เยาวชน

เราจะอยู่ตรงไหนในสังคมไทยวันนี้

กิตติพันธ์ กันจินะ

บางทีแล้วการที่เราออกมาทำกิจกรรมเพื่อสังคมนั้น มันก็มีรูปแบบที่หลากหลายแตกต่างกันไปตามบริบทของการทำงานและพื้นที่สภาพแวดล้อม ซึ่งนั่นล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการทำงานของกลุ่มคนที่มากมายหลายประเภทเฉกเช่นดอกไม้ในสวนน่ายล

ท่ามกลางบรรยากาศสังคมอมยิ้มไม่ออกเช่นนี้ เยาวชนคนหนุ่มสาวก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่เข้าไปอยู่ในบริบทของความย้อนแย้งขัดเกลาเราเขาเช่นนี้ กล่าวคือมีทั้งเยาวชนที่เห็นด้วยกับแนวทางของซีกพันธมิตร และเยาวชนที่ไม่เห็นด้วยก็มีมาก ส่วนกลุ่ม “สองไม่เอา” นั่นก็มีไม่น้อย ทว่า กลุ่มที่ดูจะมีคือ “กรูไม่เอาสักอย่าง” เสียอีกที่มีเยอะ

ทางเดินของคนรุ่นใหม่กับประชาธิปไตยสีเทาๆ

กิตติพันธ์ กันจินะ

ความรู้สึกแรกที่เกิดขึ้นเมื่อมีการชุมนุมของพี่ๆ ทั้งกลุ่มพันธมิตรฯ และ กลุ่มต้านพันธมิตรฯ คือ “อีกแล้วเหรอ”  ซึ่งเป็นความรู้สึกที่กลัวว่าเหตุการณ์จะนำพาไปสู่เหตุการณ์ “รัฐประหาร” เหมือนเมื่อครั้งปี 2549 อีกหน

ที่ผ่านมากลุ่มพันธมิตรฯ ถูกมองว่า เป็น “เงื่อนไข” สำคัญที่ทำให้เกิดการรัฐประหารในครั้งล่าสุด แถมยังไม่ค่อยมีบทบาทมากนักในการต่อต้านรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งเลยแม้แต่นิด ซึ่งมันก็ไม่แปลกที่คนอื่นๆ ทั่วไป เขาจะมองว่ากลุ่มพันธมิตร เอาดี เห็นงาม กับการทำให้เกิดเหตุการณ์เยี่ยงนั้น

สำหรับนักประชาธิปไตยอีกฝากแล้ว ท่านเหล่านั้นคงรับไม่ได้กับที่มาและการดำรงซึ่งอำนาจของคณะรัฐบาลรัฐประหาร เพราะไม่มีทั้งความชอบธรรม และหลักการตามครรลองประชาธิปไตย ทำให้หลายๆ คนไม่ยอมรับ “รัฐธรรมนูญ” ฉบับปัจจุบัน เพราะถือว่าที่มาไม่ถูกต้อง เสมือนเป็นดั่งไข่ของเผด็จการที่มอบไว้กับสังคม (คนกลุ่มนี้ อาจมีทั้งที่รักและไม่รักคุณทักษิณอยู่ด้วย)

ที่ว่ามาแบบนี้ ผมไม่ได้อยู่ในกลุ่ม “สองไม่เอา” นะครับ, คือ ผมไม่รู้ว่า “จะเอาอะไร” มากกว่า หรือ หากพูดให้ตรงๆ ก็คือใครจะทำอะไร จะชุมนุม จะแก้ ไม่แก้ อย่างไร มันก็ไม่ได้ทำให้ผมเดือดร้อนมากมาย

เพราะผมคิดว่า ไม่จำเป็นต้องออกมาชุมนุมคัดค้านหรือสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ผมไม่จำเป็นต้องแสดงท่าที แถลงการณ์ต่อกลุ่มที่ชุมนุมทั้งหลาย เรื่องเหล่านี้ “ถูกขีดบรรทัด” ว่าเป็นเรื่องของ “ผู้ใหญ่” ไม่ใช่เรื่องของ “เด็ก” เพราะเด็กๆ จะไปรู้อะไรล่ะ

ส้มขอร้อง

กิตติพันธ์ กันจินะ

หลายวันที่ผ่านมาผมและเพื่อนๆ หลายคน ที่ติดตามข่าวเรื่องการชุมนุมของ “พันธมิตร” ต่างใจจดใจจ่ออยู่กับจุดมุ่งหมายท้ายสุดที่จะเดินไปถึง พร้อมๆ กับกระแสข่าวการ “ปฏิวัติ” ทุกเมื่อเชื่อวัน

แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็เชื่อมั่นว่าการชุมนุมโดย “สันติ” อย่างมี “สติ” เป็นสิทธิอันชอบธรรมของประชาชนที่สามารถดำเนินการได้ แต่การสลายการชุมนุมโดยการใช้ “ความรุนแรง” ที่ “ไร้สติ” นั้นเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์และปรารถนายิ่งนัก

ขบวนการนกกางเขน

29 May, 2008 - 11:36 -- nalaka

เคยได้ยินชื่อ “ขบวนการนกกางเขน” มานานแล้ว แต่ไม่เคยรู้ว่าคืออะไร จนกระทั่งเห็นหนังสือชื่อเดียวกันนี้วางอยู่บนชั้นและลงมืออ่าน จึงได้รู้ว่า “ขบวนการนกกางเขน” เป็นวรรณกรรมเยาวชนต่างประเทศที่แปลโดย “แว่นแก้ว”

“ขบวนการนกกางเขน” เป็นทั้งชื่อหนังสือและชื่อเรียกของกลุ่มตัวละครเด็ก ๆ ในเรื่อง เด็ก ๆ ถูกวาดให้มีหลากหลายบุคลิก ตั้งขบวนการ รวมตัวกันหาเรื่องสนุก ๆ ทำ จนกระทั่งเข้าไปผจญภัยในห้องใต้ดินและนำไปสู่การค้นพบขุมทรัพย์ในที่สุด

ความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้น่าจะอยู่ที่ผู้แปลมากกว่าผู้เขียน  สำหรับผู้เขียนชาวฝรั่งเศสคือ Madeleine Treherne  ตั้งชื่อหนังสือเล่มนี้ในภาคฝรั่งเศสว่า Rossignols en Cage ส่วนผู้แปลคือ “แว่นแก้ว”

รับไลฟ์สไตล์สักที่ไหมเคอะ

มาริยา มหาประลัย

20080527

1

“ขอโดลเช่ เดอ ลาเช่ ขนาดกลางแก้วหนึ่งค่ะ เพิ่มกาแฟอีกชอตและะ No whip cream ค่ะ อ้อ! ขอแบบไลท์ด้วยนะคะ Low Calories ด้วย ขอบคุณค่ะ”

เฮือก! โล่งอก! ฉันพูดประโยคยาวยืดนี่จบซะที! จะมีใครรู้ไหมนะว่าฉันต้องฝึกพูดคำว่า “โดลเช่ เดอ ลาเช่” มาตั้งกี่ครั้งกว่าจะมาเสนอหน้าสั่งกาแฟชื่อประหลาดอย่างคล่องปากนี่ได้ แต่คริๆ...คงไม่มีใครรู้หรอก เพราะฉันวางมาดดีไม่มีหลุดราวกับเรียนการแสดงจากครูแอ๋วมาเสียขนาดนี้ ใครๆก็ดูแต่เปลือกกันทั้งนั้นแหละเธอ! เอาล่ะ สะบัดบ๊อบไปนั่งรอกาแฟได้แล้วย่ะยัยมาริยา อ๊ายส์! จ่ายเงินก่อนสิยะเธอ!!
 
ฉันใช้ริมฝีปากที่ทาลิปสติค Christian Dior อย่างบรรจง ค่อยๆ ดูดกาแฟ Starbucks ราคาเฉียดสองร้อยบาททุกหยาดหยดในมืออย่างเนิบช้า ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยที่ต้องกำซาบรสชาติกาแฟแถมยังต้องประคองจริตในเวลาเดียวกัน

“ต๊าย! เริ่ด! นี่มันคือการจุมพิตกันระหว่างสองแบรนด์ดังระดับโลกจากปาริเซียงและซีแอตเทิลเชียวนะเนี่ย!” ฉันรำพึงในใจอย่างหมั่นไส้ตัวเอง ชิ!

ดิบส์ลูกรัก แม่และพ่อขอโทษ

13 May, 2008 - 06:22 -- nalaka

“ดิบส์ลูกรัก แม่และพ่อขอโทษ”1 แปลมาจากเรื่อง “Dibs In Search of Self” เป็นหนังสือเกี่ยวกับเด็กที่ไม่ใช่นวนิยายที่จัดได้ว่าเป็น Bestseller  อย่างไรก็ตามหนังสือเรื่องนี้อ่านสนุกน่าติดตามราวกับเป็นวรรณกรรมเยาวชน (จะว่าไปเรื่องราวของเด็ก ๆ ก็เป็นวรรณกรรมในตัวมันเองอยู่แล้ว)

ผมเจอหนังสือเล่มนี้โดยบังเอิญในห้องสมุด อ่านเพียงผ่าน ๆ แต่แรงดึงดูดบางประการทำให้วางไม่ลงและอ่านต่อไปด้วยความเพลิดเพลินจนจบ ผิดกับหนังสือหลายเล่มที่ในระยะหลังผมมักจะอ่านไม่จบ ไม่ใช่ไม่มีเวลา แต่ไม่มีแรงดึงดูดให้อ่าน แต่สำหรับเรื่อง “ดิบส์ลูกรัก แม่และพ่อขอโทษ” นี้เป็นข้อยกเว้นจริง ๆ

“ดิบส์ลูกรัก แม่และพ่อขอโทษ” เป็นบันทึกของนักจิตวิทยาที่ทำการบำบัดเด็กที่ถูกคุณครูและใครต่อใครมองว่า  ”มีปัญหา” แม้แต่พ่อแม่ของเขาเอง

พฤติกรรมที่ไม่คงที่ของดิบส์ทำให้เขาดูคล้ายจะเป็นเด็กที่มีสติปัญญาไม่สมบูรณ์ แต่บางครั้งก็ดูเป็นเด็กเฉลียวฉลาดกว่าใครอื่น เมื่อไหร่ที่ดิบส์คิดว่ามีคนกำลังจ้องมองเขาอยู่ เขาก็จะก้มหน้า ม้วนตัวหลบทันที และมักจะคลานไปรอบ ๆ ห้อง แล้วก็หลบอยู่ใต้โต๊ะ โยกตัวไปมา เคี้ยวมือหรือดูดนิ้วหัวแม่มือ ถ้ามีคุณครูหรือเด็กคนอื่น ๆ เข้าไปยุ่งด้วย เขาจะทิ้งตัวลงกับพื้นและนอนคว่ำหน้าแน่นิ่งอยู่ตรงนั้น ไม่สนใจใครหรือสิ่งรอบตัวใด ๆ ทั้งสิ้น ราวกับว่าโลกนี้ช่างโหดร้ายและไม่เป็นมิตรเอาเสียเลย

คณะกรรมการบริหารโรงเรียนที่ดิบส์เรียนอยู่มีมติเป็นเอกฉันท์ว่าจะต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งกับดิบส์ เมื่อผู้ปกครองของนักเรียนคนอื่น ๆ แสดงความไม่พอใจที่มีดิบส์เข้ามาอยู่ในโรงเรียนแห่งนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่เด็ก ๆ คนอื่นถูกดิบส์ข่วนและกัดเอา ๆ

จดหมายถึงคุณคาวี

มาริยา มหาประลัย

20080507 สวรรค์เบี่ยง

ปล. คาวีเป็นชื่อพระเอกในละครตบจูบเรื่อง “สวรรค์เบี่ยง” ทางช่อง 3 ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้

สวัสดีค่ะ คุณคาวี

พักนี้มีข่าวข่มขืนขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์กันพรึ่บพรั่บ ราวกับคนในบ้านเมืองของเราร่วมแรงแข็งขัน (และแข่งขัน) กันข่มขืนเป็นเมกะโปรเจ็กต์ ตั้งแต่รุ่นเด็กประถมยันอาจารย์มหาวิทยาลัย ดูแล้วชวนห่อเหี่ยวละเหี่ยใจเสียฉิบ

ไม่ยักเหมือนเวลาดูคุณคาวีข่มขืนเลยนะคะ ดูแล้วได้ความบันเทิงเริงเมืองปนโรแมนติค

ก็แหม…เวลาพูดถึงคนร้ายข่มขืนผู้หญิงทีไร ใครๆ ก็นึกถึงแต่ผู้ชายตัวดำๆ ไว้หนวดเครารุงรัง หน้าเถื่อนๆ ยืนดักอยู่ตามซอกตึก เหม็นกลิ่นเหล้าคุ้งเคล้ากลิ่นเหงื่อปนกลิ่นคาวปลาตามตัว...อี๋!!! เหม็นสาปความจน! ไม่เหมือนคุณคาวีนี่คะ ขาวตี๋รวยหล่อหอเจี๊ยะน่าหม่ำซะขนาดนั้น อุ๊ย! เขิน...

การปรากฏตัวของ "มาริยา มหาประลัย"

ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ผมต้องคิดหนักและเหนื่อยกับการใช้พลังในการพัฒนาโครงการ “กล้าเลือก กล้ารับผิดชอบ” ของเครือข่ายเยาวชนด้านเอดส์ ประเทศไทย

โครงการนี้เป็นโครงการที่จะสร้างกลไกระดับพื้นที่เพื่อรณรงค์ สร้างความเข้าใจเรื่องเอดส์ เพศศึกษาอย่างรอบด้าน และสนับสนุนให้เยาวชน ตระหนักและมีทัศนคติที่ดีในการเรียนรู้เรื่องการป้องกันเอดส์ รู้จักประเมินความเสี่ยงของตนเอง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางเพศของตนให้ปลอดภัย

ผ่านการดำเนินการกับกลุ่มเครือข่ายเยาวชนในพื้นที่ 8 กลุ่ม ใน 20 จังหวัดกระจายไปในภาคต่างๆ ซึ่งจะต้องดำเนินการตลอดระยะเวลา 12 เดือน ทั้งนี้ปัจจุบันโครงการได้ผ่านการอนุมัติแล้วจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข  ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการกำกับการขับเคลื่อนการปฏิบัติการป้องกันโรคเอดส์

หมู่เด็กแห่งทุ่งดอกไม้

29 April, 2008 - 09:50 -- nalaka

20080429 
อนาโตล ฟรองซ์  เขียน
ไกรวรรณ  สีดาฟอง แปล

อนาโตล ฟรองซ์ นักเขียนชาวฝรั่งเศสได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรมในปี 1921 เขาเป็นชาวปารีส กำเนิดมาท่ามกลางกองหนังสือเก่าของบิดา เขากลายเป็นนักเขียนแถวหน้าด้วยผลงานเรื่อง “ซิลเวอร์แตร์ บงนาร์ด” (1881)  หลังจากนั้นก็สร้างสรรค์นวนิยายออกมาหลายชิ้นที่โด่งดังมากก็คือ “หมู่เกาะนกเพ็นกวิน” (1908) นวนิยายเชิงเสียดสีที่มีฉากหลังเป็นการปฏิวัติฝรั่งเศสที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นเยี่ยมเล่มหนึ่งของศตวรรษ 20

ผลงานเรื่อง “หมู่เด็กแห่งทุ่งดอกไม้”  เขียนขึ้นตอนบั้นปลายของชีวิตของเขา น่าสังเกตว่าหลังจากเขียนงานวรรณกรรมประเภท “สร้างสรรค์” มามากมายแล้วเขาก็กลับไปเขียนเรื่อง “เด็ก” ที่ดูเหมือนว่าแสนจะธรรมดา

อนาคตของชาติ สู้ๆ สู้ตาย!

 

  

ปิติ-ชูใจ

ท่ามกลาง หนังซัมเมอร์' ที่ดาหน้ากันมาถมจนเต็มพื้นที่ในโรงภาพยนตร์ช่วงฤดูร้อน ทางเลือกของคนดูหนังใน โรงหนังชั้นนำใกล้บ้านคุณ' ก็ยังไม่ได้หลากหลายอะไรนัก เพราะแนวทางหลักๆ ของหนังซัมเมอร์ที่เห็นอยู่ตอนนี้ก็มีแค่ แอ๊กชั่น, ตลก, สยองขวัญ และอนิเมชั่น กรณีที่อยากดูหนังนอกกระแส ก็ต้อง เข้าเมือง' กันอย่างเดียว เพราะที่ทางของหนังเหล่านี้ยังกระจุกตัวอยู่ที่สยามหรือไม่ก็สุขุมวิทแค่นั้น (ซึ่งมันก็เป็นเรื่องเข้าใจได้ในยุคที่หนังถูกจำกัดความหมายให้เป็นแค่เครื่องมือผ่อนคลายและสร้างความบันเทิง)

แต่อย่างน้อยที่สุด หน้าร้อนปีนี้ยังมีหนังไทยน่าสนใจอยู่ 2 เรื่อง ที่พอจะแหวกกระแสเดิมๆ ออกไปได้บ้าง 

เรื่องแรกคือ อรหันต์ซัมเมอร์' ที่ชูประเด็น การบวชสามเณรภาคฤดูร้อน' มาเป็นจุดขาย กับอีกเรื่องคือ ดรีมทีม' ของผู้กำกับจอมเสียดสี (เรียว กิติกร) ที่ปีนี้มาพร้อมกับการขายความน่ารักของเด็กๆ อนุบาล วัยกำลังซน

ทั้งสองเรื่องมีความพ้องต้องกันประการหนึ่ง คือ เป็นหนังที่ผู้ปกครองสามารถพาเด็กๆ ไปดูได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีคำหยาบคายประเภท เหี้ย-ห่า และสารพัดสัตว์' หลุดออกมาให้เด็กๆ ได้ยิน...(ซึ่งประเด็นนี้กลายเป็นจุดขายที่แข็งแรงของหนังไปได้ยังไง--ก็ยังงงๆ อยู่เหมือนกัน)

ทั้งสองเรื่องเป็นหนังที่ดูเพื่อเน้นขำ เน้นฮา อย่างเดียวก็ได้ หรือจะดูเพื่อให้เห็นภาพสะท้อนความเป็นไปของสังคมไทยก็ยังได้ เพราะเรื่องใหญ่ใจความของทั้งอรหันต์ฯ และดรีมทีม คือการมองจากมุมของเด็กๆ ที่ถูกวางภาระแห่งการเป็น อนาคตของชาติ' ไว้บนบ่า

ใน อรหันต์ซัมเมอร์' เรื่องราวเริ่มต้นที่บรรดาพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ส่งตัวลูกหลานไปบวชเณรด้วยเหตุผลต่างๆ กันไป บางรายต้องการดัดนิสัยและสร้างวิันัยให้ลูก ส่วนบางรายหวังจะเกาะชายผ้าเหลืองลูกขึ้นสวรรค์ ในขณะที่ผู้ปกครองอีกบางคนจำต้องส่งลูกหลานไปสู่สถาบันศาสนาด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ แต่โดยรวมแล้วก็คือ ผู้ปกครองส่วนใหญ่หวังว่า ศาสนา' จะช่วยกล่อมเกลาและสั่งสอนให้ลูกหลานของตัวเองเป็น คนดี' ต่อไปในอนาคต

ส่วนเรื่อง ดรีมทีม' ที่ผู้กำกับบอกว่า ไม่มีนัยยะทางการเมืองแอบแฝง' ก็พุ่งประเด็นไปที่การแข่งขันชักเย่อของเด็กอนุบาลที่มุ่งสู่สนามระดับชาติ โดยมีผู้ปกครองหลากหลายประเภทคอยสนับสนุน ชี้นำ หรือไม่ก็คอยสร้างความวุ่นวายปั่นป่วนไม่แพ้เด็กๆ ที่ยังไม่รู้เดียงสาในเรื่อง

เรื่องราวของสามเณรแสนซนอย่าง ข้าวปั้น, นะโม, น้ำซุป, บู๊ ฯลฯ และเรื่องราวของน้องหัวแก้ว, เป๊ะ, เซน 1, เซน 2, อะตอม, ภูมิ ฯลฯ จึงเป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ที่พวกเขาเหล่านั้นได้เผชิญร่วมกันในฤดูร้อนหนึ่งซึ่งจะส่งผลกับทิศทางชีวิตของพวกเขาในทางใดทางหนึ่งในอนาคต

และประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือว่า พวกเขาจะรับมืออย่างไรกับความคาดหวังของผู้คนรอบข้าง

การเรียนรู้ร่วมกันของเหล่าสามเณรในอรหันต์ซัมเมอร์' ทำให้พวกเขามีศัตรูร่วมกัน (ในตอนแรก) คือความเข้มงวดกวดขันของหลวงพี่และหลวงพ่อในเรื่อง

การรวมตัวกันโดยอัตโนมัติของเหล่าสามเณรภาคฤดูร้อนจึงเกิดขึ้น เพื่อแข็งขืนต่อข้อปฏิบัติอันเคร่งครัดและเพื่อทำตามที่ธรรมชาติเรียกร้อง เช่น ร้องเพลงเมื่ออยากร้อง หรือต้มมาม่ากินเมื่อหิว

แน่นอนว่า การกระทำเหล่านี้ไม่ใช่การกระทำในฐานะสามเณร แต่เป็นการกระทำตามประสาเด็กทั่วไป แต่เมื่อพวกเขาอยู่ในสถานะซึ่งต้องดำรงไว้ซึ่ง คุณงามความดีในฐานะผู้สืบทอดศาสนา' (และอนาคตของชาติ) การฝืนธรรมชาติของเด็กทำให้เกิดการเรียนรู้ว่า พวกเขาควรจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรต่อกฎอันเคร่งครัดและความคาดหวังของพ่อแม่พี่น้องลุงป้าน้าอาที่คิดกันง่ายๆ ว่า ผ้าเหลือง' จะเป็นเครื่องมือบ่มนิสัยอันดีงามของเด็กได้

ทั้งที่ในความเป็นจริง ใต้ร่มเงาของศาสนา ก็ยังมีปัญหาที่แก้ไม่ตกอยู่หลายเรื่อง เห็นได้จาก พุทธศาสนิกชน' ในเรื่องอรหันต์ซัมเมอร์ ส่วนใหญ่ก็เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในทางวัยวุฒิกันแล้ว แต่ความเข้าใจเกี่ยวกับพระธรรมคำสอนยังไม่ไปถึงไหน และคนส่วนใหญ่ยังติดอยู่แค่เปลือกของพิธีกรรมเท่านั้น

ฉากที่สามเณรเจ้าปัญญาพยายามรักษาอาการคลุ้มคลั่งของ ผี' ในจิตใจผู้ใหญ่ ด้วยการมุ่งชี้ไปที่ต้นเหตุของปัญหา ซึ่งผู้กำลังมีทุกข์เท่านั้นจะรู้ว่า ต้นตอแห่งความทุกข์ของตัวเองคืออะไร แต่ หลวงพี่ใบบุญ' (ตูน เอเอฟ 3) ผู้อบรมสั่งสอนสามเณร กลับต้องไปเตรียมน้ำมนต์เพื่อมา ปราบผี' อย่างไม่เต็มใจนัก หลังจากถูกบรรดาญาติโยมกดดันอยู่พักใหญ่

ถ้าดูแบบไม่คิดอะไร...มันก็คงไม่มีอะไร แต่เมื่อคิดไปแล้ว ก็จะเห็นได้เองว่า ในขณะที่บรรดาพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่พร่ำภาวนาถึงความดีงามของศาสนา และทะนงตนว่าตัวเองเป็นชาวพุทธที่ดี แต่เมื่อต้องเผชิญหน้ากับ ปัญหา' พวกเขากลับคิดถึงแต่วิธีที่เป็นไสยศาสตร์มากกว่าจะคำนึงถึงหลักธรรมคำสอนซึ่งเป็น แก่นแท้' ของศาสนา และหวาดกลัวเสียจนหลงลืมไปว่าความรัก โลภ โกรธ หลง เกลียดแค้น ชิงชัง เป็นอารมณ์ปกติของมนุษย์ ซึ่งแน่เสียยิ่งกว่าแน่ว่า มันซุกซ่อนอยู่ในตัวเราทุกคน'

แทนที่จะมุ่งสู่การดับทุกข์และพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้น พุทธศาสนิกชนจำนวนมากนี่แหละ ที่มุ่งหน้าเข้าสู่ตรรกะที่ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับเรื่องของการบำบัดทุกข์ในใจตน กลับมองว่าบุคคลอื่นๆ ต่างหากที่เป็นสาเหตุแห่งทุกข์และพยายาม กำจัด' ทิ้ง มันถึงได้เกิดเป็นปัญหาตามมาเรื่อยๆ ไม่รู้จบ

ความงดงาม' ของศาสนาที่ถูกถ่ายทอดออกมาให้เห็นในอรหันต์ซัมเมอร์จึงไม่ได้อยู่ที่ความดีงาม' แต่ไปตกอยู่ที่การ ตระหนักรู้' ถึงธรรมชาติของสรรพสิ่งว่ามีความงดงามเฉพาะตัวของมันอย่างไรมากกว่า

ชั้นเชิงในการนำเสนอภาพของศาสนาของหนังเรื่องนี้จึงไม่ได้แบนราบ และพร่ำสอนถึงการทำความดีเพียงอย่างเดียว แต่มีทั้งการเรียนรู้จากความจำยอม, ความผิดพลาด, ความโง่เขลา หรือความถือดี

สามเณรที่ดูเหมือนจะมีอนาคตไกล หากไม่ได้เรียนรู้หรือทำความเข้าใจในภาวะต่อมาของชีวิต ก็มีสิทธิ์หลงผิดได้พอๆ กับเด็กทั่วไปที่ไม่เคยเฉียดใกล้ชายผ้าเหลือง หรือผู้ยากไร้ที่ต้องเลือกอะไรบางอย่างด้วยภาวะแห่งความจำยอม อาจแปรเปลี่ยนให้มันเป็นโอกาสทองของชีวิตก็ย่อมได้

มันจึงไม่เกี่ยวกับว่า เรามี โอกาส' ในการเลือกหรือไม่ แต่ขึ้นอยู่กับว่าเราจะสร้างโอกาสอย่างไรจากสิ่งที่ได้เลือก (หรือ ต้อง' เลือก) ไปแล้ว

ส่วนความตั้งใจของกลุ่มเด็กอนุบาลใน ดรีมทีม' แรกเริ่มมีแค่ว่า พวกเขาอยากเล่นเกมชักเย่อ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการออกเสียงว่า ชัก-เย่อ' หรือ ชัก-กะ-เย่อ' มันก็คือเกมที่ผู้แข่งขันทั้งสองฝ่ายยืนอยู่คนละด้านของปลายเชือก และใครที่มีแรงสาวได้มากกว่า ฝ่ายนั้นก็คือ ผู้ชนะ'

เกมชักเย่อกลายเป็นเรื่องใหญ่โตเมื่อคำว่า ชัยชนะ' เข้ามาเกี่ยวพัน จากความสนุกสนานธรรมดาๆ กลายเป็นภารกิจยิ่งใหญ่ที่ต้องอาศัยโค้ช (ฟุตบอล) ทีมชาติมาเป็นตัวช่วย และความคาดหวังว่า เด็กๆ ต้องชนะ' ก็เป็นภาระที่ต้องแบกรับเพิ่มมาอีกหนึ่งเรื่อง

แม้ผู้กำกับกิตติกรจะบอกว่าหนังดรีมทีมไม่มีประเด็นแอบแฝง แต่มันก็ยังตีความได้อยู่ดีว่า ในสังคมไทยนี้ไซร้...มีผู้ใหญ่มากมายคอยอยู่เบื้องหลังเด็กๆ เต็มไปหมด

ผู้ใหญ่บางคนอาจจะทำตัวน่ารักน่าเอ็นดูด้วยการวิ่งเข้าหาผู้ใหญ่อีกคน เพื่อให้สมผลประโยชน์ของตัวเองและเด็กในความดูแล เช่น แม่ของน้องเซน 1' (เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์) ซึ่งพยายามล็อบบี้โค้ชทีมชักเย่อในทุกครั้งที่มีโอกาส เพื่อให้ลูกชายของตัวเองได้อยู่ในตำแหน่งหัวหน้าทีม หรือไม่อย่างนั้นก็จะมีคนอย่าง พ่อของน้องเซน 2' (คมสัน นันทจิต) ซึ่งพยายามปลูกฝังเข้าสู่หัวลูกอยู่ทุกบ่อยว่า ที่หนึ่งคือผู้ชนะ' และ ต้องชนะเท่านั้นถึงจะดี'

จะว่าไปแล้ว การกระทำของผู้ใหญ่ในหนังดรีมทีม ไม่ได้น่าเกลียดโฉ่งฉ่างอะไร และค่อนไปในทางฉันทาคติที่เกิดจากความลำเอียงเพราะรัก' โดยแท้ ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาของคนทั่วไป แต่ถ้ามองในอีกแง่หนึ่ง ก็คงจะซึ้งว่า ด้วยเรื่องเล็กๆ น้อยๆ น่ารักน่าเอ็นดูแบบนี้แหละ ที่ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นเงาตามตัว ตามวันและวัยของผู้ที่เติบใหญ่ในสังคมแห่งการแข่งขัน

วัฒนธรรม ตัวกู-ของกู-พวกพ้องกู ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ชั่วเวลาข้ามวัน แต่มันต้องสั่งสมกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งบางทีมันอาจจะเริ่มต้นด้วยเรื่องขี้ปะติ๋วแบบนี้แหละ และเราก็มักจะมองข้าม หลงลืม หรือเพกเฉยกับความอคติของตัวเอง (แล้วไปเข้มงวดกวดขันกับการสร้างมาตรฐานให้คนอื่นปฏิบัติตามแทน)

ในโลกที่ไม่ต้องการความพ่ายแพ้ ที่อยู่ที่ยืนของคนแพ้จึงมีน้อย แม้แต่ในหนังดรีมทีมเอง ก็มีที่ทางให้กับการพ่ายแพ้เพียงเล็กน้อย ทั้งที่ผู้กำกับพยายามเสนอว่า ที่หนึ่งไม่ใช่ทุกอย่าง' แต่ก็ยังไม่ชัดเจนฟันธงพอที่จะทำให้เห็นว่า การเป็นที่สอง' หรือ การเป็นผู้แพ้' มีรสชาติอย่างไร ซึ่งอันที่จริง (ความคิดเห็นส่วนตัว) มันน่าสนใจกว่าเป็นผู้ชนะเสียอีก

ถึงกระนั้นก็เถอะ...รอยยิ้มของเด็กๆ ในเรื่องดรีมทีมก็เป็นสิ่งที่คนดูปรารถนาจะได้เห็นมากกว่ารอยน้ำตา และเตือนให้คนดูอย่างเราได้รู้ว่า ที่แท้แล้วเราก็เสพติดในชัยชนะไม่แพ้คนอื่นๆ ในสังคมหรอก...(-__-")

 

 

Pages

Subscribe to เยาวชน