Skip to main content

-1-

หลานเกิดปีเดียวกับที่ผมเดินทางออกจากบ้าน มุ่งหาประสบการณ์และไล่คว้าหาความหมายของสิ่งที่เรียกว่าชีวิต  คืนวันของหลานที่เติบโตขึ้นด้วยความเอาใจใส่ของพ่อแม่คือจำนวนเวลาที่ผมจากบ้านเกิดเมืองนอน


ผมดื่มด่ำกับรสชาติของชีวิตเสรีที่ไม่มีใครบังคับ กติกาชีวิตคือสามัญสำนึกซึ่งบางครั้งผิดเพี้ยนไปเพราะแรงกระตุ้นที่ไม่อาจยับยั้ง ปรารถนาจะทำอะไรก็ได้ทั้งสิ้น แต่ความหมายอีกด้านหนึ่งของชีวิตเสรีแบบนี้ก็คือไม่มีใครดูแล ไม่มีใครคอยปลุกให้ตื่นในตอนเช้า ไม่มีใครปลอบใจเมื่อผิดพลาด ไม่มีใครที่จะไว้ใจได้จริง ๆ


ในขณะที่หลานโตวันโตคืน ผมเดินทางไปเรื่อย ๆ จนการเดินทางแทบจะเป็นจุดหมายในตัวเอง แวะพักตามที่ต่าง ๆ นานเท่าที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม หลังจากออกจากบ้านประมาณหนึ่งปี ผมก็หาโอกาสกลับไปเพื่อเยี่ยมเยียนญาติพี่น้องรวมทั้งหลาน


ผมมักจะขลุกอยู่กับย่าหรือไม่ก็หลานซึ่งร่าเริงไปตามวัย กำลังสนุกสนานกับการฝึกพูด ผมคิดว่าตนเองสามารถเอาชนะใจหลานได้ด้วยการทำท่าทางตลกเพื่อให้หลานหัวเราะ เล่นกลง่าย  ๆ ให้หลานดู เล่นซ่อนแอบ เตะฟุตบอล  ฯลฯ


หลานชอบให้ผมอาบน้ำให้ การอาบน้ำกับหลานในวัยขวบเศษช่วยกระชับความสัมพันธ์อย่างน่าทึ่ง ผมพบว่าตนเองมีความอ่อนโยนอยู่ไม่น้อยเมื่ออาบน้ำถูสบู่ให้หลาน พอวันที่ผมจะจากบ้านกลับมหานครกรุงเทพ หลานมองด้วยความสงสัยไม่พอใจเมื่อเห็นผมเก็บเสื้อผ้า กระทั่งร้องไห้จะไปกับผมด้วย


เมื่อหลานจบชั้นประถม ความสัมพันธ์ระหว่างผมกับหลานไม่กระชับแน่นเหมือนเก่า ความสนิทสนมแบบเด็ก  ๆ หายไป ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผมไม่ค่อยได้กลับบ้าน ในขณะที่หลานเริ่มเป็นหนุ่มที่ไม่ชอบให้ใครบ่น คึกคะนองและเมามัน ใช้ชีวิตเหมือนวัยรุ่นส่วนใหญ่ในหมู่บ้านคือขี่มอเตอร์ไซค์ร่อนไปร่อนมา แทงสนุ้ก แทงบอล  โดดเรียน  ผลการเรียนแย่จนแก้แล้วแก้อีกกว่าจะจบมัธยม
3        


ชีวิตของหลานเดินทางมาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญเมื่อจบชั้นมัธยม
3  เรียนต่อในสายอาชีพ หลานออกไปเช่าหอพักร่วมกับเพื่อนแปลกหน้าที่เพิ่งเจอกันไม่กี่วัน

-2-


ผมไปนอนเฝ้าหลานที่โรงพยาบาล ได้ประจักษ์ด้วยตนเองว่าอาการของหลานหนักมากกว่าที่คิด ผู้เป็นแม่ต้องมัดมือ มัดเท้าไว้ เพราะหลานมักจะเดินเหม่ออย่างไร้จุดหมาย และหลานก็แข็งแรงมากเมื่อใครพยายามจะจับตัว

หลานมีไข้ขึ้นสูงแทบตลอดเวลาโดยที่แพทย์ไม่มีปัญญาจะทำอะไรได้มากไปกว่าการให้กินยาลดไข้และเจาะเลือดไปตรวจซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยที่ไม่เจออะไรเลย แพทย์หนุ่มท่าทางเพิ่งจบไม่ประสีประสาและขาดประสบการณ์ในการรักษาอาการป่วยไข้ของหลาน

บางครั้งหลานพูดคนเดียวและไม่อาจพูดให้จบประโยค พอไข้ขึ้นสูง หลานก็มีอาการทุรนทุราย พูดจาไปเรื่อยเปื่อยโดยไม่อาจจับใจความได้เลย ผุดลุกผุดนั่ง พยายามจะแก้เชือกที่มัดมือมัดเท้าออก  หน้าตาบิดเบี้ยวอย่างน่ากลัว กัดปากตนเองจนเลือดไหลออกมา

ญาติพี่น้องที่เฝ้าอยู่คอยเช็ดตัวและปลอบประโลม นางพยาบาลช่วยอะไรไม่ได้เลย เมื่อผมขอให้ฉีดยาลดไข้เพราะอุณหภูมิขึ้นไปเกือบ 40 องศา นางพยาบาลก็บอกว่าให้กินยาแก้ปวดแล้ว ผมแนะนำแม่ของหลานให้เปลี่ยนโรงพยาบาลแต่ทุกอย่างก็สายเกินไป

 

 

ยารวมทั้งอาหารทุกอย่างต้องบดให้ละเอียดก่อนผสมกับน้ำป้อนให้หลาน แต่ปากของหลานบวมอักเสบจนไม่อาจเผยอได้ การป้อนข้าว ป้อนน้ำก็ถือเป็นเรื่องที่ยากลำบาก พอไข้ขึ้นสูงซึ่งมักจะเกิดตอนใกล้เที่ยง หลานจะกัดริมฝีปากตนเองซ้ำจนเลือดและหนองไหลออกมา หลานคงจะเจ็บแต่ไม่อาจควบคุมได้ ดูเหมือนว่าโลกของหลานได้เปลี่ยนไปแล้วตลอดกาล  ครั้งหนึ่งหลานถามว่า
ทำไมหลังคาหมุน
ทำไมน้าพูดช้า

หลังคาไม่ได้หมุนและผมก็ไม่ได้พูดช้า แต่การรับรู้ของหลานไม่เหมือนเดิม  โลกนี้ไม่มีทางกลับไปเป็นเหมือนเดิม หลานคงไม่คาดคิดว่าการตัดสินใจพลาดเพียงครั้งเดียวส่งผลร้ายอย่างมหันต์ การลองผิดลองถูกที่เกินขอบเขตนำผลร้ายสุดคาดคิดมาสู่ตนเองและคนที่รัก

อย่างไรก็ตาม หลานยังจำผมได้  เมื่อผมถามว่าชื่ออะไร หลานก็สามารถตอบได้ถูกต้อง หลานจะมีอาการดีขึ้นบ้างในยามที่ไข้ลดลง หลานพยักหน้าและยิ้มเมื่อชวนไปเที่ยวกรุงเทพมหานคร มันทำให้ผมมองโลกในแง่ดีว่าบางทีหลานอาจจะหายก็ได้ แต่เมื่อเห็นหลานกลับมาทุรนทุรายยามไข้ขึ้นผมก็ไม่ค่อยมั่นใจนัก ญาติคนหนึ่งบอกว่าเคยได้ข่าวเด็กวัยรุ่นที่มีอาการอย่างเดียวกับหลาน และไม่สามารถรักษาให้หายขาด ต้องล่ามโซ่ไว้ตลอด  

แม่ของหลานเป็นคนเข้มแข็งอย่างยากที่ใครจะเสมอเหมือน เก็บงำร่องรอยแห่งความเจ็บปวดไว้อย่างลึกซึ้งกระทั่งวันที่หลานจากไป

พอผมคล้อยหลังกลับกรุงเทพมหานคร  หลานก็จากไป ผมคิดว่าหลานตัดสินใจเดินทางไปสู่โลกอื่น หลานยังคงเดินทางเช่นเดียวกับผม.

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
-1- หลานเกิดปีเดียวกับที่ผมเดินทางออกจากบ้าน มุ่งหาประสบการณ์และไล่คว้าหาความหมายของสิ่งที่เรียกว่าชีวิต  คืนวันของหลานที่เติบโตขึ้นด้วยความเอาใจใส่ของพ่อแม่คือจำนวนเวลาที่ผมจากบ้านเกิดเมืองนอน
นาลกะ
    คงเป็นเพราะรูปเล่มงามตาน่าหยิบจับและเครดิตก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่องที่บอกว่า “เล็กน้อยมากจนสามารถนั่งอ่านข้าง ๆ เตียง ยิ่งใหญ่มากจนสามารถเปลี่ยนชีวิตทั้งชีวิต” เร้าความสนใจให้เปิดพลิกและลงมืออ่าน
นาลกะ
-1- ฉันเดินตัดผ่านสนามหลวงเพื่อไปขึ้นรถเมล์กลับหอพักเกือบทุกวัน เรื่องราวที่แทบจะเป็นแบบฉบับและเหตุการณ์ซ้ำ ๆ ที่ได้พบเห็นจากผู้คนแห่งสนามหลวงวันแล้ววันเล่า ทำให้เกิดภาพประทับในใจโดยไม่รู้ตัว เมื่อฉันได้รู้จักกับสนามหลวงมากขึ้น ฉันก็ได้พบว่าสถานที่แห่งนี้เปี่ยมไปด้วยสีสันและชีวิตชีวาอย่างแท้จริง ที่แห่งนี้มีเรื่องราวชีวิตของคนระดับล่างมากมาย แต่ละคน แต่ละชีวิตนั้นน่าจะปรากฏอยู่ในนิยายมากกว่าจะเป็นเรื่องจริง คนเหล่านี้ไม่ควรจะมีอยู่จริง!
นาลกะ
“ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก(Man and Wife)” คือนิยายอันละเมียดบรรจงของ Tony Parsons เป็นผลงานภาคต่อจาก “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ (Man and Boy)” ซึ่งเคยสร้างความเกรียวกราวในแวดวงนักอ่านได้มากพอสมควร(ผมเคยวิจารณ์ไว้แล้วที่ http://blogazine.prachatai.com/user/nalaka/post/1562 ) ฝีมือแปลโดย ภัสรี สิงหเดช  
นาลกะ
โดยทั่วไปแล้ว หนังสือของสำนักพิมพ์ “ผีเสื้อ” สามารถการันตีคุณภาพ(แต่ไม่การันตียอดขาย) ได้ในระดับหนึ่ง เรียกได้ว่าไม่มีคำว่าผิดหวังในแทบทุกเล่มเพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นวรรณกรรมแปล! “พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” ซึ่งเขียนโดย ฌ็อง-หลุยส์ ฟูร์นิเย่ร์ และแปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร ก็เช่นเดียวกัน
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลชมเชยประเภทบันเทิงคดีสำหรับเยาวชน ก่อนวัยรุ่น (12-14) จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติปี 2530 และได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 100 เล่ม ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน โดยฝีมือการประพันธ์ของนักเขียนซึ่งเป็นรู้จักกันดี "อัศศิริ ธรรมโชติ"
นาลกะ
ด้วยชื่อเรื่องที่ไม่คุ้นหู และหน้าปกเป็นรูปน้ำตกกลางป่าสวยงาม วรรณกรรมเยาวชนเล่มนี้ชวนให้สะดุดใจและเปิดอ่าน ซึ่งก็ใช้เวลาอ่านไม่นานนักก็จบเล่มเพราะมีความหนาไม่ถึง 50 หน้ารวมภาพประกอบ
นาลกะ
ผลงานเรื่องนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากการประกวดวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว ครั้งที่ 2 ผู้เขียนคือ “เก็ตตะหวา” วาดภาพประกอบโดย ธีระพงษ์ บัวระเพชร และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เจ้าเก่า แก่นแกนของเรื่องคือพัฒนาการของเด็กผู้หญิงที่ชื่อ “ผิงผิง” ซึ่งอาศัยอยู่กับพ่อแม่บุญธรรม และไม่ใคร่จะชอบพ่อที่แท้จริงนักเพราะคิดว่าพ่อทอดทิ้งเธอซ้ำยังปล่อยให้แม่ตาย แต่ที่จริงแล้วพ่อของเธอนั้นรักเธอมาก เหตุที่ต้องฝากเธอไว้กับคนอื่นนั้นเพราะหน้าที่การงานที่เป็นนักมายากลต้องตระเวณแสดงไปตามที่ต่าง ๆ ทั้งคนที่นำลูกไปฝากไว้นั้นก็เป็นเพื่อนเก่าและเป็นนายอำเภอที่ไม่มีลูกของตนเองสามารถดูแลผิงผิงได้
นาลกะ
  เรื่องเล่ามหาสนุกจากทุ่งหญ้าสีเขียว เป็นวรรณกรรมเด็กที่โด่งดังของธอร์นทัน ดับบลิว. เบอเกตส์ (Thornton W. Burgess) เขาได้แต่งเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ป่าและธรรมชาติเป็นนิทานก่อนนอนสำหรับลูกชาย ปลูกฝังให้ลูกชายเติบโตขึ้นอย่างมีความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ ต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือชุดรวม 20 เล่ม ได้รับผลสำเร็จอย่างมาก จนเขาได้แต่งเรื่องเล่าเพิ่มเติมรวม 170 เรื่อง
นาลกะ
  วันนี้ขอเปลี่ยนจากวรรณกรรมไทยมาเป็นวรรณกรรมต่างประเทศกันบ้าง หลังจากอ่านวรรณกรรมเล่มนี้จบแล้ว ยอมรับว่ารู้สึกได้ถึงความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมเยาวชนของไทยและต่างประเทศ ทั้งสำนวนภาษา ทั้งเทคนิคลีลาการเล่าเรื่องและความเข้มข้นจัดจ้านของเนื้อหา ขอบ่นนิดหนึ่งว่าเท่าที่อ่านและเขียนถึงวรรณกรรมเยาวชนของไทย จำนวนไม่น้อยถ้าไม่เล่าเรื่องชนบทเรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นติดตามแล้วก็มักจะบรรเจิดเพริศแพร้วในเรื่องจินตนาการมากเสียจนกลายเป็นนิทานก่อนนอนไปหรือไม่ก็เขียนสำหรับให้เยาวชนอ่านเท่านั้น ไม่ท้าทายผู้อ่านวัยอื่น ๆ แต่อย่างไรเสีย เชื่อว่าวรรณกรรมเยาวชนไทยคงจะได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ…
นาลกะ
"โลกนี้ยังมีเพื่อน" คือหนังสือรวมนิทานยอดเยี่ยม รางวัลมูลนิธิเด็ก หนังสือเล่มนี้รวมนิทานไว้ทั้งหมด 7 เรื่องด้วยกัน ตั้งชื่อเล่มตามชื่อนิทานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดในปีที่ 12 นอกจาก "โลกนี้ยังมีเพื่อน" ซึ่งได้รับรางวัลนิทานยอดเยี่ยมแล้ว ยังมีเรื่องนิทานเรื่อง "นักวาดพู่กันวิเศษ" ที่โดดเด่นจนได้รับรางวัลความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ส่วนที่เหลืออีก 5 เรื่องได้รับรางวัลชมเชย
นาลกะ
ลูกแม่น้ำโขง วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน "แว่นแก้ว" ชนะเลิศรางวัลที่ 3 คืออีกหนึ่งผลงานจากนานมีบุ๊ค เขียนโดย "เขมชาติ" แม้ว่าลูกแม่น้ำโขงจะเดินตามขนบวรรรกรรมเยาวชนแบบที่เขียน ๆ กัน ที่มักพูดถึงชนบทอันงดงามที่ผู้คนพึ่งพาช่วยเหลือกัน สภาพธรรมชาติที่ผูกพันแวดล้อมวิถีชีวิต การเล่นซนของเด็ก ๆ และข้อคิดทางด้านคุณธรรม เป็นต้นว่า การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ความมีน้ำใจ  ถึงกระนั้น ลูกแม่น้ำโขง ก็ยังคงน่าอ่านด้วยการบรรยายอย่างมีชีวิตชีวา  เพราะแม่น้ำโขงแม้นจะไหลอย่างที่เคยไหลก็ยังคงน่ามองและมีเสน่ห์อยู่เสมอ