Skip to main content
ลูกแม่น้ำโขง วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน "แว่นแก้ว" ชนะเลิศรางวัลที่ 3 คืออีกหนึ่งผลงานจากนานมีบุ๊ค เขียนโดย "เขมชาติ"


แม้ว่าลูกแม่น้ำโขงจะเดินตามขนบวรรรกรรมเยาวชนแบบที่เขียน ๆ กัน ที่มักพูดถึงชนบทอันงดงามที่ผู้คนพึ่งพาช่วยเหลือกัน สภาพธรรมชาติที่ผูกพันแวดล้อมวิถีชีวิต การเล่นซนของเด็ก ๆ และข้อคิดทางด้านคุณธรรม เป็นต้นว่า การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ความมีน้ำใจ  ถึงกระนั้น ลูกแม่น้ำโขง ก็ยังคงน่าอ่านด้วยการบรรยายอย่างมีชีวิตชีวา
  เพราะแม่น้ำโขงแม้นจะไหลอย่างที่เคยไหลก็ยังคงน่ามองและมีเสน่ห์อยู่เสมอ

เด็กชายปุ้ม เติบโตในครอบครัวที่เรียกได้ว่า
"ฐานะดี" สำหรับคนชนบทคือมีแม่เป็นครูและพ่อเป็นทหาร แต่ส่วนใหญ่แล้วพ่อของเขาไม่อยู่บ้าน เขาคิดถึงพ่ออยู่เสมอและดีใจมากเมื่อพ่อกลับมาหา

ปัญหาของเด็กที่เกิดมาฐานะดีท่ามกลางคนอื่น ๆ ที่
"ยากจน" คือ "ไม่มีเพื่อน"  เขากินอาหารอย่างที่คนอื่นไม่ได้กิน ใส่เสื้อผ้าสะอาดในขณะที่คืนอื่นมอมแมม สำหรับเด็ก การไม่มีเพื่อนถือเป็นเรื่องใหญ่ กิจกรรมในวัยเยาว์จะจืดลงทันทีหากไม่มีเพื่อนมาร่วมเด็กคนอื่น มองเขาด้วยความหมั่นไส้กระทั่งกลั่นแล้ง

วันหนึ่งแม่ถามเขาว่า
"ปุ้มอยากมีเพื่อนหรือลูก"
"ครับแม่ ปุ้มไม่มีเพื่อนเลย"
"ที่โรงเรียนล่ะลูก ปุ้มไม่มีเพื่อนเลยเหรอ"
"พวกมันไม่ให้ปุ้มเข้าหมู่ มันว่าปุ้มอ้วน อุ้ยอ้าย ทำอะไรก็ช้า" (หน้า 28)

วิธีที่ปุ้มใช้เพื่อให้ได้เพื่อนคือการทำตัวให้เหมือนกับเพื่อน ๆ
  เพื่อนใส่เสื้อนักเรียนสกปรก ปุ้มก็ทำให้เสื้อขาวสะอาดของตนเองสกปรกบ้าง แต่สำหรับเด็ก ๆ แล้วความเป็นเพื่อนไม่ได้ต้องการเงื่อนไขอะไรมากมาย  หลังจากเข้าร่วมชักเย่อในงานวันเด็กแล้วปุ้มก็ได้เพื่อนใหม่ง่ายดาย

เพื่อนใหม่ของปุ้มคือ
"ล้วน" เป็นเด็กโข่ง อายุมากกว่า ตัวใหญ่กว่า  เป็นที่ครั่นคร้ามของเด็กคนอื่น

วิถีชีวิตของปุ้มและล้วนเหมือนภาพตัดกันของเมืองกับชนบท
  ปุ้มร่ำรวย มีโอวัลตินดื่ม ไม่ต้องทำงานช่วยเหลือครอบครัว  มีชีวิตเหมือนคุณหนู  ในขณะที่ล้วนยากจน ไม่เคยลิ้มรสโอวัลติน รับภาระช่วยเหลือครอบครัวและโตเกินวัย

ล้วนคอยสอนปุ้มในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งดูแล้วเหมือนคนชนบทสอนคนเมือง ไม่ว่าจะเป็นการเกี่ยวหญ้า  การขี่ควายและกิจกรรมเล่นสนุกอื่น ๆ

ความเป็นเพื่อนถูกกระชับให้แน่นแฟ้นขึ้นเมื่อล้วนกับปุ้ม ต้องเผชิญหน้ากับ "เขียว" เด็กอีกคนหนึ่งซึ่งค่อนข้างจะเกกมะเหรกเกเร ปุ้มถูกเขียวหาเรื่องในขณะที่ไปเล่นน้ำโขงกับล้วน เขาถูกล้อว่าเป็น "หมูอ้วน" และถูกข่มขู่จากเขียว
"มึงกล้ามากนะที่ลงมาอาบน้ำโขงถิ่นกู" เขียวขู่

ล้วนเสนอตัวช่วยเหลือปุ้มโดยไม่เกรงกลัว ทำให้เขียวไม่พอใจล้วนไปด้วยอีกคน อย่างไรก็ตาม จากเหตุการณ์ครั้งนี้มิตรภาพของปุ้มกับล้วนก็แน่นแฟ้นขึ้น

เขียวเก็บความโกรธแค้นไว้และจ้องหาโอกาสจัดการกับล้วน แล้วโอกาสก็มาถึง ล้วนกับเขียวต่อสู้กันตามประสาเด็ก ดูเหมือนว่า เขียวจะสู้ไม่ได้ ปุ้มจึงรับบทพระเอก เข้าไปห้ามล้วนและปลอบใจเขียวกระทั่งที่สุดแล้ว เขียวก็กลายมาเป็นเพื่อนอีกคน

ตอนนี้ ปุ้มมีเพื่อนเพิ่มขึ้นหลายคนแล้ว ดูเหมือนว่าความขัดแย้งของเด็กบ้านเดียวจะหายไป แต่มีความขัดแย้งกับเด็กฝั่งลาวเข้ามาแทน

หน้าแล้ง แม่น้ำโขง บางตอนตื้นจนสามารถข้ามไปอีกฝั่งหนึ่งได้ เด็ก ๆ ทั้งฝั่งไทย ฝั่งลาวพากันเล่นน้ำอยู่ฝั่งบ้านตนเอง เล่นไปเล่นมา เด็กฝั่งลาวก็แซวว่า "ลูกบักไทยขี้แพ้"

เขียวตอบไปว่า "บักลาวตาขาว" โต้กันไปมาจนเด็กฝั่งลาวท้าให้ข้ามแม่น้ำไปหา เด็กจากฝั่งไทยตะลุยขึ้นไป แต่ก็ต้องว่ายกลับเพราะทางฝั่งโน้นมีจำนวนมากกว่า ปุ้มได้เล่นบทพระเอกอีกครั้งเมื่อพยายามจะช่วยเหลือเด็กฝั่งลาวที่จะจมน้ำ

ปุ้มเติบโตขึ้นพร้อมกับการเรียนรู้ชีวิตแห่งแม่น้ำโขง การหาปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ  เขาหัดว่ายน้ำ ยายแนะนำเขาว่าต้องให้มดแดงกัดสะดือ จะทำให้ตัวเบา ลอยบนผิวน้ำได้สบายซึ่งเขาก็ทำตามที่ยายบอกจริง ๆ และเกิดความมั่นใจจนสามารถว่ายน้ำได้

เมื่อไปเข้าค่ายลูกเสือ เขาต้องเอาไก่ที่เลี้ยงไว้ไปเป็นอาหารในค่ายลูกเสือ แต่แล้วเขาเกิดสงสารไก่ขึ้นมา จึงคิดช่วยให้มันรอดและนำไปสู่เรื่องน่าปวดหัว

ลูกแม่น้ำโขง วิพากษ์เรื่องการเข้าค่ายลูกเสือในปัจจุบันที่เหมือนกับไปปิคนิกไว้อย่างน่าสนใจว่า
"การออกค่ายพักแรมลูกเสือได้ให้อะไรแก่เด็ก ๆ อย่างจริงจังบ้างไหม ลูกเสือที่ล้นเกล้า ล้นกระหม่อมรัชกาลที่ 6 ทรงวางรากฐานเอาไว้นั้นเป็นสิ่งที่ดีแน่นอน เป็นการฝึกให้เด็กมีระเบียบวินัย มีความอดทน กล้าหาญ เสียสละ แต่กาลเวลาล่วงเลยผ่านมา อุดมการณ์ของลูกเสือถูกละเลย เป้าหมายของการพักแรมก็เบี่ยงเบนไป เวลาออกค่ายพักแรม ครูเองกลับทำตัวอย่างที่ไม่ดีให้นักเรียนเห็น เช่น ตั้งวงดื่มเหล้าและเล่นการพนัน แล้วก็สั่งให้เด็กเอาไก่เป็น ๆ มาเชือดทำกับแกล้ม" (หน้า 80)

กาลเวลาผันผ่าน แม่น้ำโขงล่องไหล   เด็ก ๆ แห่งลูกแม่น้ำโขงเติบโตไปตามทาง วันนี้ปุ้มเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว  "เพื่อน ๆ แม้อยู่ห่างกัน แต่ก็รู้ดีว่าเพื่อนรักเขา เพราะเขารักเพื่อน"


บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
-1- หลานเกิดปีเดียวกับที่ผมเดินทางออกจากบ้าน มุ่งหาประสบการณ์และไล่คว้าหาความหมายของสิ่งที่เรียกว่าชีวิต  คืนวันของหลานที่เติบโตขึ้นด้วยความเอาใจใส่ของพ่อแม่คือจำนวนเวลาที่ผมจากบ้านเกิดเมืองนอน
นาลกะ
    คงเป็นเพราะรูปเล่มงามตาน่าหยิบจับและเครดิตก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่องที่บอกว่า “เล็กน้อยมากจนสามารถนั่งอ่านข้าง ๆ เตียง ยิ่งใหญ่มากจนสามารถเปลี่ยนชีวิตทั้งชีวิต” เร้าความสนใจให้เปิดพลิกและลงมืออ่าน
นาลกะ
-1- ฉันเดินตัดผ่านสนามหลวงเพื่อไปขึ้นรถเมล์กลับหอพักเกือบทุกวัน เรื่องราวที่แทบจะเป็นแบบฉบับและเหตุการณ์ซ้ำ ๆ ที่ได้พบเห็นจากผู้คนแห่งสนามหลวงวันแล้ววันเล่า ทำให้เกิดภาพประทับในใจโดยไม่รู้ตัว เมื่อฉันได้รู้จักกับสนามหลวงมากขึ้น ฉันก็ได้พบว่าสถานที่แห่งนี้เปี่ยมไปด้วยสีสันและชีวิตชีวาอย่างแท้จริง ที่แห่งนี้มีเรื่องราวชีวิตของคนระดับล่างมากมาย แต่ละคน แต่ละชีวิตนั้นน่าจะปรากฏอยู่ในนิยายมากกว่าจะเป็นเรื่องจริง คนเหล่านี้ไม่ควรจะมีอยู่จริง!
นาลกะ
“ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก(Man and Wife)” คือนิยายอันละเมียดบรรจงของ Tony Parsons เป็นผลงานภาคต่อจาก “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ (Man and Boy)” ซึ่งเคยสร้างความเกรียวกราวในแวดวงนักอ่านได้มากพอสมควร(ผมเคยวิจารณ์ไว้แล้วที่ http://blogazine.prachatai.com/user/nalaka/post/1562 ) ฝีมือแปลโดย ภัสรี สิงหเดช  
นาลกะ
โดยทั่วไปแล้ว หนังสือของสำนักพิมพ์ “ผีเสื้อ” สามารถการันตีคุณภาพ(แต่ไม่การันตียอดขาย) ได้ในระดับหนึ่ง เรียกได้ว่าไม่มีคำว่าผิดหวังในแทบทุกเล่มเพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นวรรณกรรมแปล! “พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” ซึ่งเขียนโดย ฌ็อง-หลุยส์ ฟูร์นิเย่ร์ และแปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร ก็เช่นเดียวกัน
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลชมเชยประเภทบันเทิงคดีสำหรับเยาวชน ก่อนวัยรุ่น (12-14) จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติปี 2530 และได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 100 เล่ม ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน โดยฝีมือการประพันธ์ของนักเขียนซึ่งเป็นรู้จักกันดี "อัศศิริ ธรรมโชติ"
นาลกะ
ด้วยชื่อเรื่องที่ไม่คุ้นหู และหน้าปกเป็นรูปน้ำตกกลางป่าสวยงาม วรรณกรรมเยาวชนเล่มนี้ชวนให้สะดุดใจและเปิดอ่าน ซึ่งก็ใช้เวลาอ่านไม่นานนักก็จบเล่มเพราะมีความหนาไม่ถึง 50 หน้ารวมภาพประกอบ
นาลกะ
ผลงานเรื่องนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากการประกวดวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว ครั้งที่ 2 ผู้เขียนคือ “เก็ตตะหวา” วาดภาพประกอบโดย ธีระพงษ์ บัวระเพชร และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เจ้าเก่า แก่นแกนของเรื่องคือพัฒนาการของเด็กผู้หญิงที่ชื่อ “ผิงผิง” ซึ่งอาศัยอยู่กับพ่อแม่บุญธรรม และไม่ใคร่จะชอบพ่อที่แท้จริงนักเพราะคิดว่าพ่อทอดทิ้งเธอซ้ำยังปล่อยให้แม่ตาย แต่ที่จริงแล้วพ่อของเธอนั้นรักเธอมาก เหตุที่ต้องฝากเธอไว้กับคนอื่นนั้นเพราะหน้าที่การงานที่เป็นนักมายากลต้องตระเวณแสดงไปตามที่ต่าง ๆ ทั้งคนที่นำลูกไปฝากไว้นั้นก็เป็นเพื่อนเก่าและเป็นนายอำเภอที่ไม่มีลูกของตนเองสามารถดูแลผิงผิงได้
นาลกะ
  เรื่องเล่ามหาสนุกจากทุ่งหญ้าสีเขียว เป็นวรรณกรรมเด็กที่โด่งดังของธอร์นทัน ดับบลิว. เบอเกตส์ (Thornton W. Burgess) เขาได้แต่งเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ป่าและธรรมชาติเป็นนิทานก่อนนอนสำหรับลูกชาย ปลูกฝังให้ลูกชายเติบโตขึ้นอย่างมีความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ ต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือชุดรวม 20 เล่ม ได้รับผลสำเร็จอย่างมาก จนเขาได้แต่งเรื่องเล่าเพิ่มเติมรวม 170 เรื่อง
นาลกะ
  วันนี้ขอเปลี่ยนจากวรรณกรรมไทยมาเป็นวรรณกรรมต่างประเทศกันบ้าง หลังจากอ่านวรรณกรรมเล่มนี้จบแล้ว ยอมรับว่ารู้สึกได้ถึงความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมเยาวชนของไทยและต่างประเทศ ทั้งสำนวนภาษา ทั้งเทคนิคลีลาการเล่าเรื่องและความเข้มข้นจัดจ้านของเนื้อหา ขอบ่นนิดหนึ่งว่าเท่าที่อ่านและเขียนถึงวรรณกรรมเยาวชนของไทย จำนวนไม่น้อยถ้าไม่เล่าเรื่องชนบทเรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นติดตามแล้วก็มักจะบรรเจิดเพริศแพร้วในเรื่องจินตนาการมากเสียจนกลายเป็นนิทานก่อนนอนไปหรือไม่ก็เขียนสำหรับให้เยาวชนอ่านเท่านั้น ไม่ท้าทายผู้อ่านวัยอื่น ๆ แต่อย่างไรเสีย เชื่อว่าวรรณกรรมเยาวชนไทยคงจะได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ…
นาลกะ
"โลกนี้ยังมีเพื่อน" คือหนังสือรวมนิทานยอดเยี่ยม รางวัลมูลนิธิเด็ก หนังสือเล่มนี้รวมนิทานไว้ทั้งหมด 7 เรื่องด้วยกัน ตั้งชื่อเล่มตามชื่อนิทานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดในปีที่ 12 นอกจาก "โลกนี้ยังมีเพื่อน" ซึ่งได้รับรางวัลนิทานยอดเยี่ยมแล้ว ยังมีเรื่องนิทานเรื่อง "นักวาดพู่กันวิเศษ" ที่โดดเด่นจนได้รับรางวัลความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ส่วนที่เหลืออีก 5 เรื่องได้รับรางวัลชมเชย
นาลกะ
ลูกแม่น้ำโขง วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน "แว่นแก้ว" ชนะเลิศรางวัลที่ 3 คืออีกหนึ่งผลงานจากนานมีบุ๊ค เขียนโดย "เขมชาติ" แม้ว่าลูกแม่น้ำโขงจะเดินตามขนบวรรรกรรมเยาวชนแบบที่เขียน ๆ กัน ที่มักพูดถึงชนบทอันงดงามที่ผู้คนพึ่งพาช่วยเหลือกัน สภาพธรรมชาติที่ผูกพันแวดล้อมวิถีชีวิต การเล่นซนของเด็ก ๆ และข้อคิดทางด้านคุณธรรม เป็นต้นว่า การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ความมีน้ำใจ  ถึงกระนั้น ลูกแม่น้ำโขง ก็ยังคงน่าอ่านด้วยการบรรยายอย่างมีชีวิตชีวา  เพราะแม่น้ำโขงแม้นจะไหลอย่างที่เคยไหลก็ยังคงน่ามองและมีเสน่ห์อยู่เสมอ