ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากคำทำนายในบทความ “รัฐเผด็จการ กับ การล้วงตับ” ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ (http://blogazine.in.th/blogs/streetlawyer/post/4833) จึงเป็นเวลาอันสมควรที่ประชาชนและสังคมไทยต้องร่วมกันต่อต้าน ชุดกฎหมายความมั่นคงโดยเฉพาะ พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ ที่มีเนื้อหาจำนวนมากขัดกับ หลักกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากที่เครือข่ายเฟซบุคล่มในประเทศไทยเป็นเวลาเกือบชั่วโมงจนเพื่อนพ้องน้องพี่เดือดดาลกัน ตามมาด้วยข่าวลือว่า "คสช. จะตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ต และไล่ปิดโซเชียลเน็ตเวิร์ค" นั้น สามารถอธิบายได้ 2 แนว คือ1. เป็นวิธีการที่จะเอาชนะทางการเมืองหรือไม่ และ
บก.สาละวินโพสต์
หลังจากผู้เขียนถูกสายลับพม่าติดตามครั้งแรกทำให้ผู้เขียนเริ่มระวังตัวมากขึ้นในการเดินทางไปพม่าครั้งต่อมา ประสบการณ์ทำงานประเด็นพม่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทำให้ผู้เขียนเริ่มเข้าใจวิธีการทำงานของสายลับพม่ามากขึ้น ถ้าจะลองแบ่งประเภทสายลับพม่าจากประสบการณ์ที่เคยพบก็พอจะแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ (เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กรุณาอย่านำไปใช้อ้างอิงทางวิชาการ) คือ สายลับแบบทำงานเต็มเวลา (full- time) กับสายลับแบบชั่วครั้งชั่วคราว (Part-time)สายลับประเภทแรกอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งตามภาษาบ้านเราว่า "สันติบาล" สายลับประเภทนี้จะแต่งกายแบบชาวบ้านทั่วไปเพื่อไม่ให้เป็นที่จับตามอง สิ่งที่สังเกตได้ว่าพวกเขากำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ก็คือ "พฤติกรรมแปลก ๆ" เช่น การเดินตามผู้เขียนในรัศมีที่มองเห็นหรือสัมผัสได้ว่ามีใครบางคน (บางทีก็หลายคน) ติดตามอยู่ การยืนจับกลุ่มกันจ้องมองมาทางผู้เขียนในทิศทางเดียวกันหมด หรือการนั่งจับกลุ่มกันเงียบ ๆ ในรัศมีใกล้ชิดกับผู้เขียนเพื่อแอบฟังบทสนทนาระหว่างผู้เขียนและเพื่อนร่วมเดินทาง เช่น เมื่อครั้งเดินทางไปเมืองเมาะละแหม่ง (เมาะลำไย) ทางภาคใต้ของพม่า ผู้เขียนและเพื่อนร่วมทางรวมห้าคนถูกสันติบาลพม่าสามคนตามมาที่โรงแรมสิ่งที่สังเกตได้คือ ชายทั้งสามคนแต่งกายด้วยชุดโสร่ง ไม่มีกระเป๋าเดินทางเหมือนแขกทั่วไป และคอยจ้องมองมาทางพวกเราตลอดเวลา ถ้าพวกเราไปนั่งกินข้าวเช้าในห้องอาหารของโรงแรม พวกเขาก็จะมานั่งโต๊ะติดกันแบบเงียบสนิท ไม่มีใครพูดอะไรเลย เหมือนกำลังตั้งใจฟังสิ่งที่พวกเราคุยกัน พวกเราจึงสันนิษฐานว่าชายกลุ่มนี้น่าจะเป็นสันติบาลที่คอยติดตามนักท่องเที่ยวที่ไม่ได้มากับกรุ๊ปทัวร์ โดยทางโรงแรมคงทำหน้าที่ "ส่งข่าว" ให้เหมือนที่เคยเจอเมื่อครั้งไปรัฐฉานครั้งแรก และเพื่อความปลอดภัย พวกเราจึงใช้ "รหัสลับ" ที่ตกลงกันไว้ก่อนหน้านี้ในการพูดคุยกันเวลาอยู่ต่อหน้าสันติบาลพม่า เช่น ใช้คำว่า "สัปปะรด" เวลาต้องการพูดถึง "สันติบาล" หรือใช้คำว่า "พ่อหลวง" แทน "รัฐบาลทหารพม่า" เป็นต้น อ่านมาถึงตอนนี้ หลายคนอาจเกิดคำถามว่า ทำไมต้องใช้รหัสลับในการพูดคุย เพราะสันติบาลพม่าจะเข้าใจภาษาไทยได้อย่างไร คำตอบก็คือ สันติบาลจะต้องเรียนภาษาท้องถิ่นในพื้นที่ที่ปฏิบัติงานอยู่ เช่น เมืองที่อยู่ใกล้ชายแดนไทยก็มักจะมีสันติบาลพม่าที่ฟังภาษาไทยออก หรือเมืองที่มีประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ อาศัยอยู่ สันติบาลที่อยู่ประจำพื้นที่นั้นก็จะต้องเรียนรู้ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยจะได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นหากสามารถฟังภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ได้ หรือบางครั้งสันติบาลก็อาจเป็นคนจากกลุ่มชาติพันธุ์นั้น ๆ เองก็มี เมื่อครั้งที่ผู้เขียนเดินทางไปรัฐฉานครั้งแรก ผู้เขียนเคยคุยกับครูสอนภาษาไทยใหญ่ท่านหนึ่งซึ่งถูกบังคับให้เป็นครูสอนภาษาไทยใหญ่ให้กับทหารพม่าที่มาประจำเมืองนั้น เนื่องจากเวลาที่คนไทยใหญ่มีประชุมทางวัฒนธรรมเกินกว่า 5 คนจะต้องยื่นขออนุญาตทางการพม่าก่อนและจะมีสันติบาลเข้าร่วมประชุมด้วยทุกครั้ง จากประสบการณ์ของผู้เขียน หากสันติบาลเป็นชาวพม่าแท้ที่ไม่ใช่กลุ่มชาติพันธุ์ท้องถิ่น คนที่ถูกติดตามจะสังเกตได้ง่ายเพราะมีความแตกต่างกันทางสีผิวและสำเนียงพูด แต่ในกรณีที่สันติบาลเป็นกลุ่มชาติพันธุ์นั้น ๆ เลย อันนี้น่ากลัว...เพราะหลายคนอาจเผลอไว้ใจ ไม่ทันระวังคำพูด และอาจถูกจับได้ง่ายกว่าผู้เขียนเคยรู้สึกเสียวสันหลังวาบหลังจากที่พูดคุยกับคุณลุงชาวไทยใหญ่ท่านหนึ่งและเผลอไปซักถามเกี่ยวกับเสรีภาพของชาวไทยใหญ่ภายใต้รัฐบาลเผด็จการ ชาวไทยใหญ่ท่านนั้นหันมาทำหน้าขรึมและพูดว่า "คุณรู้ไหมว่าถ้าอยู่ในพม่า อย่าถามคำถามประเภทนี้กับใคร ไม่ว่าคุณจะสนิทกับคนนั้นหรือไม่ เพราะคุณจะไม่มีวันรู้ว่า คนนั้นเป็นสายลับให้รัฐบาลพม่าหรือเปล่า และคุณรู้ไหมว่า ถ้าผมเกิดเป็นสายลับให้รัฐบาลพม่าขึ้นมา คุณจะเป็นอย่างไร...."ฟังจบ ผู้เขียนรู้สึกใจเต้นตึกตักพาลจะเป็นลม เพราะหากชายตรงหน้าเป็นสายลับพม่าเข้าจริง ๆ คงถูกส่งเข้าซังเตพม่าแน่ ๆ ผู้เขียนยกมือไหว้ขอบคุณที่ได้รับคำตักเตือนและขอบคุณสวรรค์ที่ยังเมตตาให้คุณลุงไทยใหญ่ท่านนี้ไม่ใช่สายลับของทางการพม่า เฮ้อ...หวิดเข้าคุกพม่าอีกแล้วสิเรา