Skip to main content

ไม่กี่วันก่อน ผมได้มีโอกาสดูภาพยนตร์เรื่อง "Lassie Come Home " ทางเคเบิลทีวี ซึ่งน่าสนใจและน่าประทับใจดี จึงหาหนังสือมาอ่านพบว่าหนังสือเล่มนี้ได้แปลเป็นไทยนานแล้ว โดย ร.ท.นิพนธ์ กาบสลับพล และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สุขภาพใจ


"แลสซี่" ถือกำเนิดจากปลายปากกาของนักเขียนเชื้อสายอังกฤษ-อเมริกัน เอริค ไนท์ (Eric Knight) ในรูปแบบเรื่องสั้น ตีพิมพ์ลงใน Saturday Evening Post เมื่อปี 1938 และผู้เขียนขยายเป็นนวนิยายในปี 1940 ซึ่งประสบความเป็นอย่างดี


Lassie ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์หลายครั้งหลายหนรวมทั้งเป็นซีรี่ส์ทางจอโทรทัศน์โดยมีดาราฮอลลีวู้ดระดับตำนานนำแสดง ไม่ว่าจะเป็น อลิซาเบธ เทย์เลอร์, มิคกี้ รูนี่ย์, ร็อดดี้ แม็คโดเวลล์ และ จิมมี่ สจ๊วร์ต


Lassie ฉบับซีรี่ย์ทางโทรทัศน์ออกอากาศครั้งแรกในปี 1954 และฉายติดต่อยาวนานถึง 20 ปี ได้รับรางวัล Emmy ถึง 2 ครั้ง "สาขาซีรี่ย์ทางโทรทัศน์สำหรับเด็กยอดเยี่ยม" และเป็นซีรี่ย์ที่ยืนโปรแกรมฉายนานที่สุด ทั้งยังได้ออกฉายใน 50 ประเทศทั่วโลกด้วย กระทั่งเกิดมูลนิธิ Lassie ในเวลาต่อมา

 

เป็นเรื่องราว ความรักและความผูกพันระหว่างเด็กชายโจกับสุนัขคอลลีตัวเมียแสนสวยที่อุปสรรคอะไรก็ไม่อาจพรากทั้งคู่ให้แยกจากกันได้


บริบทของเรื่องเกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ประเทศอังกฤษเมืองยอร์กเชียร์ซึ่งเป็นเมืองแห่งเหมืองแร่ และขึ้นชื่อลือชาในเรื่องพันธุ์สุนัข


ช่วงสงคราม ครอบครัวของโจประสบความฝืดเคืองทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงจนจำเป็นต้องขาย Lassie สุนัขแสนรักแสนฉลาดของพวกเขาให้กับท่านดยุค รัดลิ่ง ซึ่งพยายามอย่างยิ่งที่ให้ได้ Lassie มาไว้ในครอบครอง


อย่างไรก็ตาม Lassie ไม่ยอมไป โจ จึงต้องแสร้งทำเป็นไล่มัน เขาพูดกับ Lassie ทั้งน้ำตาว่ามันเป็นหมาไม่ดี ไปซะ


เมื่อถูกขาย Lassie ก็ถูกใส่กรงพาขึ้นรถ ขึ้นรถไฟข้ามประเทศไปยังปราสาทหรูในสก๊อตแลนด์ของท่านดยุคซึ่งอยู่ไกลออกไปกว่า 500 ไมล์


แต่เจ้าหมา Lassie ไม่อาจทนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคยได้ แม้ว่าท่านดยุค รัดลิ่ง จะรัก Lassie มากแต่มันไม่เหมือนเจ้านายน้อย ๆ คนเก่าอยู่ดี Lassie คิดถึงเจ้านายน้อยของมันที่มันเคยไปรอรับที่หน้าโรงเรียนทุกวัน


Lassie จึงหาทางหลบหนี และออกเดินทางข้ามประเทศเพื่อกลับไปยังที่ ๆ มันจากมาแม้ว่าระยะทางจะไกลแสนไกลก็ตาม Lassie ข้ามน้ำ ข้ามเขา ผ่านภูมิประเทศและอันตรายทั้งจากธรรมชาติและมนุษย์มากมายนานัปการจนแทบหมดสภาพความสวยงาม เพื่อกลับมาหาเจ้าของอันเป็นที่รักให้ทันวันคริสมาสต์


ช่วงหนึ่งของการเร่ร่อนกลับอังกฤษ Lassie ได้พบกับนักเชิดหุ่นเร่ร่อนที่เดินทางบนหลังม้าในกองคาราวานและมีหมาหนึ่งตัวชื่อ ทูทส์ Lassie ร่วมเดินทางไปกับเขา ช่วยแสดงละครให้เด็ก ๆ เพื่อแลกอาหารและเสาะหาหนทางกลับบ้าน จากเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่ง เสร็จแล้วก็นอนพักในป่ามืดทึบที่เขาตั้งแคมป์นอน


ท่านดยุค รัดลิ่ง ออกติดตามหาอย่างหนักเพื่อนำตัว Lassie กลับคืนมา ตามมาจนกระทั่งถึงประเทศอังกฤษ

 

  

ด้วยความพยายามอย่างน่าซาบซึ้งใจ Lassie หาทางกลับมาถึงบ้านจนได้แต่อยู่ในสภาพที่ป่วยหนัก ดูเหมือนมันกำลังจะตาย ตอนที่โจ มาพบนั้น มันนอนหายใจรวยรินอยู่ท่ามกลางหิมะในคืนวันคริสต์มาส

ภาพยนตร์เรื่องนี้คงจะโหดร้ายต่อคนดูอย่างมากหากปล่อยให้ Lassie ตายหลังจากได้เห็นหน้าเจ้านายน้อยเพียงแวบเดียว ดังนั้นตามขนบของหนังในแนวนี้ Lassie จึงค่อยฟื้นจากอาการป่วยและกลับมาสวยงามดังเดิม

แม้ตัวเอกของเรื่องจะเป็นเด็กชายกับสุนัขคอลลีเพศเมีย แต่ความเข้มข้นกินใจของเนื้อเรื่องทำให้นวนิยายและภาพยนตร์เรื่องนี้ครองใจผู้อ่านและผู้ชมตราบจนปัจจุบัน.

 

 

 

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
-1- หลานเกิดปีเดียวกับที่ผมเดินทางออกจากบ้าน มุ่งหาประสบการณ์และไล่คว้าหาความหมายของสิ่งที่เรียกว่าชีวิต  คืนวันของหลานที่เติบโตขึ้นด้วยความเอาใจใส่ของพ่อแม่คือจำนวนเวลาที่ผมจากบ้านเกิดเมืองนอน
นาลกะ
    คงเป็นเพราะรูปเล่มงามตาน่าหยิบจับและเครดิตก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่องที่บอกว่า “เล็กน้อยมากจนสามารถนั่งอ่านข้าง ๆ เตียง ยิ่งใหญ่มากจนสามารถเปลี่ยนชีวิตทั้งชีวิต” เร้าความสนใจให้เปิดพลิกและลงมืออ่าน
นาลกะ
-1- ฉันเดินตัดผ่านสนามหลวงเพื่อไปขึ้นรถเมล์กลับหอพักเกือบทุกวัน เรื่องราวที่แทบจะเป็นแบบฉบับและเหตุการณ์ซ้ำ ๆ ที่ได้พบเห็นจากผู้คนแห่งสนามหลวงวันแล้ววันเล่า ทำให้เกิดภาพประทับในใจโดยไม่รู้ตัว เมื่อฉันได้รู้จักกับสนามหลวงมากขึ้น ฉันก็ได้พบว่าสถานที่แห่งนี้เปี่ยมไปด้วยสีสันและชีวิตชีวาอย่างแท้จริง ที่แห่งนี้มีเรื่องราวชีวิตของคนระดับล่างมากมาย แต่ละคน แต่ละชีวิตนั้นน่าจะปรากฏอยู่ในนิยายมากกว่าจะเป็นเรื่องจริง คนเหล่านี้ไม่ควรจะมีอยู่จริง!
นาลกะ
“ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก(Man and Wife)” คือนิยายอันละเมียดบรรจงของ Tony Parsons เป็นผลงานภาคต่อจาก “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ (Man and Boy)” ซึ่งเคยสร้างความเกรียวกราวในแวดวงนักอ่านได้มากพอสมควร(ผมเคยวิจารณ์ไว้แล้วที่ http://blogazine.prachatai.com/user/nalaka/post/1562 ) ฝีมือแปลโดย ภัสรี สิงหเดช  
นาลกะ
โดยทั่วไปแล้ว หนังสือของสำนักพิมพ์ “ผีเสื้อ” สามารถการันตีคุณภาพ(แต่ไม่การันตียอดขาย) ได้ในระดับหนึ่ง เรียกได้ว่าไม่มีคำว่าผิดหวังในแทบทุกเล่มเพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นวรรณกรรมแปล! “พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” ซึ่งเขียนโดย ฌ็อง-หลุยส์ ฟูร์นิเย่ร์ และแปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร ก็เช่นเดียวกัน
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลชมเชยประเภทบันเทิงคดีสำหรับเยาวชน ก่อนวัยรุ่น (12-14) จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติปี 2530 และได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 100 เล่ม ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน โดยฝีมือการประพันธ์ของนักเขียนซึ่งเป็นรู้จักกันดี "อัศศิริ ธรรมโชติ"
นาลกะ
ด้วยชื่อเรื่องที่ไม่คุ้นหู และหน้าปกเป็นรูปน้ำตกกลางป่าสวยงาม วรรณกรรมเยาวชนเล่มนี้ชวนให้สะดุดใจและเปิดอ่าน ซึ่งก็ใช้เวลาอ่านไม่นานนักก็จบเล่มเพราะมีความหนาไม่ถึง 50 หน้ารวมภาพประกอบ
นาลกะ
ผลงานเรื่องนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากการประกวดวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว ครั้งที่ 2 ผู้เขียนคือ “เก็ตตะหวา” วาดภาพประกอบโดย ธีระพงษ์ บัวระเพชร และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เจ้าเก่า แก่นแกนของเรื่องคือพัฒนาการของเด็กผู้หญิงที่ชื่อ “ผิงผิง” ซึ่งอาศัยอยู่กับพ่อแม่บุญธรรม และไม่ใคร่จะชอบพ่อที่แท้จริงนักเพราะคิดว่าพ่อทอดทิ้งเธอซ้ำยังปล่อยให้แม่ตาย แต่ที่จริงแล้วพ่อของเธอนั้นรักเธอมาก เหตุที่ต้องฝากเธอไว้กับคนอื่นนั้นเพราะหน้าที่การงานที่เป็นนักมายากลต้องตระเวณแสดงไปตามที่ต่าง ๆ ทั้งคนที่นำลูกไปฝากไว้นั้นก็เป็นเพื่อนเก่าและเป็นนายอำเภอที่ไม่มีลูกของตนเองสามารถดูแลผิงผิงได้
นาลกะ
  เรื่องเล่ามหาสนุกจากทุ่งหญ้าสีเขียว เป็นวรรณกรรมเด็กที่โด่งดังของธอร์นทัน ดับบลิว. เบอเกตส์ (Thornton W. Burgess) เขาได้แต่งเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ป่าและธรรมชาติเป็นนิทานก่อนนอนสำหรับลูกชาย ปลูกฝังให้ลูกชายเติบโตขึ้นอย่างมีความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ ต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือชุดรวม 20 เล่ม ได้รับผลสำเร็จอย่างมาก จนเขาได้แต่งเรื่องเล่าเพิ่มเติมรวม 170 เรื่อง
นาลกะ
  วันนี้ขอเปลี่ยนจากวรรณกรรมไทยมาเป็นวรรณกรรมต่างประเทศกันบ้าง หลังจากอ่านวรรณกรรมเล่มนี้จบแล้ว ยอมรับว่ารู้สึกได้ถึงความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมเยาวชนของไทยและต่างประเทศ ทั้งสำนวนภาษา ทั้งเทคนิคลีลาการเล่าเรื่องและความเข้มข้นจัดจ้านของเนื้อหา ขอบ่นนิดหนึ่งว่าเท่าที่อ่านและเขียนถึงวรรณกรรมเยาวชนของไทย จำนวนไม่น้อยถ้าไม่เล่าเรื่องชนบทเรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นติดตามแล้วก็มักจะบรรเจิดเพริศแพร้วในเรื่องจินตนาการมากเสียจนกลายเป็นนิทานก่อนนอนไปหรือไม่ก็เขียนสำหรับให้เยาวชนอ่านเท่านั้น ไม่ท้าทายผู้อ่านวัยอื่น ๆ แต่อย่างไรเสีย เชื่อว่าวรรณกรรมเยาวชนไทยคงจะได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ…
นาลกะ
"โลกนี้ยังมีเพื่อน" คือหนังสือรวมนิทานยอดเยี่ยม รางวัลมูลนิธิเด็ก หนังสือเล่มนี้รวมนิทานไว้ทั้งหมด 7 เรื่องด้วยกัน ตั้งชื่อเล่มตามชื่อนิทานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดในปีที่ 12 นอกจาก "โลกนี้ยังมีเพื่อน" ซึ่งได้รับรางวัลนิทานยอดเยี่ยมแล้ว ยังมีเรื่องนิทานเรื่อง "นักวาดพู่กันวิเศษ" ที่โดดเด่นจนได้รับรางวัลความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ส่วนที่เหลืออีก 5 เรื่องได้รับรางวัลชมเชย
นาลกะ
ลูกแม่น้ำโขง วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน "แว่นแก้ว" ชนะเลิศรางวัลที่ 3 คืออีกหนึ่งผลงานจากนานมีบุ๊ค เขียนโดย "เขมชาติ" แม้ว่าลูกแม่น้ำโขงจะเดินตามขนบวรรรกรรมเยาวชนแบบที่เขียน ๆ กัน ที่มักพูดถึงชนบทอันงดงามที่ผู้คนพึ่งพาช่วยเหลือกัน สภาพธรรมชาติที่ผูกพันแวดล้อมวิถีชีวิต การเล่นซนของเด็ก ๆ และข้อคิดทางด้านคุณธรรม เป็นต้นว่า การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ความมีน้ำใจ  ถึงกระนั้น ลูกแม่น้ำโขง ก็ยังคงน่าอ่านด้วยการบรรยายอย่างมีชีวิตชีวา  เพราะแม่น้ำโขงแม้นจะไหลอย่างที่เคยไหลก็ยังคงน่ามองและมีเสน่ห์อยู่เสมอ