Skip to main content
ลูกแม่น้ำโขง วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน "แว่นแก้ว" ชนะเลิศรางวัลที่ 3 คืออีกหนึ่งผลงานจากนานมีบุ๊ค เขียนโดย "เขมชาติ"


แม้ว่าลูกแม่น้ำโขงจะเดินตามขนบวรรรกรรมเยาวชนแบบที่เขียน ๆ กัน ที่มักพูดถึงชนบทอันงดงามที่ผู้คนพึ่งพาช่วยเหลือกัน สภาพธรรมชาติที่ผูกพันแวดล้อมวิถีชีวิต การเล่นซนของเด็ก ๆ และข้อคิดทางด้านคุณธรรม เป็นต้นว่า การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ความมีน้ำใจ  ถึงกระนั้น ลูกแม่น้ำโขง ก็ยังคงน่าอ่านด้วยการบรรยายอย่างมีชีวิตชีวา
  เพราะแม่น้ำโขงแม้นจะไหลอย่างที่เคยไหลก็ยังคงน่ามองและมีเสน่ห์อยู่เสมอ

เด็กชายปุ้ม เติบโตในครอบครัวที่เรียกได้ว่า
"ฐานะดี" สำหรับคนชนบทคือมีแม่เป็นครูและพ่อเป็นทหาร แต่ส่วนใหญ่แล้วพ่อของเขาไม่อยู่บ้าน เขาคิดถึงพ่ออยู่เสมอและดีใจมากเมื่อพ่อกลับมาหา

ปัญหาของเด็กที่เกิดมาฐานะดีท่ามกลางคนอื่น ๆ ที่
"ยากจน" คือ "ไม่มีเพื่อน"  เขากินอาหารอย่างที่คนอื่นไม่ได้กิน ใส่เสื้อผ้าสะอาดในขณะที่คืนอื่นมอมแมม สำหรับเด็ก การไม่มีเพื่อนถือเป็นเรื่องใหญ่ กิจกรรมในวัยเยาว์จะจืดลงทันทีหากไม่มีเพื่อนมาร่วมเด็กคนอื่น มองเขาด้วยความหมั่นไส้กระทั่งกลั่นแล้ง

วันหนึ่งแม่ถามเขาว่า
"ปุ้มอยากมีเพื่อนหรือลูก"
"ครับแม่ ปุ้มไม่มีเพื่อนเลย"
"ที่โรงเรียนล่ะลูก ปุ้มไม่มีเพื่อนเลยเหรอ"
"พวกมันไม่ให้ปุ้มเข้าหมู่ มันว่าปุ้มอ้วน อุ้ยอ้าย ทำอะไรก็ช้า" (หน้า 28)

วิธีที่ปุ้มใช้เพื่อให้ได้เพื่อนคือการทำตัวให้เหมือนกับเพื่อน ๆ
  เพื่อนใส่เสื้อนักเรียนสกปรก ปุ้มก็ทำให้เสื้อขาวสะอาดของตนเองสกปรกบ้าง แต่สำหรับเด็ก ๆ แล้วความเป็นเพื่อนไม่ได้ต้องการเงื่อนไขอะไรมากมาย  หลังจากเข้าร่วมชักเย่อในงานวันเด็กแล้วปุ้มก็ได้เพื่อนใหม่ง่ายดาย

เพื่อนใหม่ของปุ้มคือ
"ล้วน" เป็นเด็กโข่ง อายุมากกว่า ตัวใหญ่กว่า  เป็นที่ครั่นคร้ามของเด็กคนอื่น

วิถีชีวิตของปุ้มและล้วนเหมือนภาพตัดกันของเมืองกับชนบท
  ปุ้มร่ำรวย มีโอวัลตินดื่ม ไม่ต้องทำงานช่วยเหลือครอบครัว  มีชีวิตเหมือนคุณหนู  ในขณะที่ล้วนยากจน ไม่เคยลิ้มรสโอวัลติน รับภาระช่วยเหลือครอบครัวและโตเกินวัย

ล้วนคอยสอนปุ้มในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งดูแล้วเหมือนคนชนบทสอนคนเมือง ไม่ว่าจะเป็นการเกี่ยวหญ้า  การขี่ควายและกิจกรรมเล่นสนุกอื่น ๆ

ความเป็นเพื่อนถูกกระชับให้แน่นแฟ้นขึ้นเมื่อล้วนกับปุ้ม ต้องเผชิญหน้ากับ "เขียว" เด็กอีกคนหนึ่งซึ่งค่อนข้างจะเกกมะเหรกเกเร ปุ้มถูกเขียวหาเรื่องในขณะที่ไปเล่นน้ำโขงกับล้วน เขาถูกล้อว่าเป็น "หมูอ้วน" และถูกข่มขู่จากเขียว
"มึงกล้ามากนะที่ลงมาอาบน้ำโขงถิ่นกู" เขียวขู่

ล้วนเสนอตัวช่วยเหลือปุ้มโดยไม่เกรงกลัว ทำให้เขียวไม่พอใจล้วนไปด้วยอีกคน อย่างไรก็ตาม จากเหตุการณ์ครั้งนี้มิตรภาพของปุ้มกับล้วนก็แน่นแฟ้นขึ้น

เขียวเก็บความโกรธแค้นไว้และจ้องหาโอกาสจัดการกับล้วน แล้วโอกาสก็มาถึง ล้วนกับเขียวต่อสู้กันตามประสาเด็ก ดูเหมือนว่า เขียวจะสู้ไม่ได้ ปุ้มจึงรับบทพระเอก เข้าไปห้ามล้วนและปลอบใจเขียวกระทั่งที่สุดแล้ว เขียวก็กลายมาเป็นเพื่อนอีกคน

ตอนนี้ ปุ้มมีเพื่อนเพิ่มขึ้นหลายคนแล้ว ดูเหมือนว่าความขัดแย้งของเด็กบ้านเดียวจะหายไป แต่มีความขัดแย้งกับเด็กฝั่งลาวเข้ามาแทน

หน้าแล้ง แม่น้ำโขง บางตอนตื้นจนสามารถข้ามไปอีกฝั่งหนึ่งได้ เด็ก ๆ ทั้งฝั่งไทย ฝั่งลาวพากันเล่นน้ำอยู่ฝั่งบ้านตนเอง เล่นไปเล่นมา เด็กฝั่งลาวก็แซวว่า "ลูกบักไทยขี้แพ้"

เขียวตอบไปว่า "บักลาวตาขาว" โต้กันไปมาจนเด็กฝั่งลาวท้าให้ข้ามแม่น้ำไปหา เด็กจากฝั่งไทยตะลุยขึ้นไป แต่ก็ต้องว่ายกลับเพราะทางฝั่งโน้นมีจำนวนมากกว่า ปุ้มได้เล่นบทพระเอกอีกครั้งเมื่อพยายามจะช่วยเหลือเด็กฝั่งลาวที่จะจมน้ำ

ปุ้มเติบโตขึ้นพร้อมกับการเรียนรู้ชีวิตแห่งแม่น้ำโขง การหาปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ  เขาหัดว่ายน้ำ ยายแนะนำเขาว่าต้องให้มดแดงกัดสะดือ จะทำให้ตัวเบา ลอยบนผิวน้ำได้สบายซึ่งเขาก็ทำตามที่ยายบอกจริง ๆ และเกิดความมั่นใจจนสามารถว่ายน้ำได้

เมื่อไปเข้าค่ายลูกเสือ เขาต้องเอาไก่ที่เลี้ยงไว้ไปเป็นอาหารในค่ายลูกเสือ แต่แล้วเขาเกิดสงสารไก่ขึ้นมา จึงคิดช่วยให้มันรอดและนำไปสู่เรื่องน่าปวดหัว

ลูกแม่น้ำโขง วิพากษ์เรื่องการเข้าค่ายลูกเสือในปัจจุบันที่เหมือนกับไปปิคนิกไว้อย่างน่าสนใจว่า
"การออกค่ายพักแรมลูกเสือได้ให้อะไรแก่เด็ก ๆ อย่างจริงจังบ้างไหม ลูกเสือที่ล้นเกล้า ล้นกระหม่อมรัชกาลที่ 6 ทรงวางรากฐานเอาไว้นั้นเป็นสิ่งที่ดีแน่นอน เป็นการฝึกให้เด็กมีระเบียบวินัย มีความอดทน กล้าหาญ เสียสละ แต่กาลเวลาล่วงเลยผ่านมา อุดมการณ์ของลูกเสือถูกละเลย เป้าหมายของการพักแรมก็เบี่ยงเบนไป เวลาออกค่ายพักแรม ครูเองกลับทำตัวอย่างที่ไม่ดีให้นักเรียนเห็น เช่น ตั้งวงดื่มเหล้าและเล่นการพนัน แล้วก็สั่งให้เด็กเอาไก่เป็น ๆ มาเชือดทำกับแกล้ม" (หน้า 80)

กาลเวลาผันผ่าน แม่น้ำโขงล่องไหล   เด็ก ๆ แห่งลูกแม่น้ำโขงเติบโตไปตามทาง วันนี้ปุ้มเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว  "เพื่อน ๆ แม้อยู่ห่างกัน แต่ก็รู้ดีว่าเพื่อนรักเขา เพราะเขารักเพื่อน"


บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
วรรณกรรมที่นำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ หลายครั้งมักถูกวิจารณ์ว่าทำไม่ได้ดีเท่าตอนเป็นหนังสือ แต่ “ผีเสื้อและดอกไม้” ต่างออกไป สวยงามในคราที่เป็นหนังสือและสมบูรณ์แบบแทบไร้ที่ติเมื่อเป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายประมาณปี 2528 ด้วยผลงานการกำกับของยุทธนา มุกดาสนิท และรับบทนำโดย สุริยา เยาวสังข์ ซึ่งเคยมีชื่อเสียงเปรี้ยงปร้างอยู่ระยะหนึ่งก่อนจะเงียบหายไป ผมเคยอ่านวรรณกรรมเรื่องนี้ตั้งแต่เรียนมัธยม เพราะเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาที่อาจารย์ภาษาไทยบังคับให้อ่านโดยให้เลือกเอาระหว่าง “ข้างหลังภาพ” กับ “ผีเสื้อและดอกไม้” ผมเลือกอ่าน “ผีเสื้อและดอกไม้” ด้วยเหตุผลที่ว่า “ข้างหลังภาพ” เป็นเรื่องเกี่ยวกับรัก ๆ ใคร่ ๆ…
นาลกะ
  "ผีน้อยโลกมายา" คือวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทานแว่นแก้ว โดยได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดประจำปี 2544 เขียนโดย วันทนีย์ วิบูลกีรติ และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค "ผีน้อยโลกมายา" เล่าถึงเรื่องราวของผีน้อยขี้สงสัยที่อาศัยอยู่ในดินแดนมายาอันเป็นดินแดนของผีที่ความทุกข์ไม่อาจกล้ำกราย ผีน้อยมีพ่อเป็นพระจันทร์และแม่คือดวงดาว มีพี่สาวใจดีชื่อพี่ดารา แม้ว่าในดินแดนมายาจะมีความสงบสุขและเสียงหัวเราะ แต่ความช่างสงสัยใคร่รู้ทำให้ผีน้อยยังรู้สึกไม่พอใจอยู่ดี
นาลกะ
เรียวรุ้งเหนือทุ่งกว้าง เป็นวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยนำงานที่ชนะการประกวดใน โครงการพัฒนาทักษะด้านการเขียนวรรณกรรมสำหรับเยาวชน มารวมเล่ม โครงการนี้เกิดจากการร่วมมือของกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ กับบริษัทนานมี บุ๊ค จำกัด โดยได้อัญเชิญวรรณกรรมเยาวชนในพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพเรื่อง แก้วจอมซน และ แก้วจอมแก่น มาจุดประกาย
นาลกะ
"ย่ำสวนป่า" เป็นเรื่องเล่าจากชนบทที่มีกังวานเสียงแห่งความภาคภูมิใจกับการที่ได้เกิดมาท่ามกลางสภาพแวดล้อมของสวนป่าที่มีสิ่งให้เรียนรู้ได้ไม่รู้จบ และมีรูปแบบชีวิตที่สัมพันธ์เกี่ยวโยงอยู่กับความเป็นไปของธรรมชาติผู้เล่าเรื่องบอกไว้ในตอนท้าย หลังจากที่ปลดปล่อยความทรงจำวัยเด็กให้ออกมามีชีวิตวิ่งเต้นบนหน้ากระดาษเสร็จแล้วว่า"มันไม่ใช่ความอาลัยอาวรณ์อีกต่อไป แต่เป็นความทรงจำแสนสนุกที่ผมไม่คิดจะลืมเลือน ผมจะจดจำไว้ว่าที่นี่... คือบ้านเก่าของผม..." (หน้า 118)
นาลกะ
ความโหดร้ายของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวที่ทำให้มียอดคนตายถึง 6 ล้านคนนั้นมีประเด็นและเรื่องราวให้พูดถึงได้ไม่รู้จบกระทั่งปัจจุบัน ศิลปะภาพยนตร์และวรรณกรรมเรื่องแล้วเรื่องเล่าที่นำเอาการฆาตกรรมหฤโหดมาเสนอในแง่มุมต่าง ๆ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ถึงความไร้เหตุผลของมนุษย์ที่นำไปสู่การทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งมนุษย์ด้วยกันเอง “ชะตาลิขิต” วรรณกรรมแปลจากสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เป็นอีกเล่มหนึ่งที่พูดถึงเรื่องนี้โดยตรงและพรรณนาสภาพเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นในตอนนั้นไว้อย่างละเอียดลออทั้งนี้เพราะตัวผู้เขียนหนังสือเล่มนี้มี ประสบการณ์ตรงจากการถูกกวาดต้อนเข้าไปอยู่ในค่ายกักกันตั้งแต่เด็ก…
นาลกะ
หนังสือเรื่อง “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ” หรือ “Man and Boy” ที่เขียนโดย Tony Parsonsเป็นหนึ่งในหนังสือวรรณกรรมที่อยากแนะนำให้อ่านโดยเฉพาะคนที่เป็นพ่อหม้าย/แม่หม้าย หรือคนที่กำลังจะเป็นพ่อหม้าย/แม่หม้ายหรือคนที่กำลังคิดจะแต่งงาน หรือคนที่กำลังจะมีตัวเลขอายุเข้าสู่ 30 หนังสือเปิดตัวอย่างน่าสนใจในบทที่หนึ่ง โดยบอกถึงสถานการณ์ที่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาสำคัญของการเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวตอนอายุสามสิบว่า “มีสัมพันธ์รักข้ามคืนกับเพื่อนร่วมงาน” “ซื้อของฟุ่มเฟือยที่แทบไม่มีปัญญาซื้ออย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง” “ถูกภรรยาทิ้ง” “ตกงาน” “รับภาระเลี้ยงลูกแต่เพียงลำพังโดยกะทันหัน”…
นาลกะ
ไม่กี่วันก่อน ผมได้มีโอกาสดูภาพยนตร์เรื่อง "Lassie Come Home " ทางเคเบิลทีวี ซึ่งน่าสนใจและน่าประทับใจดี จึงหาหนังสือมาอ่านพบว่าหนังสือเล่มนี้ได้แปลเป็นไทยนานแล้ว โดย ร.ท.นิพนธ์ กาบสลับพล และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สุขภาพใจ "แลสซี่" ถือกำเนิดจากปลายปากกาของนักเขียนเชื้อสายอังกฤษ-อเมริกัน เอริค ไนท์ (Eric Knight) ในรูปแบบเรื่องสั้น ตีพิมพ์ลงใน Saturday Evening Post เมื่อปี 1938 และผู้เขียนขยายเป็นนวนิยายในปี 1940 ซึ่งประสบความเป็นอย่างดี Lassie ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์หลายครั้งหลายหนรวมทั้งเป็นซีรี่ส์ทางจอโทรทัศน์โดยมีดาราฮอลลีวู้ดระดับตำนานนำแสดง ไม่ว่าจะเป็น อลิซาเบธ เทย์เลอร์, มิคกี้ รูนี่ย์,…
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนส่วนใหญ่ มักมุ่งเน้นให้เยาวชนขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียน เรียนให้จบชั้นสูง ๆ เพื่อที่จะได้มีอาชีพการงานที่ดีในอนาคต หรืออดทนกัดฟันสู้ต่อความยากลำบาก ต่อความด้อยโอกาสกระทั่งเอาชนะได้ในที่สุด กล่าวอีกแบบก็คืออดทนทำดีเข้าไว้เพื่อตัวเองนั่นแหละที่จะได้ดี หรือถ้าไม่เป็นไปตามลักษณะข้างต้น วรรณกรรมเยาวชนที่เขียน ๆ กันก็มักจะเน้นการใช้จินตนาการจนหลุดลอยจากโลกแห่งความเป็นจริง กลายเป็นวรรณกรรมเยาวชนเชิงแฟนตาซีที่อะไร ๆ ก็ดูสวยงามไปหมด เหมือนเป็นการพาเยาวชนคนอ่านหลบหนีไปจากโลกจริงสู่โลกจินตนาการของภาษา แต่วรรณกรรมเรื่อง “กะลาสีเรือผู้กล้าหาญ” ประพันธ์โดย “จังว่าง”…
นาลกะ
น่าดีใจที่สำนักพิมพ์ “นานมีบุ๊ค” พิมพ์วรรณกรรมเยาวชนออกมาอย่างต่อเนื่องโดยคัดกรองเอาจากการประกวดรางวัล “แว่นแก้ว” แม้ว่าวรรณกรรมที่ผ่านเข้ามาบางเรื่องอาจไม่อยู่ในระดับที่ดีนัก นอกจากจะเป็นการปลุกการอ่านและการเขียนวรรณกรรมเยาวชนให้กระเตื้องขึ้นบ้างแล้วยังถือเป็นการให้ความสำคัญกับเด็ก ๆ ที่น่ารักน่าชังในอีกโสดหนึ่งด้วย “กระเบนยักษ์คู่อาฆาต” ผลงานของ “เพชร บุตรทองพูน” เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผ่านคัดกรองจากรางวัลวรรณกรรมเยาวชนพระราชทาน “แว่นแก้ว” ซึ่งยืนยงและหนักแน่นในการสร้างสรรค์วรรณกรรมเยาวชนมานานหลายปีจนอาจจะเรียกได้ว่าเป็นรางวัล “แว่นแก้ว” เป็นสถาบันทางวรรณกรรม…
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน “แว่นแก้ว” เรื่อง “คำใส” นี้ได้รับรางวัลชนะเลิศประจำปี 2546 ประเภทนวนิยาย ส่งเข้าประกวดโดย “วีระศักดิ์ สุยะลา” นักเขียนหน้าใหม่จากจังหวัดอุบลราชธานี และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ “นานมีบุ๊ค” สำนักพิมพ์ที่เล็งเห็นความสำคัญของวรรณกรรมเยาวชน จุดเด่นของวรรณกรรมเรื่องนี้ คือ การฉายให้เห็นถึงความเป็นไปของชนบทภาคอีสานที่กำลังอยู่ในกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง เป็นความเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์อย่างแยกไม่ออกกับโลกภายนอกหมู่บ้าน ดังนั้นเราจึงได้พบว่า เมื่อมีปัญหาทางการเงิน ตัวละครบางตัวจึงตัดใจทิ้งครอบครัวไว้เบื้องหลังเพื่อเข้ามาทำงานขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพ ฯ…
นาลกะ
“รุ่งอรุณ สัมปัชชลิต” แปลเรื่อง จากเถ้าธุลี จากต้นฉบับ Out of the Ashes ที่เขียนโดย “Michael Morpurgo” นักเขียนชาวอังกฤษที่เป็นที่รู้จักมากคนหนึ่งในฐานะนักเขียนวรรณกรรมเยาวชน จนถึงปัจจุบัน “Michael Morpurgo” มีผลงานทั้งหมด 95 เรื่อง ได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกกว่ายี่สิบภาษาและนำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ห้าเรื่องด้วยกัน เขาได้รับรางวัลทางด้านวรรณกรรมเยาวชนมากมาย เช่น รางวัล The Children’s Book Award, The Whitbread Award นอกจากนี้ เขายังได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีเกียรติสูงสุดด้านวรรณกรรมสำหรับเด็กของประเทศอังกฤษ
นาลกะ
หลังการจากไปของลัทธิจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ประเทศคองโกก็ประสบกับความวุ่นวายเพราะชนชั้นนำแย่งชิงอำนาจกันเอง กระทั่งได้ผู้นำที่เข้มแข็งจนจัดตั้งระบอบ “ปฏิวัติ” ที่วางรากฐานอยู่บนสิ่งที่เรียกว่า “ลัทธิสังคมเชิงวิทยาศาสตร์” ระบอบการปกครองใหม่มาพร้อมกับกติกากฎเกณฑ์และสัญลักษณ์ใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น เพลงชาติ ชื่อประเทศ ธงชาติกลายเป็นสีแดง มีการเพิ่มดาว ค้อน เคียว มีการห้ามสวดมนต์ ร้องเพลง และห้ามคิด จะเดินทางไปไหนมาไหนต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของทางการ ฟังดูคล้ายกับยุคสมัยแห่งการปฏิวัติวัฒนธรรมในสมัยจอมพลป. พิบูลสงคราม ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและสัญลักษณ์ทางการเมืองอย่างมโหฬาร…