Skip to main content

สายรุ้งก็เหมือนกับเด็กคนอื่นๆ ที่เพลิดเพลินกับการเล่นเกมคอมพิวเตอร์  เกมที่มีภาพสวยงามดึงดูดสายตาและสามารถติดต่อสัมพันธ์ คุยเล่นสนุกกับคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนได้ผ่านการเชื่อมต่อกับโลกไซเบอร์

การสร้างสีสันสวยงามเกินจริง การออกแบบฉากที่อลังการ ไม่ว่าจะเป็นตึกอาคาร ตัวสัตว์ประเภทต่าง ๆ  และความน่าตื่นตาตื่นใจกับสิ่งที่ปรากฏในเกม ยั่วเย้าเร้าความสนใจของสายรุ้งและเด็กคนอื่นๆ จนไม่อาจต้านทานได้

หากเล่นเกมที่ร้านเกมซึ่งมีเด็กๆ ไปชุมนุมกันนั้น สายรุ้งจะนั่งเล่นไม่นานนัก แค่เพียงชั่วโมงหรือสองชั่วโมงเท่านั้น เพราะแม่ไม่ต้องการให้เขาขลุกอยู่ที่ร้านเกมนานเกินไป และเขาก็ไม่อยากทำให้แม่ไม่สบายใจ

แม่บอกว่า “ที่ร้านเกม มีเด็กร้อยพ่อพันแม่ ยังไงแม่ก็อดที่จะเป็นกังวลใจไม่ได้หากลูกอยู่ที่ร้านเกมนาน”

แต่ถ้าเป็นที่บ้าน สายรุ้งนั่งเล่นได้ข้ามวัน ข้ามคืน โดยมีเด่นมาเล่นเป็นเพื่อนด้วย เด็กทั้งสองเอาจริงเอาจังอย่างมากราวกับว่ามันคือส่วนหนึ่งของชีวิตจริงๆ ไม่ใช่เพียงแค่เกม พวกเขามีอารมณ์ร่วมไปกับเกม ทั้งหัวเราะ ไม่พอใจ โวยวาย บ่นงึมงำ คุยกับจอคอมพิวเตอร์เหมือนกับว่ามันมีชีวิต

“นายต้องเอากุญแจที่อยู่กับตัวประหลาดมาให้ได้ก่อน แล้วหลังจากนั้นนายก็จะต้องเดินไปที่ประตูขุมทรัพย์ที่มีแมงมุมดำเฝ้าอยู่” สายรุ้งบอกเด่น
“ฉันจะจัดการยังไงกับตัวประหลาด”
“นายไม่จำเป็นต้องฆ่าก็ได้ เพียงแต่แย่งกุญแจมา”

บางครั้งขณะทานอาหาร สายรุ้งก็คิดถึงการต่อสู้กันในเกม การขยับขึ้นในระดับตำแหน่งที่สูงกว่าหากเอาชนะคู่ต่อสู้ หรือการเข้าใกล้ขุมทรัพย์หากกำจัดตัวแมงมุมดำที่เฝ้าอยู่ตรงปากประตูได้ แต่การจะกำจัดแมงมุมดำนั้นต้องหาจุดอ่อนของมันให้เจอเสียก่อน หรือไม่ก็ต้องหาทางล่อหลอกให้มันเผลอซึ่งเป็นไปได้ยาก

“จุดอ่อนของแมงมุมดำอยู่ที่ไหนครับแม่” เขาถามแม่ ความคิดเขาวนเวียนอยู่แต่เรื่องของเกม
“แม่ว่าลูกเพลา ๆ ลงก็ดีนะ โดยเฉพาะตอนกลางคืน ลูกไม่ควรอดหลับอดนอนเพื่อเล่นเกม ควรจะเล่นเพื่อผ่อนคลายเท่านั้น”
“นานๆ ครั้งเท่านั้นเอง”
สายรุ้งอุทธรณ์ “แม่รู้ไหมว่าเด่นนะ นอนเกือบสว่างเวลาที่ได้เล่นเกม”
“เด็กๆ ไม่ควรนอนดึก ร่างกายจะอ่อนเพลีย”
แม่พูด

ประเด็นเรื่องสุขภาพของลูกเป็นเรื่องใหญ่ที่สุด ส่วนประเด็นเรื่องความรุนแรงที่เด็กอาจเลียนแบบมาจากเกมอย่างที่มีการรณรงค์ของหน่วยงานทางวัฒนธรรมบางหน่วยงานนั้น ไม่ค่อยน่าเป็นห่วงมากนักเพราะคิดว่าสามารถอบรมกล่อมเกลาให้สายรุ้งเป็นเด็กที่อ่อนโยนได้ และที่ผ่านมาสายรุ้งก็ไม่เคยแสดงกริยาก้าวร้าวรุนแรงให้เห็นเลย  

“แล้วจุดอ่อนของแมงมุมดำอยู่ที่ไหน” สายรุ้งไม่ลืมคำถามที่ถามไว้ตั้งแต่แรก เขาอยู่กับความคิดที่จะหาวิธีไปสู่ขุมทรัพย์ให้ได้

แม่หัวเราะกับท่าทางจริงจังของสายรุ้ง แม้ว่าจะไม่สนับสนุนให้ลูกหมกหมุ่นกับเกมแต่เมื่อเห็นว่าลูกให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก เธอจึงบอกสั้นๆ ว่า
“ไม่รู้สิจ๊ะ แม่ไม่ชอบแมงมุม ลูกน่าจะถามตามากกว่า”

สายรุ้งทานอาหารไป ขบคิดไป เขาเข้าใกล้จุดสำคัญของเกมนี้แล้ว แต่หลังจากพยายามอยู่หลายหน เขาก็ไม่อาจผ่านประตูสู่ขุมทรัพย์ได้สักที

แม่ได้แต่ยิ้มอย่างเอ็นดูกับความเอาจริงเอาจังของสายรุ้ง และมองในแง่ดีว่า เกมจะมีส่วนช่วยต่อพัฒนาการการเติบโตของเด็กหากเล่นอย่างพอเหมาะ และขึ้นอยู่กับเกมด้วยว่าเป็นอย่างไร สร้างสรรค์เหมาะสมแค่ไหน

แม่คิดว่าคอมพิวเตอร์และโลกอินเตอร์เน็ตมีสิ่งดี ๆ มากมายหากใช้งานอย่างถูกต้อง ดังนั้น หลังจากที่สายรุ้งรบเร้าอยากได้คอมพิวเตอร์หลายครั้ง แม่จึงยอมซื้อให้และต่ออินเตอร์เน็ตให้เรียบร้อยโดยคิดว่าลูกคงจะได้รับความเพลิดเพลินใจ และได้ค้นคว้าความรู้อย่างกว้างขวางถ้าเขาต้องการ  

ยิ่งเมื่อตระหนักว่าสายรุ้งไม่เหมือนเด็กคนอื่น วันเวลาของสายรุ้งแตกต่างจากเด็กคนอื่นๆ จึงไม่มีเหตุผลอะไรที่จะขัดขวางความต้องการของเขา

อย่างไรก็ตาม โลกอินเตอร์เน็ตที่สื่อสารกันได้อย่างแทบจะไร้ขีดจำกัดนั้นมีทั้งคุณและโทษ แม่จึงพยายามดูแลการท่องเข้าไปในโลกอินเตอร์เนตที่อาจพบเจอคนแปลกหน้า และไม่เก็บคอมพิวเตอร์ไว้ในห้องนอนของสายรุ้ง

แม่ไม่เคยห้ามว่าเว็บไซต์แบบไหนที่สายรุ้งไม่ควรเข้าไป สายรุ้งจะรู้แก่ใจดีว่าเขาควรจะเข้าไปหรือไม่ แม่เพียงแต่แนะนำเวบไซต์ที่คิดว่าน่าสนใจและมีประโยชน์ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับสารคดี

“แม่ครับ ผมเข้าไปในห้องเก็บขุมทรัพย์ได้แล้วครับ” สายรุ้งบอกแม่ในวันหนึ่ง
“แล้วพบอะไรบ้างล่ะ”
“พบดาบเพียงเล่มเดียว เป็นดาบศักดิ์สิทธิ์”
“ลูกจะเอาดาบไปทำอะไร”
แม่ถาม

“ดาบต้องใช้ในการเล่นอีกขั้นสูงขึ้นไป แต่ผมเบื่อเกมนี้แล้ว มันยากไปหน่อย  เอ่อ วันเสาร์นี้ แม่จะไปซื้อหนังสือที่ศูนย์การค้าใช่ไหมครับ ผมว่าจะไปหาซื้อแผ่นเกมใหม่ๆ ด้วย” สายรุ้งพูดยิ้ม ๆ

“ได้สิ” แม่ตอบ พลางคิดว่า อย่างน้อยเกมต่าง ๆ ที่สายรุ้งเล่น  ได้ผ่านสายตาและการเลือกสรรของแม่แล้ว. 

 

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
-1- หลานเกิดปีเดียวกับที่ผมเดินทางออกจากบ้าน มุ่งหาประสบการณ์และไล่คว้าหาความหมายของสิ่งที่เรียกว่าชีวิต  คืนวันของหลานที่เติบโตขึ้นด้วยความเอาใจใส่ของพ่อแม่คือจำนวนเวลาที่ผมจากบ้านเกิดเมืองนอน
นาลกะ
    คงเป็นเพราะรูปเล่มงามตาน่าหยิบจับและเครดิตก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่องที่บอกว่า “เล็กน้อยมากจนสามารถนั่งอ่านข้าง ๆ เตียง ยิ่งใหญ่มากจนสามารถเปลี่ยนชีวิตทั้งชีวิต” เร้าความสนใจให้เปิดพลิกและลงมืออ่าน
นาลกะ
-1- ฉันเดินตัดผ่านสนามหลวงเพื่อไปขึ้นรถเมล์กลับหอพักเกือบทุกวัน เรื่องราวที่แทบจะเป็นแบบฉบับและเหตุการณ์ซ้ำ ๆ ที่ได้พบเห็นจากผู้คนแห่งสนามหลวงวันแล้ววันเล่า ทำให้เกิดภาพประทับในใจโดยไม่รู้ตัว เมื่อฉันได้รู้จักกับสนามหลวงมากขึ้น ฉันก็ได้พบว่าสถานที่แห่งนี้เปี่ยมไปด้วยสีสันและชีวิตชีวาอย่างแท้จริง ที่แห่งนี้มีเรื่องราวชีวิตของคนระดับล่างมากมาย แต่ละคน แต่ละชีวิตนั้นน่าจะปรากฏอยู่ในนิยายมากกว่าจะเป็นเรื่องจริง คนเหล่านี้ไม่ควรจะมีอยู่จริง!
นาลกะ
“ลูกผู้ชายหัวใจมีรัก(Man and Wife)” คือนิยายอันละเมียดบรรจงของ Tony Parsons เป็นผลงานภาคต่อจาก “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ (Man and Boy)” ซึ่งเคยสร้างความเกรียวกราวในแวดวงนักอ่านได้มากพอสมควร(ผมเคยวิจารณ์ไว้แล้วที่ http://blogazine.prachatai.com/user/nalaka/post/1562 ) ฝีมือแปลโดย ภัสรี สิงหเดช  
นาลกะ
โดยทั่วไปแล้ว หนังสือของสำนักพิมพ์ “ผีเสื้อ” สามารถการันตีคุณภาพ(แต่ไม่การันตียอดขาย) ได้ในระดับหนึ่ง เรียกได้ว่าไม่มีคำว่าผิดหวังในแทบทุกเล่มเพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นวรรณกรรมแปล! “พ่อผมไม่เคยฆ่าใคร” ซึ่งเขียนโดย ฌ็อง-หลุยส์ ฟูร์นิเย่ร์ และแปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร ก็เช่นเดียวกัน
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลชมเชยประเภทบันเทิงคดีสำหรับเยาวชน ก่อนวัยรุ่น (12-14) จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติปี 2530 และได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 100 เล่ม ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน โดยฝีมือการประพันธ์ของนักเขียนซึ่งเป็นรู้จักกันดี "อัศศิริ ธรรมโชติ"
นาลกะ
ด้วยชื่อเรื่องที่ไม่คุ้นหู และหน้าปกเป็นรูปน้ำตกกลางป่าสวยงาม วรรณกรรมเยาวชนเล่มนี้ชวนให้สะดุดใจและเปิดอ่าน ซึ่งก็ใช้เวลาอ่านไม่นานนักก็จบเล่มเพราะมีความหนาไม่ถึง 50 หน้ารวมภาพประกอบ
นาลกะ
ผลงานเรื่องนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากการประกวดวรรณกรรมเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว ครั้งที่ 2 ผู้เขียนคือ “เก็ตตะหวา” วาดภาพประกอบโดย ธีระพงษ์ บัวระเพชร และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เจ้าเก่า แก่นแกนของเรื่องคือพัฒนาการของเด็กผู้หญิงที่ชื่อ “ผิงผิง” ซึ่งอาศัยอยู่กับพ่อแม่บุญธรรม และไม่ใคร่จะชอบพ่อที่แท้จริงนักเพราะคิดว่าพ่อทอดทิ้งเธอซ้ำยังปล่อยให้แม่ตาย แต่ที่จริงแล้วพ่อของเธอนั้นรักเธอมาก เหตุที่ต้องฝากเธอไว้กับคนอื่นนั้นเพราะหน้าที่การงานที่เป็นนักมายากลต้องตระเวณแสดงไปตามที่ต่าง ๆ ทั้งคนที่นำลูกไปฝากไว้นั้นก็เป็นเพื่อนเก่าและเป็นนายอำเภอที่ไม่มีลูกของตนเองสามารถดูแลผิงผิงได้
นาลกะ
  เรื่องเล่ามหาสนุกจากทุ่งหญ้าสีเขียว เป็นวรรณกรรมเด็กที่โด่งดังของธอร์นทัน ดับบลิว. เบอเกตส์ (Thornton W. Burgess) เขาได้แต่งเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ป่าและธรรมชาติเป็นนิทานก่อนนอนสำหรับลูกชาย ปลูกฝังให้ลูกชายเติบโตขึ้นอย่างมีความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ ต่อมาได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือชุดรวม 20 เล่ม ได้รับผลสำเร็จอย่างมาก จนเขาได้แต่งเรื่องเล่าเพิ่มเติมรวม 170 เรื่อง
นาลกะ
  วันนี้ขอเปลี่ยนจากวรรณกรรมไทยมาเป็นวรรณกรรมต่างประเทศกันบ้าง หลังจากอ่านวรรณกรรมเล่มนี้จบแล้ว ยอมรับว่ารู้สึกได้ถึงความแตกต่างระหว่างวรรณกรรมเยาวชนของไทยและต่างประเทศ ทั้งสำนวนภาษา ทั้งเทคนิคลีลาการเล่าเรื่องและความเข้มข้นจัดจ้านของเนื้อหา ขอบ่นนิดหนึ่งว่าเท่าที่อ่านและเขียนถึงวรรณกรรมเยาวชนของไทย จำนวนไม่น้อยถ้าไม่เล่าเรื่องชนบทเรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นติดตามแล้วก็มักจะบรรเจิดเพริศแพร้วในเรื่องจินตนาการมากเสียจนกลายเป็นนิทานก่อนนอนไปหรือไม่ก็เขียนสำหรับให้เยาวชนอ่านเท่านั้น ไม่ท้าทายผู้อ่านวัยอื่น ๆ แต่อย่างไรเสีย เชื่อว่าวรรณกรรมเยาวชนไทยคงจะได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ…
นาลกะ
"โลกนี้ยังมีเพื่อน" คือหนังสือรวมนิทานยอดเยี่ยม รางวัลมูลนิธิเด็ก หนังสือเล่มนี้รวมนิทานไว้ทั้งหมด 7 เรื่องด้วยกัน ตั้งชื่อเล่มตามชื่อนิทานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากการประกวดในปีที่ 12 นอกจาก "โลกนี้ยังมีเพื่อน" ซึ่งได้รับรางวัลนิทานยอดเยี่ยมแล้ว ยังมีเรื่องนิทานเรื่อง "นักวาดพู่กันวิเศษ" ที่โดดเด่นจนได้รับรางวัลความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ส่วนที่เหลืออีก 5 เรื่องได้รับรางวัลชมเชย
นาลกะ
ลูกแม่น้ำโขง วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน "แว่นแก้ว" ชนะเลิศรางวัลที่ 3 คืออีกหนึ่งผลงานจากนานมีบุ๊ค เขียนโดย "เขมชาติ" แม้ว่าลูกแม่น้ำโขงจะเดินตามขนบวรรรกรรมเยาวชนแบบที่เขียน ๆ กัน ที่มักพูดถึงชนบทอันงดงามที่ผู้คนพึ่งพาช่วยเหลือกัน สภาพธรรมชาติที่ผูกพันแวดล้อมวิถีชีวิต การเล่นซนของเด็ก ๆ และข้อคิดทางด้านคุณธรรม เป็นต้นว่า การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ความมีน้ำใจ  ถึงกระนั้น ลูกแม่น้ำโขง ก็ยังคงน่าอ่านด้วยการบรรยายอย่างมีชีวิตชีวา  เพราะแม่น้ำโขงแม้นจะไหลอย่างที่เคยไหลก็ยังคงน่ามองและมีเสน่ห์อยู่เสมอ