Skip to main content
Cinemania
ชญานุช เล็กตระกูลชัย    ภาพจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Mona_Lisa_Smile   “ศิลปะคืออะไร อะไรที่ทำให้มันดีหรือแย่ แล้วใครเป็นคนกำหนด” “ศิลปะไม่ใช่ศิลปะ จนกว่าจะมีคนบอกว่าใช่… มันมีมาตรฐาน เทคนิค องค์ประกอบ สี และหัวข้อ” (บางส่วนของบทสนทนาระหว่างตัวละคร ‘แคเธอรีน วัตสัน’ (จูเลีย โรเบิร์ตส์) อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ และ ‘เบ็ตตี้ วอร์เร็น’ (เคิร์สเตน ดันสต์) นักศึกษาสาวจากวิทยาลัยเวสลี่ย์คอลเลจ) ปรัชญา ศิลปะ และกระบวนการทำให้ ‘หญิง’ เป็น ‘หญิง’ ภาพยนตร์เรื่อง Mona Lisa smile นำเสนอภาพสะท้อนของสังคมตะวันตก (ทั้งยุโรป และอเมริกา) ในช่วงต้น คริสต์ศตวรรษที่ 20 (ช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของชาวตะวันตกส่วนใหญ่ยังคงถูกครอบงำจากปรัชญาดั้งเดิม (สมัยกรีก มาถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ จนกระทั่งยุคปฏิวัติวิทยาศาสตร์) ในเรื่องของ ‘ความดี’ ‘ ความงาม’ ‘ความสมบูรณ์’ รวมไปถึงเรื่องของ ‘ศิลปะ’ ตลอดจนวิถีชีวิตประจำวัน ผู้คนส่วนใหญ่ถูกทำให้เชื่อมั่นว่ารูปแบบการดำเนินชีวิตที่ดี (เช่นเดียวกับศิลปะ) ที่ถูกต้องนั้นมีเพียงมาตรฐานเดียว และเป็น ‘มาตรฐานสากล’ แบบเดียวกับองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เช่นเดียวกันกับนักศึกษาสาวจากวิทยาลัยเวสลี่ย์คอลเลจ (ตัวแทนของกลุ่มอนุรักษ์นิยม) ที่กระบวนการของการเรียนการสอนในชั้นเรียนช่วยตอกย้ำให้พวกเธอเชื่อมั่นว่ามาตรฐานที่สังคมวางไว้ให้ คือ สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับชีวิตของ ‘หญิงสาว’ ผู้สมบูรณ์แบบ
กวีประชาไท
ศิลปินสร้างงานศิลปะสืบสานสภาวะประเสริฐศิลป์ฝากผลงานไว้ในแผ่นดินกล่าวขานยลยินกันต่อไปหัวใจศิลปินศิลปะสภาวะแตกต่างที่กว้างใหญ่ด้วยดวงตาอันละเมียดละไมคือหัวจิตหัวใจศิลปินศิลปินสร้างงานศิลปะเส้นสีจะป้ายเปรอะก็เป็นศิลป์แต่ละคนประชาชนผู้ยลยินสุขเกษม ทั้งขาดดิ้นลงสิ้นใจฯพันธุ์ปกรณ์ พงศารม