Skip to main content

เมฆฝนตั้งเค้าทำท่าเหมือนว่าจะเทน้ำลงมา แต่ก็ไม่เคยหล่นลงมาสักหยด สายลมจะพัดพาเมฆให้ลอยไปที่อื่น จากนั้นท้องฟ้าก็จะปลอดโปร่งเหมือนเดิม ชาวสวนที่เฝ้ารออยู่แหงนหน้าขึ้นฟ้าหวังจะได้เห็นเม็ดฝนโปรยปราย เมล็ดพืชที่หว่านไว้รอเพียงฝนแรกเท่านั้นก็จะแทงยอดอ่อนออกมา

ท้องฟ้าครึ้ม เมฆสีดำลอยต่ำและบดบังความร้อนแรงแห่งแสงอาทิตย์ อากาศยามสายขมุกขมัว  
“วันนี้ฝนจะตก” ตาพูดกับเด่นและสายรุ้ง “ดูฝงมดพวกนั้นสิพากันอพยพเพราะมันรู้ว่าน้ำจะเจิ่งนองท่วมรังของมัน”

สายรุ้งแหงนหน้าขึ้นมองท้องฟ้า ท้องฟ้าช่างดูอึดอัดด้วยบรรยากาศอันอึมครึม นกฝูงบินตัดก้อนเมฆที่คล้อยลงต่ำ

“เราจะได้เล่นน้ำ” เด่นว่า
แล้วฝนก็เทลงมาจริงๆ ต้นไม้ส่ายยอดโอนเอนรับน้ำฝน พื้นดินแข็งถูกน้ำซึมเซาะจนอ่อนนุ่ม บริเวณกอกล้วยมีไส้เดือนตัวสีดำโผล่ออกมาคืบคลานอย่างเริงร่า ในขณะที่สัตว์บางชนิดหลบเข้าไปอยู่ในรูอันปลอดภัย  

เด่นกับสายรุ้งหลบเข้าไปอยู่บ้านของตา ม่านฝนเป็นโค้งสีขาวเคลื่อนไหวไปตามแรงลมที่พัดกระหน่ำ สายฝนตกกระทบหลังคาฟังเหมือนเสียงดนตรีที่มีท่วงทำนองอันไม่เคยซ้ำก่อนที่จะไหลสู่รางน้ำ มีตุ่มรองรับน้ำฝนอยู่ข้างล่าง

เด่นถอดเสื้อออก “ฉันว่าฉันจะเล่นน้ำ”
“ฉันเล่นด้วย”
สายรุ้งว่า
“นายต้องบอกแม่ก่อน”
“จะบอกได้ยังไง ฉันติดฝนอยู่อย่างนี้ ถ้าฉันวิ่งไปบอกแม่ ฉันก็เปียกฝนอยู่ดี”
สายรุ้งอ้าง
“แล้วแต่นายก็แล้วกัน”

สายรุ้งถอดเสื้อออก สายลมพัดมาต้องผิวกายให้ความรู้สึกสดชื่นหลังจากที่อากาศอบอ้าวมาตลอดหลายวัน

เด่นกระโจนลงจากชานบ้าน สายรุ้งกระโดดตาม ทั้งคู่วิ่งไปยังชายคา บริเวณที่สายฝนไหลมารวมกันที่รางน้ำก่อนจะตกลงมา

เด่นปล่อยให้น้ำตกลงบนศีรษะ แผ่นหลัง เขากระโดดขึ้นลงอย่างสนุกสนาน แล้วสายรุ้งก็ทำตาม  

“เขาว่าน้ำฝนบริสุทธิ์” เด่นอ้าปากออกเพื่อรับน้ำฝนที่หล่นมาจากฟ้า สายรุ้งรู้สึกขำเพราะมันทำให้เขานึกถึงจระเข้ที่อ้าปากค้างไว้อย่างนั้นเป็นชั่วโมงซึ่งเขาเคยเห็นในสารคดี
“ไม่บริสุทธิ์หรอก เพราะมันมีฝุ่น”
“นายรู้ได้ยังไง”
“ครูที่โรงเรียนบอก”

เด่นวิ่งนำสายรุ้งไปยังต้นละมุด และต้นมะม่วงซึ่งมักจะหล่นลงมาเวลามีฝนตกหรือลมพัดแรง ถ้าพวกเขาไม่เก็บ เด็กคนอื่นก็จะเก็บไป

“โอ้โห!” เด่นอุทานเมื่อเห็นผลละมุดเกลื่อนกระจายอยู่บนลานหญ้า
“ฉันว่าเอากองไว้ก่อนแล้วค่อยเอาถุงมาใส่”

จากนั้นทั้งคู่วิ่งไปยังบ่อเลี้ยงปลาซึ่งปลามักจะกระโดดขึ้นมาเล่นน้ำอยู่บ่อย ๆ เวลาที่มีฝนตก ระดับน้ำในบ่อเบี้ยงปลาไม่ลึกมาก แค่เพียงหน้าอกของสายรุ้งเท่านั้น  แต่บ่อค่อนข้างกว้าง ผักกะเฉดแผ่เลื้อยทอดยอดอยู่รอบ ๆ ตลิ่ง

“ดูสิ” สายรุ้งว่า “ปลาช่อน ปลากระดี่กระโดดออกมา”
“ปลากระดี่มาจากไหน ตาไม่ได้เลี้ยงปลากระดี่นี่”
“มันคงมาเอง”

รอบบ่อเลี้ยงปลามีตาข่ายกันไว้ กันไม่ให้ปลากระโดดหนีแต่ปลาก็ยังเล็ดรอดออกมาได้ ตาข่ายยังช่วยป้องกันงูที่เข้ามากินปลาได้ด้วย บางทีมีงูตายค้างอยู่ที่ตาข่ายเพราะพยายามจะเข้าไปในบ่อเพื่อหาปลา

“กลับกันเถอะ” สายรุ้งชวน “ฉันหนาวแล้ว”
ทั้งคู่วิ่งกลับไปบ้านตา สายรุ้งจัดการอาบน้ำ น้ำประปาอุ่นสบายเมื่อเทียบกับน้ำฝน แต่เขาก็ยังรู้สึกหนาวอยู่ดี

“นายห้ามป่วยนะ” เด่นว่า “ไม่งั้นได้อดเล่นน้ำฝนกันอีกแน่ ๆ”
“ท่าทางฉันเหมือนคนขี้โรคหรือ”
สายรุ้งตอบ ท่าทางยียวน
“กลับบ้านไปเจอแม่แล้วจะรู้” เด่นพูด

ฝนยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดได้ง่าย ๆ ด้วยความเป็นห่วง แม่มาตามสายรุ้งที่บ้านของตาและพบว่าสายรุ้งหนาวสั่นเหมือนลูกนกอยู่ภายใต้ผ้าขนหนู โดยที่ไม่ต้องรอให้แม่ถาม สายรุ้งชิงออกตัวเสียก่อนเลยว่า
“ผมเล่นน้ำฝนครับแม่”

แม่เช็ดตัวให้สายรุ้งทั้งที่เขาเช็ดจนทั่วแล้ว “หนาวไหม หวังว่าพรุ่งนี้คงจะไม่ป่วยนะ”
“ผมไม่ป่วยง่าย ๆ หรอกครับแม่”
“แม่ก็คิดอย่างนั้นเหมือนกัน”  
“ถ้างั้นแม่ก็ไม่ว่าอะไรใช่ไหมที่ผมเล่นน้ำฝน”
“ไม่ว่าอะไรหรอก เพียงแต่แม่อยากให้ลูกบอกแม่เสียก่อนเท่านั้นเอง”

“ครับแม่” สายรุ้งพูด แล้วซุกศีรษะกับอกอุ่นของแม่

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
-1- หลานเกิดปีเดียวกับที่ผมเดินทางออกจากบ้าน มุ่งหาประสบการณ์และไล่คว้าหาความหมายของสิ่งที่เรียกว่าชีวิต  คืนวันของหลานที่เติบโตขึ้นด้วยความเอาใจใส่ของพ่อแม่คือจำนวนเวลาที่ผมจากบ้านเกิดเมืองนอน
นาลกะ
    คงเป็นเพราะรูปเล่มงามตาน่าหยิบจับและเครดิตก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่องที่บอกว่า “เล็กน้อยมากจนสามารถนั่งอ่านข้าง ๆ เตียง ยิ่งใหญ่มากจนสามารถเปลี่ยนชีวิตทั้งชีวิต” เร้าความสนใจให้เปิดพลิกและลงมืออ่าน
นาลกะ
-1- ฉันเดินตัดผ่านสนามหลวงเพื่อไปขึ้นรถเมล์กลับหอพักเกือบทุกวัน เรื่องราวที่แทบจะเป็นแบบฉบับและเหตุการณ์ซ้ำ ๆ ที่ได้พบเห็นจากผู้คนแห่งสนามหลวงวันแล้ววันเล่า ทำให้เกิดภาพประทับในใจโดยไม่รู้ตัว เมื่อฉันได้รู้จักกับสนามหลวงมากขึ้น ฉันก็ได้พบว่าสถานที่แห่งนี้เปี่ยมไปด้วยสีสันและชีวิตชีวาอย่างแท้จริง ที่แห่งนี้มีเรื่องราวชีวิตของคนระดับล่างมากมาย แต่ละคน แต่ละชีวิตนั้นน่าจะปรากฏอยู่ในนิยายมากกว่าจะเป็นเรื่องจริง คนเหล่านี้ไม่ควรจะมีอยู่จริง!
นาลกะ
“ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก(Man and Wife)” คือนิยายอันละเมียดบรรจงของ Tony Parsons เป็นผลงานภาคต่อจาก “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ (Man and Boy)” ซึ่งเคยสร้างความเกรียวกราวในแวดวงนักอ่านได้มากพอสมควร(ผมเคยวิจารณ์ไว้แล้วที่ http://blogazine.prachatai.com/user/nalaka/post/1562 ) ฝีมือแปลโดย ภัสรี สิงหเดช  
นาลกะ
โดยทั่วไปแล้ว หนังสือของสำนักพิมพ์ “ผีเสื้อ” สามารถการันตีคุณภาพ(แต่ไม่การันตียอดขาย) ได้ในระดับหนึ่ง เรียกได้ว่าไม่มีคำว่าผิดหวังในแทบทุกเล่มเพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นวรรณกรรมแปล! “พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” ซึ่งเขียนโดย ฌ็อง-หลุยส์ ฟูร์นิเย่ร์ และแปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร ก็เช่นเดียวกัน
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลชมเชยประเภทบันเทิงคดีสำหรับเยาวชน ก่อนวัยรุ่น (12-14) จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติปี 2530 และได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 100 เล่ม ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน โดยฝีมือการประพันธ์ของนักเขียนซึ่งเป็นรู้จักกันดี "อัศศิริ ธรรมโชติ"
นาลกะ
ด้วยชื่อเรื่องที่ไม่คุ้นหู และหน้าปกเป็นรูปน้ำตกกลางป่าสวยงาม วรรณกรรมเยาวชนเล่มนี้ชวนให้สะดุดใจและเปิดอ่าน ซึ่งก็ใช้เวลาอ่านไม่นานนักก็จบเล่มเพราะมีความหนาไม่ถึง 50 หน้ารวมภาพประกอบ
นาลกะ
ผลงานเรื่องนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากการประกวดวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว ครั้งที่ 2 ผู้เขียนคือ “เก็ตตะหวา” วาดภาพประกอบโดย ธีระพงษ์ บัวระเพชร และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เจ้าเก่า แก่นแกนของเรื่องคือพัฒนาการของเด็กผู้หญิงที่ชื่อ “ผิงผิง” ซึ่งอาศัยอยู่กับพ่อแม่บุญธรรม และไม่ใคร่จะชอบพ่อที่แท้จริงนักเพราะคิดว่าพ่อทอดทิ้งเธอซ้ำยังปล่อยให้แม่ตาย แต่ที่จริงแล้วพ่อของเธอนั้นรักเธอมาก เหตุที่ต้องฝากเธอไว้กับคนอื่นนั้นเพราะหน้าที่การงานที่เป็นนักมายากลต้องตระเวณแสดงไปตามที่ต่าง ๆ ทั้งคนที่นำลูกไปฝากไว้นั้นก็เป็นเพื่อนเก่าและเป็นนายอำเภอที่ไม่มีลูกของตนเองสามารถดูแลผิงผิงได้
นาลกะ
  เรื่องเล่ามหาสนุกจากทุ่งหญ้าสีเขียว เป็นวรรณกรรมเด็กที่โด่งดังของธอร์นทัน ดับบลิว. เบอเกตส์ (Thornton W. Burgess) เขาได้แต่งเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ป่าและธรรมชาติเป็นนิทานก่อนนอนสำหรับลูกชาย ปลูกฝังให้ลูกชายเติบโตขึ้นอย่างมีความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ ต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือชุดรวม 20 เล่ม ได้รับผลสำเร็จอย่างมาก จนเขาได้แต่งเรื่องเล่าเพิ่มเติมรวม 170 เรื่อง
นาลกะ
  วันนี้ขอเปลี่ยนจากวรรณกรรมไทยมาเป็นวรรณกรรมต่างประเทศกันบ้าง หลังจากอ่านวรรณกรรมเล่มนี้จบแล้ว ยอมรับว่ารู้สึกได้ถึงความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมเยาวชนของไทยและต่างประเทศ ทั้งสำนวนภาษา ทั้งเทคนิคลีลาการเล่าเรื่องและความเข้มข้นจัดจ้านของเนื้อหา ขอบ่นนิดหนึ่งว่าเท่าที่อ่านและเขียนถึงวรรณกรรมเยาวชนของไทย จำนวนไม่น้อยถ้าไม่เล่าเรื่องชนบทเรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นติดตามแล้วก็มักจะบรรเจิดเพริศแพร้วในเรื่องจินตนาการมากเสียจนกลายเป็นนิทานก่อนนอนไปหรือไม่ก็เขียนสำหรับให้เยาวชนอ่านเท่านั้น ไม่ท้าทายผู้อ่านวัยอื่น ๆ แต่อย่างไรเสีย เชื่อว่าวรรณกรรมเยาวชนไทยคงจะได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ…
นาลกะ
"โลกนี้ยังมีเพื่อน" คือหนังสือรวมนิทานยอดเยี่ยม รางวัลมูลนิธิเด็ก หนังสือเล่มนี้รวมนิทานไว้ทั้งหมด 7 เรื่องด้วยกัน ตั้งชื่อเล่มตามชื่อนิทานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดในปีที่ 12 นอกจาก "โลกนี้ยังมีเพื่อน" ซึ่งได้รับรางวัลนิทานยอดเยี่ยมแล้ว ยังมีเรื่องนิทานเรื่อง "นักวาดพู่กันวิเศษ" ที่โดดเด่นจนได้รับรางวัลความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ส่วนที่เหลืออีก 5 เรื่องได้รับรางวัลชมเชย
นาลกะ
ลูกแม่น้ำโขง วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน "แว่นแก้ว" ชนะเลิศรางวัลที่ 3 คืออีกหนึ่งผลงานจากนานมีบุ๊ค เขียนโดย "เขมชาติ" แม้ว่าลูกแม่น้ำโขงจะเดินตามขนบวรรรกรรมเยาวชนแบบที่เขียน ๆ กัน ที่มักพูดถึงชนบทอันงดงามที่ผู้คนพึ่งพาช่วยเหลือกัน สภาพธรรมชาติที่ผูกพันแวดล้อมวิถีชีวิต การเล่นซนของเด็ก ๆ และข้อคิดทางด้านคุณธรรม เป็นต้นว่า การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ความมีน้ำใจ  ถึงกระนั้น ลูกแม่น้ำโขง ก็ยังคงน่าอ่านด้วยการบรรยายอย่างมีชีวิตชีวา  เพราะแม่น้ำโขงแม้นจะไหลอย่างที่เคยไหลก็ยังคงน่ามองและมีเสน่ห์อยู่เสมอ