค. 58) ผมไปนั่งฟัง "ห้องเรียนสาธารณะเพื่อประชาธิปไตยใหม่ครั้งที่ 2 : การมีส่วนร่วมและสิทธิชุมชน" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตลอดทั้งวันด้วยความกระตืนรือล้น นี่นับเป็นงานเดียวที่ถึงเลือดถึงเนื้อมากที่สุดในบรรดางานสัมมนา 4-5 ครั้งที่ผมเข้าร่วมเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา เพราะนี่ไม่ใช่เพียงการเล่นกายกรรมทางปัญญาหรือการเพิ่มพูนความรู้เพียงในรั้วมหาวิทยาลัย แต่เป็นการรับรู้ถึงปัญหาผู้เดือดร้อนจากปากของพวกเขาเองอย่างตรงไปตรงมา