เยาวชน

จันทร์เสี้ยว (The Crescent Moon)

20 April, 2008 - 08:27 -- nalaka

20080420

“รพินทรนาถ ฐากูร” เขียน
“วิทุร  แสงสิงแก้ว” แปล
“ปรีชา  ช่อปทุมมา” แปล

“เยี่ยมหน้าให้เขายล อ้ายหนูเอ๋ย
เพื่อว่าพวกเขาจะได้ซึมซาบในความหมาย
แห่งสรรพสิ่ง จงทำตัวให้พวกเขารัก
เพื่อว่าพวกเขาจะได้รู้จักรักใคร่ซึ่งกันและกันบ้าง”
(สำนวนแปลของปรีชา ช่อปทุมมา)

พ.ร.บ.เยาวชน กับผลที่จะเกิดขึ้น

ประมาณวันที่ 14 เมษายน 2551 นี้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550  ก็จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ หลังจากที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวและได้มีประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2551

ส่งผลให้ต้องมีการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกลุ่ม องค์กร เยาวชน องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับพื้นที่ อย่างขะมักเขม้น

อย่างไรก็ตามสำหรับเจตนารมณ์แล้ว กฎหมายฉบับดังกล่าวมีขึ้นมาเพื่อให้เกิดกลไกการสนับสนุนการมีส่วนร่วมและพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ซึ่งเท่าที่ผมได้อ่านกฎหมายนี้ หากกฎหมายมีผลบังคับใช้ สิ่งที่จะเกิดขึ้น น่าจะมีแนวโน้มดังนี้....

เมื่อความอยากรู้พาไป....

ลูกปัดไข่มุก

 

ถึง พี่พันธกุมภา และ พี่มีนา....

 

10401

 

เส้นทางที่เรากำลังพยายามจะมุ่งไปอยู่นี้ มันคือหนทางแห่งความสุขและความสำเร็จที่แท้จริงของเราจริงๆหรอ” ....นั่นคือความคิดที่ฉันคิดมาตลอด

 

ฉันโชคดีที่ได้เกิดมาท่ามกลางครอบครัวที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในวันว่างๆ เรามักจะได้ไปวัดแทนการไปเที่ยวเสมอๆ ซึ่งด้วยความเป็นเด็ก ฉันจึงไม่คิดว่ามันดีนัก.....จะว่าไปฉันทำบุญมาตั้งแต่จำความได้ เพราะถูกสั่งสอนมาให้ทำแบบนั้น ว่าถ้าทำบุญเยอะๆ จะได้ไปสวรรค์ ถ้าทำบาปก็จะตกนรก รวมถึงนิทานต่างๆที่แม่ได้เล่าให้ฟังมาตลอด

 

ฉันจึงพูดได้เต็มปากว่า ฉันเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี แต่ลึกๆแล้วฉันยังไม่เข้าใจอะไรหลายๆอย่าง จนกระทั่งฉันอายุ 17 ปี เมื่อฉันได้มาพบกับคนๆหนึ่งจากธรรมะ และเราก็มักคุยกันเรื่องธรรมะตลอด นั่นเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้ฉันเปลี่ยนแปลงความคิดเสียใหม่

 

ฉันเริ่มมองเห็นตัวเองมากกว่าที่เคยเป็น เริ่มมองความรู้สึกและอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างเข้าใจ จนเริ่มคิดว่าทุกอย่างเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป ไม่มีอะไรที่คงทนและอยู่กับเราไปตลอด

 

เชื่อสิว่าการที่เคยได้ยินคนอื่นเค้าพูดมาก่อนนั้น มันเทียบไม่ได้เลยกับการที่เราคิดได้ด้วยตนเอง ฉันเคยได้ยินคำพูดแบบนี้มานานแล้วแต่ก็แค่ฟังผ่านๆไม่ได้คิดอะไร จนตอนนี้ฉันเริ่มมองสิ่งรอบตัว จริงๆ ด้วยทุกอย่างล้วนต้องลาจากเราไปทั้งนั้นเลย...หวีสุดโปรดปรานที่พกติดตัวตลอด..หายไปแล้ว แฟนที่เราแสนรัก...ก็ไปจากเราแล้วด้วย หรือแม้กระทั่งคุณปู่ที่รักก็จากเราไปอย่างไม่มีวันกลับเช่นกัน... คนเราอยู่ท่ามกลางการลาจากตลอดเวลา ถ้าเราไม่จากมัน มันก็ต้องจากเราไป ไม่วันใดก็วันหนึ่งไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ตาม... อ่าว! แล้วคนเราตายไปจะไปอยู่ไหนดีล่ะ นรกหรือสวรรค์

 

แล้วนรกกับสวรรค์เนี๊ยมันมีจริงๆ หรือ หรือเป็นแค่นิทานหลอกเด็กเท่านั้น!?

 

หนีให้พ้นไปจากวัยเด็ก

31 March, 2008 - 04:46 -- nalaka

 

20080331 ภาพปก หนีให้พ้นไปจากวัยเด็ก
จอห์น  โฮลท์  เขียน
กาญจนา  ถอดความ

หนังสือเล่มนี้พูดถึงเด็ก ๆ ทั้งหลายที่อาศัยอยู่ร่วมในสังคมเดียวกับพวกเรา โดยต้องการพิจารณาดูว่าเด็กทั้งหลายนั้นถูกจัดวางให้อยู่ในตำแหน่งแห่งที่ใดในสังคม (หรือสังคมปัจจุบันอาจจะไม่ได้มีที่ว่างไว้ให้พวกเด็ก  ๆ เลย?)  

ผู้เขียนมีทัศนะที่ก้าวหน้ามากในประเด็นที่รายล้อมอยู่รอบตัวเด็ก และเต็มไปด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ค่านิยม ความเชื่อและพฤติกรรมที่มีผู้ใหญ่มีต่อเด็กอย่างถึงรากถึงโคนจนบางคนอาจจะรับไม่ได้

นอกจากหนังสือเล่มนี้ที่แปลมาจาก Escape from Childhood แล้วผู้เขียนซึ่งเคยเป็นครู มีประสบการณ์ในการคลุกคลีกับเด็กมายาวนาน    ตลอดจนได้ทำการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับเด็กมาอย่างกว้างขวางยังได้เขียนงานวิชาการเกี่ยวกับเด็กไว้อีกหลายเล่มด้วยกันคือ How Children Fail, How Children Learn, The Underachieving School และบทความที่เกี่ยวกับเด็กที่ตีพิมพ์ตามนิตยสารต่าง ๆ อีกมากหลาย

เนื้อหาทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้เกี่ยวข้องอยู่กับ “สถาบันแห่งความเป็นเด็ก” ที่วางอยู่ในบริบทของโลกสมัยใหม่ ซึ่งได้สร้างกฏเกณฑ์ กฎระเบียบต่าง ๆ ขึ้นมามากมายเพื่อกำหนดว่าเด็ก ๆ ควรจะมีชีวิตอยู่อย่างไร พวกผู้ใหญ่จะปฏิบัติต่อแกอย่างไร และกล่าวถึงวิธีการที่ไม่ถูกต้องทั้งหลายทั้งปวงที่สังคมกระทำต่อเด็ก ๆ นอกจากนี้หนังสือเล่มนี้ยังบอกไว้ด้วยว่าควรจะเปลี่ยนแปลงมันอย่างไร

คำว่า “สถาบันแห่งความเป็นเด็ก” ตามการนำเสนอของผู้เขียนคือ ทัศนคติ ประเพณี กฏเกณฑ์ต่าง ๆ รวมทั้งความรู้สึกของคนในสังคมที่มีต่อเด็ก สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นกำแพงกั้นขวางชีวิตวัยเยาว์กับชีวิตผู้ใหญ่ออกจากกัน

 

ปิดเทอมใหญ่ ทำอะไรดีน้า!?

ผมได้แรงบันดาลจากการเขียนเรื่องนี้จากภาพยนตร์เรื่อง “ปิดเทอมใหญ่ หัวใจว้าวุ่น” หนังใหม่ ที่กำลังฉายในโรงภาพยนตร์ใกล้บ้านท่านๆ

ว่ากันด้วยเรื่องของเนื้อหาในหนังนั้น ผมก็ยังไม่ได้ไปชม เพียงแต่ดูเนื้อในจากเว็บไซต์ก็พอสรุปคร่าวๆ ได้ว่าภาพยนตร์นี้เป็นเรื่องราวของวัยรุ่น 4 วัยในความรัก 4 มุม ทั้ง รักที่ต้องแย่งกัน รักนักร้องดาราคนโปรด รักนอกใจ และรักข้างเดียว ....อืม เอาเป็นว่า ใครอยากรู้เรื่องมากขึ้นลองเข้าเว็บไซต์ www.pidtermyai.com  ดูแล้วกันนะครับ

ในภาพยนตร์เรื่องนี้ได้นำเสนอชีวิตที่เกิดขึ้นของวัยรุ่นจำนวนหนึ่งในช่วงปิดเทอมใหญ่ ซึ่งบางคนก็ใช้เวลาไปแข่งกันขอเบอร์ผู้หญิง บางคนก็เตรียมตัวร้องเพลงนักร้องต่างชาติคนโปรดที่กำลังจะมาเปิดคอนเสิร์ตในเมืองไทย บางคนก็พยายามพิสูจน์ความรักของตนให้กับคนที่รัก และบางคนก็ออกเดินทางไปเที่ยวกับเพื่อนหญิงคนใหม่

ชีวิตของพวกเขาทั้งหลายในภาพยนตร์ อดทำให้คิดถึงเพื่อนๆ หลายคนที่จะมีเวลาว่างมากมายในช่วงปิดเทอมนี้ช่วงปิดเทอมใหญ่นี้ หลายคนคงอยากจะหาอะไรทำ ซึ่งส่วนหนึ่งที่ผมอยากเล่าในที่นี่ ก็เนื่องมาจาก “กิจกรรมดีๆ” ที่วัยรุ่นจะได้ทำในช่วงปิดเทอมใหญ่นี้ มีน้อยนัก

คาราวานความดีของวัยรุ่นอาชีวะ

ใครจะไปรู้ว่าเทคโนโลยีบางอย่างจะทำให้เราไม่พลาดการสื่อสารที่สำคัญได้จริงๆ เรื่องเกิดเมื่อวันหนึ่ง, ขณะที่ผมกำลังออนไลน์โปรแกรมแชทยอดนิยมนั้น พี่ต้าร์ (วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ แห่งกลุ่ม Y-ACT) ก็ได้เข้าโปรแกรมออนไลน์ MSN จากในค่ายแห่งหนึ่ง ณ สวนแสนปาล์ม นครปฐม ซึ่งเป็นการอบรมนักศึกษาอาชีวศึกษากว่า 30 สถาบัน
 
“อยากดูป่ะ” พี่ต้าร์ถามและได้เปิดโปรแกรมวิดีโอออนไลน์ขึ้นมา
ผมตอบว่าอยาก – สักพัก ภาพเคลื่อนไหวของเพื่อนๆ พี่ๆ ได้ปรากฏออกมา และมีภาพของเพื่อนๆ เยาวชนที่เข้าร่วมค่ายกำลังทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน

20080320 การอบรมนักศึกษาอาชีวศึกษากว่า 30 สถาบัน

ผมถามพี่ต้าร์ว่ามาทำอะไรกัน?
พี่ต้าร์ บอกว่า “วันนี้น้องอาชีวะกว่า สามสิบสถาบัน จากกลุ่มโรงเรียน จตุจักร ชัยสมรภูมิ ธนบุรี และสวนหลวง ร.9 ได้มาจัดกิจกรรมโครงการ คาราวานความดี อาชีวศึกษาพัฒนาสังคม ซึ่งจะอบรมกันสามวันเลยนะ จากวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 มีนาคม เลยแหละคุณเต้า”  

กลับบ้าน?

ในที่สุดนายกทักษิณ ก็ได้กลับบ้านเกิดเมืองนอน หลังจากที่ต้องเร่ร่อนรอนแรมอยู่ต่างประเทศตั้งปีกว่า กลับมาหนนี้ถือว่าได้กลับมาพิสูจน์ตัวเองในคดีต่างๆ ที่ตกเป็นจำเลย และยังได้กลับมาอยู่ใกล้ครอบครัวของตนเสียด้วย ยังไม่นับรวมถึงการที่จะต้องเข้ามาเคลียร์เรื่องอะไรอีกหลายอย่างที่เกิดขึ้นภายในพรรคและการเมืองที่ยังไม่ค่อยลงตัวสักเท่าใดนัก

 

ผมดูการกลับมาของคุณทักษิณ แล้วนึกถึงชีวิตของเด็กๆ ที่เร่ร่อนไร้บ้านอีกหลายคน ที่ต่างก็พเนจรไปในที่ต่างๆ ไม่ได้กลับบ้าน หรือบ้างก็ไม่มีบ้านอยู่อาศัย ซึ่งชะตากรรมของเขาหลายๆ คน ถือว่า "หนัก" กว่าคุณทักษิณหลายเท่า และไม่ค่อยได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างจริงจังเหมือนเจ้าหน้ารัฐแห่กันไปดูแลคุณทักษิณ ...

 

สถานการณ์ข้อมูลเรื่องเด็กเร่ร่อนล่าสุด ที่ทางอาจารสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ทำการศึกษาวิจัยสถานการณ์และปัญหาเด็กเร่ร่อนในประเทศไทย เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์เชิงรุกการแก้ไขปัญหาเด็กเร่ร่อนในระยะ 3 ปี (พ.ศ.2549-2551) 1 พบว่า เด็กเร่ร่อนในปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสาเหตุของโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมมหภาคเปลี่ยนไป เกิดปัญหาการสร้างความไม่เป็นธรรมในสังคม การกระจายรายได้ที่แตกต่างกัน เกิดการขยายตัวตามเมืองใหญ่ๆ ประชาชนละทิ้งถิ่นฐานอพยพเข้าสู่ตัวเมืองในสภาพที่ไม่พร้อม ขัดสนยากจนต้องอาศัยอยู่ในชุมชนแออัด สองข้างทางรถไฟ บุกรุกที่สาธารณะ ประกอบกับมีเด็กเร่ร่อนต่างชาติที่หลั่งไหลมาจากประเทศเพื่อนบ้านติดพรมแดนไทย ได้แก่ สหภาพพม่า ลาว และกัมพูชา ทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนเด็กเร่ร่อนในประเทศไทยมากขึ้น

 

รายงานวิจัยประมาณการว่า ในเวลานี้มีเด็กเร่ร่อนในประเทศไทยทั้งสิ้น 20,000 คน และในอีก 3 ปีข้างหน้าจะมีเพิ่มขึ้นเป็น 30,000 คน ขณะที่องค์กรของภาครัฐบาลและองค์กรเอกชนเข้าช่วยเหลือได้เพียง 5,000 คน ยังคงมีเด็กเร่ร่อนนอกระบบจำนวนมากในหลายพื้นที่ที่ต้องรีบเข้าไปให้ความคุ้มครองปกป้อง สงเคราะห์ เยียวยาและบำบัดรักษาอีกเกือบ 15,000-20,000 คน

 

สำหรับเส้นทางของเด็กเร่ร่อนจะค่อยๆ เคลื่อนตัวเข้ามารวมศูนย์อยู่ที่กรุงเทพฯ โดยมีจุดพักอยู่ตามเมืองใหญ่ๆ ในแต่ละภูมิภาค เช่น ภาคเหนือ เด็กเร่ร่อนจำนวนไม่น้อยมาจากเด็กชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ ข้ามฝั่งชายแดนแม่สายบริเวณ จ.เชียงรายและจังหวัดอื่นๆ มีขบวนการค้ามนุษย์ซื้อเด็กราคาถูกเข้ามาเลี้ยงให้เติบโต เพื่อนำไปสู่การเป็นขอทานและแรงงานเด็ก

 

สถานการณ์ตามภาคต่างๆ ในรายงานมีดังนี้....

ในภาคตะวันออก บริเวณพรมแดนไทย-กัมพูชา ใน จ.สระแก้วเด็กยากจนและเด็กเร่ร่อนจะอยู่บริเวณชายแดนเป็นจำนวนมากในรูปของเด็กเร่ร่อน ยากจน ขอทาน และแรงงานเด็กข้ามชาติ เด็กบางคนถูกนายหน้าซื้อจากพ่อแม่ และส่งต่อเข้าสู่ตัวเมือง จ.สมุทรปราการ สมุทรสาคร และ กทม. เกิดรูปแบบของวงจรเด็กขอทานและแรงงานเด็กที่มีการจัดส่งอย่างเป็นระบบ

เส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะเกิดเด็กเร่ร่อนเกือบทุกจังหวัด และบริเวณสะพานมิตรภาพไทย-ลาว มีเด็กเร่ร่อนหนีเข้ามาในบริเวณ จ.อุดรธานี ขอนแก่น อุบลราชธานี และศูนย์พักรวมอยู่ที่ จ.นครราชสีมา ก่อนเคลื่อนย้ายเข้าสู่กรุงเทพฯ และมีเส้นทางไปกลับ กทม.-พัทยาบ่อยครั้ง เพื่อการขายบริการทางเพศให้แก่ชาวต่างชาติ

กรณีของภาคใต้ แนวโน้มของเด็กเร่ร่อนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะเกิดเด็กกำพร้าและเด็กเร่ร่อนมากขึ้น มีการเคลื่อนตัวเข้าสู่อำเภอหาดใหญ่ จ.สงขลา ในพื้นที่ภาคใต้เองมีเด็กเร่ร่อนเกิดขึ้นในหลายจังหวัด นับแต่สภาพชุมชนดั้งเดิมหลายจุดในอำเภอเมือง และมีจุดใหญ่รวมเด็กเร่ร่อนมากขึ้นใน จ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวตามชายหาดต่างๆ สถานที่ท่องเที่ยวและบริเวณห้างสรรพสินค้าจะพบเด็กเร่ร่อนเดินทางมาจากจังหวัดอื่นๆ แทบทุกภูมิภาค

เมื่อสืบถึงภูมิหลัง แหล่งที่มา ครอบครัว การศึกษา ประวัติเด็ก พบว่าเด็กเร่ร่อนเหล่านี้เกิดขึ้นมาในสภาพไร้ตัวตน ขาดหลักฐานทางราชการ ไร้โอกาสทางการศึกษา มีสภาพถูกกระทำในรูปแบบต่างๆ เมื่อเริ่มออกเร่ร่อนอาจมีอายุยังน้อย เส้นทางเดินของเด็กบางคนกำหนดเองได้ แต่จำนวนไม่น้อยถูกขบวนการค้ามนุษย์ซื้อมาเลี้ยงให้เติบโตขึ้น และถูกบังคับให้ทำงาน สุดท้ายเด็กเร่ร่อนจะค่อยๆ เดินทางเข้าสู่ตัวเมืองใหญ่ๆ มีจุดพักเมืองท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค แล้วมารวมกันที่ กทม.ตามเส้นทางอันตรายของการเป็นเหยื่อและเครื่องมือทางเพศ ยาเสพติด ขอทาน แรงงานเด็กและอื่นๆ

 

หากดูประสบการณ์ของกลุ่มที่ทำงานด้านเด็กเร่ร่อนอย่าง "มูลนิธิอาสาพัฒนาเด็ก" ซึ่งทำงานในพื้นที่เชียงใหม่ ได้กล่าวไว้ใน http://www.vgcd.org ว่า จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่อันดับสองของประเทศได้ถูกกระแสทุนนิยมตามระบบของประเทศ โดยเฉพาะการถูกวางให้เป็นเมืองท่องเที่ยวขนาดใหญ่จึงเป็นปัจจัยดึงดูดผู้คนต่างถิ่นให้อพยพเคลื่อนย้าย เข้ามารวมถึงเด็กเร่ร่อน นอกจากนี้กลุ่มชนเผ่าที่อาศัยบนภูเขาหรือตะเข็บชายแดนก็เป็นอีกกลุ่มที่เข้ามาสู่การหารายได้ในเมือง เช่นกัน โดยเฉพาะการให้เด็กเข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญในการหารายได้ เช่น จากการขอทาน ขายดอกไม้ ขายสินค้าต่าง ๆ กับกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ซึ่งพบได้ตามท้องถนนยามค่ำคืน

 

เด็กวัยรุ่นที่ใช้ชีวิตเร่ร่อนเป็นกลุ่มที่ขาดทางเลือก ขาดการศึกษา บางกลุ่มไม่มีสัญชาติและมีเด็กจำนวนมากต้องถูกแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากผู้ใหญ่และเพื่อนรุ่นพี่ จนกระทั่งเข้าสู่กระบวนการขายบริการทางเพศเพื่อให้มีรายได้เลี้ยงตนเอง และเยาวชนเร่ร่อนยังมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ปลอดภัย เช่น การเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ การใช้ยาเสพติด ดื่มเหล้า ดูดยาบ้า ดมกาวแล้วมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย เยาวชนยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องเพศศึกษาและโรคเอดส์ ขาดทักษะชีวิตในการคิดวิเคราะห์ ประเมินความเสี่ยง ตัดสินใจที่เหมาะสม การปฏิเสธต่อรอง การตระหนักต่อคุณค่าของตนเอง รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่พวกเขาใช้ชีวิตอยู่ เช่น บาร์เหล้าเบียร์ สถานเริงรมย์ กลุ่มเพื่อนที่ใช้ยาเสพติด

 

สาเหตุเหล่านี้จึงทำให้พวกเขามีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กเร่ร่อนบางคนได้รับเชื้อ เอชไอวีแล้ว แต่ไม่ยอมรับตัวเอง ยังคงมีการขายบริการทางเพศและมีเพศสัมพันธ์กับเยาวชนกลุ่มอื่น ๆ เช่น นักเรียน นักศึกษาและไม่ใช้ถุงยางอนามัย เพราะขาดความตระหนักหรือมีทัศนคติด้านลบที่อยากแพร่เชื้อ ไม่สนใจผู้อื่น

 

เท่าที่ศึกษาเอกสารข้อมูลจากงานวิจัยและการทำงานขององค์กรที่เกี่ยวข้องทำให้เห็นว่าการที่เด็กและเยาวชนที่ไม่มีบ้าน ต้องเร่ร่อนไร้บ้าน ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งนั้น จะทำให้เกิดปัญหาหลายๆ อย่างตามมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเข้าถึงการรักษาพยาบาล การเข้าถึงการศึกษา หรือแม้แต่สวัสดิการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

ครั้งหนึ่ง ผมเดินขึ้นสะพานลอยย่านห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ก็เห็นน้องๆ เด็กๆ สองสามคน แต่งกายมอมแมมไปคุ้ยหาอะไรสักอย่างจากถังขยะ ผู้คนเดินผ่านมองไปมาด้วยสายตาที่บอกไม่ถูกนัก ผมตัดสินใจว่าจะเข้าไปถามว่าต้องการอะไร ถ้าอยากกินข้าวจะไปซื้อมาให้ ช่วงขณะที่กำลังจะเดินเข้าไปถาม น้องๆ ก็วิ่งหนีไปด้วยความตกใจ

 

ผมไม่รู้ว่าพวกเขามาจากที่ไหน อายุเท่าไหร่ แต่สิ่งที่เห็นอยู่นี้คือสิ่งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นกับเด็กๆ เพราะเด็กๆ ควรจะมีที่พักอาศัยได้อยู่ แม้ว่าบางครั้งเขาไม่อยากอยู่บ้าน หรือผู้ปกครองไม่สามารถดูแลได้ แต่อย่างน้อยรัฐเองก็ต้องเข้ามาดูแลคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็ก

 

ที่สำคัญเด็กๆ หลายคนย่อมเข้าไม่ถึงการศึกษาและเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยเขาจะเข้าหาหมอได้อย่างไร แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีความพยายามในการช่วยเหลือเด็กๆ เช่น มีครูข้างถนน (โครงการที่ทางมูลนิธิคุ้มครองเด็ก ดำเนินการ - http://www.fblcthai.org) โดยทางมูลนิธิจะดำเนินการ คือ

 

1. ส่งครูข้างถนนไปตามพื้นที่ต่างๆ ที่สำรวจพบเด็กหรือได้รับแจ้งว่ามีเด็กเร่ร่อนใช้ชีวิตอยู่
2. ครูข้างถนนจะคลุกคลีและสร้างสัมพันธ์ที่ดีเพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับเด็ก
3. นำเด็กที่ยินยอมพร้อมใจแล้ว เข้าสู่บ้านเปิดหรือหน่วยงานที่เหมาะสม เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาเด็กต่อไป
4. ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในลักษณะของเครือข่ายเพื่อร่วมกันป้องและแก้ไขปัญหาเด็กเร่ร่อนในภาพรวม

 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าถึงจะไม่มีครูข้างถนนแต่ "พวกเรา" ทุกคนหากพบเห็นเด็กๆ ที่เร่ร่อนไร้บ้านก็อาจจะเข้าไปสอบถาม และลองหาทางช่วยเหลือดู เพราะเราอาจจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือคนๆ หนึ่งให้เขาได้รับสิทธิการคุ้มครองสวัสดิภาพด้วย

 

แม้ว่าเราจะไม่รู้จักพวกเขาเหมือนที่เรารู้จักคุณทักษิณ แต่เราสามารถจะให้ปีกเด็กน้อยได้โบยบินสู่บ้านอย่างปลอดภัยได้เช่นกัน....

1 หนังสือมติชนรายวัน ประจำวัน อาทิตย์ ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549

เมืองสายรุ้ง (18)

1 March, 2008 - 14:50 -- nalaka

อาการป่วยของแม่ทุเลาลง แต่ยังไม่หายเป็นปกติเพราะโรคฉวยโอกาสบางชนิดที่ยังทำให้แม่อ่อนเพลีย คุณหมอมาดูแลอาการของแม่บ่อยครั้ง คุณหมอจะยิ้มอย่างปลอดโปร่งใจทุกครั้งเมื่อตรวจดูอาการของแม่เสร็จ

สายรุ้งไม่แน่ใจว่ารอยยิ้มของคุณหมอมีความหมายว่าอะไร อาจหมายถึงว่าแม่จะกลับมามีสุขภาพแข็งแรงดังเดิมหรือเพื่อปลอบใจสายรุ้งกันแน่ หรือว่าคุณหมอที่ไหน ๆ ต่างก็มีรอยยิ้มลักษณะเช่นนี้
“แม่ผมเป็นยังไงบ้างครับ”
คุณหมอทำท่าตรึกตรองราวกับกำลังหาคำอธิบายที่เหมาะ ๆ นั่นยิ่งทำให้สายรุ้งรู้สึกกังวลหนักขึ้น
“หนูต้องดูแลแม่ดี ๆ นะ” คุณหมอตอบ “หนูรู้ไหมว่าหนูมีส่วนอย่างมากในการทำให้คุณแม่หายจากอาการป่วยไว ๆ”
“แล้วแม่ผมจะหายเหมือนเดิมหรือเปล่าครับ”
“ขึ้นอยู่กับอะไรหลาย ๆ อย่าง เช่น การดูแลเอาใจใส่ของคนรอบข้าง ความเข้มแข็งของผู้ป่วยและสภาพแวดล้อม เอ่อ อากาศ อาหารการกินและอะไรต่าง ๆ อีกหลายปัจจัย”
    

“แม่ผมเป็นโรคอะไรครับ”
“อือ คือแม่ของหนูไม่สบายเพราะร่างกายอ่อนแอ ได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายมากเกินไปจนร่างกายต้านทานไม่ไหว”
“ทำไมร่างกายจึงอ่อนแอได้”
“เข้าใจถามแฮะ”
คุณหมอทำท่าครุ่นคิด “ร่ายกายอ่อนแอก็มีหลายสาเหตุ บางคนอาจเป็นเพราะภูมิแพ้ แพ้แดด แพ้อากาศ บางคนนอนน้อยเกินไป บางคนก็ไม่ได้ทานอาหาร เหล่านี้ก็ทำให้ร่างกายอ่อนแอได้ทั้งนั้น”
“แล้วความอ่อนแอของแม่เกิดจากอะไร ทั้งที่แม่ไม่ได้นอนน้อย แม่ทานอาหารที่อร่อยและมีประโยชน์เสมอ”
“ยังไงดีล่ะ”
หมอตอบ “ขอหมอกลับไปคิดหาสาเหตุก่อนก็แล้วกัน”

ผ่านพ้นจนครบเทอม, โครงการเยาวชน1000ทาง

 

หลังจากที่โครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม หรือ โครงการเยาวชน1000ทาง 1 ได้ดำเนินการมาจนจบวาระหนึ่งปีก็ถือว่าเรียนจบครบเทอมพอดี เพื่อนๆ พี่ๆ ทีมงานหลายคนต่างได้รับความรู้และประสบการณ์ในการทำงานเพื่อสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนเข้ามาทำกิจกรรมเพื่อสังคมมากยิ่งขึ้น

 

แม้ว่าโครงการเยาวชน1000ทาง จะเกิดจากความร่วมมือของเครือข่ายเยาวชนที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคมมาหลายปี แต่สำหรับประเทศไทยนั้นนับว่ามีโครงการที่สนับสนุนกิจกรรมของเยาวชน "มือใหม่" ไม่มากนัก ฉะนั้นโครงการเยาวชน1000ทาง ถือว่าเป็นโครงการที่ภาครัฐสนับสนุนให้เกิดการทำงานโดยเยาวชนดำเนินการ มีผู้ใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นที่ปรึกษาการทำงาน เพื่อให้เยาวชน "มือใหม่" เข้ามาทำกิจกรรมเพื่อสังคมมากยิ่งขึ้น

 

ปี 2550 ที่ผ่านมา มีโครงการที่ได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินการทั่วประเทศมากกว่า 300 โครงการและแต่ละโครงการเยาวชนจะเป็นคนที่คิดเองโดยมีงบประมาณสนับสนุนกลุ่มละไม่เกิน 8,000 บาท และมีการพิจารณาจากกรรมการที่แต่ละภาคได้สรรหามา หลังจากนั้นเยาวชนก็ดำเนินการตามแผนการที่วางไว้

 

ในตัวโครงการเยาวชน1000ทาง นอกจากจะมีการสนับสนุนงบประมาณแล้ว ยังมีระบบการให้คำปรึกษา การติดตามสนับสนุน การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ และการพัฒนางานวิจัยเพื่อรองรับการทำงาน ตลอดจนการพัฒนาองค์ความรู้ในการทำงานเพื่อพัฒนาเยาวชนต่อๆ ไป

 

อย่างก็ตาม อยากจะนำเรื่องราวดีๆ ของเพื่อนๆ พี่น้อง เยาวชนที่ได้ดำเนินการมาเผยแพร่ในที่นี่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการที่มาจากภาคอีสาน....

 

มาที่โครงการแรกคือ โครงการ "เพื่อนยามเหงา" เป็นโครงการของนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ที่เริ่มมาจากการที่เพื่อนๆ ได้พบเจอผู้ป่วยตามโรงพยาบาลต่างๆ บางคนก็มีญาติมาเยี่ยม บางคนก็ไม่มี เพื่อนๆ จึงบอกว่า อยากจะใช้เวลาว่างในช่วงปิดเทอมของเขาเป็นเพื่อนยามเหงาให้กับคนป่วยที่ขาดเพื่อน ขาดการเอาใจใส่จากคนที่รัก และมอบสิ่งดีๆ ให้กับคนเหล่านั้น

 

ส่วนโครงการ "ปาท่องโก๋ร่วมใจต้านภัยหนาว" นั้น ก็เป็นอีกโครงการ ที่น้องๆ เยาวชนจากนครราชสีมา อยากทำกิจกรรมสักอย่างหนึ่งในช่วงปิดเทอมและหารายได้เสริม และน้องๆ ก็บอกว่า หน้าหนาวแล้ว จึงอยากจะมอบผ้าห่มให้กับผู้สูงอายุในหมู่บ้าน โดยนำเงินที่ได้จากการทำปาท่องโก๋ไปจัดซื้อผ้าห่มกันหนาวมาให้

 

น้องในทีมงานโครงการ 2 บอกเหตุผลที่ทำปาท่องโก๋ขายว่า เพราะสงสารผู้สูงอายุในชุมชนที่ต้องทนกับอากาศหนาว "บ้านเราเวลาอากาศหนาว มันหนาวมาก และคนที่เดือดร้อนที่สุดคือคนแก่ยากจน เวลาหนาวๆ พวกท่านมักจะห่มผ้าห่มผืนเก่าๆ ขาดๆ มานั่งผิงไฟหน้าบ้าน เห็นแล้วก็อดสงสารไม่ได้"

 

น้องอาย สมาชิกในทีม ยังเล่าต่ออีกว่า "แต่ละวันขายปาท่องโก๋ได้ 200-300 บาท ทำอย่างนี้อยู่ 1 เดือน ตอนแรกๆ เหนื่อยมาก ไหนจะต้องขายปาท่องโก๋ ไหนจะต้องเรียน แต่พอคิดว่าทำเพื่อคนแก่ ก็มีกำลังใจขึ้นมา เพราะที่ผ่านมาพวกท่านเมตตาเรามาก เหนื่อยแค่นี้ทนได้ค่ะ"

หลังจากที่ทำเสร็จน้องๆ ก็นำเงินไปซื้อผ้าห่มให้กับผู้สูงอายุในชุมชน...

ต่อมาก็เป็นโครงการอื่นๆ เช่น3 โครงการแลกเปลี่ยนความรู้สู่น้องในหมู่บ้านห้องสมุดของเรา ของเยาวชนจากขอนแก่น ที่ใช้เวลาว่างของตนเองสอนหนังสือให้กับเด็กในหมู่บ้านที่ไม่ได้มีโอกาสเรียนพิเศษเหมือนกับเด็กในตัวอำเภอคนอื่น ๆ เนื่องจากหมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านที่อยู่ค่อนข้างไกลจากตัวอำเภอ จึงได้รวมกลุ่มกันเพื่อสอนหนังสือให้กับน้องๆ ทุกๆ วันเสาร์และอาทิตย์โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

โครงการธนาคารขยะรีไซเคิลของเยาวชน 1000 ทางจากจังหวัดพะเยา ที่เห็นว่าปัญหาขยะในชุมชนมีมากเลยอยากจะปลูกฝังให้กับเด็กเรื่องการทิ้งขยะจึงคิดโครงการนี้ขึ้นมา นอกจากจะเป็นการช่วยปลูกฝังการรักษาความสะอาดแล้ว การนำขยะกลับมาขายยังเป็นการสร้างแรงจูงใจที่ดีด้วยเนื่องจากเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน

โครงการร้อยฝัน ของเยาวชนจากสิงห์บุรี ที่นำความรู้และภูมิปัญญาที่ตนเองมีมาถ่ายทอดให้กับเพื่อน ๆ ในโรงเรียน นั่นคือความรู้ด้านการปักและซ่อมแซมเสื้อผ้า โดยน้อง ๆ นักเรียนอาข่าส่วนใหญ่ค่อนข้างขาดแคลนทุนทรัพย์ เวลาที่เสื้อผ้าขาดก็ไม่สามารถซื้อใหม่ได้ น้อง ๆ กลุ่มนี้จึงนำความรู้ความสามารถที่มีมาสอนเพื่อนๆ และน้องๆ ในโรงเรียน รวมไปถึงการสอนการปักผ้าในลวดลายของชาวอาข่าอีกด้วยเนื่องจากบางครั้งมีชาวต่างชาติเข้ามาเยี่ยมโรงเรียนก็เกิดความสนใจและขอซื้อในราคาที่ค่อนข้างสูง จึงเป็นอีกทางที่จะเพิ่มรายได้ให้กับเด็ก ๆ ชาวอาข่า

นี่เป็นแค่โครงการตัวอย่างบางส่วนที่นำมานำเสนอ ทว่า มีหลายโครงการที่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงของเพื่อนๆ น้องๆ พี่ๆ เยาวชน เช่น โครงการเสียงร้องจากเหรียญสตางค์ ที่ทีมงานบอกว่า "ได้รู้จักการเอื้อเฟื้อเผื่อแพร่ให้กับผู้อื่น การเป็นผู้ใหญ่มากกว่าผู้รับ การได้ทำประโยชน์เพื่อสังคม การได้ช่วยเหลือผู้อื่นที่ตกทุกข์ได้ยาก เรียนรู้ความไม่เห็นแก่ตัว เรียนรู้ถึงความสุขที่ได้รับจากคนหลายคนที่จริงใจและไม่จริงใจ ได้เพื่อนๆ เยอะ"

เยาวชนจากโครงการ "น้ำส้มควันไม้" บอกว่า ได้พัฒนาความรับผิดชอบในตัวเองและหน้าที่การงานมากขึ้น มีความสามัคคีในกลุ่มเพื่อน ความอดทน ขยันมากขึ้น ได้เป็นตัวอย่างในการนำไปขยายผลต่อในโรงเรียนอื่นๆ

นอกจากการได้เพื่อนใหม่ การได้พัฒนาทักษะ ประสบการณ์ บทเรียนชีวิตแล้ว เยาวชนหลายๆ โครงการจากทั่วประเทศ ยังได้บอกเป็นเสียงทำนองเดียวกันว่า การทำกิจกรรมเพื่อสังคมผ่านโครงการเยาวชน1000ทาง ทำให้พวกเขาได้เรียนรู้การให้ และความรับผิดชอบของตัวเองต่อสังคม

 

ทั้งนี้ พี่หนึ่ง ผู้จัดการภาคอีสานตอนล่างเขียนในบันทึกไว้ว่า 4
"น้อง ๆ ขยันขันแข็งกันน่าดู บางกลุ่มทำกิจกรรมในโครงการเสร็จแล้วก็โทรมาถามเกี่ยวกับเรื่องเอกสารสรุปว่าต้องทำอย่างไรบ้าง.....บางกลุ่มก็เข้ามาที่บ้านเลย....อันนี้ต้องเลี้ยงข้าวด้วย..เฮ้อ...ยิ่งเหนื่อยหนัก....แต่โดยรวมพอใจกับน้อง ๆ โครงการมากถึง 80 % เลยทีเดียว น้องๆ ตั้งอกตั้งใจทำกิจกรรมกันทุกๆ คน มีบ้างที่เหนื่อยหน่อย อย่างเช่น ปาท่องโก๋ร่วมใจ...ต้านภัยหนาว.....กว่าจะได้มาซึ่งผ่าห่ม..ดูน้องๆ เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ากับการทำ....การขาย....พักผ่อนน้อย เวลาทั้งหมดที่เคยเล่น ๆ กลับถูกนำมาใช้เพื่อคนอื่นๆ....แต่น้องๆ ก็ทำได้และก็ประสบผลสำเร็จด้วย....ส่วนโครงการอื่นๆ ก็ดีทีเดียวมีปัญหาอุปสรรคบ้างแต่ก็ฝ่าฟันไปได้ด้วยดี...เห็นความตั้งในของน้อง ๆ แล้วรู้สึกหายเหนื่อย...โดยเฉพาะเวลาที่มีผู้ใหญ่ พูดถึงน้องๆ โครงการเยาวชน1000ทาง....มีความรู้สึกว่าทุนทางสงคมเพิ่มขึ้น ....มีผู้ที่พร้อมจะมาเป็นแรงสนับสนุน..เป็นเพื่อนร่วมทางในการกรุยทางให้กับน้อง ๆ โครงการเยาวชน1000ทางในรุ่นๆ ต่อ ๆ ไป"

ใช่, อย่างที่พี่หนึ่งได้บันทึกไว้ ว่าการทำงานของเยาวชนที่ตั้งใจนี้ จำเป็นที่ผู้ใหญ่ควรจะสนับสนุนให้มีพื้นที่สำหรับเยาวชน ทั้งพื้นที่สร้างสรรค์ในเชิงกายภาพ และพื้นที่สร้างสรรค์ในเชิงโอกาส กล่าวคือ ควรมีการพัฒนาเยาวชนจากมุมที่เป็นการส่งเสริมเยาวชนมากกว่าเป็นการควบคุมจำกัดสิทธิ และควรส่งเสริมให้เยาวชนมีโอกาสในการสื่อสารกับผู้ใหญ่ ส่งเสียงต่อสาธารณะในประเด็นที่เกี่ยวข้อง

สิ่งเหล่านี้เป็นไปได้ - ความฝันเหล่านี้เป็นไปได้ เพียงแค่ว่าผู้ใหญ่จะเห็นความสำคัญมากน้อยเพียงใด และความท้าทายที่สำคัญคือ เป็นไปได้หรือไม่ที่นอกจากผู้ใหญ่จะให้เยาวชนมีส่วนร่วมแล้ว จะมอบ "อำนาจ" ในการตัดสินใจให้แก่เยาวชนด้วย

 

1 โครงการเยาวชน 1000ทาง เป็นการรวมตัวของเครือข่ายเยาวชนจากทั่วประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักส่งเสริมและพิทักษ์เยาวชน (สทย.) สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ (สท.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมกับสภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชนในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (สอ.ดย.) ดูเวบไซต์ได้ที่ http://www.1000tang.net/

2 อ่านต่อได้ที่มติชนออนไลน์ http://matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01lad03250151&day=2008-01-25§ionid=0115

3 อ่านต่อที่เดลินิวส์ ออนไลน์

http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=153444&NewsType=1&Template=1

4 บันทึกของพี่น้อยหนึ่ง อ่านได้ที่ http://gotoknow.org/blog/node-esandown/146409

Pages

Subscribe to เยาวชน