Skip to main content
จีรนุช เปรมชัยพร
เลือกข้างเสรีภาพ Click SOPA = Stop Online Piracy Act
ประชาไทไนท์
การรับรู้ของคนเรา ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ในบางมุม เราอาจมองกระต่ายแล้วกลายเป็นเป็ด หรืออาจจะมองเป็ดให้กลายเป็นกระต่ายก็ได้ (ใครจะรู้?)ในเวลาเดียวกัน ความหมายของวัตถุที่แต่ละคนมองก็ไม่เคยเหมือนกัน เพราะมุมมองของบุคคลนั้นขึ้นอยู่กับความต่างของพื้นที่ ความต่างของวัฒนธรรม และความต่างทางบริบท (อื่นๆ อีกมากมาย) ใช่หรือไม่?แล้วมันผิดตรงไหน หากใครจะมองเห็นอะไรต่างมุมกัน? ในเมื่อวัตถุหรือสัญลักษณ์บางอย่างนั้นล้วนแปรเปลี่ยนความหมายไปตามการรับรู้ของผู้คนมันจะดีกว่าไหม ถ้าเราจะเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการรับฟังและเปิดใจมองไปยังมุมที่ต่างจากมุมเดิมๆ ของเราบ้าง? แทนที่จะดึงดันให้คนซึ่งอยู่อีกฝั่งมามองเห็นในสิ่งที่เดียวกับที่เราเห็น?นั่นคือการตั้งคำถามระหว่างเสนอภาพ 20x20 ของบล๊อกเกอร์หนุ่มนักศึกษานามว่า ‘แจ๊ค' ผู้มาร่วมงานแจ๊คผู้ฆ่ายักษ์ ประชาไทไนท์ไม่ต้องตอบคำถามของเขาก็ได้...แต่ลองตั้งคำถามกับใจตัวเองก่อนเป็นอันดับแรกน่าจะดี
ประชาไทไนท์
เมื่อไม่กี่สิบปีมานี้...ภาพยนตร์ถูกยกย่องว่าเป็นอีกแขนงหนึ่งของ ‘ศิลปะ' ซึ่งไม่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต แต่มีคุณค่าทางจิตวิญญาณไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ศิลปะภาพยนตร์แตกกิ่งก้านสาขาออกไปหลายขนานและทำหน้าที่สะท้อนสังคมแต่ละยุคอย่างขยันขันแข็งณ วันนี้ ภาพยนตร์เกิดขึ้นใหม่เป็นจำนวนมากและมีรูปแบบการนำเสนอที่แตกต่างกัน แต่ภาพยนตร์บางประเภทเท่านั้นที่ได้รับการยอมรับจากคนส่วนใหญ่ในสังคม ซึ่งนอกจากเหตุผลทางรสนิยมแล้ว คงจะมีเหตุผลทางวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องในการ ยอมรับ/ไม่ยอมรับ ภาพยนตร์แต่ละประเภทด้วย แต่น่าเสียดายที่ภาพยนตร์บางประเภทไม่มีที่อยู่ที่ยืนในสังคมบางแห่ง ซึ่งวัฒนธรรมกระแสหลักพยายามเบียดขับให้วัฒนธรรมย่อยตกหล่นไปจากพื้นที่การรับรู้ของคนในสังคมมาตรฐานเรื่องศีลธรรม, ความรุนแรง, ความล่อแหลมอนาจาร ไม่เคยได้รับการถกเถียงอย่างจริงจัง มีเพียงคนบางกลุ่มที่ถูกคัดเลือกโดยคน (อีก) บางกลุ่มเท่านั้น ที่มีสิทธิ์ตัดสินใจว่าอะไรดี-ไม่ดี รุนแรง-ไม่รุนแรง ทั้งที่เรื่องราวซึ่งถูกถ่ายทอดออกมาให้เห็นกันในภาพยนตร์ อาจไม่ต่างอะไรจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคมนั้นๆ เลยภาพยนตร์บางประเภทจึงถูกมองว่าเป็น ‘หนังส่วนตัว' และมีคนเฉพาะกลุ่มเท่านั้นที่นิยมชมชอบ ความเป็น ‘หนังเฉพาะกลุ่ม' จึงมักจะถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่ของผลผลิตจากวัฒนธรรมย่อย...ซึ่งแน่นอนว่ามันมักจะได้รับการตัดสินว่าไม่ดีหรือไม่มีค่า (ถึงขั้นไม่รับผิดชอบต่อสังคม) เทียบเท่ากับภาพยนตร์ที่มาจากวัฒนธรรมกระแสหลักหลายครั้งที่ตัวแทนจากแวดวงภาพยนตร์เฉพาะกลุ่มพยายามหาที่ทางให้กับผลงานของตัวเอง พวกเขาก็ต้องเสี่ยงต่อการโดนแปะฉลากว่าเป็นพวกที่ยึดถือตัวกู-ของกู และใครบางคนอาจมองว่าพวกนี้เป็นคนประเภท ‘หนังของกู-เพลงของกู ห้ามเซ็นเซอร์' ก็ว่ากันไป...เพราะในความเป็นจริง เราทุกคนล้วนยึดมั่นในสิ่งที่ตัวเองคิดว่าถูกต้องดีงามด้วยกันทั้งนั้น การถกเถียงเรื่อง ความจริง-ความดี-ความงาม จึงไม่เคยยุติลง แต่ขอเพียงเรายังถกเถียง เราก็ยังมีโอกาสได้เรียนรู้ แลกเปลี่ยน และเติบโต หากเมื่อไหร่ที่คนส่วนใหญ่ใช้เสียงข้างมากเข้ามาเป็นเงื่อนไขในการทำให้เสียงอื่นเงียบลง...เมื่อนั้นเราจะมีอะไรให้ต้องสร้างสรรค์กันอีก?อย่าลืมว่าความ ‘หยาบ' ของกระดาษทราย ทำให้วัสดุมากมายเรียบเนียนมาได้นักต่อนักแล้ว...  
ประชาไทไนท์
นิทานออนไลน์ ฉบับ ‘ประชาไทไนท์' บอกเล่าโดย jamorn คือ เรื่องราวของเหล่ามดดำที่อยู่ภายใต้การชี้นำของยักษ์ตัวหนึ่งที่คอยควบคุมถนนหนทางในการสื่อสารและเข้าถึงข้อมูล...จนกระทั่งวันหนึ่ง ยักษ์ตัวนั้นเกิดกรณีพิพาทกับ ‘ยักษ์ตู๊บ' ซึ่งมีพ่อเป็น ‘ยักษ์ขาวผู้ยิ่งใหญ่' !เรื่องราวจะเป็นยังไงต่อไป ติดตามดูได้้ในคลิปวิดีโิอเรื่อง ‘การต่อสู้ของยักษ์เขียวตาเดียว'
ประชาไทไนท์
บล๊อกเกอร์ mk (ผู้มิได้เกี่ยวข้องใดๆ กับ เอ็มเคสุกี้ ) มาพร้อมกับสไลด์ 20x20 บอกเล่า 'บันได 4 ขั้น' วิธีรับมือยักษ์เขียวตาเดียวในโลกไซเบอร์
ประชาไทไนท์
แจ๊คผู้ฆ่ายักษ์ (เขียว) ตาเดียว หมายเลข 3 ของประชาไทไนท์ คือ บล็อกเกอร์ชื่อดัง นามว่า คนชายขอบ ขอชวนใครต่อใครไปอ่านความหมายที่ซ่อนอยู่ 'ระหว่างบรรทัด' ในเวลาที่นักท่องเน็ตเจอกับข้อความของยักษ์เขียวตาเดียวจากกระทรวงที่คุณก็รู้ว่า (เป็นของ) ใคร...ปรากฎอยู่เต็มหน้าจอ 
ประชาไทไนท์
พูดพร่ำถึงยักษ์ใหญ่แห่งการกรองดนตรีร่วมสมัยอย่าง PMRC กันไปแล้ว ก็มาต่อกันด้วย 20 slides ที่กล่าวถึงดนตรีกับ Censorship กันเลยดีกว่าครับแต่คงต้องสารภาพว่ามันคงเหลือแค่ 19 นะครับ เพราะได้ตัด "Parental Advisory" ออกไปเนื่องกล่าวถึงมันไปใน Blog ที่แล้ว ซึ่งบางภาพในที่นี้อาจจะเกี่ยวกับการประท้วง Censorship ตรงไปตรงมา ขณะที่บางภาพอาจเป็นอัลบั้มที่มีเนื้อหาต่อต้านสถาบัน แบบแผนนิยม หรือมีความดิบห่าม เชื้อชวนให้กองเซนเซอร์ได้มีงานทำ ก็เป็นได้    Chumbawamba - Shhh ไอ่คำว่า Shhh คำนี้ จริง ๆ แล้วมันก็คือเสียง "ชู่วววว..." จุปากให้เงียบนั่นแหละ ซึ่งพวกเขาเองไม่ได้กะจะตั้งชื่ออัลบั้มแบบนี้หรอกครับ แต่มันเริ่มมาจากการที่พวกเขากะจะใช้ชื่ออัลบั้มว่า "Jesus H. Christ" แล้วดันใช้วัตถุดิบจากเพลงอื่น ๆ มาเหมือนล้อเลียนมากไปหน่อย แถมด้วยชื่ออัลบั้มส่อ ๆ อีก เลยเจอต่อต้านไปก่อนจะได้คลอดออกมา ทางวงเลยประชดด้วยการเขียนเพลงต่อต้านเซนเซอร์แล้วแปลงชื่ออัลบั้มมาเป็น Shhh ซะเลยMegadeth เพลง Hook in Mouth วง Thrash Metal ในยุคนั้นเองก็มีระอากับ PMRC อยู่เหมือนกัน ในอัลบั้ม So Far , So Good ... So What? ของ Megadeth จึงมีเพลงอย่าง Hook in Mouth ที่เปรียบเปรยกองเซนเซอร์ทั้งหลายกับรัฐบาลเผด็จการแห่ง Oceania ในหนังสือเรื่อง 1984 ของ George Orwell กันเลยทีเดียวDavid Bowie - Diamond Dogs พูดถึง 1984 แล้ว คงจะหลีกเลี่ยงไม่พูดถึงอีกอัลบั้มนึงคงไม่ได้ นั่นคือ Diamond Dogs ของ David Bowie ที่ผสมผสานทั้งเรื่องราวของรัฐเผด็จการที่คอยตรวจสอบ เซ็นเซอร์สื่อทุกอย่าง กับเรื่องราวของโลกที่พังพินาศจากแรงบรรดาลใจของตัว Bowie เองRadiohead - OK Computer และอีกอัลบั้มหนึ่งที่ได้แรงบรรดาลใจจาก 1984 (อย่างลับ ๆ) คือ OK Computer ของ Radiohead กับเพลงที่ตั้งคำถามกับสังคมบ้าจริยธรรมอย่าง Karma Police ขณะที่เรานั่งอยู่เฉย ๆ และคอยตัดสินคนอื่น เราก็กลับรอคอยให้อะไรบางอย่างมาจัดการกับ "ความชั่วร้าย" แทนเรา และวันหนึ่ง ไอ่อะไรบางอย่างนั้นเองก็จะหันหน้ามาจัดการกับเราด้วยPink Floyd - Animals พูดถึง 1984 แล้วใยไม่พูดถึง Animal Farm อัลบั้มนี้ของ Pink Floyd คงรู้ ๆ กันว่าได้แรงบันดาลใจมาจากเรื่องนี้แน่ ๆ และคนเขียนเนื้อเจ้าคอนเซปท์คนสำคัญอย่าง Roger Waters เองก็ได้ใช้ สัตว์ 3 ชนิดเปรียบเปรยกับคนสามระดับในสังคม Dogs คือตัวแทนของนายทุน , นักธุรกิจ ผู้บ้าอะไรเกินตัว Pigs คือเหล่า Elite ชนชั้นปกครองที่คอยปิดกั้นประชาชนใต้กรอบของคำว่า "ศีลธรรม" ซึ่งในเพลงก็ได้ด่า Margaret Thatcher กับ Mary Whitehouse กับโครงการบ้า ๆ บอ ๆ ของพวกหล่อนไว้ และ เพลง Sheep ก็ได้เปรียบกับประชาชนเดินดินผู้ที่ดูเหมือนจะเฉื่อยชาต่อความเป็นไปในสังคม แต่ถึงกระนั้น ถ้าหากพวกเขาถูกบีบคั้นมากเข้าล่ะก็ ฝูงแกะที่ดูน่ารักเรียบร้อยก็อาจจะรวมตัวกัน พังคอกของพวก "ท่าน" สักวันก็เป็นได้Frank Zappa - Joe's Garage กลับมาสู่ยุค PMRC แน่นอนว่า Frank Zappa ผู้ต่อต้าน PMRC อย่างจริงจัง ก็ได้ออกคอนเซปท์อัลบั้มแนวเล่าเรื่องที่ชื่อ Joe's Garage พูดถึงชายที่ชื่อ Joe กับเส้นทางดนตรี Rock สุดเฟี๊ยวฟ๊าว ในบทท้าย ๆ ของอัลบั้ม ได้พูดถึงโลกอันน่าสะพรึงกลัวแบบเว่อร์ ๆ ไว้ว่า โลกของ Joe นั้นดนตรีกลายเป็นสิ่งผิดกฏหมาย และเขาก็ได้แต่ระลึกถึงโน๊ตกีต้าร์โดยไม่สามารถเล่นได้จริงStyx - Kilroy was Here อัลบั้มแนวเล่าเรื่องอีกอัลบั้มหนึ่งที่เป็นผลพวงมาจากนโยบายของ PMRC คือ Kilroy was Here ของวง Styx เนื้อเรื่องพูดถึงโลกในอนาคตที่รัฐบาลหัวอนุรักษ์จัดการทำให้ดนตรีร็อคกลายเป็นสิ่งผิดกฏหมาย โดยหน่วยงานที่มีชื่อว่า MMM (the Majority for Musical Morality) โดย Kilroy อดีตนักดนตรี Rock ที่ถูกจับขังคุก ได้หาทางหนีออกมา และจะต้องต่อสู้กับโลกใบนี้ ในอัลบั้มก็มีเพลงที่พูดเน้นถึง censorship หนัก ๆ หน่อย อย่าง Heavy Metal Poisoning เนื่องจากดนตรี Heavy Metal ตกเป็นแพะรับบาปของสังคมเคร่งศีลธรรมในช่วงนั้นอยู่พอดีรูปนี้ขออนุญาตทำเป็น Link เอานะครับ ต้องคิดเผื่อถึงบางคนที่เขาอาจจะไม่อยากเห็นภาพแบบนี้ด้วยRage Against the Machine ในคอนเสิร์ท Lollapalooza และแน่นอนว่าวง Rage Against the Machine วงแนว Rap-Rock จอมขบถ ก็เอากับเขาด้วยเหมือนกัน ในคอนเสิร์ท Lollapalooza พวกเขาได้ออกมาประท้วงในแบบชวนให้สะดุ้งอยู่ไม่น้อย (ใครที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องแบบนี้ผมก็ขออภัยจริง ๆ เพราะเจ้าพวกนี้มันแรงใช้ได้) พวกเขาออกมาเปลือยตัวเองแล้วเขียนตัวอักษร PMRC ไว้บนตัวสมาชิกไม่รู้เลยจริง ๆ ว่าที่ปิดอยู่นั่น เป็นอะไร Music Video เพลง Hush ของวง Tool และเราอาจจะได้เห็นภาพคล้าย ๆ กันนี้ (แต่อาจเบาบางลงมาหน่อย) ใน Music Video เพลง Hush ของวง Tool อีกเพลงที่เขียนด่า Censorship และ MV ของมันก็เล่นล้อกับความหมายอะไรบางอย่าง สำหรับผม มันดูฮา ๆ ดี ที่เอาป้ายไป "Parental Advisory" ไปติดตรงนั้น...ตรงที่ไม่รู้เล้ย...ว่ามันคืออะไรDixie Chicks เพลง Not Ready to Make Nice Censorship ไม่ได้มีอยู่แค่ในเหตุผลด้านศีลธรรมเท่านั้น ในยุคปัจจุบัน แม้ความเห็นต่างทางการเมืองนอกจากจะถูกทำให้เป็นฝ่ายตรงข้าม สร้างภาพให้เป็นศัตรูแล้ว ยังจะถูกปิดกั้นบิดเบือนเอาง่าย ๆ ดูอย่าง Free TV. ส่วนใหญ่ในประเทศเราก็รู้ ๆ กันอยู่ ว่ามักจะมีแต่การแสดงอะไรด้านเดียวอยู่เสมอ ภาพของม็อบที่มีแต่ด้านของความรุนแรง โดยไม่เคยสำรวจเข้าไปในตัวของปัญหาที่แท้จริง หรือแม้แต่จะฟังความต้องการของพวกเขาโดยไม่ใส่อดติตัดสินพวกเขาเข้าไปเลย ไม่ใช่แค่ Free TV. บ้านเราเท่านั้น สถานีวิทยุคันทรี่ของอเมริกัน ที่ดูจะสนับสนุนประธานาธิบดีบุชเต็มที่ ยังแบนเพลงของวง Dixie Chicks หลังจากที่ นาตาลี เมนส์ ได้วิจารณ์และจิกกัดบุชเอาไว้ในคอนเสิร์ท แถมด้วยเพลงประท้วงนโยบายสงครามต่อต้านการก่อการร้าย ทางวง Dixie Chicks ต้องอยู่ภายใต้ความบิดเบี้ยวคับแคบของลัทธิชาตินิยมอเมริกันมาเป็นเวลาหลายปีก่อนที่จะได้ออกอัลบั้ม Taking a Long Way มา ซึ่งเพลง Not Ready to Make Nice ก็เป็นอีกเพลงหนึ่ง ที่พูดถึงความเจ็บช้ำในการถูกทอดทิ้งจากสื่อสาธารณะและการถูกคุกคามจากภาครัฐไว้ได้อย่างถึงใจ (อ่านรายละเอียดอัลบั้มนี้แบบเต็ม ๆ ได้ที่ Weekend เก่าครับ)Manic Street Preachers เพลง Freedom of Speech Won't Feed My Children พูดอเมริกาแล้ว คงขาดไม่ได้ที่จะนึกถึงดินแดนแห่งเสรีภาพ ดินแดนที่สนับสนุนความหลากหลายของเชื้อชาติ ดินแดนที่สนับสนุนอิรภาพในการแสดงความเห็น (Freedom of Speech) ...แต่มันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ น่ะหรือ ขณะที่รัฐบาลอเมริกันเที่ยวไปจัดการกับเสรีภาพของประเทศอื่น ๆ น่าตาเฉย พวกเขาเคยยอมรับความแตกต่างทางความคิดของคนในประเทศเดียวกันหรือเปล่าเถอะ เพลง Freedom of Speech Won't Feed my Children ของวง Manic Street Preachers เป็นเพลงที่วิจารณ์ความยอกย้อนของคำว่า "เสรีภาพ" จากอเมริกันชน ด้วยน้ำเสียงกึ่งประชดล้อเลียน และแน่นอนว่า คำว่า "เสรีภาพ" ในรัฐธรรมนูญฉบับอนุรักษ์ไดโนเสาร์ของพวกเราเองก็ยอกย้อน น่าสงสัยพอ ๆ กันSex Pistol เพลง God Save The Queen ข้ออ้างที่สำคัญในการใช้ทำลาย "เสรีภาพในการแสดงความเห็น" คือ "ความมั่นคง" แต่เราคงต้องมาตั้งคำถามสักหน่อยว่ามันคือความมั่นคงของใคร หรือของอะไร !? God Save the Queen เป็นเพลงท้าทายสถาบันที่มีชื่อเดียวกับเพลงชาติอังกฤษ แต่เนื้อหาสุดพังค์ของมันก็ตรงกันข้ามกับเจตนารมย์ของเพลงชาตินี้โดยสิ้นเชิง และเป็นความสะใจส่วนตัว ที่จะได้ร้องตามไปกับประโยคเด็ด ที่แสดงความรู้สึกของเพลงนี้ออกมาได้ดีที่สุดอย่าง No Future for You!King Crimson เพลง Happy with what you have to be Happy with ขณะที่ฝั่ง Punk ยุค 70's ท้าทายสถาบันอย่างไม่อ้อมค้อมนัก ดูเหมือนวงแนว Progressive (ถ้าไม่นับ Pink Floyd) ดูจะถนัดพูดอะไรอ้อม ๆ เสียมากกว่า จนบางครั้งเล่นเอามึนไปเลยว่ามันจะพูดถึงอะไรกันแน่ แต่ชื่อเพลงของวง King Crimson คือ Happy with what you have to be Happy with ที่เป็นชื่อเดียวกับ EP. นี้ด้วย ก็ทำเอาผมนึกถึงอะไรบางอย่างในบ้านเราเหมือนกัน ยิ่งใบหน้าเหมือนถูกสะกดจิตของคนบนหน้าปกแล้วยิ่งชวนให้นึกถึงคนที่เคลิ้มไปกับคำว่า "จงมีความสุขอย่างพอเพียงกับสิ่งที่คุณควรมีเสียเถิด" ขณะที่ผู้พูดนั้นอาจกำลังนั่งคิดหนักว่าจะเอาทรัพย์ทั้งหลายที่ได้มาอย่างพอเพียงโคตร ๆ ไปละลายยังไงดี มันเกี่ยวกับเซ็นเซอร์ชิพอย่างไรน่ะหรือ... แค่คำว่า "Happy with What you have to be Happy with" ที่มันออกมาจากผู้มีอำนาจ (ไม่ว่าอำนาจอะไรก็ตาม) ก็เอามาใช้อ้างอะไรได้หลายแล้วล่ะครับJohn Prine เพลง Illegal Smile ในเมื่อมนุษย์ไม่ใช่สัตว์ที่จะถูกให้ใครสั่งให้มีความสุขได้ "ความสุข" ของแต่ละคนมันจึงแตกต่างหลากหลายกันไป และแน่นอนว่า ความสุขสงบของบางคนอาจจะเป็นเรื่องที่ไม่อาจยอมรับของสังคมก็ได้ จนความสุขนั้นได้กลายเป็น "รอยยิ้มที่ผิดกฏหมายไป" When I woke up this morning, things were lookin' badSeem like total silence was the only friend I hadBowl of oatmeal tried to stare me down... and wonAnd it was twelve o'clock before I realizedThat I was havin' .. no fun Chorus:But fortunately I have the key to escape realityAnd you may see me tonight with an illegal smileIt don't cost very much, but it lasts a long whileWon't you please tell the man I didn't kill anyoneNo I'm just tryin' to have me some fun - Illegal Smileสิ่งที่เพลงนี้พูดถึงคือกัญชาครับ สิ่งผิดกฏหมายที่แพร่หลายทั่วไปในยุคบุปผาชนเกลือนถนน San Francisco และนักร้อง Folk อย่าง John Prine ก็แต่งเพลงเกี่ยวกับมันในท่าทีขอความเห็นใจขณะเดียวกันก็เจืออารมณ์ขันเมา ๆ ("ถ้วยข้าวโอ๊ตพยายามจะจ้องมองฉันด้วยสายตาดูแคลน ...แล้วมันก็เป็นฝ่ายชนะ") ว่าในวันแย่ ๆ ของคน ๆ หนึ่ง เขาทำผิดอะไรหรือกับการพยายามสร้างรอยยิ้มให้ตัวเองโดยไม่ได้ไปฆ่าใคร ถึงมันจะเป็นรอยยิ้มที่ "Illegal" ก็ตาม"สมาคมแม่บ้านวอชิงตัน" รับฟังเขาหน่อยก็ดีนะครับCrotchduster - Big Fat Box of Shitนอกจากรอยยิ้มมันจะมาจาก "สมุนไพร" ชนิดนั้นแล้ว สิ่งที่ไม่จำเป็นต้องเสี่ยงขนาดนั้นก็คือ อารมณ์ขันนั่นเอง มุขตลกแบบสัปดนอาจเป็นเรื่องเล่าเล่นทั่วไปของคนในสังคมเพื่อระบายความเก็บกดทางเพศว่ากันว่าคนที่ยิ่งชอบเล่าเรื่องสัปดนมากเท่าไหร่ ความกระสันในตัวเขายิ่งจะน้อยลงเท่านั้น ตรงข้ามกับคนที่ไม่เล่นมุขสัปดนพวกนี้เลยนั้นตัวจริงของเขาจะสุดหื่น...เรื่องนี้จริงแท้แค่ไหนไม่ทราบ แต่ถึงผมจะเป็นคนไม่เชื่อสถิติ และรู้สึกว่าความคิดข้างต้นเหมารวมไปหน่อย แต่ก็เห็นด้วยบ้างกับเรื่องการได้ระบายออกด้วยการเล่าเรื่องสัปดน การเซ็นเซอร์เรื่องอะไรเหล่านี้มันทำให้คนเก็บกดได้นะครับพี่น้อง!Big Fat Box of Shit เป็นอัลบั้มของวง Metal เฉพาะกิจ Crotchduster เนื้อหามีมุขตลกสัปดนที่บางทีก็ซ่อนนัยยะ บางทีก็ตรงไปตรงมา แต่ก็ไม่ไม่ใช่มีแต่มุขสัปดนบางเพลงก็เป็นมุขตลกแบบ absurd สุด ๆ เลยก็มี อย่างตอนต้นเพลง Jogging in hell (ฉันคิดว่ามันเป็นแปรงสีฟัน แต่จริง ๆ แล้วมันคือกระบอกไฟฉาย ฉันเลยทำฟันของตัวเองร่วงหมดปาก ในกลางค่ำคืน)หากง่ายที่จะเจอวง Heavy Metal ที่ชวนให้เซ็นเซอร์ (ปกหรือเนื้อหา บางครั้งอาจรวมการแต่งตัวด้วย) ด้วยเหตุผลของความโหดร้าย ก้าวร้าว หรือเรื่องของซาตาน แต่หายากที่จะเจอวงที่ชวนให้เซ็นเซอร์เพราะอารมณ์ขันสัปดนMayhem - Dawn of the Black Heartอย่างที่ว่าไว้ ความโหดของ Heavy Metal ในฐานะของรูปแบบ (Form) ทางดนตรีถือเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะสาย Extreme อย่าง Black กับ Deathและวง Mayhem ซึ่งเป็นวง Black Metal วงแรก ๆ ของโลกก็อารมณ์เพี้ยนจัด... เมื่อเพื่อนร่วมวงของพวกเขา Per Yngve Ohlin (มีสมญานามว่า Dead) ฆ่าตัวตาย (ทีนี้เลย Dead สมชื่อ) พอนาย Øystein ‘Euronymous' Aarseth เพื่อนร่วมวงผ่านมาเจอเข้าก็เผ่นออกไป... ออกไป... ออกไป...หากล้องมาถ่ายรูปศพไว้แล้วเอามาทำเป็นปกอัลบั้ม Bootleg ที่ชื่อ Dawn of a Black Heart เสียอย่างงั้นHarry and the Potters - Voldemort can't stop the Rock!เมื่อผมเจอวงนี้เป็นครั้งแรกเล่นเอาขำปนฉงนอยู่เหมือนกันว่า "เฮ้ย ! เอาจริงง่ะ"แล้วก็พบว่ากระแสของ Harry Potter มันลามมาถึงวงการดนตรี (จะเป็นไรไปจริง ๆ The Lord of the Ring ก็เคยเป็นแรงบันดาลใจให้กับ Power Metal บางวงมาแล้ว) หรือถ้าไม่คิดมาก ก็อาจจะเป็นแนวเฉพาะกลุ่มที่ผุดขึ้นมาตามความชอบส่วนตัวก็เป็นได้เพียงแค่พอตเตอร์(ส) ในที่นี้หันมาถือกีต้าร์แทนไม้คทา แถมยังแต่งเพลงมีเนื้อหาอ้างถึง PMRC ไว้ใน Voldemort can't stop the Rock! ถึงจะดูเหมือนประท้วงแบบนุ่มนิ่ม แต่ก็น่าจดจำไว้ว่า แม้แต่คนอ่านวรรณกรรมเยาวชนที่ดู (เผิน ๆ ผิว ๆ) จะไม่เป็นอันตรายในสายตาผู้ใหญ่ เขายังรู้เลยว่า อะไรเป็นอะไรต่อให้เป็น "คนที่คุณก็รู้ว่าใคร" ก็ไม่อาจห้ามพวกเขาร็อคได้ !Shadow Gallery - Tyrannyคงไม่ต้องอธิบายมาก (เพราะผมเคยเขียนถึงอัลบั้มนี้เมื่อนานมาแล้วใน Weekend) แต่สิ่งที่น่ากลัวที่สุดของรัฐบาลเผด็จการคือคำว่า "ความมั่นคง"สั้น ๆ ง่าย ๆ ได้ใจความ Sleater-Kinney - The Woodอัลบั้มนี้ผมก็เคยเขียนถึงไปแล้วเช่นกัน (ใน Weekend นั่นแล) พูดถึง Censorship แล้วจะโทษจะแขวะกองเซ็นเซอร์ฝ่ายเดียวก็กระไรอยู่ ในเมื่อบางครั้ง กระบวนการในการผลิตดนตรีนี่แหละที่เซ็นเซอร์ตัวเอง บ้างก็มาจากตัวศิลปินเองที่จงใจทำ แต่หลายต่อหลายครั้งที่มันเกิดจากโปรดิวเซอร์หรือไม่ก็เหตุผลทางธุรกิจSleater-Kinney เป็นวง "สาวขบถ" ที่เขียนถึงเรื่อง gender บ้าง เรื่องทั่วไปบ้าง และที่เว้นไม่ได้ก็เรื่องการเมือง (เพราะการเมืองอยู่รอบตัวเรา...ไม่สิ ! มันอยู่แม้แต่ในตัวเรา)วิธีการเซ็นเซอร์ทางอ้อมอีกแบบหนึ่งที่รัฐจะทำคือกันผู้คนให้ออกจากการสำนึกรู้ทางการเมือง ทำให้มันเป็นเรื่องสกปรก ทำให้คนไม่อยากยุ่ง แล้วชนชั้นนำ (ผู้มีคุณธรรมสาด ๆ) ก็จะขอเล่นกับสิ่งสกปรกนี้ด้วยตัวเอง พลเมืองที่ไม่เข้มแข็งก็จะถูก "ผู้มีคุณธรรม" ทั้งหลายคอนโทรลได้ง่าย ผ่านทางวาทกรรมและอะไรซับซ้อนต่าง ๆและที่เขียนมายึดยาวเพื่อที่จะบอกว่า เมื่อวง Sleater-Kinney ได้ย้ายมาสู่ค่ายเพลงที่ใหญ่ขึ้น เพื่อที่จะทำ The Wood ให้มีระบบบันทึกเสียงที่ดีขึ้น แต่พวกเธอกลับถูกโปรดิวเซอร์เตือนเรื่องเพลงเกี่ยวกับการเมือง ดูเหมือนค่ายใหญ่ ๆ จะพยายามลี้หนีจากการเมืองเสียเหลือเกิน (โดยเฉพาะในบ้านเรา)แต่พวกคุณเธอ Sleater-Kinney ก็ตอกกลับท่านโปรดิวเซอร์แบบอ้อม ๆ ในเพลงที่ชื่อ Entertain พูดถึงการที่พวกเธอโดนสั่งให้ปิดปากแล้วเล่นดนตรีเพื่อ "ความบันเทิง" เท่านั้น อย่าได้ยุ่งกับ "จอห์นนี่ถือปืนไปรบ" เชียว เพราะมันเสียว (ว่าจะมีโทรศัพท์จาก กรมกอง อะไรสักอย่างนี้) เหลือเกิ้นนนนน 
ประชาไทไนท์
คำเตือน: โปรดอ่านให้จบก่อน (ตัดสินใจ) ดูคลิป ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2550 เป็นต้นมาไม่รู้ว่าชะตากรรมของ 'แจ๊คผู้ฆ่ายักษ์ (เขียว) ตาเดียว' ในค่ำคืน 'ประชาไทไนท์' เป็นอย่างไรกันบ้างแล้ว?***ที่รู้ๆ ก็คือว่า นับจากวันนั้นการเซ็นเซอร์และการปิดกั้นหนทางเข้าถึงข้อมูลข่าวสารออนไลน์ยังคงเกิดขึ้นพ.ร.บ.การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้อย่างจริงจังรัฐเข้ามาควบคุมและจัดระเบียบพื้นที่ออนไลน์โดยใช้อำนาจ 'จัดการ' ในสิ่งที่รัฐเห็นว่าไม่ถูกไม่ควร'ตาทิพย์' สีเขียวคอยเฝ้าดูการกระทำและความเป็นไปของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วประเทศ*** เมื่อเห็นใครกำลังออกนอกลู่นอกทาง ดวงตาเขียวๆ ดวงนั้นจะตามไปสิงสถิตที่หน้าจอคอมพิวเตอร์***เชื่อว่านักเล่นเน็ตหลายคน 'เข้าใจ' ในความหวังดีของรัฐแต่หลายคนยังคงสงสัยว่าอะไรคือ 'มาตรฐาน' หรือ 'หลักเกณฑ์' ในการชี้วัดที่รัฐใช้เพื่อที่จะบอกว่าอะไรถูก-อะไรผิด-อะไรเป็นเรื่องต้องห้าม***แน่นอนว่า-ท่ามกลางกระแสอันเชี่ยวกรากของข้อมูลข่าวสารที่ทะลักล้นเรื่องราวเลวร้าย-มอมเมา-ยั่วยุ-บ่อนทำลาย ก็คงไหลบ่ามาพร้อมๆ กันแต่ถ้ารัฐเคารพในสิทธิและวิจารณญาณของนักเล่นเน็ตก็น่าจะคอยสอดส่องดูแลแต่เพียงห่างๆ รวมถึงใช้ช่องทางแห่งกฎหมายอย่างเข้าอกเข้าใจในธรรมชาติของโลกอินเตอร์เน็ต***คลิปวิดีโอของแจ๊คหมายเลข 1 (จอน อึ๊งภากรณ์) เรานำมาโพสต์ประเดิมกันที่นี่คงมีแง่มุมอะไรให้ถกเถียงเปิดประเด็นกันได้อีกเยอะ***แต่ก่อนที่จะตัดสินว่าสิ่งที่ปรากฎอยู่ในคลิปนี้คือเรื่องเลวทรามต่ำช้าโปรดพิจารณาให้ถี่ถ้วนเมื่อมี 'คำเตือน' โผล่ขึ้นมาในช่วงจังหวะหนึ่งของคลิปเราเชื่อว่าทุกคนมีสิทธิ์ 'เลือก' ว่าจะดูหรือไม่ดูคลิปนี้ต่อแต่ถ้าใครเลือกที่จะ 'ดู' ก็ต้องยอมรับในสิ่งที่ได้รับรู้ไปแล้วด้วย***หลังจากดูจบแล้ว...ลองตอบอย่างตรงไปตรงมาด้วยก็แล้วกันว่ามาตรฐานทาง 'ศีลธรรม' ของแต่ละคนลดลง-เพิ่มขึ้น-หรือเท่าเดิม?