Skip to main content

ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก(Man and Wife)” คือนิยายอันละเมียดบรรจงของ Tony Parsons เป็นผลงานภาคต่อจาก “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ (Man and Boy)” ซึ่งเคยสร้างความเกรียวกราวในแวดวงนักอ่านได้มากพอสมควร(ผมเคยวิจารณ์ไว้แล้วที่ http://blogazine.prachatai.com/user/nalaka/post/1562 ) ฝีมือแปลโดย ภัสรี สิงหเดช

 

\\/--break--\>
คล้ายคลึงกับเล่มก่อนหน้า “ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก(Man and Wife)” อาจไม่ใช่นิยายสำหรับคนหนุ่มสาวที่กำลังงุนงงสงสัยต่อคุณค่าความหมายของชีวิตหรือโหยหาเทิดทูนเสรีภาพ อยากออกไปโลดแล่นในโลกกว้างอย่างไร้ข้อจำกัด หรืออาจไม่ใช่นิยายสำหรับคนที่คิดขบถต่อแบบแผนหลักของสังคม ทั้งยังไม่ใช่นิยายแห่งแรงดลใจสำหรับความมุ่งมั่นบางอย่างในชีวิต หากแต่เป็นนิยายของคนที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป เป็นนิยายของคนที่คิดจะมีครอบครัว คนที่กำลังจะมีครอบครัว ที่มีครอบครัวแล้ว ที่กำลังจะหย่าร้าง คนที่จะแต่งงานใหม่ ที่เป็นพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยงและเผชิญปัญหาเรื่องครอบครัวผสม

 

เรื่องราวทั้งหมดจึงเป็นเรื่องของการแสวงหาความลงตัวในชีวิต “ครอบครัว” มองหาความสมบูรณ์แห่งชีวิตจากครอบครัว ในขณะที่หัวใจยังไม่อิ่มเต็ม อย่างไรก็ตามการมีครอบครัวไม่ใช่สิ่งสำเร็จรูปที่จะสร้างชีวิตที่ดีให้เกิดขึ้นได้เสมอไป ตรงกันข้าม หลายคนล้มเหลว เข็ดหลาบและได้ซึ้งใจว่า “ครอบครัว” ก่อให้เกิดคำถามและปัญหาตามมามากมาย

 

ในภาคนี้มีตัวละครน่าสนใจเพิ่มเข้ามาคือ คาซึมิ ผู้หญิง “พิเศษ” ชาวญี่ปุ่นที่เดินทางแสวงโชคไกลถึงอังกฤษ

ที่ช่วยถักทอเรื่องราวให้เข้มข้นด้วยปมปัญหาที่ซับซ้อน

 

ส่วนตัวละครหลัก ๆ ยังอยู่กันครบ ไม่ว่าจะเป็น จีน่า- อดีตภรรยาของแฮร์รี่ แพ็ต-ลูกชายหัวแก้วหัวแหวน ซี้ด-ภรรยาคนใหม่ เพ็กกี้- ลูกเลี้ยง เอมอน ฟิช- เพื่อนร่วมงานผู้ซึ่งสร้างสีสันด้วยมุมมองน่าทึ่งเฉพาะตัว เขาบอกกับแฮร์รี่ในตอนหนึ่งว่า

 

ผู้หญิงน่ะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ สิ่งที่น่าต้องเข้าใจก็คือในช่วงวัยต่าง ๆ ของชีวิต ผู้หญิงก็เหมือนกับโลกเรานี่เอง ช่วงอายุสิบสามถึงสิบแปดก็เป็นเหมือนทวีปแอฟริกา ดินแดนที่ยังบริสุทธิ์ ระหว่างสิบแปดถึงสามสิบก็เหมือนเอเชีย ร้อนแรงน่าตื่นเต้น จากสามสิบถึงสี่สิบห้าก็เหมือนอเมริกา ถูกสำรวจหมดแล้วแต่ยังมีทรัพยากรให้ใช้ได้อีกมาก จากสี่สิบห้าถึงห้าสิบห้าก็ยุโรป อาจจะล้าไปสักหน่อย หมดสภาพไปสักนิด แต่ก็ยังมีสถานที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง ทีนี้จากห้าสิบห้าขึ้นไปล่ะก็จะเหมือนออสเตรเลียเลย ทุกคนรู้ว่ามันอยู่ตรงนั้น แต่น้อยคนจะยอมลงทุนไปค้นหา” (หน้า 132)

 

เนื้อหาของเรื่องถูกขับเคลื่อนไปด้วยเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งแวดล้อมแก่นแกนหลักว่าด้วยเรื่องการแสวงหาความลงตัวของชีวิตครอบครัว ดำดิ่งลงสู่ความรู้สึกนึกคิดอันละเอียดซึ่ง ความอ่อนแอ การโหยหาสิ่งที่เข้ามาเติมเต็มให้ชีวิตอันเนื่องมาจากความรู้สึกขาดหายอยู่ตลอดเวลา

 

หลังจากเลิกร้างกับจีน่าอันเนื่องมาจากถูกจับได้ว่านอกใจแล้ว แฮร์รี่ก็แต่งงานใหม่กับซี้ดสาวชาวอเมริกันผู้ชาญฉลาดซึ่งมีลูกเลี้ยงติดพ่วงมาด้วย ชีวิตครอบครัวดูเหมือนจะไปด้วยดีในตอนแรก ความฉลาด งามล้ำของซี้ด และความสุขสมในเพศรสช่วยพยุงชีวิตคู่ไว้ได้มาก แต่ในเวลาต่อมา ความหึงหวง ความไม่เข้าใจกัน ช่องว่างระหว่างแม่เลี้ยงกับลูกเลี้ยง คือซี้ดกับแพ็ต ระหว่างพ่อเลี้ยงกับลูกเลี้ยง คือ แฮร์รี่กับเพ็กกี้ ก็ทำให้เกิดความระหองระแหงขึ้น

 

พ่อเลี้ยงแม่เลี้ยงมีหน้าที่ที่จะไม่มีวันได้รับคำขอบคุณ พวกเราไม่มีวันชนะ ถ้าไม่ใช่วุ่นวายกับคนแปลกหน้าตัวจ้อยนี่มากเกินไปก็น้อยเกินไป” (หน้า 174)

 

การค้นพบคาซึมิ ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ขยายรอยร้าวของชีวิตคู่จนเกือบแตกหักและบังคับให้แฮร์รี่ต้องตัดสินใจเลือก

 

คาซึมิ เป็นเพื่อนของจีน่าเป็นผู้หญิงอ่อนโยนโรแมนติคในแบบของคนเอเชีย เธอทำงานเป็นช่างภาพ เธอพูดเกี่ยวกับการถ่ายภาพไว้ว่า

มีคนพูดไว้เกี่ยวกับการถ่ายรูปค่ะ ฉันคิดว่าคงเป็นกวี มันเหมือนการชมดอกซากุระ ช่วงเวลานั้นน่าสนใจเพราะว่าเป็นแค่ชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ถนอมรักษาช่วงเวลาไว้มิให้ผ่านเลย” (หน้า 187)

 

แฮร์รี่เคยคิดว่าชีวิตคู่จะจบลงที่ซี้ด เขาคงรักใครไม่ได้อีกแล้ว เขาอยากจะสร้างครอบครัวให้มั่นคงเหมือนพ่อแม่ของเขา ที่อยู่ด้วยกันจนตายจากกันไป แต่แล้ว คาซึมิก็ทำให้เขาคิดใหม่ เขาลุ่มหลงและสับสน

 

ขณะที่คาซึมิหลับใหลอยู่ในอ้อมแขนผม ผมนึกสงสัยว่าจะทำให้ชีวิตนิ่งได้อย่างไร ด้วยการอยู่กับที่กระนั้นหรือ หรือด้วยการเริ่มใหม่อยู่ร่ำไป” (หน้า 247)

ไม่ว่าแฮร์รี่จะตัดสินใจเลือกใครต่างก็ต้องลงเอยด้วยความเจ็บปวดทั้งสิ้น ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ผู้หญิงดีเลิศสองคน แต่อยู่ที่ตัวเขาเอง

ผมรู้ผมสามารถทำอย่างที่คนทั่วไปมักจะปฏิบัติกัน ผมอาจพยายามทำให้ซี้ดมีความสุขเพียงครึ่งเดียว ในขณะที่เก็บคาซึมิไว้และทำให้เธอมีความสุขเพียงครึ่งหนึ่งเช่นกัน มีอะไรกับคนทั้งสองเท่าที่จะทำไหว ผมคงพอจะรอดตัวไปได้ด้วยการโกหกทุกคน ทั้งซี้ด ทั้งคาซึมิ แต่ที่หนักที่สุดคือโกหกตัวเอง บอกตัวเองว่ารักทั้งสองคนอย่างแท้จริง อย่างซาบซึ้งตรึงใจ แต่การพยายามรักผู้หญิงทั้งสองคน ในที่สุดก็จะจบลงด้วยการไม่อาจรักใครได้เลยสักคน” (หน้า 336)

 

อย่างไรก็ตาม ด้วยความผูกพันและความเป็นครอบครัว แฮร์รี่เลือกที่จะอยู่กับซี้ดต่อไป แต่แฮร์รี่นั้นอาจเปลี่ยนใจอีกก็ได้เพราะหัวใจของเขาไม่เคยอิ่มเต็ม.

 

 

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
วรรณกรรมที่นำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ หลายครั้งมักถูกวิจารณ์ว่าทำไม่ได้ดีเท่าตอนเป็นหนังสือ แต่ “ผีเสื้อและดอกไม้” ต่างออกไป สวยงามในคราที่เป็นหนังสือและสมบูรณ์แบบแทบไร้ที่ติเมื่อเป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายประมาณปี 2528 ด้วยผลงานการกำกับของยุทธนา มุกดาสนิท และรับบทนำโดย สุริยา เยาวสังข์ ซึ่งเคยมีชื่อเสียงเปรี้ยงปร้างอยู่ระยะหนึ่งก่อนจะเงียบหายไป ผมเคยอ่านวรรณกรรมเรื่องนี้ตั้งแต่เรียนมัธยม เพราะเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาที่อาจารย์ภาษาไทยบังคับให้อ่านโดยให้เลือกเอาระหว่าง “ข้างหลังภาพ” กับ “ผีเสื้อและดอกไม้” ผมเลือกอ่าน “ผีเสื้อและดอกไม้” ด้วยเหตุผลที่ว่า “ข้างหลังภาพ” เป็นเรื่องเกี่ยวกับรัก ๆ ใคร่ ๆ…
นาลกะ
  "ผีน้อยโลกมายา" คือวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทานแว่นแก้ว โดยได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดประจำปี 2544 เขียนโดย วันทนีย์ วิบูลกีรติ และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค "ผีน้อยโลกมายา" เล่าถึงเรื่องราวของผีน้อยขี้สงสัยที่อาศัยอยู่ในดินแดนมายาอันเป็นดินแดนของผีที่ความทุกข์ไม่อาจกล้ำกราย ผีน้อยมีพ่อเป็นพระจันทร์และแม่คือดวงดาว มีพี่สาวใจดีชื่อพี่ดารา แม้ว่าในดินแดนมายาจะมีความสงบสุขและเสียงหัวเราะ แต่ความช่างสงสัยใคร่รู้ทำให้ผีน้อยยังรู้สึกไม่พอใจอยู่ดี
นาลกะ
เรียวรุ้งเหนือทุ่งกว้าง เป็นวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยนำงานที่ชนะการประกวดใน โครงการพัฒนาทักษะด้านการเขียนวรรณกรรมสำหรับเยาวชน มารวมเล่ม โครงการนี้เกิดจากการร่วมมือของกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ กับบริษัทนานมี บุ๊ค จำกัด โดยได้อัญเชิญวรรณกรรมเยาวชนในพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพเรื่อง แก้วจอมซน และ แก้วจอมแก่น มาจุดประกาย
นาลกะ
"ย่ำสวนป่า" เป็นเรื่องเล่าจากชนบทที่มีกังวานเสียงแห่งความภาคภูมิใจกับการที่ได้เกิดมาท่ามกลางสภาพแวดล้อมของสวนป่าที่มีสิ่งให้เรียนรู้ได้ไม่รู้จบ และมีรูปแบบชีวิตที่สัมพันธ์เกี่ยวโยงอยู่กับความเป็นไปของธรรมชาติผู้เล่าเรื่องบอกไว้ในตอนท้าย หลังจากที่ปลดปล่อยความทรงจำวัยเด็กให้ออกมามีชีวิตวิ่งเต้นบนหน้ากระดาษเสร็จแล้วว่า"มันไม่ใช่ความอาลัยอาวรณ์อีกต่อไป แต่เป็นความทรงจำแสนสนุกที่ผมไม่คิดจะลืมเลือน ผมจะจดจำไว้ว่าที่นี่... คือบ้านเก่าของผม..." (หน้า 118)
นาลกะ
ความโหดร้ายของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวที่ทำให้มียอดคนตายถึง 6 ล้านคนนั้นมีประเด็นและเรื่องราวให้พูดถึงได้ไม่รู้จบกระทั่งปัจจุบัน ศิลปะภาพยนตร์และวรรณกรรมเรื่องแล้วเรื่องเล่าที่นำเอาการฆาตกรรมหฤโหดมาเสนอในแง่มุมต่าง ๆ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ถึงความไร้เหตุผลของมนุษย์ที่นำไปสู่การทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งมนุษย์ด้วยกันเอง “ชะตาลิขิต” วรรณกรรมแปลจากสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เป็นอีกเล่มหนึ่งที่พูดถึงเรื่องนี้โดยตรงและพรรณนาสภาพเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นในตอนนั้นไว้อย่างละเอียดลออทั้งนี้เพราะตัวผู้เขียนหนังสือเล่มนี้มี ประสบการณ์ตรงจากการถูกกวาดต้อนเข้าไปอยู่ในค่ายกักกันตั้งแต่เด็ก…
นาลกะ
หนังสือเรื่อง “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ” หรือ “Man and Boy” ที่เขียนโดย Tony Parsonsเป็นหนึ่งในหนังสือวรรณกรรมที่อยากแนะนำให้อ่านโดยเฉพาะคนที่เป็นพ่อหม้าย/แม่หม้าย หรือคนที่กำลังจะเป็นพ่อหม้าย/แม่หม้ายหรือคนที่กำลังคิดจะแต่งงาน หรือคนที่กำลังจะมีตัวเลขอายุเข้าสู่ 30 หนังสือเปิดตัวอย่างน่าสนใจในบทที่หนึ่ง โดยบอกถึงสถานการณ์ที่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาสำคัญของการเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวตอนอายุสามสิบว่า “มีสัมพันธ์รักข้ามคืนกับเพื่อนร่วมงาน” “ซื้อของฟุ่มเฟือยที่แทบไม่มีปัญญาซื้ออย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง” “ถูกภรรยาทิ้ง” “ตกงาน” “รับภาระเลี้ยงลูกแต่เพียงลำพังโดยกะทันหัน”…
นาลกะ
ไม่กี่วันก่อน ผมได้มีโอกาสดูภาพยนตร์เรื่อง "Lassie Come Home " ทางเคเบิลทีวี ซึ่งน่าสนใจและน่าประทับใจดี จึงหาหนังสือมาอ่านพบว่าหนังสือเล่มนี้ได้แปลเป็นไทยนานแล้ว โดย ร.ท.นิพนธ์ กาบสลับพล และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สุขภาพใจ "แลสซี่" ถือกำเนิดจากปลายปากกาของนักเขียนเชื้อสายอังกฤษ-อเมริกัน เอริค ไนท์ (Eric Knight) ในรูปแบบเรื่องสั้น ตีพิมพ์ลงใน Saturday Evening Post เมื่อปี 1938 และผู้เขียนขยายเป็นนวนิยายในปี 1940 ซึ่งประสบความเป็นอย่างดี Lassie ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์หลายครั้งหลายหนรวมทั้งเป็นซีรี่ส์ทางจอโทรทัศน์โดยมีดาราฮอลลีวู้ดระดับตำนานนำแสดง ไม่ว่าจะเป็น อลิซาเบธ เทย์เลอร์, มิคกี้ รูนี่ย์,…
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนส่วนใหญ่ มักมุ่งเน้นให้เยาวชนขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียน เรียนให้จบชั้นสูง ๆ เพื่อที่จะได้มีอาชีพการงานที่ดีในอนาคต หรืออดทนกัดฟันสู้ต่อความยากลำบาก ต่อความด้อยโอกาสกระทั่งเอาชนะได้ในที่สุด กล่าวอีกแบบก็คืออดทนทำดีเข้าไว้เพื่อตัวเองนั่นแหละที่จะได้ดี หรือถ้าไม่เป็นไปตามลักษณะข้างต้น วรรณกรรมเยาวชนที่เขียน ๆ กันก็มักจะเน้นการใช้จินตนาการจนหลุดลอยจากโลกแห่งความเป็นจริง กลายเป็นวรรณกรรมเยาวชนเชิงแฟนตาซีที่อะไร ๆ ก็ดูสวยงามไปหมด เหมือนเป็นการพาเยาวชนคนอ่านหลบหนีไปจากโลกจริงสู่โลกจินตนาการของภาษา แต่วรรณกรรมเรื่อง “กะลาสีเรือผู้กล้าหาญ” ประพันธ์โดย “จังว่าง”…
นาลกะ
น่าดีใจที่สำนักพิมพ์ “นานมีบุ๊ค” พิมพ์วรรณกรรมเยาวชนออกมาอย่างต่อเนื่องโดยคัดกรองเอาจากการประกวดรางวัล “แว่นแก้ว” แม้ว่าวรรณกรรมที่ผ่านเข้ามาบางเรื่องอาจไม่อยู่ในระดับที่ดีนัก นอกจากจะเป็นการปลุกการอ่านและการเขียนวรรณกรรมเยาวชนให้กระเตื้องขึ้นบ้างแล้วยังถือเป็นการให้ความสำคัญกับเด็ก ๆ ที่น่ารักน่าชังในอีกโสดหนึ่งด้วย “กระเบนยักษ์คู่อาฆาต” ผลงานของ “เพชร บุตรทองพูน” เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผ่านคัดกรองจากรางวัลวรรณกรรมเยาวชนพระราชทาน “แว่นแก้ว” ซึ่งยืนยงและหนักแน่นในการสร้างสรรค์วรรณกรรมเยาวชนมานานหลายปีจนอาจจะเรียกได้ว่าเป็นรางวัล “แว่นแก้ว” เป็นสถาบันทางวรรณกรรม…
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน “แว่นแก้ว” เรื่อง “คำใส” นี้ได้รับรางวัลชนะเลิศประจำปี 2546 ประเภทนวนิยาย ส่งเข้าประกวดโดย “วีระศักดิ์ สุยะลา” นักเขียนหน้าใหม่จากจังหวัดอุบลราชธานี และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ “นานมีบุ๊ค” สำนักพิมพ์ที่เล็งเห็นความสำคัญของวรรณกรรมเยาวชน จุดเด่นของวรรณกรรมเรื่องนี้ คือ การฉายให้เห็นถึงความเป็นไปของชนบทภาคอีสานที่กำลังอยู่ในกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง เป็นความเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์อย่างแยกไม่ออกกับโลกภายนอกหมู่บ้าน ดังนั้นเราจึงได้พบว่า เมื่อมีปัญหาทางการเงิน ตัวละครบางตัวจึงตัดใจทิ้งครอบครัวไว้เบื้องหลังเพื่อเข้ามาทำงานขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพ ฯ…
นาลกะ
“รุ่งอรุณ สัมปัชชลิต” แปลเรื่อง จากเถ้าธุลี จากต้นฉบับ Out of the Ashes ที่เขียนโดย “Michael Morpurgo” นักเขียนชาวอังกฤษที่เป็นที่รู้จักมากคนหนึ่งในฐานะนักเขียนวรรณกรรมเยาวชน จนถึงปัจจุบัน “Michael Morpurgo” มีผลงานทั้งหมด 95 เรื่อง ได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกกว่ายี่สิบภาษาและนำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ห้าเรื่องด้วยกัน เขาได้รับรางวัลทางด้านวรรณกรรมเยาวชนมากมาย เช่น รางวัล The Children’s Book Award, The Whitbread Award นอกจากนี้ เขายังได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีเกียรติสูงสุดด้านวรรณกรรมสำหรับเด็กของประเทศอังกฤษ
นาลกะ
หลังการจากไปของลัทธิจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ประเทศคองโกก็ประสบกับความวุ่นวายเพราะชนชั้นนำแย่งชิงอำนาจกันเอง กระทั่งได้ผู้นำที่เข้มแข็งจนจัดตั้งระบอบ “ปฏิวัติ” ที่วางรากฐานอยู่บนสิ่งที่เรียกว่า “ลัทธิสังคมเชิงวิทยาศาสตร์” ระบอบการปกครองใหม่มาพร้อมกับกติกากฎเกณฑ์และสัญลักษณ์ใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น เพลงชาติ ชื่อประเทศ ธงชาติกลายเป็นสีแดง มีการเพิ่มดาว ค้อน เคียว มีการห้ามสวดมนต์ ร้องเพลง และห้ามคิด จะเดินทางไปไหนมาไหนต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของทางการ ฟังดูคล้ายกับยุคสมัยแห่งการปฏิวัติวัฒนธรรมในสมัยจอมพลป. พิบูลสงคราม ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและสัญลักษณ์ทางการเมืองอย่างมโหฬาร…