Skip to main content
 

..mad mon..

::ข้อเขียนชิ้นนี้เปิดเผยเรื่องราวบางส่วนในภาพยนตร์::

 

1. จุดเริ่มต้นของจุดจบและ/หรือจุดเริ่มต้นอันใหม่

เรื่องราวปัจจุบันในภาพยนตร์บอกให้เรารู้ว่าเมื่อ 30 ปีก่อนนั้น Laura (Belén Rueda) เคยใช้ชีวิตช่วงเวลาหนึ่งอยู่ในสถานเลี้ยงดูเด็กกำพร้าแห่งหนึ่งก่อนที่เธอจะถูกรับไปเลี้ยง สถานเลี้ยงเด็กนั้นอาจเรียกว่าอยู่ในพื้นที่ชนบทซึ่งห่างไกลผู้คน ตั้งอยู่ไม่ไกลชายหาดและทะเลซึ่งมีประภาคารสูงใหญ่คอยส่องไฟนำทาง และถ้ำอีกอันหนึ่ง, สถานที่ซึ่งเป็นอดีตแห่งความทรงจำของเธอ ... 30 ปีต่อมา Laura กลับมาที่แห่งนี้อีกครั้ง เมื่อเธอ, สามีของเธอ - Carlos (Fernando Cayo), และ Simón (Roger Príncep) ลูกชายของทั้งคู่ (ซึ่งเป็นลูกที่ทั้งคู่รับมาเลี้ยง) ย้ายเข้ามาใน "บ้าน" หลังนี้ สองสามีภรรยาซ่อมแซมปรับปรุงบ้านหลังนี้ ไม่เพียงแต่เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัย แต่เพื่อทำให้มันกลับมาเป็นสถานเลี้ยงเด็กอีกครั้งหลังจากถูกทิ้งร้างไป

 

ตั้งแต่เปิดเรื่องได้ไม่นาน ตัวภาพยนตร์เปิดให้เรารับรู้ว่า Simón มีเพื่อนสองคนซึ่งพ่อแม่ของเขามองไม่เห็น! และเมื่อพวกเขาย้ายมาอยู่ที่บ้านหลังนี้ Simón ก็ได้พบกับเพื่อนใหม่คนหนึ่งในตอนที่ Laura พาเขาเข้าไปเล่นในถ้ำ! และตามมาด้วยเพื่อนใหม่อีก 5 คนในบ้านหลังนั้น,เด็ก 6 คนที่ไม่มีใครมองเห็น!

 

Simón ได้ชวนให้ Laura ร่วมเล่นเกมไขปริศนาผ่านสิ่งของกับเพื่อนที่มองไม่เห็นของเขา (ซึ่ง Laura มารู้ในภายหลังว่าพวกเธอและเขาเหล่านั้นคือเพื่อนในวัยเด็กของเธอ), เกมซึ่งสิ่งของต่างๆในฐานะที่เป็นคำใบ้สู่ปริศนาจะถูกวางอยู่อย่างผิดที่ผิดทาง และผู้เล่นต้องนำของเหล่านั้นแต่ละอันกลับไปอยู่ในที่ที่ควรจะเป็นทีละอันๆจนพบคำตอบ, มันจึงเป็นเกมที่เล่นกับการสังเกต การรับรู้ ความเป็นระเบียบ ลำดับ ความคุ้นเคย และที่สำคัญคือความทรงจำ.. หลังเกมรอบแรกจบลงที่แฟ้มประวัติของ Simón ซึ่งมีข้อความหนึ่งที่บอกว่าเขาเป็นพาหะของโรคเอดส์ (HIV carrier แปลจาก portador del VIH) ทั้งคู่มีปากเสียงกัน Simón โกรธมากที่แม่และพ่อของเขาโกหกว่าเขาเป็นลูกจริงๆ ทั้งที่เขาถูกรับมาเลี้ยง นอกจากนั้น มันยังทำให้เขารู้ว่าถ้าเขาไม่กินยา ไม่นานเขาก็จะตาย

2. คนหาย/การตาย และสายสัมพันธ์

ในวันหนึ่ง ท่ามกลางบรรยากาศของงานเลี้ยงใส่หน้ากาก, งานเลี้ยงเปิดโรงเรียน/โรงเลี้ยงเด็กพิเศษของสองสามีภรรยา, Simón ต้องการให้ Laura ไปดู "บ้านเล็กของ Tomas", เพื่อนใหม่คนหนึ่งของเขา, แต่ Laura ซึ่งกำลังวุ่นอยู่กับงานเลี้ยงปฏิเสธ ทั้งคู่มีปากเสียงกันอีก ไม่นานจากนั้น Laura ถูกแกล้ง/ทำร้ายโดยเด็กคนหนึ่งที่สวมหน้ากากกระสอบ, ซึ่งบนเสื้อมีข้อความว่า "Tomas", เด็กซึ่งไม่มีใครเห็นเขายกเว้น Laura, และเป็นวันนั้นเองที่ Simón หายตัวไป!

 

การหายตัวของ Simón ทำให้ Laura ค่อยๆ "ย้อนเวลา" กลับไปเมื่อ 30 ปีก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่เธอถูกรับไปเลี้ยง เธอได้รู้ว่าในบ้านเด็กกำพร้าหลังนั้นมีเด็กอีกคนหนึ่งที่เธอไม่รู้จัก, เด็กชายพิการไม่กำพร้าผู้สวมหน้ากากกระสอบ, Tomas, และแม่ของเขา, Benigna, คนเลี้ยงเด็กอีกคนหนึ่งซึ่งเธอไม่สามารถจดจำได้

 

เธอได้รู้ว่าหลังจากที่เธอออกจากบ้านเด็กกำพร้าไม่นาน ในวันหนึ่งเด็กๆไปเล่นกันในถ้ำริมทะเลซึ่งน้ำท่วมถึง เพื่อนๆของเธอแกล้ง Tomas โดยการถอดหน้ากากของเขาออกเพื่อที่จะรอดูใบหน้าไร้หน้ากากก้าวออกมาจากถ้ำ และตั้งแต่นั้น เขาก็ไม่กลับออกมาอีกเลย ในวันต่อมา ร่างไร้ชีวิตอันปราศจากหน้ากากของเด็กชายถูกพบบริเวณชายหาด ในเหตุการณ์นั้น เด็กๆคนอื่นไม่ถูกกล่าวโทษ ว่ากันว่ามันเป็นอุบัติเหตุจากการเล่นกันของเด็กเพียงเท่านั้น..

 

Laura ค่อยๆปะติดปะต่อเรื่องราวต่อมาจนพบว่า หลังจาก Tomás ตายไปได้ไม่นาน Benigna ชำระแค้นให้กับลูกชายของเธอโดยการวางยาพิษเด็กกำพร้าที่เหลือจนตายไปทั้งหมด, "เด็กกำพร้า" ผู้ซึ่งไม่มีสายสัมพันธ์กับใครที่ต้องตายไปโดยไม่มีใครมาร้องขอความเป็นธรรมให้พวกเธอและเขา, Laura ค่อยๆแกะรอยจาก (เกมปริศนา) สิ่งของซึ่งวางอยู่ผิดที่ผิดทาง เธอค่อยๆพบ (และ/หรือเรียกคืนความทรงจำ?) และจัดเรียงสิ่งของต่างๆในบ้านบางอย่างให้เข้าที่เข้าทาง และในที่สุด มันทำให้เธอพบซากกระดูกของเพื่อนๆเด็กกำพร้าของเธอ (โดยที่ "ของ" ชิ้นสุดท้ายอีกชิ้นหนึ่งยังไม่ได้ถูกไขปริศนา) ..ในชั่วขณะนั้น เธอคงกำลังคิดว่าใกล้จะได้พบกับ Simón แล้วกระมัง...

3. อดีตหลอน, ความทรงจำหวนคืน และการหลอมรวมของกาลเวลา

 

หลายเดือนผ่านไป และหลากวิธีในการค้นหา (ซึ่งรวมไปถึงการติดต่อกับวิญญาณผ่านคนทรงและการสะกดจิต) สองสามีภรรยาก็ยังไม่พบกับลูกชายที่หายไป.. Carlos ซึ่งแทบจะหมดหวังไปแล้วพยายามจะชวน Laura ออกไปจากบ้านหลังนั้นสักพักหนึ่ง แต่เธอก็ปฏิเสธ พร้อมๆไปกับการร้องขอที่จะได้เธออยู่ในบ้านหลังนั้นเพียงลำพัง ด้วยความหวังว่าจะได้พบกับ Simón อีกครั้งหนึ่ง..

 

ในระหว่างนั้น Laura จัดแจงเปลี่ยนสภาพบ้านหลังนั้นให้กลับไปเป็นโรงเลี้ยงเด็กกำพร้าแบบเดิมในวัยเด็กของเธอเมื่อสามสิบปีก่อน ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆถูกนำกลับไปวางในที่เดิมที่มันเคยอยู่ ไม่เพียงเท่านั้น แต่ Laura ได้นำการละเล่นในวัยเด็กกลับมาเล่นใหม่อีกครั้ง พร้อมๆกับการกินยาจำนวนมหาศาล (คนทรงบอกกับเธอว่า ในสภาวะที่ใกล้จะถึงความตาย จะสามารถพบปะพูดคุยกับวิญญาณได้.. เธอคงจะกินยาเหล่านั้นเพื่อให้ใกล้ตาย) ภาพที่เราเห็นต่อมาคือเพื่อนของเธอค่อยๆปรากฏตัวขึ้น! เด็กๆกลับมาเล่นเกมเดิมๆอีกครั้ง! ทั้งหมดยังคงเป็นเด็ก! มีเพียงเธอเท่านั้นที่โตเป็นผู้ใหญ่แล้ว! เวลาของเธอเดินทางต่อไปแต่เวลาสำหรับเด็กๆเหล่านั้นกลับนิ่งสนิท,ไม่ต่างอะไรกับ Peter Pan และ Neverland...

 

และแล้ว "ของ" ชิ้นสุดท้าย, "ลูกบิดประตู", ก็ได้นำพา Laura ไปสู่ "ประตู" อันหนึ่ง, ประตูไปสู่ "บ้านเล็กของ Tomás" สถานที่ซึ่ง Simón เคยอยากจะพาเธอไปดูแต่เธอปฏิเสธ.. เธอพบร่างไร้ชีวิตของ Simón ในที่แห่งนั้น, ร่างเด็กชายที่สวมหน้ากากกระสอบ, หน้ากากกระสอบของ Tomás นั่นเอง!

 

Laura กินยาเข้าไปอีก (เธอคงอยากเข้าใกล้ความตายมากขึ้นไปอีก เพื่อที่จะได้พูดคุยกับลูกชายสุดที่รักของเธอ และเธออาจหวังลึกๆว่าจะนำเขากลับมาจากความตายได้สำเร็จ) ..และเพียงชั่วอึดใจ Simón ก็ลืมตาตื่นขึ้น, จากการที่เขาสามารถไขปริศนาจากเกมในตอนแรกได้เขาจึงสามารถอธิษฐานได้ข้อหนึ่ง, และคำอธิษฐานของ Simón ก็คือต้องการให้ Laura, แม่ของเขาอยู่ดูแล "พวกเขา" ณ ที่แห่งนี้, บ้านเด็กกำพร้าหลังเดิม, ที่ซึ่งเธอเคยจากไปเมื่อสามสิบปีก่อน

 

เมื่อสิ้นสุดคำอธิษฐาน Laura กลับมาสู่ The Orphanage (ในฐานะที่หมายถึงสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า "แห่งนี้") อีกครั้งหนึ่ง โดยอยู่อย่างพร้อมหน้าพร้อมตาทั้งกับเพื่อนๆในวัยเด็กซึ่งเธอได้จากมา พร้อมๆกับได้อยู่กับลูกชายสุดที่รักของเธออีกครั้งหนึ่ง ในแง่นี้ ความทรงจำและแรงปรารถนาแห่ง "อดีต" จึงได้หลอมรวมเข้ากับความคาดหมายแห่ง "ปัจจุบัน" และแรงปราถนาแห่ง "อนาคต" กลายเป็นความสมปรารถนาอันปราศจากเวลา กาลเวลาของ The Orphanage จึงหยุดนิ่งอย่าง Neverland และพวกเธอและเขาคงจะไม่มีวันพรากจากกันไปอีก.. ตลอดกาล

 

4. ผีหลอก/อดีตหลอน

หาก The Orphanage ในฐานะของสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าแห่งนี้เป็นสถานที่ซึ่งหลอมรวมอดีต, ปัจจุบัน, และอนาคตของ Laura เข้าด้วยกัน แล้ว The Orphanage ในฐานะที่เป็นภาพยนตร์เรื่องหนึ่งจะกล่าวได้ว่ามันคืออะไร.. ผมเห็นว่าคงไม่เป็นการเยินยอจนเกินไปหากจะบอกว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นส่วนผสมชั้นดีของหนังดราม่าหนักๆที่ทั้งแสดงภาพของความรักของครอบครัวพร้อมๆไปกับแสดงภาพในบางแง่มุมของสังคมที่ "เด็กกำพร้า" (และอาจแทนที่ด้วยคนกลุ่มอื่นๆอีกมากมาย) เป็นกลุ่มคนที่ถูกละทิ้ง, ผสมผสานเข้ากับพล็อตเรื่องของหนังฆาตรกรรมที่ตัวเอกต้องเสาะหาฆาตรกรที่สร้างปมให้เกิดเรื่องราวทั้งหมด, พร้อมๆไปกับความเป็นหนัง "ผี" ที่ "หลอกหลอน" ตัวละครเอกของเรื่องและผู้ชมไปพร้อมๆกัน.. แต่ไม่ว่า "ผี" ในภาพยนตร์เรื่องนี้จะมีจริงหรือไม่ก็ตาม สำหรับ Laura แล้ว "อดีต" ของเธอนั่นแหละที่เป็น "ผี" มาคอย "หลอน" เธออยู่ตลอดเวลาอย่างไม่ต้องสงสัย

บล็อกของ Cinemania

Cinemania
นพพร ชูเกียรติศิริชัย   “การที่ใครจะเป็น ‘modern’ (ทันสมัย) เขาคนนั้นก็จะต้องคงไว้ซึ่งจิตวิญญาณแห่งการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และพร้อมทุกเมื่อที่จะละทิ้งและตัดขาดจากของเก่าที่ดำรงอยู่ (tradition) และที่สำคัญ คือ พร้อมทุกเมื่อที่จะละทิ้งและตัดขาดจากตัวตนของตัวเองที่ดำรงอยู่ ถ้าตัวตนเป็น modern ก็ต้องพร้อมที่จะละทิ้งความเป็น modern ด้วยเหตุผลของความเป็น modern เอง”  “ในการจะเป็น modern มันหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเป็น postmodern หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ถ้าใครจะเป็น modern เขา หรือเธอคนนั้นก็จะต้องเป็น postmodern มิฉะนั้นแล้ว เขาก็ไม่สามารถเป็น modern ได้” (Jean-Francois…
Cinemania
นพพร ชูเกียรติศิริชัย   ผมชอบคำว่า ‘เพื่อนบ้าน' (Neighbor) เนื่องจากผมเล็งเห็นว่า คำว่า ‘เพื่อนบ้าน' นั้นดูจะมีความหมายในการมอง ‘มนุษย์' ที่อยู่รอบๆ ตัวของผู้พูด ผู้เขียน ผู้ใช้ คำๆ นี้ในแง่ดี (Positive Thinking) ส่วนคำว่า ‘จ๊ะเอ๋' นั้น ผมจำได้ว่าเป็นคำที่ผู้ใหญ่หลายๆ ท่าน (รวมทั้งตัวผม) มักจะใช้เล่นกับเด็กๆ ด้วยการเอามือ ผ้า หรือสิ่งของอื่นๆ ที่หาได้สะดวก ปิดหน้าปิดตาของตัวผู้ใหญ่เอง (หรือใช้ปิดตาเด็ก) หลังจากนั้นจึงเปิดหน้าออกพร้อมรอยยิ้มแล้วกล่าวคำว่า ‘จ๊ะเอ๋' ซึ่งเด็กๆ ส่วนใหญ่ก็มักจะชอบและมักจะมอบรอยยิ้มหรือเสียงหัวเราะเป็นการแสดงความพึงพอใจต่อการละเล่นชนิดนี้…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย    บางครั้งผมก็รู้สึกเบื่อหน่ายที่จะต้องหอบสัมภาระมากมายเข้าไปในโรงภาพยนตร์ปัจจุบันผมแอบสงสัยว่าเหตุใดความสุขในการชมภาพยนตร์แบบเมื่อครั้งยังเป็นเด็กจึงสูญหายไป จนเมื่อมีโอกาสชมภาพยนตร์เรื่อง ‘สะบายดีหลวงพระบาง'จึงทำให้ผมรับรู้ว่าแท้จริงแล้วความสุขในวัยเด็กของผมไม่ได้หายไปไหน แต่หนังสือ ตำรา คำวิพากษ์วิจารณ์ ที่ผมแบกเอาไว้ในสมองต่างหากที่บดบังความสุขแบบที่เราคุ้นเคย 
Cinemania
นพพร ชูเกียรติศิริชัย ถ้าหาก E เท่ากับ EMOTION (อารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลง และ อื่นๆ), M เท่ากับ MAN (มนุษย์ไม่ว่าหญิง ชาย และอื่นๆ) และ C เท่ากับ CLOCK (ซึ่งหมายถึงระยะเวลา) จากสมการ E=mc2คุณคิดว่า ‘จำนวนของบุคคล' ที่เหมาะสมกับ ‘ความรัก' จะเท่ากับเท่าไหร่? รัก/สาม/เศร้า ตามสมการ รัก/สอง/สุข และเวลาแค่ไหนถึงจะพอสำหรับ ‘รัก' ‘รัก/สาม/เศร้า' เป็นเรื่องราวของเพื่อนรักสามคน ที่ ‘แอบรัก' กัน ในฐานะที่มากกว่าเพื่อน ‘น้ำ' แอบรัก ‘พายุ' ‘พายุ' แอบรัก ‘ฟ้า' โดยที่ตัวฟ้าเองก็ไม่เคยรับรู้มาก่อนเลยว่าพายุแอบรักตนเอง (และก็ไม่เคยรับรู้เช่นกันว่าเพื่อนรักของตนอย่าง ‘น้ำ' ก็แอบรักเพื่อนรักอย่าง ‘พายุ'…
Cinemania
  < นพพร ชูเกียรติศิริชัย >     หากพูดถึงประเทศจีน คุณนึกถึงอะไร? กังฟู, ก๋วยเตี๋ยว, หมีแพนด้า,มังกร, ลูกท้อ,ซาลาเปา, ปรัชญาลัทธิเต๋า และภูเขาสูงหน้าตาแปลกๆ   หากสิ่งเหล่านี้คือคำตอบของคุณ นั่นก็หมายความว่า คุณพร้อมแล้วที่จะไปสัมผัสกับภาพยนตร์ ‘KUNG FU PANDA’ หรือในชื่อภาษาไทยว่า ‘กังฟูแพนด้า จอมยุทธพลิกล็อค ช็อคยุทธภพ’   ผมไม่แน่ใจว่าหมีแพนด้าถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของ ‘มิตรภาพ’ ระหว่างประเทศจีน กับประเทศอื่นๆ ตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ที่แน่ๆ บทบาทความเป็น ‘ทูตสันติภาพ’ ของหมีแพนด้า ในบัดนี้ได้ถูกนำเสนอผ่านจอภาพยนตร์ฮอลีวู้ดไปเป็นที่เรียบร้อย 
Cinemania
   ปิติ-ชูใจท่ามกลาง ‘หนังซัมเมอร์' ที่ดาหน้ากันมาถมจนเต็มพื้นที่ในโรงภาพยนตร์ช่วงฤดูร้อน ทางเลือกของคนดูหนังใน ‘โรงหนังชั้นนำใกล้บ้านคุณ' ก็ยังไม่ได้หลากหลายอะไรนัก เพราะแนวทางหลักๆ ของหนังซัมเมอร์ที่เห็นอยู่ตอนนี้ก็มีแค่ แอ๊กชั่น, ตลก, สยองขวัญ และอนิเมชั่น กรณีที่อยากดูหนังนอกกระแส ก็ต้อง ‘เข้าเมือง' กันอย่างเดียว เพราะที่ทางของหนังเหล่านี้ยังกระจุกตัวอยู่ที่สยามหรือไม่ก็สุขุมวิทแค่นั้น (ซึ่งมันก็เป็นเรื่องเข้าใจได้ในยุคที่หนังถูกจำกัดความหมายให้เป็นแค่เครื่องมือผ่อนคลายและสร้างความบันเทิง) แต่อย่างน้อยที่สุด หน้าร้อนปีนี้ยังมีหนังไทยน่าสนใจอยู่ 2 เรื่อง ที่พอจะแหวกกระแสเดิมๆ…
Cinemania
   ::: ข้อความหลังเส้นประของข้อเขียนชิ้นนี้เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของภาพยนตร์ ::: โดย...ณภัค เสรีรักษ์ภาพยนตร์พูดภาษาอังกฤษเรื่องแรกของผู้กำกับชื่อดัง ‘หว่องการ์ไว' (Wong Kar Wai) ที่เพิ่งเข้าฉายให้ผู้ชมในดินแดนประเทศไทยได้ชมกันตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมที่เพิ่งจะผ่านมา (2008) ที่มีชื่อว่า My Blueberry Nights นั้น อาจมีประเด็นต่างๆ นานาให้สามารถสร้างบทสนทนากันได้มากมายและยาวนาน แต่สำหรับในที่นี้นั้น ผมอยากจะ ‘หยิบเลือก' เพียงบางประเด็นมา ‘อ่าน' หรืออีกนัยหนึ่ง ‘สนทนา' เกี่ยวกับ ‘ตัวละคร' ในภาพยนตร์ดังกล่าว ภายใต้ความคิดเกี่ยวกับเรื่อง ‘ความทรงจำ' ซึ่งสะท้อนร่วมกับความคิดเกี่ยวกับ ‘…
Cinemania
Between the FramesE-mail: betweentheframes@gmail.com:::Spoil::: บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาที่สำคัญของภาพยนตร์ :::Spoil::: "All those gathered here will know that it is not by sword or spear that the LORD saves; for the battle is the LORD's, and He will give all of you into our hands."                                                   …
Cinemania
 :::Spoil::: บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาที่สำคัญของภาพยนตร์ :::Spoil::: เวลา 2 ชั่วโมงกว่า (158 นาที) ในหนัง There will be blood - ผลงานเรื่องที่ 5 ของผู้กำกับ Paul Thomas Anderson คือเรื่องราวในด้านที่มืดดำของมนุษย์ เต็มไปด้วยความโลภ ความอ่อนแอ สันดานดิบ และแน่นอน...มันรวมไปถึง ‘การสร้างศรัทธา' ด้วยวิธีการอันน่าขนลุกด้วย...เราได้รู้จัก ‘เดเนียล เพลนวิว' (Daniel Day-Lewis) นักเสี่ยงโชคที่ตั้งใจทำเหมืองเงิน แต่บังเอิญได้ที่ดินซึ่งมีน้ำมันดิบนอนสงบนิ่งอยู่ใต้พื้นมาแทน โลกของเดเนียลไม่มีคำว่า ‘สุดแท้แต่โชคชะตา' หรือ ‘ศรัทธา' ไม่มีแม้กระทั่งคำว่า ‘พระผู้เป็นเจ้า'…
Cinemania
ซาเสียวเอี้ยการไล่ตีแมลงสาบบนฝาบ้าน อาจเป็นเกมสนุกสนานอย่างหนึ่ง และเพียงสายลมเย็นจากพัดลมมือสองที่เป่าไล่ความร้อนในค่ำคืนอบอ้าวอาจเป็นถึง ‘รางวัลชีวิต' ของสองพ่อลูกผู้ยากจน...ผู้อาศัยอยู่ในโลกแห่งความแร้นแค้นทั้งหมดที่่ว่ามา-อาจฟังไม่ต่างจากสงครามชีวิตสุดรันทด (บัดซบ!) แต่เมื่อเรื่องราวเหล่านี้ถูกถ่ายทอดผ่านมุมมองของ ‘โจวซิงฉือ' ไอ้สิ่งที่ควรจะเศร้า...กลับทำให้เราหัวเราะออกมาได้000ถึงแม้ว่าหน้าหนังของ CJ7 จะถูกโฆษณาว่าเป็นแนว Sci-fi แต่ ‘ใจความสำคัญ' ที่อยู่ในนั้น ไม่ใช่ ‘ความลี้ลับ' ของจักรวาลอันกว้างใหญ่ หรือถ้าจะพูดให้ชัดๆ ก็ต้องบอกว่า นี่คือหนังครอบครัวแนว Comedy-Drama ที่ให้ ‘…