Skip to main content

ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก(Man and Wife)” คือนิยายอันละเมียดบรรจงของ Tony Parsons เป็นผลงานภาคต่อจาก “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ (Man and Boy)” ซึ่งเคยสร้างความเกรียวกราวในแวดวงนักอ่านได้มากพอสมควร(ผมเคยวิจารณ์ไว้แล้วที่ http://blogazine.prachatai.com/user/nalaka/post/1562 ) ฝีมือแปลโดย ภัสรี สิงหเดช

 

\\/--break--\>
คล้ายคลึงกับเล่มก่อนหน้า “ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก(Man and Wife)” อาจไม่ใช่นิยายสำหรับคนหนุ่มสาวที่กำลังงุนงงสงสัยต่อคุณค่าความหมายของชีวิตหรือโหยหาเทิดทูนเสรีภาพ อยากออกไปโลดแล่นในโลกกว้างอย่างไร้ข้อจำกัด หรืออาจไม่ใช่นิยายสำหรับคนที่คิดขบถต่อแบบแผนหลักของสังคม ทั้งยังไม่ใช่นิยายแห่งแรงดลใจสำหรับความมุ่งมั่นบางอย่างในชีวิต หากแต่เป็นนิยายของคนที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป เป็นนิยายของคนที่คิดจะมีครอบครัว คนที่กำลังจะมีครอบครัว ที่มีครอบครัวแล้ว ที่กำลังจะหย่าร้าง คนที่จะแต่งงานใหม่ ที่เป็นพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยงและเผชิญปัญหาเรื่องครอบครัวผสม

 

เรื่องราวทั้งหมดจึงเป็นเรื่องของการแสวงหาความลงตัวในชีวิต “ครอบครัว” มองหาความสมบูรณ์แห่งชีวิตจากครอบครัว ในขณะที่หัวใจยังไม่อิ่มเต็ม อย่างไรก็ตามการมีครอบครัวไม่ใช่สิ่งสำเร็จรูปที่จะสร้างชีวิตที่ดีให้เกิดขึ้นได้เสมอไป ตรงกันข้าม หลายคนล้มเหลว เข็ดหลาบและได้ซึ้งใจว่า “ครอบครัว” ก่อให้เกิดคำถามและปัญหาตามมามากมาย

 

ในภาคนี้มีตัวละครน่าสนใจเพิ่มเข้ามาคือ คาซึมิ ผู้หญิง “พิเศษ” ชาวญี่ปุ่นที่เดินทางแสวงโชคไกลถึงอังกฤษ

ที่ช่วยถักทอเรื่องราวให้เข้มข้นด้วยปมปัญหาที่ซับซ้อน

 

ส่วนตัวละครหลัก ๆ ยังอยู่กันครบ ไม่ว่าจะเป็น จีน่า- อดีตภรรยาของแฮร์รี่ แพ็ต-ลูกชายหัวแก้วหัวแหวน ซี้ด-ภรรยาคนใหม่ เพ็กกี้- ลูกเลี้ยง เอมอน ฟิช- เพื่อนร่วมงานผู้ซึ่งสร้างสีสันด้วยมุมมองน่าทึ่งเฉพาะตัว เขาบอกกับแฮร์รี่ในตอนหนึ่งว่า

 

ผู้หญิงน่ะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ สิ่งที่น่าต้องเข้าใจก็คือในช่วงวัยต่าง ๆ ของชีวิต ผู้หญิงก็เหมือนกับโลกเรานี่เอง ช่วงอายุสิบสามถึงสิบแปดก็เป็นเหมือนทวีปแอฟริกา ดินแดนที่ยังบริสุทธิ์ ระหว่างสิบแปดถึงสามสิบก็เหมือนเอเชีย ร้อนแรงน่าตื่นเต้น จากสามสิบถึงสี่สิบห้าก็เหมือนอเมริกา ถูกสำรวจหมดแล้วแต่ยังมีทรัพยากรให้ใช้ได้อีกมาก จากสี่สิบห้าถึงห้าสิบห้าก็ยุโรป อาจจะล้าไปสักหน่อย หมดสภาพไปสักนิด แต่ก็ยังมีสถานที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง ทีนี้จากห้าสิบห้าขึ้นไปล่ะก็จะเหมือนออสเตรเลียเลย ทุกคนรู้ว่ามันอยู่ตรงนั้น แต่น้อยคนจะยอมลงทุนไปค้นหา” (หน้า 132)

 

เนื้อหาของเรื่องถูกขับเคลื่อนไปด้วยเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งแวดล้อมแก่นแกนหลักว่าด้วยเรื่องการแสวงหาความลงตัวของชีวิตครอบครัว ดำดิ่งลงสู่ความรู้สึกนึกคิดอันละเอียดซึ่ง ความอ่อนแอ การโหยหาสิ่งที่เข้ามาเติมเต็มให้ชีวิตอันเนื่องมาจากความรู้สึกขาดหายอยู่ตลอดเวลา

 

หลังจากเลิกร้างกับจีน่าอันเนื่องมาจากถูกจับได้ว่านอกใจแล้ว แฮร์รี่ก็แต่งงานใหม่กับซี้ดสาวชาวอเมริกันผู้ชาญฉลาดซึ่งมีลูกเลี้ยงติดพ่วงมาด้วย ชีวิตครอบครัวดูเหมือนจะไปด้วยดีในตอนแรก ความฉลาด งามล้ำของซี้ด และความสุขสมในเพศรสช่วยพยุงชีวิตคู่ไว้ได้มาก แต่ในเวลาต่อมา ความหึงหวง ความไม่เข้าใจกัน ช่องว่างระหว่างแม่เลี้ยงกับลูกเลี้ยง คือซี้ดกับแพ็ต ระหว่างพ่อเลี้ยงกับลูกเลี้ยง คือ แฮร์รี่กับเพ็กกี้ ก็ทำให้เกิดความระหองระแหงขึ้น

 

พ่อเลี้ยงแม่เลี้ยงมีหน้าที่ที่จะไม่มีวันได้รับคำขอบคุณ พวกเราไม่มีวันชนะ ถ้าไม่ใช่วุ่นวายกับคนแปลกหน้าตัวจ้อยนี่มากเกินไปก็น้อยเกินไป” (หน้า 174)

 

การค้นพบคาซึมิ ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ขยายรอยร้าวของชีวิตคู่จนเกือบแตกหักและบังคับให้แฮร์รี่ต้องตัดสินใจเลือก

 

คาซึมิ เป็นเพื่อนของจีน่าเป็นผู้หญิงอ่อนโยนโรแมนติคในแบบของคนเอเชีย เธอทำงานเป็นช่างภาพ เธอพูดเกี่ยวกับการถ่ายภาพไว้ว่า

มีคนพูดไว้เกี่ยวกับการถ่ายรูปค่ะ ฉันคิดว่าคงเป็นกวี มันเหมือนการชมดอกซากุระ ช่วงเวลานั้นน่าสนใจเพราะว่าเป็นแค่ชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ถนอมรักษาช่วงเวลาไว้มิให้ผ่านเลย” (หน้า 187)

 

แฮร์รี่เคยคิดว่าชีวิตคู่จะจบลงที่ซี้ด เขาคงรักใครไม่ได้อีกแล้ว เขาอยากจะสร้างครอบครัวให้มั่นคงเหมือนพ่อแม่ของเขา ที่อยู่ด้วยกันจนตายจากกันไป แต่แล้ว คาซึมิก็ทำให้เขาคิดใหม่ เขาลุ่มหลงและสับสน

 

ขณะที่คาซึมิหลับใหลอยู่ในอ้อมแขนผม ผมนึกสงสัยว่าจะทำให้ชีวิตนิ่งได้อย่างไร ด้วยการอยู่กับที่กระนั้นหรือ หรือด้วยการเริ่มใหม่อยู่ร่ำไป” (หน้า 247)

ไม่ว่าแฮร์รี่จะตัดสินใจเลือกใครต่างก็ต้องลงเอยด้วยความเจ็บปวดทั้งสิ้น ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ผู้หญิงดีเลิศสองคน แต่อยู่ที่ตัวเขาเอง

ผมรู้ผมสามารถทำอย่างที่คนทั่วไปมักจะปฏิบัติกัน ผมอาจพยายามทำให้ซี้ดมีความสุขเพียงครึ่งเดียว ในขณะที่เก็บคาซึมิไว้และทำให้เธอมีความสุขเพียงครึ่งหนึ่งเช่นกัน มีอะไรกับคนทั้งสองเท่าที่จะทำไหว ผมคงพอจะรอดตัวไปได้ด้วยการโกหกทุกคน ทั้งซี้ด ทั้งคาซึมิ แต่ที่หนักที่สุดคือโกหกตัวเอง บอกตัวเองว่ารักทั้งสองคนอย่างแท้จริง อย่างซาบซึ้งตรึงใจ แต่การพยายามรักผู้หญิงทั้งสองคน ในที่สุดก็จะจบลงด้วยการไม่อาจรักใครได้เลยสักคน” (หน้า 336)

 

อย่างไรก็ตาม ด้วยความผูกพันและความเป็นครอบครัว แฮร์รี่เลือกที่จะอยู่กับซี้ดต่อไป แต่แฮร์รี่นั้นอาจเปลี่ยนใจอีกก็ได้เพราะหัวใจของเขาไม่เคยอิ่มเต็ม.

 

 

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
-1- หลานเกิดปีเดียวกับที่ผมเดินทางออกจากบ้าน มุ่งหาประสบการณ์และไล่คว้าหาความหมายของสิ่งที่เรียกว่าชีวิต  คืนวันของหลานที่เติบโตขึ้นด้วยความเอาใจใส่ของพ่อแม่คือจำนวนเวลาที่ผมจากบ้านเกิดเมืองนอน
นาลกะ
    คงเป็นเพราะรูปเล่มงามตาน่าหยิบจับและเครดิตก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่องที่บอกว่า “เล็กน้อยมากจนสามารถนั่งอ่านข้าง ๆ เตียง ยิ่งใหญ่มากจนสามารถเปลี่ยนชีวิตทั้งชีวิต” เร้าความสนใจให้เปิดพลิกและลงมืออ่าน
นาลกะ
-1- ฉันเดินตัดผ่านสนามหลวงเพื่อไปขึ้นรถเมล์กลับหอพักเกือบทุกวัน เรื่องราวที่แทบจะเป็นแบบฉบับและเหตุการณ์ซ้ำ ๆ ที่ได้พบเห็นจากผู้คนแห่งสนามหลวงวันแล้ววันเล่า ทำให้เกิดภาพประทับในใจโดยไม่รู้ตัว เมื่อฉันได้รู้จักกับสนามหลวงมากขึ้น ฉันก็ได้พบว่าสถานที่แห่งนี้เปี่ยมไปด้วยสีสันและชีวิตชีวาอย่างแท้จริง ที่แห่งนี้มีเรื่องราวชีวิตของคนระดับล่างมากมาย แต่ละคน แต่ละชีวิตนั้นน่าจะปรากฏอยู่ในนิยายมากกว่าจะเป็นเรื่องจริง คนเหล่านี้ไม่ควรจะมีอยู่จริง!
นาลกะ
“ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก(Man and Wife)” คือนิยายอันละเมียดบรรจงของ Tony Parsons เป็นผลงานภาคต่อจาก “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ (Man and Boy)” ซึ่งเคยสร้างความเกรียวกราวในแวดวงนักอ่านได้มากพอสมควร(ผมเคยวิจารณ์ไว้แล้วที่ http://blogazine.prachatai.com/user/nalaka/post/1562 ) ฝีมือแปลโดย ภัสรี สิงหเดช  
นาลกะ
โดยทั่วไปแล้ว หนังสือของสำนักพิมพ์ “ผีเสื้อ” สามารถการันตีคุณภาพ(แต่ไม่การันตียอดขาย) ได้ในระดับหนึ่ง เรียกได้ว่าไม่มีคำว่าผิดหวังในแทบทุกเล่มเพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นวรรณกรรมแปล! “พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” ซึ่งเขียนโดย ฌ็อง-หลุยส์ ฟูร์นิเย่ร์ และแปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร ก็เช่นเดียวกัน
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลชมเชยประเภทบันเทิงคดีสำหรับเยาวชน ก่อนวัยรุ่น (12-14) จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติปี 2530 และได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 100 เล่ม ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน โดยฝีมือการประพันธ์ของนักเขียนซึ่งเป็นรู้จักกันดี "อัศศิริ ธรรมโชติ"
นาลกะ
ด้วยชื่อเรื่องที่ไม่คุ้นหู และหน้าปกเป็นรูปน้ำตกกลางป่าสวยงาม วรรณกรรมเยาวชนเล่มนี้ชวนให้สะดุดใจและเปิดอ่าน ซึ่งก็ใช้เวลาอ่านไม่นานนักก็จบเล่มเพราะมีความหนาไม่ถึง 50 หน้ารวมภาพประกอบ
นาลกะ
ผลงานเรื่องนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากการประกวดวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว ครั้งที่ 2 ผู้เขียนคือ “เก็ตตะหวา” วาดภาพประกอบโดย ธีระพงษ์ บัวระเพชร และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เจ้าเก่า แก่นแกนของเรื่องคือพัฒนาการของเด็กผู้หญิงที่ชื่อ “ผิงผิง” ซึ่งอาศัยอยู่กับพ่อแม่บุญธรรม และไม่ใคร่จะชอบพ่อที่แท้จริงนักเพราะคิดว่าพ่อทอดทิ้งเธอซ้ำยังปล่อยให้แม่ตาย แต่ที่จริงแล้วพ่อของเธอนั้นรักเธอมาก เหตุที่ต้องฝากเธอไว้กับคนอื่นนั้นเพราะหน้าที่การงานที่เป็นนักมายากลต้องตระเวณแสดงไปตามที่ต่าง ๆ ทั้งคนที่นำลูกไปฝากไว้นั้นก็เป็นเพื่อนเก่าและเป็นนายอำเภอที่ไม่มีลูกของตนเองสามารถดูแลผิงผิงได้
นาลกะ
  เรื่องเล่ามหาสนุกจากทุ่งหญ้าสีเขียว เป็นวรรณกรรมเด็กที่โด่งดังของธอร์นทัน ดับบลิว. เบอเกตส์ (Thornton W. Burgess) เขาได้แต่งเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ป่าและธรรมชาติเป็นนิทานก่อนนอนสำหรับลูกชาย ปลูกฝังให้ลูกชายเติบโตขึ้นอย่างมีความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ ต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือชุดรวม 20 เล่ม ได้รับผลสำเร็จอย่างมาก จนเขาได้แต่งเรื่องเล่าเพิ่มเติมรวม 170 เรื่อง
นาลกะ
  วันนี้ขอเปลี่ยนจากวรรณกรรมไทยมาเป็นวรรณกรรมต่างประเทศกันบ้าง หลังจากอ่านวรรณกรรมเล่มนี้จบแล้ว ยอมรับว่ารู้สึกได้ถึงความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมเยาวชนของไทยและต่างประเทศ ทั้งสำนวนภาษา ทั้งเทคนิคลีลาการเล่าเรื่องและความเข้มข้นจัดจ้านของเนื้อหา ขอบ่นนิดหนึ่งว่าเท่าที่อ่านและเขียนถึงวรรณกรรมเยาวชนของไทย จำนวนไม่น้อยถ้าไม่เล่าเรื่องชนบทเรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นติดตามแล้วก็มักจะบรรเจิดเพริศแพร้วในเรื่องจินตนาการมากเสียจนกลายเป็นนิทานก่อนนอนไปหรือไม่ก็เขียนสำหรับให้เยาวชนอ่านเท่านั้น ไม่ท้าทายผู้อ่านวัยอื่น ๆ แต่อย่างไรเสีย เชื่อว่าวรรณกรรมเยาวชนไทยคงจะได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ…
นาลกะ
"โลกนี้ยังมีเพื่อน" คือหนังสือรวมนิทานยอดเยี่ยม รางวัลมูลนิธิเด็ก หนังสือเล่มนี้รวมนิทานไว้ทั้งหมด 7 เรื่องด้วยกัน ตั้งชื่อเล่มตามชื่อนิทานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดในปีที่ 12 นอกจาก "โลกนี้ยังมีเพื่อน" ซึ่งได้รับรางวัลนิทานยอดเยี่ยมแล้ว ยังมีเรื่องนิทานเรื่อง "นักวาดพู่กันวิเศษ" ที่โดดเด่นจนได้รับรางวัลความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ส่วนที่เหลืออีก 5 เรื่องได้รับรางวัลชมเชย
นาลกะ
ลูกแม่น้ำโขง วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน "แว่นแก้ว" ชนะเลิศรางวัลที่ 3 คืออีกหนึ่งผลงานจากนานมีบุ๊ค เขียนโดย "เขมชาติ" แม้ว่าลูกแม่น้ำโขงจะเดินตามขนบวรรรกรรมเยาวชนแบบที่เขียน ๆ กัน ที่มักพูดถึงชนบทอันงดงามที่ผู้คนพึ่งพาช่วยเหลือกัน สภาพธรรมชาติที่ผูกพันแวดล้อมวิถีชีวิต การเล่นซนของเด็ก ๆ และข้อคิดทางด้านคุณธรรม เป็นต้นว่า การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ความมีน้ำใจ  ถึงกระนั้น ลูกแม่น้ำโขง ก็ยังคงน่าอ่านด้วยการบรรยายอย่างมีชีวิตชีวา  เพราะแม่น้ำโขงแม้นจะไหลอย่างที่เคยไหลก็ยังคงน่ามองและมีเสน่ห์อยู่เสมอ