Skip to main content
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
ฆูณุงจไร เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยใหม่ เชื่อว่า เป็นถิ่นฐานบ้านเกิดของเผ่าพันธุ์ตน กล่าวกันว่า ถึงแม้ ชาวอูรักลาโว้ยจะเดินทางท่องไปในทะเลกว้าง จากอันดามันจรดช่องแคบมะละกา ไม่มีหลักแหล่งแห่งที่ที่แน่นอน แต่ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ฆูณุงจไรได้เชื่อมเอาดวงวิญญาณแห่งความถวิลถึงกันและกันเอาไว้ ฆูณุงจไร ในความหมายนี้ คือ ยอดเขาบนเกาะแห่งหนึ่งในรัฐเคดาห์หรือเมืองไทรบุรี ประเทศมาเลเซีย ซึ่งมองเห็นได้ในระยะไกลจากท้องทะเล ก่อนจะอพยพมาตั้งถิ่นฐานบนดินแห้งในแถบอันดามัน หลังการแผ่ขยายอิทธิพลของศาสนาอิสลาม...โดยเฉพาะบนเกาะลันตาที่เคยได้ชื่อว่า เมืองหลวงของชาวน้ำน้ำทะเลแหวกเป็นสายเมื่อ Speed Boat ขนาดบรรทุก 30 คน เริ่มแผดคำรามเสียง หลังจากแวะรับเพื่อนร่วมทางอีกจำนวนหนึ่ง เราทุกคนตื่นเต้นที่ได้อยู่บนท้องน้ำสีเขียวและใต้ท้องฟ้าสีน้ำเงินมันน่าตื่นเต้นชะมัด การดำน้ำแบบ Snorkel เป็นทางเลือกง่ายๆ ที่ทำให้เราจมดิ่งไปกับโลกใต้ทะเลบริเวณหมู่เกาะรอกอยู่ห่างจากเกาะลันตา ๓๐ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดย Speed Boat ๔๕ นาที ในบางกรณี หากต้องการตั้งแคมป์บนเกาะก็สามารถติดต่อเรือหัวโทงของชาวบ้านได้เกาะรอกในและเกาะรอกนอก มีชายหาดยาวสีขาว (รับรองว่าขาว) น้ำทะเลสีครามสลับเนินเขาสีเขียวและตัวเงินตัวทอง นักดำน้ำจะได้แวะพักกินข้าวเที่ยงและนอนอาบแดดบนเกาะ Package นี้ในอัตรา 1,500 บาท/หัว แต่เพื่อนฝูงบนเกาะติดต่อให้เราได้ในอัตราหัวละ 1,000 บาท, Ha a Ha a“พี่ ไม่ดำน้ำหรือ” รุ่นน้องคนหนึ่งเอ่ยถาม ก่อนพยายามสวมหน้ากากดำน้ำ“เอ่อ ผมว่ายน้ำไม่เป็น” ผมยืนยัน“มีชูชีพนะพี่” รุ่นน้องยังรบเร้า“เออ มีชูชีพก็จม”…    ประวัติศาสตร์ของเกาะลันตาถูกบันทึกเอาไว้ 3 ช่วงเวลาก่อนปี 2500 เป็นช่วงเวลาของความสงบง่ายตามแบบชาวน้ำ หากจะมีการติดต่อค้าขายกับแผ่นดินใหญ่บ้างก็เป็นการติดต่อค้าขายทางเรือกับสิงค์โปร์หรือปีนัง ช่วง 2500-2530 เป็นช่วงกลางที่เกาะลันตามีการติดต่อกับแผ่นดินใหญ่มากขึ้น ทั้งตัดถนนภายในเกาะและทำแพขนานยนต์เพื่อเชื่อมเกาะ,และยุคปัจจุบันที่ธุรกิจท่องเที่ยวเฟื่องฟู โดยหน่วยงานราชการเป็นตัวเชื่อมโครงสร้างระบบอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเต็มรูปแบบ จากนั้นมา ชาวไทยใหม่(อูรักลาโว้ย) ที่บ้านสังกาอู้ บ้านหัวแหลมและบ้านในไร่-คลองดาว จึงเป็นผู้เฝ้ามองอย่างไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรกับชีวิต...Same same but different เป็นบาร์ริมหาดคืนวันของการเฉลิมฉลองปีใหม่ เวทีดนตรีรูปโดมถูกก่อสร้างขึ้นอย่างละเมียดและมีรสนิยม ตัวเวทีหันหลังให้ชายหาดและท้องทะเลสีดำสนิท ท่ามกลางความมืดของกลางคืน แสงไฟนวลๆ จากบาร์อื่นๆ กระพริบเห็นเป็นจุดจุดอยู่ทั่วหาด นักแสวงสุขหลายคนทั้งชายหญิงยืนเคล้าคลอเคลีย โอนอ่อนไปตามจังหวะและเสียงดนตรี Reggae & blues ที่รุมเร้า ทว่านุ่มนวลนักท่องเที่ยวจากชาวเอเชียซดเบียร์สิงห์จากขวด พร้อมส่ายสะโพกซ้ายขวาเห็นเป็นเงาๆ อยู่หน้าเวทีใกล้กับหนุ่มสาวคู่หนึ่งซึ่งจูบกันอย่างดูดดื่มออกรสออกชาติ (เขาและเธอจูบกันอยู่อย่างนั้นทั้งคืน) ขณะหญิงไทยล่ำสันคนนั้นขึ้นเวทีโชว์พลังเสียงอย่างถึงอกถึงอารมณ์พวกเราเริ่มออกวิ่งเป็นวงกลม วนไปรอบๆ เวทีรูปโดม ราวกับลัทธิบูชาไฟของอินเดียนแดงบางเผ่าในอเมริกาใต้และป้องปากตะโกน Eivaaaaaa ...กลางคืนสำหรับนักแสวงสุขยังยืดยาวและไร้จุดจบ ,ไม่มีใครอยากให้มันจบชายหนุ่มผมหยิกหยอง ริมฝีปากหนา ตาโปน ผิวน้ำตาลเข้ม รูปร่างหนา ในเสื้อกางเกงลายดอกจากหมู่บ้านสังกาอู้หยิบเบียร์ให้แขกชาวเกาหลีคนนั้น ,เธอโปรยรอยยิ้มหยาดเยิ้มกลับไปให้เขา...สำหรับใครบางคน เกาะลันตา คือ จุดจบทางวัฒนธรรมชาวเลสำหรับใครอีกหลายคน เกาะลันตา คือ จุดเริ่มต้นของการแปลงวัฒนธรรมเป็นทุนสำหรับผม ..ผม HANG!!!...ขอบคุณความเอื้อเฟื้อของเพื่อนๆ ทุกคนบนเกาะลันตา น้อง,พี่เบียร์,นุช,ยันนี่,กร,บัง,สาวๆ แห่งร้านโทเก้ ดีไซน์และพี่โทนี่กะภรรยาครับ ถ่ายบริเวณบ้านหัวแหลม บนสะพานที่เป็นจุดชมวิว บ้านเรือนที่มองเห็นเป็นของชาวน้ำที่ปรับตัวเองเป็นร้านอาหารและเกสต์เฮ้าส์ ราคาแบ็กแพ็กเกอร์(คลิกดูภาพขนาดใหญ่) เปรียบเทียบเรือหัวโทงกับเรือใบชนิด 2 ใบเรือ เรือหัวโทง เครื่องมือยังชีพของชาวน้ำที่เป็นมากกว่าบ้าน ในอิริยาบถต่างๆ ทั้งหมดถ่ายที่บ้านหัวแหลม ถนนภายในเกาะ ชาวบ้านที่นี่ก็เหมือนกับชาวปักษ์ใต้ทั่วไปที่นิยมเลี้ยงนกหัวจุก ท้องฟ้า หาดทราย ชายทะเล ในมุมและเวลาต่างๆ ทั้ง 3 ภาพ กร ช่างภาพแห่งโทเก้ ดีไซน์ เป็นคนถ่าย ค่อยๆ ดูนะครับ สีสันสวยดี ส่วนภาพก่อนนี้ ไม่ได้มีเจตนาใดใดหรอกครับ เชื่อผมดิ !!
กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เชื่อกันว่า ช่วงเวลาระหว่าง 200-500 ปี ชาวไทยใหม่อูรักลาโว้ยหรือโอรังละอุตจากดินแดนฆูณุงจไร เดินทางมาตั้งถิ่นฐานบนเกาะลันตา จนหลายสิบปีต่อมา เมื่อคนจากแผ่นดินใหญ่หลั่งไหลมาถึง พร้อมเปิดศักราชใหม่ของการท่องเที่ยว เกาะลันตาที่เคยสงบสันโดษกลับกลายเป็นดินแดนแห่งสีสัน...เฉดสีต่างๆ ถูกละเลงโดยนักแสวงสุขมากหน้า...ท้องฟ้าสีฟ้าเบื้องหน้าหัวเรือข้ามเกาะดูเจิดจ้า จากท่าเรือคลองจิหลาด จ.กระบี่ ข้ามไปเกาะลันตาถึงท่าศาลาด่านใช้เวลาเกือบ 2 ชั่วโมง ในอัตรา 350 บาท/หัว ภายใต้ท้องฟ้าและผืนน้ำสีเขียวคราม หลายคนรวมทั้งผมและเพื่อนนับสิบ ตัดสินใจไปละเลงชีวิตช่วงปีใหม่ที่เกาะลันตา...หากใครเคยเที่ยวช่วงปีใหม่คงจะรู้ดีเป็นอย่างยิ่งว่า นอกจาก ต้องฝ่าฝูงชนที่คราคร่ำในสถานีขนส่ง (กรณีนี้สายใต้) แล้ว ยังต้องผจญกับความผันผวนของราคาตั๋ว ตารางเวลาเดินรถและอัตราค่าบริการอันแพงหูฉี่ของห้องพักช่วง Hi Season ... แต่โชคดีที่มีเพื่อนเราอยู่บนเกาะ...เกาะลันตา เป็นหนึ่งในหมู่เกาะ 53 เกาะ เรียงรายขนานกับแผ่นดินใหญ่บนฝั่งทะเลอันดามัน ‘ลันตา’ เป็นชื่อใหม่ที่เรียกกัน เพี้ยนมาจากคำว่า ‘ลานตา’ เพราะหากมองเข้ามายังเกาะจะเห็นชายหาดเรียงรายหรือเพราะเกาะลันตาเป็นที่อยู่อาศัยของชนหลายชาติ ชาวไทยใหม่ ไทยพุทธ ไทยมุสลิมและชุมชนจีนชาวอูรักลาโว้ยให้ชื่อหมู่เกาะแห่งนี้ว่า ‘ปูเลาตอข้า’ หมายถึง ‘เกาะที่มีหาดทรายทอดตัวเป็นแนวยาว’ ชาวมลายูมุสลิม เรียก ‘ลันต๊าสหรือลันตัส’ หมายถึง ‘แผงหรือร้านสำหรับตากหรือย่างปลา’ สำหรับ ชาวจีน เรียก ‘ลุนตั๊ดซู่’ หมายถึง ‘เกาะที่มีภูเขาเป็นแนวยาวมองเห็นได้แต่ไกล’…หาดทรายสีขาวโพลนสะท้อนประกายแดดเจิดจ้า ดูดูแล้วเกาะลันตาในยุคของการท่องเที่ยวครอบครองพื้นที่ทุกตารางเมตร ไม่ได้แตกต่างไปจากอุทยานการท่องเที่ยวแห่งอื่นๆ หมายความถึง นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ หัวสีทองและหัวสีดำ ทั้งผิวขาวและผิวคล้ำ เกลื่อนหาดผมนัดตัวเองพบกับเพื่อนๆ ที่โอโซน บาร์ ในร่มชายคาของต้นมะพร้าวและหูกวางขนาดยักษ์ที่ยื่นล้ำออกมาริมหาด นักท่องเที่ยวผมสีทองบางคนกำลังหลับอาบแดด คาดว่า เค้าคงไม่เคยเจอแดดใสใสสักเท่าไรนัก ดนตรี Reggae แว่วมากระทบโสตพร้อมๆ กับเสียงคลื่นกระทบฝั่งเบียร์ขวดแรกถูกเปิดพร้อมกับความสนุกสนานที่จะตามมาอีกหลายระลอก...เกาะลันตาถูกถากถางเส้นทางเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวมาตั้งแต่ก่อนเหตุการณ์สึนามิ ในฐานะ ‘ไข่มุกเม็ดสุดท้ายแห่งทะเลอันดามัน’ แต้มโฉมหน้าให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับหรู เปิดพื้นที่การลงทุน ทั้งผู้ประกอบการรายใหญ่ รายย่อย ทั้งกลุ่มคนบนเกาะและกลุ่มนักลงทุนต่างชาติคือ ความหมายของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่สมบูรณ์แบบ ,ด้วยธรรมชาติที่งดงามและต้องสะดวกสบาย ,เกาะลันตาจึงถูกกล่าวถึงในฐานะแหล่งปะการัง ประเพณีเขเรือ รีสอร์ท&สปา อินเทอร์เน็ตคาเฟ่ บาร์ริมหาดและดนตรี reggae & blues...ผมเริ่มโยกตัวไปตามจังหวะดนตรี ลมเย็นจากทะเลพัดเข้าหาฝั่ง เฉดสีส้มเหลืองแดงของพระอาทิตย์กำลังจางลงไปยังผืนทะเลเบื้องล่าง ขับเน้นเงาดำๆ ของนักท่องเที่ยวที่เดินอยู่ริมหาดและไกลออกไปเรือใบขนาดสองใบเรือเห็นเป็นเงาตะคุ่มๆ กำลังเคลื่อนที่ไปอย่างช้าๆ ที่ริมขอบฟ้าตัดกับเฉดสีส้ม“ต่อกันที่ไหนดี” ดูเหมือนใครคนหนึ่งจะเร่งเร้าสำหรับความมันส์ที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่วินาทีข้างหน้า“คืนนี้ชิลก่อน เดี๋ยวพรุ่งนี้ต้องไปดำน้ำ” อีกคนวางโครงร่างคร่าวๆ“ต่อที่ไหน” ใครถามผมชักไม่แน่ใจ“Go Dive ร้านดำน้ำ” เพื่อนบนเกาะว่า“แล้วเข้านอนแต่หัวค่ำนะ”“เออ ก_ จะคอยดู”...ขอบคุณความเอื้อเฟื้อของเพื่อนๆ ทุกคนบนเกาะลันตา น้อง,พี่เบียร์,นุช,ยันนี่,กร,บัง,สาวๆ แห่งโทเก้ ดีไซน์และพี่โทนี่กะภรรยา ครับ บริเวณเกาะรอกในและนอก จะมีจุดช่องเขาขาด ทางออกสู่ทะเลเปิด น้ำสีเขียวครามอย่างที่เห็น (คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)ครอบครัวนี้มาพร้อม speed boat ลำของเรา น้องในภาพ ชื่อ ซันนี่ไม่ได้ดำน้ำก้อถ่ายภาพปลาบนผิวน้ำภาพนี้ถ่ายที่บ้านหัวแหลม เด็กชาวน้ำกำลังเล่นน้ำ หาดทรายสีทอง ส่วนตัวผม ลายสี...ชาวน้ำบ้านหัวแหลม คุณยายกำลังเดินกลับจากไร่แบกพร้าเล่มเขื่อง ทำเอาผมต้องแอบถ่ายอบอุ่นดีครับสระน้ำหรูของ ลาส บีช รีสอร์ทหลายเฉดสียามย่ำสนธยาสองภาพสุดท้ายเป็นภาพที่ กร ช่างภาพแห่งโทเก้ ดีไซน์ ถ่ายไว้