Skip to main content

สายรุ้งก็เหมือนกับเด็กคนอื่นๆ ที่เพลิดเพลินกับการเล่นเกมคอมพิวเตอร์  เกมที่มีภาพสวยงามดึงดูดสายตาและสามารถติดต่อสัมพันธ์ คุยเล่นสนุกกับคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนได้ผ่านการเชื่อมต่อกับโลกไซเบอร์

การสร้างสีสันสวยงามเกินจริง การออกแบบฉากที่อลังการ ไม่ว่าจะเป็นตึกอาคาร ตัวสัตว์ประเภทต่าง ๆ  และความน่าตื่นตาตื่นใจกับสิ่งที่ปรากฏในเกม ยั่วเย้าเร้าความสนใจของสายรุ้งและเด็กคนอื่นๆ จนไม่อาจต้านทานได้

หากเล่นเกมที่ร้านเกมซึ่งมีเด็กๆ ไปชุมนุมกันนั้น สายรุ้งจะนั่งเล่นไม่นานนัก แค่เพียงชั่วโมงหรือสองชั่วโมงเท่านั้น เพราะแม่ไม่ต้องการให้เขาขลุกอยู่ที่ร้านเกมนานเกินไป และเขาก็ไม่อยากทำให้แม่ไม่สบายใจ

แม่บอกว่า “ที่ร้านเกม มีเด็กร้อยพ่อพันแม่ ยังไงแม่ก็อดที่จะเป็นกังวลใจไม่ได้หากลูกอยู่ที่ร้านเกมนาน”

แต่ถ้าเป็นที่บ้าน สายรุ้งนั่งเล่นได้ข้ามวัน ข้ามคืน โดยมีเด่นมาเล่นเป็นเพื่อนด้วย เด็กทั้งสองเอาจริงเอาจังอย่างมากราวกับว่ามันคือส่วนหนึ่งของชีวิตจริงๆ ไม่ใช่เพียงแค่เกม พวกเขามีอารมณ์ร่วมไปกับเกม ทั้งหัวเราะ ไม่พอใจ โวยวาย บ่นงึมงำ คุยกับจอคอมพิวเตอร์เหมือนกับว่ามันมีชีวิต

“นายต้องเอากุญแจที่อยู่กับตัวประหลาดมาให้ได้ก่อน แล้วหลังจากนั้นนายก็จะต้องเดินไปที่ประตูขุมทรัพย์ที่มีแมงมุมดำเฝ้าอยู่” สายรุ้งบอกเด่น
“ฉันจะจัดการยังไงกับตัวประหลาด”
“นายไม่จำเป็นต้องฆ่าก็ได้ เพียงแต่แย่งกุญแจมา”

บางครั้งขณะทานอาหาร สายรุ้งก็คิดถึงการต่อสู้กันในเกม การขยับขึ้นในระดับตำแหน่งที่สูงกว่าหากเอาชนะคู่ต่อสู้ หรือการเข้าใกล้ขุมทรัพย์หากกำจัดตัวแมงมุมดำที่เฝ้าอยู่ตรงปากประตูได้ แต่การจะกำจัดแมงมุมดำนั้นต้องหาจุดอ่อนของมันให้เจอเสียก่อน หรือไม่ก็ต้องหาทางล่อหลอกให้มันเผลอซึ่งเป็นไปได้ยาก

“จุดอ่อนของแมงมุมดำอยู่ที่ไหนครับแม่” เขาถามแม่ ความคิดเขาวนเวียนอยู่แต่เรื่องของเกม
“แม่ว่าลูกเพลา ๆ ลงก็ดีนะ โดยเฉพาะตอนกลางคืน ลูกไม่ควรอดหลับอดนอนเพื่อเล่นเกม ควรจะเล่นเพื่อผ่อนคลายเท่านั้น”
“นานๆ ครั้งเท่านั้นเอง”
สายรุ้งอุทธรณ์ “แม่รู้ไหมว่าเด่นนะ นอนเกือบสว่างเวลาที่ได้เล่นเกม”
“เด็กๆ ไม่ควรนอนดึก ร่างกายจะอ่อนเพลีย”
แม่พูด

ประเด็นเรื่องสุขภาพของลูกเป็นเรื่องใหญ่ที่สุด ส่วนประเด็นเรื่องความรุนแรงที่เด็กอาจเลียนแบบมาจากเกมอย่างที่มีการรณรงค์ของหน่วยงานทางวัฒนธรรมบางหน่วยงานนั้น ไม่ค่อยน่าเป็นห่วงมากนักเพราะคิดว่าสามารถอบรมกล่อมเกลาให้สายรุ้งเป็นเด็กที่อ่อนโยนได้ และที่ผ่านมาสายรุ้งก็ไม่เคยแสดงกริยาก้าวร้าวรุนแรงให้เห็นเลย  

“แล้วจุดอ่อนของแมงมุมดำอยู่ที่ไหน” สายรุ้งไม่ลืมคำถามที่ถามไว้ตั้งแต่แรก เขาอยู่กับความคิดที่จะหาวิธีไปสู่ขุมทรัพย์ให้ได้

แม่หัวเราะกับท่าทางจริงจังของสายรุ้ง แม้ว่าจะไม่สนับสนุนให้ลูกหมกหมุ่นกับเกมแต่เมื่อเห็นว่าลูกให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก เธอจึงบอกสั้นๆ ว่า
“ไม่รู้สิจ๊ะ แม่ไม่ชอบแมงมุม ลูกน่าจะถามตามากกว่า”

สายรุ้งทานอาหารไป ขบคิดไป เขาเข้าใกล้จุดสำคัญของเกมนี้แล้ว แต่หลังจากพยายามอยู่หลายหน เขาก็ไม่อาจผ่านประตูสู่ขุมทรัพย์ได้สักที

แม่ได้แต่ยิ้มอย่างเอ็นดูกับความเอาจริงเอาจังของสายรุ้ง และมองในแง่ดีว่า เกมจะมีส่วนช่วยต่อพัฒนาการการเติบโตของเด็กหากเล่นอย่างพอเหมาะ และขึ้นอยู่กับเกมด้วยว่าเป็นอย่างไร สร้างสรรค์เหมาะสมแค่ไหน

แม่คิดว่าคอมพิวเตอร์และโลกอินเตอร์เน็ตมีสิ่งดี ๆ มากมายหากใช้งานอย่างถูกต้อง ดังนั้น หลังจากที่สายรุ้งรบเร้าอยากได้คอมพิวเตอร์หลายครั้ง แม่จึงยอมซื้อให้และต่ออินเตอร์เน็ตให้เรียบร้อยโดยคิดว่าลูกคงจะได้รับความเพลิดเพลินใจ และได้ค้นคว้าความรู้อย่างกว้างขวางถ้าเขาต้องการ  

ยิ่งเมื่อตระหนักว่าสายรุ้งไม่เหมือนเด็กคนอื่น วันเวลาของสายรุ้งแตกต่างจากเด็กคนอื่นๆ จึงไม่มีเหตุผลอะไรที่จะขัดขวางความต้องการของเขา

อย่างไรก็ตาม โลกอินเตอร์เน็ตที่สื่อสารกันได้อย่างแทบจะไร้ขีดจำกัดนั้นมีทั้งคุณและโทษ แม่จึงพยายามดูแลการท่องเข้าไปในโลกอินเตอร์เนตที่อาจพบเจอคนแปลกหน้า และไม่เก็บคอมพิวเตอร์ไว้ในห้องนอนของสายรุ้ง

แม่ไม่เคยห้ามว่าเว็บไซต์แบบไหนที่สายรุ้งไม่ควรเข้าไป สายรุ้งจะรู้แก่ใจดีว่าเขาควรจะเข้าไปหรือไม่ แม่เพียงแต่แนะนำเวบไซต์ที่คิดว่าน่าสนใจและมีประโยชน์ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับสารคดี

“แม่ครับ ผมเข้าไปในห้องเก็บขุมทรัพย์ได้แล้วครับ” สายรุ้งบอกแม่ในวันหนึ่ง
“แล้วพบอะไรบ้างล่ะ”
“พบดาบเพียงเล่มเดียว เป็นดาบศักดิ์สิทธิ์”
“ลูกจะเอาดาบไปทำอะไร”
แม่ถาม

“ดาบต้องใช้ในการเล่นอีกขั้นสูงขึ้นไป แต่ผมเบื่อเกมนี้แล้ว มันยากไปหน่อย  เอ่อ วันเสาร์นี้ แม่จะไปซื้อหนังสือที่ศูนย์การค้าใช่ไหมครับ ผมว่าจะไปหาซื้อแผ่นเกมใหม่ๆ ด้วย” สายรุ้งพูดยิ้ม ๆ

“ได้สิ” แม่ตอบ พลางคิดว่า อย่างน้อยเกมต่าง ๆ ที่สายรุ้งเล่น  ได้ผ่านสายตาและการเลือกสรรของแม่แล้ว. 

 

บล็อกของ นาลกะ

นาลกะ
วรรณกรรมที่นำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ หลายครั้งมักถูกวิจารณ์ว่าทำไม่ได้ดีเท่าตอนเป็นหนังสือ แต่ “ผีเสื้อและดอกไม้” ต่างออกไป สวยงามในคราที่เป็นหนังสือและสมบูรณ์แบบแทบไร้ที่ติเมื่อเป็นภาพยนตร์ที่ออกฉายประมาณปี 2528 ด้วยผลงานการกำกับของยุทธนา มุกดาสนิท และรับบทนำโดย สุริยา เยาวสังข์ ซึ่งเคยมีชื่อเสียงเปรี้ยงปร้างอยู่ระยะหนึ่งก่อนจะเงียบหายไป ผมเคยอ่านวรรณกรรมเรื่องนี้ตั้งแต่เรียนมัธยม เพราะเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาที่อาจารย์ภาษาไทยบังคับให้อ่านโดยให้เลือกเอาระหว่าง “ข้างหลังภาพ” กับ “ผีเสื้อและดอกไม้” ผมเลือกอ่าน “ผีเสื้อและดอกไม้” ด้วยเหตุผลที่ว่า “ข้างหลังภาพ” เป็นเรื่องเกี่ยวกับรัก ๆ ใคร่ ๆ…
นาลกะ
  "ผีน้อยโลกมายา" คือวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทานแว่นแก้ว โดยได้รับรางวัลชมเชยจากการประกวดประจำปี 2544 เขียนโดย วันทนีย์ วิบูลกีรติ และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค "ผีน้อยโลกมายา" เล่าถึงเรื่องราวของผีน้อยขี้สงสัยที่อาศัยอยู่ในดินแดนมายาอันเป็นดินแดนของผีที่ความทุกข์ไม่อาจกล้ำกราย ผีน้อยมีพ่อเป็นพระจันทร์และแม่คือดวงดาว มีพี่สาวใจดีชื่อพี่ดารา แม้ว่าในดินแดนมายาจะมีความสงบสุขและเสียงหัวเราะ แต่ความช่างสงสัยใคร่รู้ทำให้ผีน้อยยังรู้สึกไม่พอใจอยู่ดี
นาลกะ
เรียวรุ้งเหนือทุ่งกว้าง เป็นวรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยนำงานที่ชนะการประกวดใน โครงการพัฒนาทักษะด้านการเขียนวรรณกรรมสำหรับเยาวชน มารวมเล่ม โครงการนี้เกิดจากการร่วมมือของกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ กับบริษัทนานมี บุ๊ค จำกัด โดยได้อัญเชิญวรรณกรรมเยาวชนในพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพเรื่อง แก้วจอมซน และ แก้วจอมแก่น มาจุดประกาย
นาลกะ
"ย่ำสวนป่า" เป็นเรื่องเล่าจากชนบทที่มีกังวานเสียงแห่งความภาคภูมิใจกับการที่ได้เกิดมาท่ามกลางสภาพแวดล้อมของสวนป่าที่มีสิ่งให้เรียนรู้ได้ไม่รู้จบ และมีรูปแบบชีวิตที่สัมพันธ์เกี่ยวโยงอยู่กับความเป็นไปของธรรมชาติผู้เล่าเรื่องบอกไว้ในตอนท้าย หลังจากที่ปลดปล่อยความทรงจำวัยเด็กให้ออกมามีชีวิตวิ่งเต้นบนหน้ากระดาษเสร็จแล้วว่า"มันไม่ใช่ความอาลัยอาวรณ์อีกต่อไป แต่เป็นความทรงจำแสนสนุกที่ผมไม่คิดจะลืมเลือน ผมจะจดจำไว้ว่าที่นี่... คือบ้านเก่าของผม..." (หน้า 118)
นาลกะ
ความโหดร้ายของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวที่ทำให้มียอดคนตายถึง 6 ล้านคนนั้นมีประเด็นและเรื่องราวให้พูดถึงได้ไม่รู้จบกระทั่งปัจจุบัน ศิลปะภาพยนตร์และวรรณกรรมเรื่องแล้วเรื่องเล่าที่นำเอาการฆาตกรรมหฤโหดมาเสนอในแง่มุมต่าง ๆ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ถึงความไร้เหตุผลของมนุษย์ที่นำไปสู่การทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งมนุษย์ด้วยกันเอง “ชะตาลิขิต” วรรณกรรมแปลจากสำนักพิมพ์นานมีบุ๊ค เป็นอีกเล่มหนึ่งที่พูดถึงเรื่องนี้โดยตรงและพรรณนาสภาพเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นในตอนนั้นไว้อย่างละเอียดลออทั้งนี้เพราะตัวผู้เขียนหนังสือเล่มนี้มี ประสบการณ์ตรงจากการถูกกวาดต้อนเข้าไปอยู่ในค่ายกักกันตั้งแต่เด็ก…
นาลกะ
หนังสือเรื่อง “ลูก(ผู้)ชายหัวใจคุณพ่อ” หรือ “Man and Boy” ที่เขียนโดย Tony Parsonsเป็นหนึ่งในหนังสือวรรณกรรมที่อยากแนะนำให้อ่านโดยเฉพาะคนที่เป็นพ่อหม้าย/แม่หม้าย หรือคนที่กำลังจะเป็นพ่อหม้าย/แม่หม้ายหรือคนที่กำลังคิดจะแต่งงาน หรือคนที่กำลังจะมีตัวเลขอายุเข้าสู่ 30 หนังสือเปิดตัวอย่างน่าสนใจในบทที่หนึ่ง โดยบอกถึงสถานการณ์ที่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาสำคัญของการเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวตอนอายุสามสิบว่า “มีสัมพันธ์รักข้ามคืนกับเพื่อนร่วมงาน” “ซื้อของฟุ่มเฟือยที่แทบไม่มีปัญญาซื้ออย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง” “ถูกภรรยาทิ้ง” “ตกงาน” “รับภาระเลี้ยงลูกแต่เพียงลำพังโดยกะทันหัน”…
นาลกะ
ไม่กี่วันก่อน ผมได้มีโอกาสดูภาพยนตร์เรื่อง "Lassie Come Home " ทางเคเบิลทีวี ซึ่งน่าสนใจและน่าประทับใจดี จึงหาหนังสือมาอ่านพบว่าหนังสือเล่มนี้ได้แปลเป็นไทยนานแล้ว โดย ร.ท.นิพนธ์ กาบสลับพล และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สุขภาพใจ "แลสซี่" ถือกำเนิดจากปลายปากกาของนักเขียนเชื้อสายอังกฤษ-อเมริกัน เอริค ไนท์ (Eric Knight) ในรูปแบบเรื่องสั้น ตีพิมพ์ลงใน Saturday Evening Post เมื่อปี 1938 และผู้เขียนขยายเป็นนวนิยายในปี 1940 ซึ่งประสบความเป็นอย่างดี Lassie ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์หลายครั้งหลายหนรวมทั้งเป็นซีรี่ส์ทางจอโทรทัศน์โดยมีดาราฮอลลีวู้ดระดับตำนานนำแสดง ไม่ว่าจะเป็น อลิซาเบธ เทย์เลอร์, มิคกี้ รูนี่ย์,…
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนส่วนใหญ่ มักมุ่งเน้นให้เยาวชนขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียน เรียนให้จบชั้นสูง ๆ เพื่อที่จะได้มีอาชีพการงานที่ดีในอนาคต หรืออดทนกัดฟันสู้ต่อความยากลำบาก ต่อความด้อยโอกาสกระทั่งเอาชนะได้ในที่สุด กล่าวอีกแบบก็คืออดทนทำดีเข้าไว้เพื่อตัวเองนั่นแหละที่จะได้ดี หรือถ้าไม่เป็นไปตามลักษณะข้างต้น วรรณกรรมเยาวชนที่เขียน ๆ กันก็มักจะเน้นการใช้จินตนาการจนหลุดลอยจากโลกแห่งความเป็นจริง กลายเป็นวรรณกรรมเยาวชนเชิงแฟนตาซีที่อะไร ๆ ก็ดูสวยงามไปหมด เหมือนเป็นการพาเยาวชนคนอ่านหลบหนีไปจากโลกจริงสู่โลกจินตนาการของภาษา แต่วรรณกรรมเรื่อง “กะลาสีเรือผู้กล้าหาญ” ประพันธ์โดย “จังว่าง”…
นาลกะ
น่าดีใจที่สำนักพิมพ์ “นานมีบุ๊ค” พิมพ์วรรณกรรมเยาวชนออกมาอย่างต่อเนื่องโดยคัดกรองเอาจากการประกวดรางวัล “แว่นแก้ว” แม้ว่าวรรณกรรมที่ผ่านเข้ามาบางเรื่องอาจไม่อยู่ในระดับที่ดีนัก นอกจากจะเป็นการปลุกการอ่านและการเขียนวรรณกรรมเยาวชนให้กระเตื้องขึ้นบ้างแล้วยังถือเป็นการให้ความสำคัญกับเด็ก ๆ ที่น่ารักน่าชังในอีกโสดหนึ่งด้วย “กระเบนยักษ์คู่อาฆาต” ผลงานของ “เพชร บุตรทองพูน” เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผ่านคัดกรองจากรางวัลวรรณกรรมเยาวชนพระราชทาน “แว่นแก้ว” ซึ่งยืนยงและหนักแน่นในการสร้างสรรค์วรรณกรรมเยาวชนมานานหลายปีจนอาจจะเรียกได้ว่าเป็นรางวัล “แว่นแก้ว” เป็นสถาบันทางวรรณกรรม…
นาลกะ
วรรณกรรมเยาวชนรางวัลพระราชทาน “แว่นแก้ว” เรื่อง “คำใส” นี้ได้รับรางวัลชนะเลิศประจำปี 2546 ประเภทนวนิยาย ส่งเข้าประกวดโดย “วีระศักดิ์ สุยะลา” นักเขียนหน้าใหม่จากจังหวัดอุบลราชธานี และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ “นานมีบุ๊ค” สำนักพิมพ์ที่เล็งเห็นความสำคัญของวรรณกรรมเยาวชน จุดเด่นของวรรณกรรมเรื่องนี้ คือ การฉายให้เห็นถึงความเป็นไปของชนบทภาคอีสานที่กำลังอยู่ในกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง เป็นความเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์อย่างแยกไม่ออกกับโลกภายนอกหมู่บ้าน ดังนั้นเราจึงได้พบว่า เมื่อมีปัญหาทางการเงิน ตัวละครบางตัวจึงตัดใจทิ้งครอบครัวไว้เบื้องหลังเพื่อเข้ามาทำงานขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพ ฯ…
นาลกะ
“รุ่งอรุณ สัมปัชชลิต” แปลเรื่อง จากเถ้าธุลี จากต้นฉบับ Out of the Ashes ที่เขียนโดย “Michael Morpurgo” นักเขียนชาวอังกฤษที่เป็นที่รู้จักมากคนหนึ่งในฐานะนักเขียนวรรณกรรมเยาวชน จนถึงปัจจุบัน “Michael Morpurgo” มีผลงานทั้งหมด 95 เรื่อง ได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกกว่ายี่สิบภาษาและนำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ห้าเรื่องด้วยกัน เขาได้รับรางวัลทางด้านวรรณกรรมเยาวชนมากมาย เช่น รางวัล The Children’s Book Award, The Whitbread Award นอกจากนี้ เขายังได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีเกียรติสูงสุดด้านวรรณกรรมสำหรับเด็กของประเทศอังกฤษ
นาลกะ
หลังการจากไปของลัทธิจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ประเทศคองโกก็ประสบกับความวุ่นวายเพราะชนชั้นนำแย่งชิงอำนาจกันเอง กระทั่งได้ผู้นำที่เข้มแข็งจนจัดตั้งระบอบ “ปฏิวัติ” ที่วางรากฐานอยู่บนสิ่งที่เรียกว่า “ลัทธิสังคมเชิงวิทยาศาสตร์” ระบอบการปกครองใหม่มาพร้อมกับกติกากฎเกณฑ์และสัญลักษณ์ใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น เพลงชาติ ชื่อประเทศ ธงชาติกลายเป็นสีแดง มีการเพิ่มดาว ค้อน เคียว มีการห้ามสวดมนต์ ร้องเพลง และห้ามคิด จะเดินทางไปไหนมาไหนต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของทางการ ฟังดูคล้ายกับยุคสมัยแห่งการปฏิวัติวัฒนธรรมในสมัยจอมพลป. พิบูลสงคราม ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและสัญลักษณ์ทางการเมืองอย่างมโหฬาร…