Skip to main content
หากจะเอ่ยชื่อคีตกวีชื่อดังของศตวรรษที่ 19-20 แล้ว คนๆ หนึ่งที่เราจะไม่พูดถึงเป็นไม่ได้อันขาดคือเดบูซี่ผู้ได้ชื่อว่ามีแนวดนตรีแบบอิมเพรสชั่นนิสต์ (Impressionism) และแน่นอนว่าดนตรีแนวนี้ย่อมได้รับอิทธิพลจากศิลปะภาพวาดของฝรั่งเศสซึ่งโด่งดังในศตวรรษที่ 19 โดยมีโมเนต์และมาเนต์เป็นหัวหอก เพลงของเดบูซี่จึงอ่อนโยน นุ่มนวล แต่บางครั้งก็ดูสับสนจากการแหกกรอบของดนตรียุคก่อนหน้านี้เหมือนดนตรีดังกล่าวมิผิดเพี้ยน ส่วนคตีกวีในยุคใกล้เคียงกันที่ถูกจัดให้อยู่ในตระกูลเดียวกันได้แก่เมอริซ ราเวล์
 
เดบูซี่ (อ่านเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า เดอบื่อซี่ แต่ขอเรียกชื่อเป็นสำเนียงอังกฤษ) มีชื่อเต็มว่า Achille-Claude Debussy เกิดเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ปี 1862 ที่เมืองแซงต์ เชอร์แมง อัง ลาเยซึ่งอยู่ไม่ห่างจากกรุงปารีสมากนัก ที่บ้านเปิดร้านขายถ้วยชามที่เป็นกระเบื้องเคลือบ นอกจากนี้บิดาของเขายังทำงานสารพัดอย่าง ไม่ว่าเซลล์แมนหรือเสมียน ส่วนมารดารับจ้างเย็บผ้าและเอาใจพร้อมเลี้ยงดูเดบูซี่อย่างมากทำให้วัยเด็กของเขาเป็นช่วงที่มีความสุข และเป็นครูสอนดนตรีคนแรกที่ค้นพบพรสวรรค์ทางดนตรีของเขา ครูสอนดนตรีท่านนี้นามว่า มาดาม โมต์ เดอ เฟอร์วิลล์ ผู้เคยเป็นลูกศิษย์ของจอร์จ ฟริเดริก โชแปง มาก่อน ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าโชแปงย่อมมีอิทธิพลต่อเดบูซี่โดยทางอ้อม
 
 
                                           
                                       ภาพจาก www.settemuse.it
 
 
ต่อมาโมต์ได้ส่งเขาไปเรียนที่โรงเรียนสอนดนตรีในกรุงปารีส ในปี 1872 เป็นเวลา 10 ปี ในช่วงแรก ๆเขาอยากจะเป็นนักเล่นเปียโนที่เก่งกาจ แต่แล้วก็เปลี่ยนใจเพราะว่าสอบตกถึง 2  ครั้ง เลยหันไปเรียนวิชาการแต่งเพลง จนได้รางวัลจากงานประกวดดนตรีที่ยิ่งใหญ่ชื่อว่า ปริซ์ เดอ โรเมและได้รับทุนไปเรียนต่อที่อิตาลีเป็นเวลา 2  ปี ซึ่งเป็นช่วงที่งานของเขากำลังพัฒนาไปได้อย่างมหาศาล
 
เดบูซี่ยังทำงานเป็นครูสอนดนตรีให้กับบรรดาลูก ๆของ เศรษฐีนีที่เป็นแม่ม่ายนามว่ามาดาม นาเดซดา ฟอน เม็ค ผู้เคยให้การอุปถัมภ์ปีเตอร์ ไชคอฟสกี มาก่อน รวมไปถึงเล่นดนตรีในวงทรีโอ (มีนักดนตรีเล่นดนตรี 3 ชิ้นคือเปียโน เชลโลและไวโอลิน) ที่เธอเป็นคนก่อตั้งในช่วงปี 1879-1892 เดบูซี่มักจะคบค้ากับบรรดากวีโดยเฉพาะแบบสัญลักษณ์นิยมและจิตรกร ซึ่งเขาชื่นชอบมากถึงกลับบอกว่าถ้าไม่ได้เป็นนักดนตรีก็คงเป็นนักจิตรกร จึงไม่น่าประหลาดใจว่าทำไมเขาถึงแต่งเพลงเหมือนกับศิลปะแนวอิมเพรสชั่นนิสต์อย่างคล็อด โมเนต์ นอกจากนี้ เดบูซี่ยังได้รับอิทธิพลจากริชาร์ด แว็คเนอร์ ผู้แต่งอุปรากรขวัญใจของฮิตเลอร์ เขาชื่นชอบคีตกวีท่านนี้มาก เคยเดินทางไปชมอุปรากรของแว็คเนอร์ที่โรงละครไบรอยท์ เฟสต์สปีลเฮาส์  ในช่วงปี 1788 และซาบซึ้งกับเรื่อง Parsifal อย่างยิ่ง ต่อมาเขาก็ปฏิเสธดนตรีของแว็คเนอร์และหันมาสร้างแบบดนตรีของตนเอง
 
ในช่วงทศวรรษที่ 1790 เดบูซี่ได้สร้างสรรค์เพลงมากมายรวมไปถึงอุปรากรชื่อดังคือ Pelleas et Melisande (ซึ่งกว่าจะนำออกแสดงก็ปี 1902) รวมไปถึงบทเพลงอันงดงามและแปลกใหม่นามว่า "บทนำสู่ยามบ่ายของตัวฟอน" (Prelude pour Apres-midi d’un faun)ในปี 1894 ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้กับเขาเป็นอย่างมาก อนึ่งตัวฟอนเป็นสัตว์ในเทพนิยายครึ่งคนครึ่งแพะ เพลงจะทำนองอ่อนโยนและฝันๆ ด้วยเดบูซี่ต้องการบรรยายถึงความรู้สึกของตัวฟอนแบบครึ่งหลับครึ่งตื่นในตอนบ่าย สำหรับผมเองกลับนึกถึงภาพของแมวตัวหนึ่งที่กำลังหลับฝันบนต้นลำใยในสวนแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านของตัวเอง ซึ่งก็น่าจะเปลี่ยนชื่อเป็น  Prelude pour Apres-midi d’un chat
 
 
                               
 
 
                                         (ตัวFaun ในการ์ตูนของดีสนีย์)
                                          ภาพจาก  www.dvdizzy.com
 
 
นอกจากนี้เขายังแต่งดนตรีแบบออร์เคสตราชื่อว่า Nocturne suites  ด้วย Nocturne แปลว่ากลางคืน ดังนั้นเพลงจึงอ่อนโยนเหมือนกับยามราตรี  La Mer (ทะเล) และ Images (ภาพ) ในช่วงปี 1893-1909 ที่ลืมไม่ได้เป็นอันขาดคือเปียโนโซโลที่นักเปียโนทุกคนต้องรู้จักคือ Claire de lune (แสงจันทร์) จากดนตรีอัลบั้ม Suite bergamasque และเพลง reverie (ความฝัน) ซึ่งเดบูซี่แต่งในปี 1890  สำหรับ Claire de lune นี่ไม่ทราบเป็นอย่างไรผมชอบฟังและนึกถึงพระจันทร์เต็มดวงของคืนวันลอยกระทงซึ่งเป็นเทศกาลที่งดงามที่สุดในรอบปีสำหรับผม ส่วนในช่วงระหว่างปี 1909-1910 เพลงของเดบูซี่ที่ไพเราะมากคือ  La fille aux chevux de lin หรือหญิงสาวผู้มีผมเหมือนผ้าป่าน จากอัลบั้ม preludes   ซึ่งผมฟังแล้วกลับไปนึกถึงเย็นวันฝนตกที่บรรยากาศดูเนิ่บนาบเศร้าสร้อยระคนด้วยความงามของธรรมชาติในสวนของโมเนต์ แน่นอนว่าต้องมีภาพของเม็ดฝนตกลงมากระทบพื้นน้ำในสระที่เต็มไปด้วยดอกบัวใต้สะพานโค้งแบบญี่ปุ่น
 
 
                                     
                                               ภาพจาก   www.bytra.com
 
แต่สิ่งที่เดบูซี่คงอยากจะลืม ในขณะที่คนรอบข้างไม่ยอมลืมคือความสัมพันธ์ของเขากับหญิงสาวหลายคน ซึ่งหนึ่งในนั้นนามว่าโรซาลีพยายามต้องการจะฆ่าตัวตายหลังจากที่เขาสลัดรักไปแต่งงานกับผู้หญิงอีกคนหนึ่ง นามว่าเอมมา บาร์ดาซ์ แทน แต่การฆ่าตัวตายของโรสาลีไม่สำเร็จ ทำให้เพื่อนๆ ศิลปินและคีตกวี หลายคนหันมาเห็นใจเธอและเกลียดเดบูซี่แทน อย่างไรก็ตาม เดบูซี่ก็ได้ลูกสาวหนึ่งคนจากบาร์ดาซ์ ในปี 1905 ปีเดียวกับที่เขาแต่งเพลง La Mer เสร็จ แต่เขาก็แต่งเพลงแนวสวีต (Suite) หรือบทประพันธ์ที่ประกอบด้วยบทเพลงหลายๆ บทนำมาบรรเลงต่อกันเป็นชุด ที่ชื่อ Children's Corner (มุมของเด็ก)ให้แก่ลูกของตัวเองใน 3 ปีหลังจากนั้น 
 
 
 
 
                                      
 
                                             ภาพจาก amazon.com
 
 
เดบูซี่ต้องชะงักในการสร้างสรรค์งานเมื่อพบว่าตัวเองเป็นมะเร็งและอาการเริ่มกำเริบ ตอกย้ำโดยสงครามโลกครั้งที่ 1 อุบัติขึ้นในปี 1914 อย่างไรก็ตามเดบูซี่ก็ยังพยายามสร้างสรรค์งานจนสุดความสามารถ เพลงสุดท้ายที่เขาแต่งคือโซนาตาสำหรับเปียโนและไวโอลินหมายเลข 4 ซึ่งออกแสดงในปี 1917 เดบูซี่เสียชีวิตในวันที่ 25 มีนาคม ปี 1918 ในกรุงปารีส ท่ามกลางกระสุนปืนใหญ่ที่ถูกระดมยิงอย่างหนักจากกองทัพเยอรมัน เนื่องจากประเทศชาติกำลังอยู่ในภาวะคับขัน งานศพของเขาจึงถูกจัดอย่างเรียบง่าย ปราศจากการตกแต่งอย่างหรูหราตามที่พึงจะได้รับ อย่างไรก็ตาม เขาก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของฝรั่งเศสและของโลก 
 
เพลงของเดบูซีถูกนำไปประกอบภาพยนตร์และโฆษณามากมาย เช่น หากใครนึกทำนองของเพลง Claire de lune หรือ แสงจันทร์ ไม่ออก ก็ลองนึกถึงหนังเรื่อง Seven years in Tibet ที่แบร์ด พิตต์ แสดงเป็นนักไต่เขาชาวออสเตรียที่เดินทางพลัดหลงไปยังทิเบตและท่านทะไลลามะได้มอบกล่องเพลงที่บรรเลงเพลงนี้ให้เขา 
 
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
(เรื่องสั้นสยองขวัญภาษาอังกฤษเรื่องนี้ลอกมาจากเรื่องสั้นของราชาเรื่องสยองขวัญของเมืองไทย ครูเหม เวชากร ตัวเอกคือนายทองคำ เด็กกำพร้าอายุ 12 ขวบที่อาศัยอยู่กับยายและญาติในชนบทของไทยในช่วงเวลาประมาณ พ.ศ.2476)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The lingering sunlight from the dawn kissed my eyelids and I could hear faintly the flock of big birds, whose breed was unbeknownst to me, chirping merrily outside window ,as if to greet the exuberant face of a new day.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเกี่ยวกับนักเขียนวัยกลางคนที่มีความหลังอันดำมืดและความสัมพันธ์กับดาราสาวผู้มีพลังจิต 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของรปภ.หนุ่มผู้ค้นหาภูติผีปีศาจในตึกที่ลือกันว่าเฮี้ยนที่สุด  เรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากรายการ The Ghost Radio(the altered version)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของผู้ชาย 3 คนที่ขับรถบรรทุกแล้วต้องเผชิญกับผีดูดเลือด 3 Friends and The Ghosts                                                (1)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
This short novel is about a guy who works as a DJ for the radio program 'The Spook Radio', famous for its allowing audience to share their thrilling experiences or tales about the superstitious stuffs, especially the ghosts, via telephones.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเรื่องนี้เกี่ยวกับคนไทยที่ใช้ชีวิตในเยอรมันช่วงพรรคนาซีเรืองอำนาจ  เขียนยังไม่จบและยังไม่มีการ proofreading แต่ประการใด                     Chapter 1  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความนี้มาจาก facebook  Atthasit Muangin สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มหาศาสดาผู้ลี้ภัยอยู่ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส ในฐานะเป็นเอตทัคคะหรือผู้เป็นเลิศในเรื่องเจ้า (The royal affairs expert)  พบกับการวิพากษ์วิจารณ์และโจมตีอย่างมากมายจากบรรดาแฟนคลับหรือคนที่แวะเข้ามาในเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 (มีบทความอื่นอีกมากมายในเฟซบุ๊คของผมคือ Atthasit Muang-in) 1.สลิ่มไม่ชอบอเมริกาและตะวันตกซึ่งคว่ำบาตรและมักท้วงติงไทยหลังรัฐประหารปี 2557  ในเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยพวกสลิ่มเห็นว่าทั้งสองฝ่ายเป็นพวกหน้าไหว้หลังหลอกเช่นเคยบุกประเทศอื่น
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ตัวละครบางตัวได้แรงบันดาลใจมาจากอิ๊กคิวซัง เณรน้อยเจ้าปัญญา The Abbot and The Noble           (1) In our village , Abbot Akisada was enormously respected by most of our
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องความแค้นของผีตายทั้งกลม This (real) horror short story is partly inspired by the ghost tale told by the popular YouTuber like Ajarn Yod. Or it is in fact from the amateurish storytellers participating in Ghost Radio or The Shock more or less.