ชนกลุ่มน้อย
ลมบาดหิน ของอา…
“ผู้ชายคนนั้นกับผู้หญิงของเขาตัดสินใจแรมคืนในกระโจม(เต็นท์)
เขาพบว่าการเสียบก้านปลั๊กตัวผู้ลงในรูปลั๊กตัวเมียเพื่อต้มน้ำกับกาไฟฟ้านั้นเป็นความสะดวกสบายของคนในทาวน์เฮาส์ที่กรุงเทพฯ และอย่างน่าอิจฉา
แต่การมองหาก้อนหินนำมาวางเป็นก้อนเส้า
กิ่งไม้ง่ามปักกับดินแล้วพาดราวแขวนหม้อและริ้วชิ้นวัวฝานหมักเกลือ
ก่อกองไฟและต้มกาแฟ
นี้เป็นบางแบบของชีวิตซึ่งผู้ชายควรเรียนรู้...”
แพร จารุ
1
ฉันเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับความตายครั้งแรกเมื่อพ่อตายจากไป ในวันที่แม่ พี่ ๆและ ญาติ ๆ ต่างช่วยกันจัดงานให้พ่อ ผู้หญิงเตรียมอาหาร ปอกหอมกระเทียม เด็ดก้านพริกขี้หนู หั่นตะไคร้ ผู้ชายเตรียมไม้ฟืนเพื่อทำอาหาร หุงข้าว ต้มแกง ต้องหุงข้าวด้วยกระทะใบใหญ่ ต้องทำอาหารจำนวนมากในเวลาหลายวัน เรามีญาติเยอะ มีเพื่อนบ้าน และคนรู้จักมากมาย เพราะเราไม่ได้มีพ่อที่ดีต่อลูกเท่านั้นแต่มีพ่อที่ดีต่อผู้อื่นด้วย
โอ ไม้จัตวา
ภาพจาก www.thailandoutdoor.com
ไปปายคราวที่แล้ว ได้ยินชื่อปลาสะแงะในเมนูร้านอาหารร้านอร่อย (ร้านน้องเบส เห็ดหอมทอดอร่อยด้วยน้ำจิ้มสีเขียว) แต่ก็ไม่ได้กิน ถามใครก็ตอบไม่ได้ว่าเป็นปลาอะไร ดียังไง ทำไมต้องปลาสะแงะ
จนกระทั่งมาเจอข้อเขียนของคุณ’รงค์ วงษ์สวรรค์ ที่เคยเขียนไว้ถึงปลาชนิดหนึ่งชื่อปลาไหลหูดำ
“ปลาไหลหูดำ โอว หี่ เหมา ปรุงรสน้ำแดงกับเห็ดหอมและผักบุ้ง--เอ้งฉ่าย ปลานี้อิมพอร์ทเข้ามาจากฮ่องกงราคาแพงและมีกินในฤดูเดือนเท่านั้น
แต่บางคนบอกความลับว่า พรานปลาแถบลุ่มน้ำตาปีภาคใต้นำมาส่งอย่างไม่เปิดเผยเพื่อการผดุงราคาเหนือกว่าปลาอื่น
นักกินรุ่นเก๋าว่าเป็นปลาเดียวกับปลาไหล อุนาหงิ ของญี่ปุ่น ย่างราดซีอิ๊ว โชยุผสมเหล้ามิรินกับกระดูกป่นของตัวมันเป็นเกรวี่--โอ๊ยฉี่--แปลว่าอร่อยเป็นบ้า !
ชินแสสัปดนห่อใบผักกาดดองเค็ม--เกี้ยมฉ่าย ตุ๋นตำรับจีนเชื่อกันว่าบำรุงกำลังขย่มบนเตียงนอนหมวยครวญคราง
นักเลงปากกว้างในร้านลาบหลู้ยืนยันว่าปลานี้สกุลเดียวกับ สะแงะ ของแม่น้ำปายแม่ฮ่องสอน เวลานี้เป็นปลาเขียม (หายาก) ปานกันกับเขียดแลวหรือกบยักษ์”
ภาพจากหมูหินดอทคอม
ข้อมูลในวิกีพีเดียให้ไว้ว่า ปลาสะแงะมีรูปร่างคล้ายปลาไหล อยู่ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguillidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anguilla bengalensis มีความยาว 1-1.5 เมตร พบมากในแม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำสาขาในจังหวัดตาก และจังหวัดแม่ฮ่องสอน ฮ่า แม่น้ำปายนั่นเอง ที่ฮือฮาครั้งหนึ่งคือมีผู้จักปลาสะแงะได้ที่คลองบางกะปิ เมื่อปี 2468 – 84 ปีล่วงมาแล้ว ปลาตัวที่พบนี้ยาว 65 ซ.ม. ทำให้คนเชื่อว่าเป็นปลาไหลไฟฟ้า บางคนคิดว่าเป็นพญานาค บางคนว่าคือมังกร
ความพิเศษของปลาสะแงะอีกอย่างหนึ่งคือ มีเสียงร้องเหมือนเด็กทารกในเวลากลางคืน ใครเคยได้ยินบ้างเนี่ย ที่แม่ฮ่องสอน ชาวปากญอเรียกปลาสะแงะว่า “หย่าที”
ครั้งหนึ่งบนโต๊ะอาหารของคุณชายคึกฤทธิ์ มีเมนูปลาไหลหูดำ หรือปลาสะแงะตัวนี้อยู่ด้วย คุณ’รงบันทึกไว้ว่า
“บันทึกอย่างน่าโดนถีบว่าเคยเห็นท่านก้างติดคอในวันนั้นที่ผ่านมา
พนักงานรับใช้ถึงผู้จัดการภัตตาคารตกใจวิ่งกันพล่าน บ้างออกปากขอโทษ บ้างละล่ำละลักบอกให้กลืนก้อนขนมปัง บางคนว่ากลืนกล้วยหอมชะงัดกว่า
คุณชายไม่กลืนอะไรทั้งนั้นนอกจากค็อนญัค และเอื้อมมือลูกคออย่างสงบ
ใบหน้าคลายยิ้มแต่ปากพูดอย่างราบรื่น
“อันการกินปลาพลาดพลั้งก้างก็ติดคอบ้างเป็นธรรมดา ไม่เจ็บปวดอะไรนักหนาแต่รำคาญบ้างเท่านั้น เออ--กินกันตามสบายอย่าทำตาละห้อยเป็นห่วงบ้าบออะไรกันกับข้าวออกเต็มโต๊ะ"
บ่ายวันนั้นกลับสำนักงานบนอาคาร 6 ถนนราชดำเนิน ท่านเขียนบทความเกี่ยวกับบางปัญหาโจมตีรัฐบาลอย่างแสบสันต์
ก้างติดคอชิ้นนั้นพลอยเจ็บแปลบไปถึงคนในทำเนียบ”
ก้างติดคือยังสะเทือนถึงปานนี้ ไม่กินไม่ได้แล้ว ปลาสะแงะ
ไป...ไปปายกัน
ชนกลุ่มน้อย
เสาร์ 14 มีนาคม 2552 เวลา 3 ทุ่ม 45 นาที ห้องเงียบ มีพยาบาลและเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานสามสี่คน เขาเข้าไปยืนใกล้ๆแล้วถามหาชื่อ หนึ่งในนั้น ชี้ไปยังเตียงใกล้ๆ เขาแทบไม่เชื่อสายตา เขาแทบจำไม่ได้ เขาเข้าไปกราบไหว้ มองร่างสงบนิ่ง เขาพยายามมองทุกส่วนที่จะมองเห็น เสียงเครื่องมือเป็นตู้สี่เหลี่ยมดังส่งเสียงช่วยชีวิต และเส้นกราฟวิ่งไปมา เขาเห็นตัวเลขหน้าปัด ข้างบน 80 ข้างล่าง 40 มองไปยังเตียงอื่น ร่างที่ทอดอยู่บนเตียงแทบไม่ต่างกัน หรือเขาเข้ามาในช่วงเวลาผู้ป่วยพักผ่อน