แพร จารุ
ยามเช้าได้อ่านงานของดอกสตาร์ เธอเขียนจั่วหัวว่า เชียงใหม่แพ้ซ้ำซาก Chiangmai lost her beauties. ข้อเขียนของเธอบอกว่า ผังเมืองฉบับใหม่ซึ่งตอนนี้อยู่ในช่วง ๙๐ วัน ที่คนได้รับความเดือดร้อนจากผังเมืองฉบับนี้จะยื่นคำร้องเพื่อคัดค้าน ถ้ารัฐบาลไม่รับฟังและผังเมืองฉบับนี้ผ่าน โฉมหน้าเมืองเชียงใหม่คงจะอัปลักษณ์สุด ๆ รอวันตายลูกเดียว มีเรื่องฝายทั้งสามแห่งคือ ฝายพญาคำ ฝายหนองผึ้งและฝ่ายท่าศาลาอีก ของเก่าแก่ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษสร้างไว้ให้ลูกหลานชาวล้านนาได้ประโยชน์กลับจะรื้อทิ้งโดยเห็นแก่ประโยชน์เล็กน้อยที่เทียบไม่ได้เลยกับความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับบ้านเมืองกับลูกหลานในอนาคต“โถน่าสงสารคนเชียงใหม่ ของดีบรรพบุรุษสร้างให้ไม่รักษา น่าสมเพชจริงๆ นะคะ” ฝายทั้งสามสร้างในรัชกาลที่ ๒ เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อทดนํ้าให้เกษตรกรและผู้ใช้นํ้าแถบอำเภอสารภี เวียงกุมกาม จังหวัดลำพูน กรมศิลปากรถือว่าเป็นโบราณสถานด้วยค่ะ แต่กรมชลฯ รื้อฝายทั้งสามแล้วจะสร้างประตูระบายนํ้าในแม่นํ้าปิง ดอกสตาร์ให้เหตุผลว่า๑. เป็นการผลักดันของภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและเจ้าของกิจการโรงแรมขนาดใหญ่ที่อยู่ริมแม่นํ้าเพราะว่าฝายพญาคำเป็นอุปสรรค์ในการล่องเรือพานักท่องเที่ยวชมแม่นํ้าซึ่งไปได้ไม่ไกลมากนัก โรงแรมอยากจะเพิ่มจุดขายโดยที่มีการรับส่งนักท่องเที่ยวทางเรือ (เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖-๒๕๔๗ ได้เริ่มผลักดันการรื้อฝายมาครั้งหนึ่งแล้ว อีกประการหนึ่งถ้ามีการทำประตูระบายนํ้าแล้วระดับนํ้าจะสูงขึ้นมากจนสามารถที่จะมีเรือสำราญจากประเทศจีนที่จะล่องเรือผ่านแม่นํ้าปิงเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ธุรกิจการท่องเที่ยว ๒. เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘ เมื่อเชียงใหม่เกิดนํ้าท่วมใหญ่จึงมีการผลักดันโครงการณ์ที่จะรื้อฝายอีกครั้งหนึ่ง ดอกสตาร์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอเล่าว่า เธออยู่กับน้ำท่วมทุกปี ตั้งแต่วัยเด็กเป็นนักเรียนน้ำท่วมสองสามวันก็จบ น้ำไม่ขังไม่เน่าจึงไม่มีปัญหา