ฆูณุงจไร เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวไทยใหม่ เชื่อว่า เป็นถิ่นฐานบ้านเกิดของเผ่าพันธุ์ตน กล่าวกันว่า ถึงแม้ ชาวอูรักลาโว้ยจะเดินทางท่องไปในทะเลกว้าง จากอันดามันจรดช่องแคบมะละกา ไม่มีหลักแหล่งแห่งที่ที่แน่นอน แต่ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ฆูณุงจไรได้เชื่อมเอาดวงวิญญาณแห่งความถวิลถึงกันและกันเอาไว้
ฆูณุงจไร ในความหมายนี้ คือ ยอดเขาบนเกาะแห่งหนึ่งในรัฐเคดาห์หรือเมืองไทรบุรี ประเทศมาเลเซีย ซึ่งมองเห็นได้ในระยะไกลจากท้องทะเล ก่อนจะอพยพมาตั้งถิ่นฐานบนดินแห้งในแถบอันดามัน หลังการแผ่ขยายอิทธิพลของศาสนาอิสลาม
...โดยเฉพาะบนเกาะลันตาที่เคยได้ชื่อว่า เมืองหลวงของชาวน้ำ
น้ำทะเลแหวกเป็นสายเมื่อ Speed Boat ขนาดบรรทุก 30 คน เริ่มแผดคำรามเสียง หลังจากแวะรับเพื่อนร่วมทางอีกจำนวนหนึ่ง เราทุกคนตื่นเต้นที่ได้อยู่บนท้องน้ำสีเขียวและใต้ท้องฟ้าสีน้ำเงิน
มันน่าตื่นเต้นชะมัด การดำน้ำแบบ Snorkel เป็นทางเลือกง่ายๆ ที่ทำให้เราจมดิ่งไปกับโลกใต้ทะเลบริเวณหมู่เกาะรอกอยู่ห่างจากเกาะลันตา ๓๐ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดย Speed Boat ๔๕ นาที ในบางกรณี หากต้องการตั้งแคมป์บนเกาะก็สามารถติดต่อเรือหัวโทงของชาวบ้านได้
เกาะรอกในและเกาะรอกนอก มีชายหาดยาวสีขาว (รับรองว่าขาว) น้ำทะเลสีครามสลับเนินเขาสีเขียวและตัวเงินตัวทอง นักดำน้ำจะได้แวะพักกินข้าวเที่ยงและนอนอาบแดดบนเกาะ Package นี้ในอัตรา 1,500 บาท/หัว แต่เพื่อนฝูงบนเกาะติดต่อให้เราได้ในอัตราหัวละ 1,000 บาท, Ha a Ha a
“พี่ ไม่ดำน้ำหรือ” รุ่นน้องคนหนึ่งเอ่ยถาม ก่อนพยายามสวมหน้ากากดำน้ำ
“เอ่อ ผมว่ายน้ำไม่เป็น” ผมยืนยัน
“มีชูชีพนะพี่” รุ่นน้องยังรบเร้า
“เออ มีชูชีพก็จม”
…
ประวัติศาสตร์ของเกาะลันตาถูกบันทึกเอาไว้ 3 ช่วงเวลา
ก่อนปี 2500 เป็นช่วงเวลาของความสงบง่ายตามแบบชาวน้ำ หากจะมีการติดต่อค้าขายกับแผ่นดินใหญ่บ้างก็เป็นการติดต่อค้าขายทางเรือกับสิงค์โปร์หรือปีนัง ช่วง 2500-2530 เป็นช่วงกลางที่เกาะลันตามีการติดต่อกับแผ่นดินใหญ่มากขึ้น ทั้งตัดถนนภายในเกาะและทำแพขนานยนต์เพื่อเชื่อมเกาะ
,และยุคปัจจุบันที่ธุรกิจท่องเที่ยวเฟื่องฟู โดยหน่วยงานราชการเป็นตัวเชื่อมโครงสร้างระบบอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเต็มรูปแบบ จากนั้นมา ชาวไทยใหม่(อูรักลาโว้ย) ที่บ้านสังกาอู้ บ้านหัวแหลมและบ้านในไร่-คลองดาว จึงเป็นผู้เฝ้ามองอย่างไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรกับชีวิต
...
Same same but different เป็นบาร์ริมหาด
คืนวันของการเฉลิมฉลองปีใหม่ เวทีดนตรีรูปโดมถูกก่อสร้างขึ้นอย่างละเมียดและมีรสนิยม ตัวเวทีหันหลังให้ชายหาดและท้องทะเลสีดำสนิท ท่ามกลางความมืดของกลางคืน แสงไฟนวลๆ จากบาร์อื่นๆ กระพริบเห็นเป็นจุดจุดอยู่ทั่วหาด นักแสวงสุขหลายคนทั้งชายหญิงยืนเคล้าคลอเคลีย โอนอ่อนไปตามจังหวะและเสียงดนตรี Reggae & blues ที่รุมเร้า ทว่านุ่มนวล
นักท่องเที่ยวจากชาวเอเชียซดเบียร์สิงห์จากขวด พร้อมส่ายสะโพกซ้ายขวาเห็นเป็นเงาๆ อยู่หน้าเวทีใกล้กับหนุ่มสาวคู่หนึ่งซึ่งจูบกันอย่างดูดดื่มออกรสออกชาติ (เขาและเธอจูบกันอยู่อย่างนั้นทั้งคืน) ขณะหญิงไทยล่ำสันคนนั้นขึ้นเวทีโชว์พลังเสียงอย่างถึงอกถึงอารมณ์
พวกเราเริ่มออกวิ่งเป็นวงกลม วนไปรอบๆ เวทีรูปโดม ราวกับลัทธิบูชาไฟของอินเดียนแดงบางเผ่าในอเมริกาใต้และป้องปากตะโกน Eivaaaaaa ...
กลางคืนสำหรับนักแสวงสุขยังยืดยาวและไร้จุดจบ ,ไม่มีใครอยากให้มันจบ
ชายหนุ่มผมหยิกหยอง ริมฝีปากหนา ตาโปน ผิวน้ำตาลเข้ม รูปร่างหนา ในเสื้อกางเกงลายดอกจากหมู่บ้านสังกาอู้หยิบเบียร์ให้แขกชาวเกาหลีคนนั้น ,เธอโปรยรอยยิ้มหยาดเยิ้มกลับไปให้เขา
...
สำหรับใครบางคน เกาะลันตา คือ จุดจบทางวัฒนธรรมชาวเล
สำหรับใครอีกหลายคน เกาะลันตา คือ จุดเริ่มต้นของการแปลงวัฒนธรรมเป็นทุน
สำหรับผม ..ผม HANG!!!
...
ขอบคุณความเอื้อเฟื้อของเพื่อนๆ ทุกคนบนเกาะลันตา น้อง,พี่เบียร์,นุช,ยันนี่,กร,บัง,สาวๆ แห่งร้านโทเก้ ดีไซน์และพี่โทนี่กะภรรยาครับ
เปรียบเทียบเรือหัวโทงกับเรือใบชนิด 2 ใบเรือ
เรือหัวโทง เครื่องมือยังชีพของชาวน้ำที่เป็นมากกว่าบ้าน ในอิริยาบถต่างๆ ทั้งหมดถ่ายที่บ้านหัวแหลม
ถนนภายในเกาะ ชาวบ้านที่นี่ก็เหมือนกับชาวปักษ์ใต้ทั่วไปที่นิยมเลี้ยงนกหัวจุก
ท้องฟ้า หาดทราย ชายทะเล ในมุมและเวลาต่างๆ ทั้ง 3 ภาพ กร ช่างภาพแห่งโทเก้ ดีไซน์ เป็นคนถ่าย ค่อยๆ ดูนะครับ สีสันสวยดี
ส่วนภาพก่อนนี้ ไม่ได้มีเจตนาใดใดหรอกครับ เชื่อผมดิ !!