Skip to main content
ประสาท มีแต้ม
ผมเองไม่ใช่นักกฎหมาย แต่ได้ให้ความสนใจอย่างจริงจังในประเด็นพลังงานทั้งเรื่อง ปตท. และการไฟฟ้า ทั้งการเคลื่อนไหวเรื่องพลังงานหมุนเวียนมานานกว่า 10 ปีหลังคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด (14 ธันวาคม) ในอีก 2 วันทำการต่อมารัฐบาลก็ได้ผ่านมติวิธีการจัดการรวมทั้งการคิดค่าเช่าท่อก๊าซฯให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล โดยใช้เวลาพิจารณาเพียง 10 นาที สร้างความกังขาให้กับสังคมไทยเป็นอย่างมากประเด็นที่ผมสนใจในที่นี้มี 3 เรื่องดังต่อไปนี้หนึ่ง คำพิพากษาของศาลฯที่ว่า “การใช้อำนาจมหาชนของรัฐ” ในกรณีการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาตินั้นควรจะครอบคลุมไปถึงไหน  ในฐานะที่ไม่ใช่นักกฎหมาย ผมขอสรุปคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดตามความเข้าใจของผมว่า ในขณะที่ ปตท. ยังไม่ได้แปรรูปนั้น  ปตท. มีสถานะเป็นองค์กรของรัฐ   ได้ใช้อำนาจมหาชนของรัฐ ดำเนินกิจการวางท่อก๊าซเพื่อผลประโยชน์ของรัฐ   ในการนี้ ปตท.  ได้ใช้อำนาจดังกล่าวเวนคืนที่ดินของเอกชนจำนวน 32 ไร่  (ซึ่งทางรัฐบาลชุดนี้บอกว่ามีมูลค่า 7 ล้านบาท)  เมื่อสถานะของ ปตท. เปลี่ยนไปเป็นองค์กร “นิติบุคคลเอกชน”   ศาลจึงมีคำวินิจฉัยว่าต้องโอนที่ดินส่วนที่เคยเป็นของเอกชน (และท่อก๊าซที่วางอยู่บนที่ดิน)   กลับไปเป็นของรัฐดังเดิม ให้เหมือนกับก่อนที่  ปตท.  จะแปรรูปผมสงสัยว่า  ทำไมรัฐบาลชุดนี้จึงตีความ “อำนาจมหาชนของรัฐ” เฉพาะบนที่ดินของเอกชนดังกล่าวเท่านั้น ในเมื่อท่อก๊าซได้วางอยู่บนที่ดินของสาธารณะ เช่น ทะเล ป่าไม้ ทางหลวงแผ่นดิน เขตสายส่งไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้นการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน รัฐบาลก็ได้ใช้ “อำนาจมหาชนของรัฐ” เวนคืนที่ดินของเอกชนมาเหมือนกันโดยเหตุผลเพื่อผลประโยชน์ของสาธารณะ ต่อมาเมื่อมีการวางท่อก๊าซ (เช่นท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย)    ทาง ปตท.  ก็ได้ใช้ “อำนาจมหาชนของรัฐ”  ขอวางท่อก๊าซไปตามแนวทางหลวงแผ่นดิน   เมื่อสถานะของ ปตท. เปลี่ยนไปเป็นองค์กร “นิติบุคคลเอกชน” แล้ว สิทธิการใช้ที่ดินแนวทางหลวงแผ่นดินก็น่าจะหมดไปด้วยการวางท่อก๊าซในทะเล ก็เช่นเดียว  เป็นการใช้ “อำนาจมหาชนของรัฐ” ไปรอนสิทธิ์การทำประมงและการเดินเรือของประชาชนเหมือนกัน   เอกชนรายใดก็ตามไม่สามารถสร้างสิ่งปลูกสร้างลงไปในทะเลหรือแม่น้ำได้ (ตามตัวบทกฎหมายนะครับ)ในกรณี ท่อก๊าซไทย-พม่า ก็เป็นการใช้ “อำนาจมหาชนของรัฐ”   ใช้ที่ป่าไม้ พื้นที่อนุรักษ์ที่เป็นสมบัติของสาธารณะด้วยเหมือนกัน เท่าที่ผมทราบ ท่อก๊าซเกือบทุกสายในประเทศไทย ต่างก็วางอยู่บนที่ดินของสาธารณะทั้งสิ้น จะมียกเว้นบ้างก็คือท่อก๊าซจากโรงแยกก๊าซจะนะ ไปยังโรงไฟฟ้าสงขลาที่กำลังก่อสร้างอยู่ในขณะนี้  ท่อก๊าซสายนี้มีการซื้อขายที่ดินเพื่อวางท่อ ไม่ใช่การเวนคืนโดยใช้ “อำนาจมหาชนของรัฐ” แต่อย่างใดดังนั้น ผมเข้าใจว่าระบบท่อส่งก๊าซเกือบทั้งหมดจึงควรเป็นของรัฐ  ไม่ใช่เฉพาะที่วางอยู่บนที่ดินที่ได้เวนคืนมาจากเอกชนจำนวน 32 ไร่เท่านั้น  มูลค่าท่อก๊าซที่จะต้องโอนกลับไปเป็นของรัฐไม่ใช่แค่ 14,000 ล้านบาท ตามที่รัฐบาลสรุป แต่น่าจะเป็นท่อก๊าซเกือบทั้งหมดซึ่งมีมูลค่านับแสนล้านบาทการตีความคำพิพากษาเพียงตื้นๆ ชั้นเดียวแบบนี้ น่าจะไม่ถูกต้องและสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงให้แก่รัฐนะครับสอง ผมเห็นว่า นับจากวันแปรรูป (ตุลาคม 2544) จนถึงวันที่ศาลตัดสิน (2550) ผลประโยชน์ที่ได้จากกิจการท่อก๊าซ หรือค่าผ่านท่อทั้งหมด หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วควรจะตกเป็นของรัฐทั้งหมด รวมทั้งค่าเสียโอกาสและค่าดอกเบี้ยย้อนหลังด้วยไม่ใช่เป็นการคิดค่าเช่าในอัตรา 5% ของรายได้ ตามที่รัฐบาลชุดนี้มีมติทั้งนี้เพราะ ปตท. (ใหม่) ไม่ทำตามมติของคณะกรรมการนโนบายพลังงานแห่งชาติที่มีมติให้แยกกิจการท่อก๊าซออกมาก่อนการแปรรูปเรื่องรายได้เกี่ยวกับท่อก๊าซ  บริษัท ปตท. ต้องเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดให้สาธารณะได้รับทราบ  อย่างไรก็ตามจากเอกสาร  “คู่มือการคำนวณอัตราค่าผ่านท่อ” ( 7 พฤศจิกายน 2539 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ)  ทำให้เราทราบได้ว่า(1) ปตท. คิดผลตอบแทนการลงทุน (หรือ IRR) ในอัตรา 18% ต่อปี  นักเศรษฐศาสตร์คนหนึ่งให้ความหมายอย่างง่าย ๆ ว่า    ถ้า ปตท. ต้องกู้เงินมาลงทุนในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี  กิจการนี้ก็จะคุ้มทุนพอดี  แต่ถ้ากู้มาในอัตราที่น้อยกว่า เช่น  ถ้ากู้เงินมาในอัตราดอกเบี้ย 8%ต่อปี ก็หมายความว่า ปตท. มีกำไร 10% โดยประมาณ แล้วในความเป็นจริง ปตท. กู้เงินมาลงทุนในอัตราเท่าใดกันแน่ และใช้เงินลงทุนของตนเองจำนวนกี่เปอร์เซ็นต์  เรื่องนี้ต้องตรวจสอบได้  เท่าที่ผมทราบ ปตท. มักใช้เงินลงทุนของตนเองประมาณ 25%(2) จากคู่มือดังกล่าว ทำให้สามารถคำนวณได้ว่าในปี 2539 มูลค่าก๊าซที่ผ่านท่อทั้ง 3 โซนมีจำนวน 24,003 ล้านบาท  ปตท. ได้ค่าผ่านท่อทั้งหมด 6,646 ล้านบาท หรือพอประมาณได้ว่า ปตท.คิดค่าผ่านท่อในอัตรา 28% ของมูลค่าก๊าซที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นผู้จ่ายปลายทาง(3) จากข้อมูลในเว็บไซต์ของกระทรวงพลังงานพบว่า ในช่วงหลังการแปรรูป (ตุลาคม 2544 ถึง 2550)  มูลค่าก๊าซทั้งหมดประมาณ 3.5 แสนล้านบาท  ถ้าคิดค่าผ่านท่อในอัตรา 28% ของมูลค่าก๊าซ ค่าผ่านท่อก็ประมาณ  98,000  ล้านบาทค่าผ่านท่อจำนวนนี้ เมื่อหักค่าใช้จ่ายร้อยละ 3 ของเงินลงทุนโครงการ และค่าอื่นๆ แล้วที่เหลือควรจะตกเป็นของรัฐทั้งหมด ในโทษฐานที่ ปตท. เบี้ยวมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติที่ให้แยกกิจการท่อก๊าซออกมาก่อนตั้งแต่ต้นสาม ผมเห็นว่า เมื่อระบบท่อก๊าซ (เกือบทั้งหมด) ตกเป็นของรัฐ ตามเหตุผลที่กล่าวแล้ว รัฐจึงควรจะต้องจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล ขึ้นมา  คราวนี้รัฐบาลมีอำนาจต่อรองในการหาผู้เช่ารายใหม่และการคิดค่าเช่าด้วย คงไม่ใช่ร้อยละ 5 ตามที่ “รัฐบาลขิงแก่” ได้อนุมัติไปแล้ว ผมคิดว่ากระทรวงการคลังอาจจะให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (องค์กรนิติบุคคลมหาชนของรัฐ) เช่าก็ได้ เพราะเป็นผู้รับซื้อก๊าซปลายทางอยู่แล้วจากการศึกษาของกลุ่มพลังไทยพบว่า ทุกๆ หนึ่งร้อยบาทที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตขายไฟฟ้าได้เงินจะเข้าสู่ ปตท. ประมาณ 43 บาท ในจำนวนนี้เป็นค่าผ่านท่อเสียประมาณ 12 บาท (ตามข้อมูลข้างต้นที่กล่าวแล้ว)เราคงจำกันได้ในกรณีที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตอนนั้นมีการเสนอแยกเขื่อนออกมาเป็นสมบัติของกระทรวงการคลัง (เหมือนกับการแยกท่อส่งก๊าซออกจากกิจการ ปตท. ในตอนนี้)  แล้วให้บริษัท กฟผ. จำกัด (ที่กำลังจะแปลงร่างเป็นองค์กรนิติบุคคลเอกชนในขณะนั้น) เป็นผู้เช่าที่น่าเศร้าแต่ไม่น่าแปลกใจก็คือ มีการเสนอค่าเช่าเขื่อนในราคาที่คิดออกมาแล้วไร่ละไม่กี่บาทต่อปีคราวนี้สังคมไทยจะต้องหาวิธีการป้องกันอย่างไรไม่ให้เหตุการณ์เช่นนั้นต้องเกิดขึ้นมาอีก มาวันนี้สังคมไทยต้องตั้งคำถามบ้างแล้วละครับว่า ในปัจจุบันมีธุรกิจใดบ้างที่มีผลตอบแทนสูงถึง 18% ต่อปี เพื่อนฝูงผมคนหนึ่งที่ทำธุรกิจคอมพิวเตอร์บอกว่า หากได้ผลตอบแทนถึง 5 % ก็นับว่าดีมากแล้วกิจการ ปตท. เป็นกิจการผูกขาดแล้วยังมากำหนดผลตอบแทนสูงถึงขนาดนี้ มันผิดทั้งหลักธรรมาภิบาลและผิดทั้งคุณธรรมอย่างน่าละอายมาก ก่อนการแปรรูป ปตท. มีกำไรปีละไม่ถึง 2 หมื่นล้านบาท แต่ในช่วงหลังนี้ ปตท. กลับมีกำไรสูงถึงเกือบ 1 แสนล้านบาทต่อปี ท่ามกลางความเดือดร้อนของประชาชนที่ต้องซื้อพลังงานในราคาแพง  ระวังนะครับ ถ้าทุกอย่างยังเป็นเช่นนี้ต่อไป สักวันหนึ่งสังคมไทยจะทนไม่ไหว 
ประสาท มีแต้ม
การแปรรูป ปตท. คือการปล้นประชาชน! ในช่วง ๓-๔ ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศกำลังเดือดร้อนกับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นเกือบสองเท่าตัว แต่บริษัทน้ำมันต่างๆในประเทศไทยกลับมีกำไรเพิ่มสูงขึ้นมากกว่านั้นในบทนี้ จะกล่าวถึงกิจการของบริษัท ปตท. จำกัดมหาชน และบริษัทอื่นๆบ้าง โดยย่อๆ เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้๑. บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน ได้แปรรูปมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔  ตอนเริ่มต้นการแปรรูป กระทรวงการคลังถือหุ้น ๖๙% ปัจจุบันเหลือเพียง ๕๒.๔๘%ดังนั้น กำไรของ ปตท. ซึ่งเดิมเคยตกเป็นของรัฐทั้งหมด ๑๐๐% ก็จะเหลือเพียงตามสัดส่วนที่รัฐถือหุ้น  คงจำกันได้นะครับว่า หุ้น ปตท. ขายหมดในเวลา ๑ นาที ๑๗ วินาที โดยมีนักการเมืองที่เรารู้จักกันดีจำนวนไม่กี่คนและนอมินีที่เราไม่รู้จักอีกจำนวนหนึ่งได้หุ้นไปถือครอง๒. ในปี ๒๕๔๘  มูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบทั้งประเทศเท่ากับ ๖๔๔,๙๓๓ ล้านบาท [1]  แต่เฉพาะกิจการโรงกลั่นน้ำมันในเครือของ ปตท. และของบริษัทเอสโซ่ RPC, TPI ฟาดกำไรรวมกันถึงประมาณ ๑๑๐,๓๓๒ ล้านบาท  คิดเป็น  ๑๗.๑%   สำหรับข้อมูลค่าการกลั่น ผมได้มาจากการบรรยายของคุณโสภณ สุภาพงศ์ และตรวจสอบกับเอกสารของ บริษัท ปตท. จำกัดด้วย พบว่ามีรายละเอียดตรงกัน๓. ในปี ๒๕๔๕ ค่าการกลั่นน้ำมันอยู่ที่อัตรา ๒.๖ ดอลลาร์ต่อบาเรลล์  แต่ได้เพิ่มเป็น 3.4, 7.5 และ 7.7  ดอลลาร์ต่อบาเรลล์  ในปี พ.ศ.  2546,2547 และ  2549  ตามลำดับ [2]๔. ก่อนการแปรรูป ปตท. มีกำไรสุทธิประมาณ ๑ หมื่นล้านบาทต่อปี (ปี ๒๕๔๓) ในปี ๒๕๔๘ บริษัท ปตท. มีกำไรสุทธิ ๘๕,๕๒๑  ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๔๖ ถึง ๓๖% กำไรต่อหุ้น ๓๐.๕๗ บาท โดยมีกำไรก่อนหักภาษี ๑๑๔,๐๔๕ ล้านบาท (ที่มา รายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2549)   ในช่วง ๙ เดือนแรกของปี ๒๕๔๙ บริษัท ปตท. มีกำไรก่อนหักภาษี ๑๑๒, ๒๙๙ ล้านบาท   ถ้าจะประมาณการอย่างคร่าวๆ   โดยใช้ข้อมูลของปีก่อน   คาดว่า กำไรก่อนหักภาษีของปี ๒๕๔๙   น่าจะประมาณ  ๑๔๗,๔๐๐  ล้านบาท   และกำไรสุทธิก็คงจะประมาณ ๑๐๓,๐๐๐ ล้านบาท๕. ในปี ๒๕๔๘  ร้อยละ ๘๑ ของกำไรของบริษัท ปตท. มาจากกิจการก๊าซธรรมชาติ (คือส่วนที่เขียนว่า Gas และ PTTEP ในรูปข้างล่าง) ที่เป็นดังนี้เพราะเป็นกิจการผูกขาดรายเดียวในประเทศไทย   ก่อนการแปรรูป ปตท. เคยสัญญาในหนังสือเชิญชวนว่า จะแยกกิจการท่อก๊าซฯออกมา แต่จนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่มีการแยก๖. ก่อนการแปรรูป พนักงาน ปตท. มีรายได้เฉลี่ยคนละ  ๘๑๐,๐๐๐ บาทต่อปี  ในปี ๒๕๔๗ กลายเป็น ๑,๓๒๐,๐๑๓ บาทต่อปี๗. ในปี ๒๕๔๗ มีการประชุมคณะกรรมการทั้งหมด ๑๓ ครั้ง  ซึ่งคณะกรรมการคนหนึ่งจะได้เงินจากการประชุมเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า  ๔๗,๐๐๐ บาท / ครั้ง รายนามคณะกรรมการ ปรากฏตามเอกสารข้างล่างนี้1.นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ (ประธาน)          ปลัดกระทรวงพลังงาน2.นายมณู เลียวไพโรจน์          ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม3.พลตำรวจเอก สันต์ ศรุตานนท์          ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ4.นายพละ สุขเวช          อดีตผู้ว่า ปตท., กรรมการ กฟผ.5.นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์          ปลัดกระทรวงยุติธรรม6.นายพิษณุ สุนทรารักษ๋          อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์7.นายจักราวุธ ศัลยพงษ์          วิศวกรอาวุโส,ที่ปรึกษาบริหารบริษัท อินเตอร์เอนจิเนียริ่งมาเนจเมนท์8.นายโอฬาร ไชยประวัติ          กรรมการบริษัทชินคอร์ป, นายกสภามหาวิทยาลัยชินวัตร9.นายชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์          เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีการ10.นายสันทัด สมชีวิตา          ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี11.นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ          อธิบดีกรมธนารักษ์12.พลเอก ชัยศึก เกตุทัต          ที่ปรึกษานายกฯ13.นายเมตตา บันเทิงสุข          ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและพลังงาน14.นายประพันธ์ นัยโกวิท          รองอัยการสฃูงสุด15.นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์          ผู้จัดการใหญ่ ปตท. ๘.  กลุ่มพลังไทย ซึ่งเป็นกลุ่มนักวิชาการอิสระได้สรุปเรื่องการแปรรูปได้ว่า จากเรื่องราวทั้ง ๘ ข้อที่กล่าวมาแล้ว  คงเป็นการตอกย้ำถึงความจำเป็นในการร่วมกันสร้างนโยบายสาธารณะด้านพลังงาน ความไม่รู้ และความเฉยเมยของผู้บริโภค คือเหยื่ออันโอชะของพ่อค้าพลังงาน หมายเหตุเพื่อความสมบูรณ์ของบทความนี้ ท่านผู้อ่านควรย้อนไปอ่านบทความเรื่อง “ความเคลื่อนไหวด้านพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญในระดับโลก:  ตัวอย่างของ  The Tipping Point”   ซึ่งเคยเสนอในประชาไทนานมาแล้ว  ----------[1]  สถานการณ์พลังงาน, กระทรวงพลังงาน[2]  ข้อมูลจากคุณโสภณ สุภาพงศ์  อดีต ส.ว.