Skip to main content

นายยืนยง


บทความนี้เกิดจากการรวบรวมกระแสคิดที่มีต่อกวีนิพนธ์ไทยในรุ่นหลัง เริ่มนับจากกวีนิพนธ์แนวเพื่อชีวิตมาถึงปัจจุบัน  และให้น้ำหนักเรื่อง
กวีกับอุดมคติทางกวีนิพนธ์


กวีนิพนธ์ในยุคเพื่อชีวิต ถูกทำให้สาธารณชนจดจำได้เป็นภาพชัดเจนทั้งตัวกวีและผลงาน เพราะส่วนหนึ่งเนื่องมาจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการทางประวัติศาสตร์การเมืองในพ.ศ.2516 , พ.ศ. 2519 และ พ.ศ.2535 และสถานการณ์ดังกล่าวได้สร้างให้สาธารณชนรู้จักกวีในภาพของ กลุ่มคนที่ยึดมั่นในอุดมคติซึ่งกล่าวได้ว่า กวีนิพนธ์ในยุคนั้นได้สร้างกระแสความคิด สร้างอุดมการณ์ทางการเมืองให้กับสาธารณชน ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งในการปลุกกระตุ้นให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์การเมือง

จะเห็นได้ว่า ทั้งตัวกวีและผลงานต่างก็ถูกจดจำในภาพของ
กลุ่มคนที่ยึดมั่นในอุดมคติ และ กวีนิพนธ์ในอุดมคติ ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า ตัวกวีและผลงานต่างถูกมองเป็นสัญลักษณ์ในทางเดียวกัน ซึ่งมีน้ำหนักมากพอที่จะทำให้สาธารณชนถือว่า ตัวกวีและผลงานเป็นกลุ่มคนที่มีอุดมคติซึ่งสร้างสรรค์ผลงานกวีนิพนธ์อันเปี่ยมด้วยอุดมคติ

ข้อเท็จจริงที่กวีสมมุติขึ้นในการสร้างสรรค์กวีนิพนธ์


ในยุคเพื่อชีวิต กวีนิพนธ์ที่อยู่ในกระแสส่วนใหญ่เป็นกวีนิพนธ์ที่มองโลกอย่างที่เป็นข้อเท็จจริง ตามสถานการณ์จริงที่กำลังดำเนินอยู่ บริบทอื่น ๆ ที่อยู่นอกเหนือกวีนิพนธ์จึงถูกอ่านไปพร้อมกับกวีนิพนธ์ด้วย ทำให้สาธารณชนไม่รีรอที่จะสรุปว่า ตัวกวีกับผลงานไม่อาจแยกแยะออกจากกันได้ ยกเว้นบางกรณีเท่านั้น 


ดังนั้นเราจึงได้เห็นว่า บางครั้ง บทกวีการเมืองที่เราไปรู้มาว่ากวีตั้งใจเขียนเพื่อส่งเสริมอุดมการณ์ทางเมืองที่เขาศรัทธา จะเป็นบทกวีที่ดีขึ้นมาได้

ปัจจุบันนักวิจารณ์ต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่า ผู้เล่า ในวรรณกรรมนั้นไม่อาจที่จะถือว่าเป็นคนเดียวกับผู้แต่งจริง กวีคือคน ๆ หนึ่งที่สื่อสารกับหลายคน แต่สื่อสารโดยใช้เรื่องสมมุติ บทกวีประเภทลำนำทั้งหลายเขียนเป็นบทรำพึงความในใจทั้ง ๆ ที่ต้องการให้คนจำนวนมากรับรู้ เราสงวนคำว่า ผู้เล่า นี้ไว้ใช้ในกรณีที่เห็นชัดว่าผู้เล่าไม่ใช่คนเดียวกับผู้แต่ง (จากย่อหน้าที่ขีดเส้นใต้ คัดลอกมาจากหนังสือ ว่าด้วยหลักวรรณคดีวิจารณ์ แปลจาก An Essay on Criticism by Graham Hough,1973 แปลโดย นฤมล กาญจนทัต และ อุบลวรรณ โชติวิสิทธิ์)

จากย่อหน้าข้างต้น จะเห็นได้ว่า กวีมองโลกอย่างที่เป็นข้อเท็จจริงตามสถานการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ เพื่อสร้างสรรค์บทกวีขึ้นมา แต่จะเป็นไปได้หรือที่กวีจะมองเห็นข้อเท็จจริงในทุกด้านทุกแง่มุมตามข้อเท็จจริงที่กำลังดำเนินอยู่ ฉะนั้นกวีนินพนธ์ในยุคนี้แม้จะถูกขึ้นในสถานการณ์ที่เป็นจริง แต่กวีนิพนธ์ย่อมตกอยู่ในขอบเขตของ
เรื่องสมมุติ อยู่นั่นเอง ทั้งนี้ เรื่องสมมุติ ดังกล่าวที่กวีสร้างสรรค์ขึ้นจากประสบการณ์จริงหรือจากโอกาสของตนเองนั้น ก็หาใช่ชีวประวัติของกวีเองทั้งหมด

จึงกล่าวได้ว่า การอ่านกวีนิพนธ์ในยุคเพื่อชีวิต เราจะต้องสงวนบูรณภาพของบทกวีเพื่อไม่ให้บทกวีกลายเป็นชีวประวัติของกวี แต่การอ่านกวีนิพนธ์โดยไม่คำนึงถึงกวีเลยก็ไม่อาจเป็นไปได้ด้วยเช่นกัน 


และอาจกล่าวได้อีกว่า สถานการณ์ทางการเมืองในยุคที่ผ่านมา ไม่อาจสร้างวีรบุรุษกวีหรือวีรสตรีกวีได้ นอกเสียจากมันได้สร้างอุดมคติของกวีนิพนธ์ไว้ให้กวีรุ่นหลังต่อมา


ดังนั้นความรู้สึกที่จะเรียกร้องให้บรรดากวีเดือนตุลาในอดีตทั้งหลาย ก้าวออกมามีส่วนร่วมในขบวนการทางเมืองของวันนี้ จึงเป็นการกระทำที่ไร้วุฒิภาวะ


อุดมคติอันเป็นมรดกตกทอด


ในยุคเพื่อชีวิต เป็นยุคที่กวีนิพนธ์มองโลกอย่างที่เป็นข้อเท็จจริงตามสถานการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ เพื่อแสดงศีลธรรมชุดหนึ่งในปรากฎขึ้น ในการที่จะสร้างสรรค์สังคมอุดมคติ กลวิธีนี้ถูกเรียกว่า สัจจะนิยมหรืออัตนิยม


สังคมในอุดมคติดังกล่าวถูกสร้างขึ้นในความรู้สึกของผู้อ่านผ่านวรรณกรรมหลายประเภท ทั้งเรื่องสั้น นวนิยาย รวมทั้งกวีนิพนธ์ด้วย เนื่องจากวรรณกรรมเหล่านั้นได้แสดงถึงศีลธรรมชุดดังกล่าว


ขณะเดียวกัน มันก็ได้ส่งทอดอุดมคติมาสู่วรรณกรรมด้วย กล่าวคือ วรรณกรรมจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อมันกล่าวถึงอุดมคติ


เท่ากับเป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่ในการอ่านกวีนิพนธ์ให้กับสาธารณชน เช่น กวีนิพนธ์ที่แสดงออกถึงความคิดทางการเมืองในการจะล้มล้างรัฐทหารนั้นมีคุณค่าควรแก่การอ่านมากกว่า กวีนิพนธ์ที่แสดงออกถึงพลังของประชาชนนั้นมีคุณค่าแก่การอ่านมากกว่าเนื่องจากมันได้สร้างพื้นที่ของประชาธิปไตยลงในประชาชน และเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า อุดมคติดังกล่าวได้แปรสภาพเป็นอุดมคติของชนชั้นกลางไปด้วย


อาจกล่าวได้ว่า กวีนิพนธ์ยุคเพื่อชีวิตได้สถาปนาศีลธรรมชุดหนึ่งให้กับกวีนิพนธ์ คือ กวีนิพนธ์ที่แท้นั้นต้องแสดงออกถึงทัศนะทางการสังคมการเมืองในอุดมคติ หรือชี้ให้เห็นหนทางของชีวิตที่ดีงาม หรือชีวิตจะดีได้สังคมต้องดีควบคู่กันไปด้วย เท่ากับว่าอุดมคติดังกล่าวได้สร้างเส้นแบ่งระหว่างกวีนิพนธ์ที่ทรงคุณค่ากับกวีนิพนธ์ที่ไร้คุณค่าออกจากกัน


และศีลธรรมชุดนี้ก็เป็นมรดกตกทอดอันหนึ่งของสังคมกวีนิพนธ์ในยุคต่อมา


ท่าทีต่อต้านที่เป็นมรดกอีกกองหนึ่ง


ในยุคหลังเพื่อชีวิตมาแล้ว นอกจากกวีนิพนธ์จะมีเนื้อหาในทางสังคมการเมืองแล้ว เราจะเห็นว่ากวีนิพนธ์ในยุคดังกล่าวได้แสดงบทบาทการวิพากษ์วิจารณ์ปรากฎการณ์ต่าง ๆ ในสังคมด้วยท่าทีที่เป็นปฏิปักษ์ เป็นศัตรูซึ่งกันและกัน ยกตัวอย่างเช่น ศัตรูของประชาชนคือเผด็จการทหาร รวมไปถึงการต่อต้านลัทธิบริโภคนิยม และจักรวรรดิอเมริกา ทำให้กวีนิพนธ์ในยุคนี้ต่างตั้งตัวเป็นศัตรูกับชาติตะวันตกอย่างอเมริกา 


มีบทกวีที่วิพากษ์วิจารณ์ และมีปฏิกิริยาต่อต้านทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นสัญลักษณ์ของลัทธิบริโภคนิยม อเมริกา รวมถึงสัญลักษณ์ของการล่าอาณานิคมรูปแบบใหม่ ที่แผ่ขยายอิทธิพลมาทางกระแสวัฒนธรรม


อุดมคติของกวีนิพนธ์อันเป็นมรดกตกทอดจากยุคเพื่อชีวิต ที่มีศัตรูเป็นเผด็จการหรืออำนาจปกครองจึงได้แปรสภาพมาเป็นลัทธิบริโภคนิยม ซึ่งตอนนั้นค่านิยมของชนชั้นกลางที่ยึดถืออุดมคติของกวีนิพนธ์ในยุคเพื่อชีวิตได้หันมาต้อนรับโลกเสรีนิยมแบบอเมริกากันอย่างแพร่หลาย กวีนิพนธ์ที่มีเนื้อหาต่อต้านลัทธิบริโภคนิยมจึงไม่ได้ทำหน้าที่สร้างอุดมคติใหม่สนองชนชั้นกลางอย่างเดียว แต่ทำหน้าที่ต่อต้านสิ่งที่ชนชั้นกลางแสวงหา


เช่นนี้เท่ากับว่า อุดมคติของกวีนิพนธ์ยุคเพื่อชีวิตที่เทศนาให้ชนชั้นกลางมุ่งสร้างสรรค์สังคมที่ดีขึ้น มุ่งไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า และมีความเป็นเสรีประชาธิปไตยมากขึ้น กลับมาขัดแย้งกับอุดมคติของกวีนิพนธ์ในยุคหลังเพื่อชีวิต ที่วิพากษ์วิจารณ์ค่านิยมของชนชั้นกลางซึ่งดำเนินชีวิตตามเงื่อนไขของอุดมคติในยุคเพื่อชีวิตอย่างว่านอนสอนง่าย

ท่าทีต่อต้านลัทธิบริโภคนิยมของกวีนิพนธ์ในยุคหลังนี้ มักถูกสร้างขึ้นด้วยมุมมองแบบข้อเท็จจริงผสมผสานกับการใช้ อำนาจพิเศษบางอย่าง ที่เสมือนหนึ่งว่ามันดำรงอยู่ในตัวตนของกวีมาช้านาน ตรงนี้น่าสังเกตว่า นอกจากกวีจะถูกยกย่องให้เป็นวีรบุรุษกวีหรือวีรสตรีกวีอย่างหลงงมงายจากสาธารณชนแล้ว กวียังถูกยกย่องให้เป็นชนชั้นพิเศษแบบหนึ่ง ที่ไม่เพียงมี ปมพลังอิสระ (autonomous complex) อย่างที่ยุง (Jung) อธิบายไว้ แต่กวียังมีญาณทัศน์ที่พิเศษว่า ยังมีการกล่าวอย่างกว้างขวางด้วยว่า กวีมีนัยน์ตาพิเศษ อีกด้วย ดังนั้นแล้วกวีนิพนธ์ในยุคนี้จึงแสดงออกอย่างชัดเจนในการที่จะวิพากษ์วิจารณ์ หรือทำนายทายทักเหตุการณ์ในอนาคตว่าบริโภคนิยมอันชั่วร้ายนั้นจะทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง พวกเขาได้ชี้ถูกชี้ผิด แม้กระทั่งพิพากษาชะตากรรมของลัทธิบริโภคนิยม ซึ่งกวีมองว่าชนชั้นกลางกำลังลุ่มหลงมัวเมาอยู่ภายใต้อิทธิพลของลัทธิดังกล่าว

กวีนิพนธ์ในยุคนี้อาจถูกมองอย่างหมางเมินจากชนชั้นกลางไประยะหนึ่ง แต่เมื่อญาณทัศน์ของกวีที่มองเห็นผลร้ายของปีศาจบริโภคนิยม เริ่มปรากฎเป็นขึ้นเป็นที่ประจักษ์แก่สังคม โดยเฉพาะสังคมเมืองหลวง ซึ่งก็เท่ากับเป็นการตอกย้ำอีกว่า กวีเป็นชนชั้นพิเศษอยู่ไม่เปลี่ยนนั่นเอง ชนชั้นกลางที่หมางเมินกวีนิพนธ์ก่อนหน้านี้น่าจะกลับมาสนใจกวีนิพนธ์อย่างว่านอนสอนง่ายเหมือนในอดีต ซึ่งชนชั้นกลางก็ยังเป็นกลุ่มคนที่ว่านอนสอนง่ายเหมือนเดิม แต่พวกเขาย่อมไม่อาจแสร้งตาบอดได้ เมื่อชนบทในฝันได้เปลี่ยนไปแล้ว


เนื่องจากกวีนิพนธ์ในยุคนี้ส่วนใหญ่มีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์และต่อต้าน รวมถึงพิพากษา โดยพยายามโน้มน้าวผู้อ่านให้คล้อยตามอุดมคติของกวีนิพนธ์ แต่กวีคงหลงคิดไปว่า การมองโลกด้วยมุมมองแบบข้อเท็จจริงที่นำมาสร้างสรรค์เป็น
เรื่องสมุมติเพื่อเทศนาให้สาธารณชนคล้อยตาม และนำมาใช้จริงในชีวิตนั้น เป็นการกระทำที่เลินเล่ออย่างยิ่ง และงมงายอย่างยิ่ง

เพราะขณะที่กวีโน้มน้าวชนชั้นกลางในเมืองกรุงให้หันกลับมาใช้ชีวิตแบบธรรมชาตินิยม ให้โหยหาและกลับมาสู่ชีวิตแบบเงียบสงบในชนบท ผ่านกระบวนการสร้างภาพพจน์ของชนบทที่เปี่ยมไปด้วยมนต์เสน่ห์ต่าง ๆ นานาในกวีนิพนธ์นั้น กวีคงมองโลกชนบทผ่านญาณทัศน์ที่ผิดพลาดว่า ขณะเมืองกรุงคลั่งลัทธิบริโภคนิยม ชนบทจะยังงดงามผุดผาดดั่งในอดีตอันแสนหวาน

เมื่อกวีนิพนธ์ไร้ทางออก หนทางใหม่คือ เดินทางเข้าสู่ข้างใน


หลังจากยุคที่กวีนิพนธ์ต่างมุ่งเน้นในการต่อต้านลัทธิบริโภคนิยมแล้วแต่ประสบปัญหาคือ ไร้ทางออก 
แต่พื้นที่สร้างสรรค์กวีนิพนธ์หาได้แช่ค้างไว้ เราจะเห็นว่ามีกวีนิพนธ์ที่ได้กล่าวถึงและแสดงออกถึงคุณค่าที่แท้จริงของชีวิต ซึ่งก็เท่ากับว่า กวีนิพนธ์ยังคงดำรงไว้ซึ่งอุดมคติ ในการที่จะแสดงออกถึงความดีงามสูงส่งเหมือนในยุคก่อน ๆ

สังเกตว่า กวีนิพนธ์ในยุคนี้ได้แตกย่อยออกมาอย่างหลากหลายมากขึ้น มีทั้งแนวอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แนวแสวงหาความสุขทางจิตวิญญาณ รวมถึงแนวธรรมะ และน่าสนใจตรงนี้ว่า เนื้อหาของกวีนิพนธ์ในแนวทางต่าง ๆ ดังกล่าวนั้น ต่างก็เป็น
สาร ที่มีคุณค่าอันดีงามอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว กล่าวคือ แนวคิดอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นแนวคิดที่ดีอยู่ในตัวเอง หากไม่มีการเขียนบทกวีกระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์ ก็ยังมีกลุ่มคนที่มีแนวคิดเช่นนี้อยู่ มีการดำเนินการที่เป็นกระบวนการอยู่แล้ว หากไม่มีบทกวีที่แสดงออกถึงแนวคิดอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แนวคิดนี้ก็ดำเนินอยู่ได้ รวมไปถึงแนวธรรมะ หรือข้อคิดปรัชญา ซึ่งล้วนดำรงอยู่ได้โดยปราศจากวีนิพนธ์

การที่กวีนิพนธ์ไปจับ
สาร เหล่านั้นมาแสดงออกนั้น จะถือเป็นการกระทำตามความเคยชิน หรือเป็นท่าทีของกวีในอุดมคติที่จำเป็นต้อง สร้างสรรค์กวีนิพนธ์เพื่อแสดงออกถึงความดีงามสูงส่ง ถ้ากล่าวเช่นนี้ จะถือเป็นสัญชาตญาณการเอาตัวรอดของกวีนิพนธ์ได้หรือไม่

สรุป


จะเห็นได้ว่า ในยุคเพื่อชีวิตและหลังเพื่อชีวิตมานั้น กวีนิพนธ์ถูกเขียนขึ้นเพื่อแสดงออกถึงความดีงามสูงส่งเป็นสำคัญ ดังนั้น กวีจึงมีความสัมพันธ์กับอุดมคติทางกวีนิพนธ์อย่างคล้อยตาม และยึดมั่นในอุดมคติเสมอมาไม่เปลี่ยน


แต่สิ่งที่จะกล่าวต่อไปในบทความตอนต่อไป จะเป็นการให้น้ำหนักความสัมพันธ์ระหว่างตัวกวีกับผลงานกวีนิพนธ์ ว่าทั้งสองส่วนนี้เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน หรือเป็นไปในทางตรงกันข้าม และส่งผลต่อการอ่านกวีนิพนธ์ของสาธารณชนอย่างไร โดยจะมุ่งเน้นไปถึงกวีที่นำมาหลักพุทธธรรมที่มีคุณค่าอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว มาแสดงออกผ่านกวีนิพนธ์ของเขา.

 

 

บล็อกของ สวนหนังสือ

สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : ถอดรหัสอ่านเร็ว HI-SPEED READING ผู้แต่ง : ลุงไอน์สไตน์ พิมพ์ครั้งที่ 1 : สำนักพิมพ์บิสคิต ตุลาคม 2551
สวนหนังสือ
นายยืนยงชื่อหนังสือ           :           824ผู้เขียน               :           งามพรรณ เวชชาชีวะประเภท              :           นวนิยาย  พิมพ์ครั้งที่ 2 มีนาคม 2552จัดพิมพ์โดย        :      …
สวนหนังสือ
ป่านนี้แล้ว (พ.ศ. 2552) ใครไม่เคยได้ยินเสียงขู่ หรือคำร้องขอเชิงคุกคามให้ร่วมชุบชูจิตวิญญาณสีเขียว ให้ร่วมรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน ให้ตระหนักในปัญหาวิกฤตอาหารถาวร โดยเฉพาะปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย ฉันว่าคุณคงมัวปลีกวิเวกนานเกินไปแล้ว
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : ลิงหลอกเจ้า ลอกคราบวัตถุนิยมทางศาสนา ผู้เขียน : เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช ผู้แปล : วีระ สมบูรณ์ และ พจนา จันทรสันติ จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง พิมพ์ครั้งแรก : ตุลาคม พ.ศ.2528   เวลานี้เราต้องยอมรับเสียแล้วละว่า หนังสือธรรมะ เป็นหนังสือแนวสาระที่ติดอันดับขายดิบขายดี และมีทีท่าว่าจะคงกระแสความแรงอย่างต่อเนื่องอีกด้วย   เดี๋ยวนี้ ฉันเจอใครเข้า เขามักสนทนาประสาสะแบบปนธรรมะนิด ๆ มีบางคนเข้าขั้นหน่อย ก็เทศน์ได้ทุกสถานการณ์ อย่างนี้ก็มี ไม่แน่ว่าถ้าคนนิยมอ่านหนังสือธรรมะกันหนาตาเข้า สังคมไทยอาจแปรสภาพเป็นสังคมแห่งนักบวชนอกเครื่องแบบก็เป็นได้…
สวนหนังสือ
  เรียน คุณสุชาติ สวัสดิ์ศรี บรรณาธิการ ช่อการะเกด ที่นับถือฉันผู้ใช้นามแฝงว่า นายยืนยง คนเขียนคอลัมน์ สวนหนังสือ ในเว็บไซต์ประชาไท ที่มีบทความชื่อ ช่อการะเกด 45 เวลาช่วยให้อะไร ๆ ดีขึ้นจริงหรือ? อยู่ในรายการของบทความทั้งหมด ได้อ่าน กถาบรรณาธิการ ใน ช่อการะเกด 47 ฉบับวางแผงปัจจุบันแล้ว ทราบว่าคุณสุชาติ บรรณาธิการนิตยสารเรื่องสั้นช่อการะเกดได้ให้ความสนใจต่อบทความนี้ ฉันในนามของนายยืนยงจึงเขียนจดหมายแล้วจัดพิมพ์ส่งตู้ ป.ณ. 1143 เพื่อเล่าถึงความเป็นมาคร่าว ๆ…
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ :       เดอะซีเคร็ต ผู้เขียน :            รอนดา เบิร์นผู้แปล :             จิระนันท์ พิตรปรีชาพิมพ์ครั้งที่ 54 :  มีนาคม 2551จัดพิมพ์โดย :    สำนักพิมพ์อมรินทร์
สวนหนังสือ
ใกล้เปิดภาคเรียนใหม่ ปีการศึกษา 2552 แล้ว ภายใต้นโยบายเรียนฟรี 15 ปี ของรัฐบาลนี้ ถ้าใครได้ดูทีวีคงได้เห็นข่าวประชาสัมพันธ์ หรือได้เห็นสำนักข่าวไปสัมภาษณ์ผู้ปกครองที่ได้รับเงินอุดหนุนค่าเครื่องแบบนักเรียนแล้วไปเลือกซื้อชุดนักเรียนให้ลูก ๆ เป็นที่น่าชื่นอกชื่นใจสำหรับคนเป็นพ่อแม่ที่มีโอกาสเป็นครั้งแรกในการได้รับ "ของฟรี" จากรัฐบาล แม้จะไม่สามารถซื้อได้ครบทั้งชุดก็ตาม เช่น นักเรียนประถม 5 ได้รับเงินเพื่อการนี้คนละ 360 บาทต่อปี คือ 2 ภาคเรียน ๆ ละ 180 บาท บางคนอาจจะได้กางเกงนักเรียน 1 ตัว และ ถุงเท้า 1 คู่ ก็ยังดีฟะ.. กำขี้ดีกว่ากำตดไม่ใช่เรอะ
สวนหนังสือ
นายยืนยง   นิตยสารรายเดือน             :           ควน ป่า นา เล  4 เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ตั้งแต่ปลายมีนาคมจนถึงวันนี้ 9 เมษายน ฉันอาศัยทีวีและหนังสือพิมพ์ อันเป็นสื่อกระแสหลักที่นำเสนอข่าวสารที่เป็นกระแสหลัก คือ ข่าวการเมือง เหมือนกับทุกครั้งที่อุณหภูมิการเมืองเดือดขึ้น ฉันดูข่าวเกินพิกัด อ่านหนังสือพิมพ์จนแว่นมัวหมอง ตื่นระทึกไปกับทุกจังหวะก้าวย่างของมวลชนเสื้อแดง มีอารมณ์ร่วมกับภาคการเมืองส่วนกลางในฐานะผู้เสพข่าวสารเท่านั้นเองจริง ๆ เท่านั้นเองไม่มากกว่านั้น …
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : เราติดอยู่ในแนวรบเสียแล้ว แม่มัน! วรรณกรรมการเมืองรางวัลพานแว่นฟ้า ครั้งที่ 6 จัดพิมพ์โดย : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พิมพ์ครั้งแรก : กันยายน 2551 ก่อนอื่นขอแจ้งข่าว เรื่องวรรณกรรมการเมือง รางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี 2552 นี้ สักเล็กน้อย งานนี้เป็นการจัดประกวดครั้งที่ 8 เปิดรับผลงานวรรณกรรมการเมือง 2 ประเภท คือ เรื่องสั้น และ บทกวี ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 2552
สวนหนังสือ
นายยืนยง   ชื่อหนังสือ : เด็กเก็บว่าว The Kite Runner ผู้เขียน : ฮาเหล็ด โฮเซนี่ ผู้แปล : วิษณุฉัตร วิเศษสุวรรณภูมิ ประเภท : นวนิยาย พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม พ.ศ.2548 จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์ The One Publishing เด็กเก็บว่าว นวนิยายสัญชาติอเมริกัน-อัฟกัน ขนาดสี่ร้อยกว่าหน้า ที่โปรยปก มหัศจรรย์แห่งนวนิยายที่สร้างปรากฏการณ์ปากต่อปากจนติดอันดับเบสต์เซลเลอร์ เล่มนี้ กล่าวถึงเรื่องราวของอะไรหรือ ทำไมผู้คนจึงให้ความสนใจกับมันมากมายนัก ฉันถามตัวเองก่อนจะหยิบมันมาอ่าน
สวนหนังสือ
นายยืนยง ชื่อหนังสือ : อ่าน (ไม่) เอาเรื่อง ผู้เขียน : ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ประเภท : วรรณกรรมวิจารณ์ พิมพ์ครั้งแรก พฤษภาคม 2545 จัดพิมพ์โดย : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ การตีความนัยยะศัพท์แสงทางวรรณกรรมจะว่าเป็นศิลปะแห่งการเข้าข้างตัวเอง ก็ถูกส่วนหนึ่ง ความนี้น่าจะเชื่อมโยงกับเรื่อง “รสนิยมส่วนตัว” หรือ อัตวิสัย หากมองในแง่ดี เราจะถือเป็นบ่อเกิดของกระบวนการสร้างสรรค์ได้ด้วย มิใช่หรือ
สวนหนังสือ
นายยืนยงเมื่อการอ่านประวัติศาสตร์ อันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตนั้น ฉันว่าควรมีการเขียนหนังสือแนะนำ (How to) เป็นขั้นเป็นตอนเลยจะดีกว่าไหม เพราะมันนอกจากจะปวดเศียรเวียนเกล้ากับผู้แต่งแต่ละท่านแล้ว (ผู้แต่งบางท่านก็ชี้ชัดลงไปเลย เจตนาจะเข้าข้างฝ่ายไหน แต่บางท่านเน้นวิเคราะห์วิจารณ์ โดยที่หากผู้อ่านมีความรู้เชิงประวัติศาสตร์น้อยกว่าหางอึ่งอย่างฉัน ต้องกลับไปลงทะเบียนเรียนวิชานี้อีกหลายเล่ม) ยังทำให้ใช้เวลาอย่างมหาศาลไปกับหนังสือที่เกี่ยวเนื่องกันอีกหลายเล่ม ไม่เป็นไร ๆ เราไม่ได้อ่านเพื่อพิพากษาใครเป็นถูกเป็นผิดมิใช่หรือ อ่านเพื่อได้อ่าน แบบกำปั้นทุบดินก็ไม่เสียหายอะไรนี่นา…