Skip to main content

  

 

เคยได้ยินครูสอนประวัติศาสตร์บอกว่าคนอเมริกันมีปมเรื่องรากเหง้าทางวัฒนธรรม เพราะไม่ได้มีฐานที่มั่นคงแข็งแรงเท่าประเทศแถบยุโรปที่ผ่านการต่อสู้ก่อร่างสร้างชาิติและบ่มเพาะอารยธรรมมานานหลายศตวรรษ และต่อให้ สหรัฐอเมริกา' เป็นถึงประเทศมหาอำนาจแห่งโลกสมัยใหม่ ก็ยังไม่วายถูกมองเป็นแค่ เศรษฐีใหม่' หรือ ชนชาติที่ไร้วัฒนธรรม' แถมยัง บ้าอำนาจ' อีกต่างหากในสายตาของคนบางชาติ

ถึงจะไม่แน่ใจว่าประโยคที่ได้ยินมาถูกต้องมากน้อยแค่ไหน แต่การที่สังคมอเมริกันให้ความสำคัญ (อย่างมาก)กับการเก็บรวบรวมประวัติศาสตร์ชาตินิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็คงพอจะเป็นภาพสะท้อนได้กลายๆ ว่าคนอเมริกันคงมี ปม' เกี่ยวกับการนิยามอัตลักษณ์ หรือ การนิยามตัวตนที่แท้' อย่างที่หลายคนเข้าใจจริงๆ

รัฐบาลอเมริกันหลายยุคหลายสมัยทุ่มเทให้กับการศึกษา ค้นคว้า รวบรวม และส่งเสริมให้คนในสังคมแต่ละรุ่นตระหนักถึงประวัติศาสตร์ด้านต่างๆ ของประเทศชาติมาตลอด

หลักฐานยืนยันความพยายามที่ว่าก็คือจำนวน พิพิธภัณฑ์' ทั้งขนาดยักษ์ ขนาดใหญ่ และขนาดย่อย ซึ่งกระจายตัวอยู่ทั่วทุกหัวระแหง รอคอยให้คนเข้าไปศึกษาหาความรู้ รวมถึงกระตุ้นให้เกิดความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ความเป็น 'สหรัฐ' ที่คนอเมริกันเชื่อว่า ไม่น้อยหน้า' ชาติเก่าแก่ทั้งหลายหรอกนะ!

:::บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์:::

 

แม้กระทั่งในหนังภาคต่อของ Night at the Museum ตอน Battle of the Smithsonian ก็ยังคงตอกย้ำความสำคัญของพิพิธภัณฑ์ (และประวัติศาสตร์) เหมือนเช่นเคย แต่ตัวละครดำเนินเรื่องจากภาคแรกอย่าง แลร์รี่ เดลีย์' (เบน สติลเลอร์)ไม่ได้เป็น ยามกะดึก' ในพิพิธภัณฑ์แล้ว แต่กลายเป็น นักธุรกิจ' ที่ประสบความสำเร็จ ได้เป็นเจ้าของบริษัทผลิตสินค้าจิปาถะในชีวิตประจำวัน แถมยังมีรายการโฆษณาสินค้าตัวเองออกฉายทางโทรทัศน์ซะด้วย

การผจญภัยในภาคนี้เริ่มขึ้นเมื่อพิพิธภัณฑ์ที่แลร์รี่เคยทำงานกำลังจะถูก ยกเครื่อง' ขนานใหญ่ ทำให้เพื่อนๆ ของแลร์รี่ที่เป็นหุ่นขี้ผึ้งจำลองของบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ อาทิ ธีโอดอร์ รูสเวลท์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ หรือที่เรียกเล่นๆ แบบตีสนิทว่า เท็ดดี้' (รับบทโดยโรบิน วิลเลียม) หรือหุ่นคาวบอยจิ๋ว เจดีไดอาห์ สมิธ' (โอเว่น วิลสัน) และมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลที่พูดกันไม่ค่อยจะรู้เรื่อง ล้วนถูกนำไปเก็บลงกรุใต้ดินที่พิพิธภัณฑ์สมิธโซเนี่ยนในกรุงวอชิงตันดีซี

จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อภาคต่อนี้ว่า การต่อสู้ที่สมรภูมิสมิธโซเนียน' นั่นแล...

ส่วนตัวร้ายในภาคนี้ก็มี คาห์มุนราห์' อดีตกษัตริย์อียิปต์ (แฮงค์ อาซาเรีย) จักรพรรดิ นโปเลียน' แห่งฝรั่งเศส (อแล็ง ชาบาต์) และ อัล คาโปน' เจ้าพ่อเชื้อสายอิตาเลียน-อเมริกันในวัยหนุ่ม (จอห์น เบิร์นทัล) ซึ่งทั้งหมดนี้โผล่มาเพื่อหวังจะ ครอบครองโลก' (เหตุผลยอดนิยมในหนังครอบครัวฮอลลีวู้ด!!) โดยใช้พลังของแผ่นศิลาที่ตกทอดมาจากยุคอารยธรรมอียิปต์โบราณเป็นเครื่องมือสร้างอำนาจ

ความวุ่นวายหลังไฟในพิพิธภัณฑ์ดับลง บวกกับความเพี้ยนของบรรดาหุ่นขี้ผึ้งที่ถูกปลุกให้มีชีวิตเพราะอำนาจแห่งแผ่นศิลา ถูกจับมาำยำรวมกับมุขตลกเกี่ยวกับอัตชีวประวัติของบุคคลสำคัญในอดีตทั้งหลายได้อย่างลงตัว ทำให้ภาพรวมของหนังดูสนุกเฮฮาไม่แพ้ภาคแรก ถึงแม้การกระจายบทของตัวละครอาจเฉลี่ยได้ไม่ดีนัก แต่ถ้ามองจากจุดขายของหนังซึ่งประกาศตัวชัดเจนว่าเป็น หนังครอบครัว' ให้เด็กดูได้และผู้ใหญ่ดูด้วย ก็ถือว่า ทำได้ดี-ทำได้ชอบ' แล้ว

ประกอบกับมีนักแสดงสาวหน้าใหม่ (สำหรับเรื่องนี้) อย่าง เอมี่ อดัมส์' มารับบทเป็น เอมิเีลีย แอร์ฮาร์ท' นักบินหญิงรุ่นบุกเบิกของอเมริกา ก็ยิ่งช่วยสร้างสีสันให้หนังน่าดูขึ้นมาอีกโข ^_^

ส่วนประเด็นหลักๆ ที่น่าอวยชัยให้พรอย่างยิ่งของหนังเรื่องนี้ คือการยืนยันว่าเราไม่ควรปล่อยให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ผูกขาด' การประเมินหรือนิยามประวัติศาสตร์เพียงลำพัง ต่อให้คนเหล่านั้นจะทำลงไปในนามของการปกปักรักษา คุณค่าทางประวัติศาสตร์' ก็ตามที และประเด็นที่ว่านี้ถูกนำเสนอออกมาในฉากการต่อสู้ชวนฮาระหว่างแลร์รี่ (อดีตยามกะดึก) และยามร่างตุ้ยนุ้ยประจำพิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ ดูแลรักษา' สมบัติของชาติ ด้วยการ กีดกัน' ให้ประชาชนอยู่ห่างๆ สิ่งเหล่านี้ให้มากที่สุด (และอย่าได้คิดแตะต้องเป็นอันขาด!!)

แต่ดูเหมือนว่าเนื้อหาในภาคนี้จะระมัดระวังในการนำเสนอนัยยะทางประว้ติศาสตร์อย่างเข้มงวดมากๆ เพราะมีความพยายามที่จะแก้ไขและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องทางการเมือง (Political Correctness) อยู่เต็มไปหมด เพือให้ตัวละครต่างๆ หลุดจากกรอบของอคติทางเพศและเชื้อชาติ แถมยังมีการตีความบริบทในประวัติศาสตร์โดยใช้มุมมองใหม่ๆ เข้าไปจับเหตุการณ์ในอดีตด้วย

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือการแสดงความสามารถ (และความน่ารัก!) ของเอมีเลีย แอร์ฮาร์ท ในฐานะนักบินหญิงคนแรกที่ขับเครื่องบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเพียงลำพัง ได้รับการยกย่องอีกครั้งในหนังเรื่องนี้ว่าเป็น ผู้บุกเบิก' เส้นทางการเป็นนักบินให้คนรุ่นหลังอย่างทีมนักบินทัสคีจีซึ่งเป็นชาวอเมริกันผิวสี ซึ่งจะว่าไปก็เป็นฉากชวนซึ้งแบบจงใจไปหน่อย แต่ก็ไม่น่าเกลียดจนรับไม่ได้

ส่วนประเด็นสำคัญที่มองเห็นได้อีกอย่างคือค่านิยมเรื่อง สังคมอเมริกันในอุดมคติ' ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด เพราะ Battle of the Smithsonian ดูจะสนับสนุนแนวคิดเรื่อง สลัดชามใหญ่' ที่มองว่าคนในสังคมอเมริกันควรมีความแตกต่างหลากหลายและคงอัตลักษณ์ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษซึ่งอพยพมาจากที่ต่างๆ แต่ขณะเดียวกันก็สามารถอยู่ร่วมในดินแดนเดียวกันได้อย่างกลมกลืน

แนวคิดเรื่อง สลัด' ต่างจากแนวคิดเรื่อง เบ้าหลอม' หรือ หม้อต้ม' (Melting Pot) ที่เคยถูกพูดถึงอย่างแพร่หลายในช่วงศตวรษที่ 18-19 ซึ่งมีคนเปรียบเปรยว่าสังคมอเมริกันทำให้คนต่างเชื้อชาิติศาสนาสามารถ หลอมรวม' เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้

กว่าจะรู้ว่าการ หลอมรวม' ให้เกิด ความเป็นเอกภาพ' นำไปสู่การปฏิเสธอัตลักษณ์ของชนกลุ่มน้อย และประวัติศาสตร์ที่เิพิ่งสร้างเหล่านี้มีส่วนทำลายความหลากหลายทางวัฒนธรรมอย่างใหญ่หลวง ทั้งยังทำให้เกิดการ แบ่งเขา-แบ่งเรา' ที่พอกพูนกลายเป็นความขัดแย้งเรื้อรังจนเกือบจะสายเกินแก้

แ่ต่หนังไม่ได้ทำให้เรามองโลกในแง่ร้ายขนาดนั้น เพราะมีการเพิ่มบทบาทให้อดีตประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น รัฐบุรุษคนสำคัญตลอดกาลของชาวอเมริกัน ได้มีโอกาสออกมายิงวาทะเด็ดเพื่อเตือนสติคนดูว่า อย่าทำให้บ้านแตกแยก' ชวนให้นึกไปถึงสถานการณ์ภายในประเทศไทยตอนนี้ (และที่ผ่านมา) สุดๆ !!!

ขณะเดียวกันบทบาท นายพลจอร์จ อาร์มสตรอง คัสเตอร์' (บิล เฮเดอร์) ผู้บัญชาการรบที่นำทหารอเมริกันราว 700 นายต่อสู้นักรบเผ่าอินเดียนแดงในยุคสงครามกลางเมืองอเมริกา แต่พ่ายแพ้เสียชีวิตที่สมรภูมิลิตเติลบิ๊กฮอร์น ซึ่งเป็นตัวละครที่เพิ่มมาในภาคนี้ และเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์อเมริกัน (ต่างจากคาห์มุนราห์ซึ่งออกแนวแฟนตาซีมากๆ) ถูกนำเสนอเพื่อให้คนดูได้ตีความใหม่ว่า ความพ่ายแพ้ในประวัติศาสตร์ จำเป็นต้องซ้ำรอยเดิมในปัจจุบันหรือไม่?' ก่อนจะนำไปสู่การคลี่คลายสถานการณ์ในตอนท้ายสุด

ทั้งนี้ทั้งนั้น...รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ทั้งหมดที่ว่ามา อาจเกิดจากความตั้งใจของทีมผู้สร้าง หรือไม่ก็อาจเป็นเพียงความฟุ้งซ่านจับแพะชนแกะของคนดูคนนี้เอง แต่ถ้าเนื้อหามันทำให้นึกฟุ้งไปไกลได้ขนาดนั้น หนังสูตรสำเร็จของฮอลลีวู้ดเรื่องนี้ก็น่าจะคุ้มค่าตั๋วอยู่พอสมควร

 

- ซาเสียวเอี้ย -

 

บล็อกของ Cinemania

Cinemania
นพพร ชูเกียรติศิริชัย   “การที่ใครจะเป็น ‘modern’ (ทันสมัย) เขาคนนั้นก็จะต้องคงไว้ซึ่งจิตวิญญาณแห่งการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และพร้อมทุกเมื่อที่จะละทิ้งและตัดขาดจากของเก่าที่ดำรงอยู่ (tradition) และที่สำคัญ คือ พร้อมทุกเมื่อที่จะละทิ้งและตัดขาดจากตัวตนของตัวเองที่ดำรงอยู่ ถ้าตัวตนเป็น modern ก็ต้องพร้อมที่จะละทิ้งความเป็น modern ด้วยเหตุผลของความเป็น modern เอง”  “ในการจะเป็น modern มันหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเป็น postmodern หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ถ้าใครจะเป็น modern เขา หรือเธอคนนั้นก็จะต้องเป็น postmodern มิฉะนั้นแล้ว เขาก็ไม่สามารถเป็น modern ได้” (Jean-Francois…
Cinemania
นพพร ชูเกียรติศิริชัย   ผมชอบคำว่า ‘เพื่อนบ้าน' (Neighbor) เนื่องจากผมเล็งเห็นว่า คำว่า ‘เพื่อนบ้าน' นั้นดูจะมีความหมายในการมอง ‘มนุษย์' ที่อยู่รอบๆ ตัวของผู้พูด ผู้เขียน ผู้ใช้ คำๆ นี้ในแง่ดี (Positive Thinking) ส่วนคำว่า ‘จ๊ะเอ๋' นั้น ผมจำได้ว่าเป็นคำที่ผู้ใหญ่หลายๆ ท่าน (รวมทั้งตัวผม) มักจะใช้เล่นกับเด็กๆ ด้วยการเอามือ ผ้า หรือสิ่งของอื่นๆ ที่หาได้สะดวก ปิดหน้าปิดตาของตัวผู้ใหญ่เอง (หรือใช้ปิดตาเด็ก) หลังจากนั้นจึงเปิดหน้าออกพร้อมรอยยิ้มแล้วกล่าวคำว่า ‘จ๊ะเอ๋' ซึ่งเด็กๆ ส่วนใหญ่ก็มักจะชอบและมักจะมอบรอยยิ้มหรือเสียงหัวเราะเป็นการแสดงความพึงพอใจต่อการละเล่นชนิดนี้…
Cinemania
  นพพร ชูเกียรติศิริชัย    บางครั้งผมก็รู้สึกเบื่อหน่ายที่จะต้องหอบสัมภาระมากมายเข้าไปในโรงภาพยนตร์ปัจจุบันผมแอบสงสัยว่าเหตุใดความสุขในการชมภาพยนตร์แบบเมื่อครั้งยังเป็นเด็กจึงสูญหายไป จนเมื่อมีโอกาสชมภาพยนตร์เรื่อง ‘สะบายดีหลวงพระบาง'จึงทำให้ผมรับรู้ว่าแท้จริงแล้วความสุขในวัยเด็กของผมไม่ได้หายไปไหน แต่หนังสือ ตำรา คำวิพากษ์วิจารณ์ ที่ผมแบกเอาไว้ในสมองต่างหากที่บดบังความสุขแบบที่เราคุ้นเคย 
Cinemania
นพพร ชูเกียรติศิริชัย ถ้าหาก E เท่ากับ EMOTION (อารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลง และ อื่นๆ), M เท่ากับ MAN (มนุษย์ไม่ว่าหญิง ชาย และอื่นๆ) และ C เท่ากับ CLOCK (ซึ่งหมายถึงระยะเวลา) จากสมการ E=mc2คุณคิดว่า ‘จำนวนของบุคคล' ที่เหมาะสมกับ ‘ความรัก' จะเท่ากับเท่าไหร่? รัก/สาม/เศร้า ตามสมการ รัก/สอง/สุข และเวลาแค่ไหนถึงจะพอสำหรับ ‘รัก' ‘รัก/สาม/เศร้า' เป็นเรื่องราวของเพื่อนรักสามคน ที่ ‘แอบรัก' กัน ในฐานะที่มากกว่าเพื่อน ‘น้ำ' แอบรัก ‘พายุ' ‘พายุ' แอบรัก ‘ฟ้า' โดยที่ตัวฟ้าเองก็ไม่เคยรับรู้มาก่อนเลยว่าพายุแอบรักตนเอง (และก็ไม่เคยรับรู้เช่นกันว่าเพื่อนรักของตนอย่าง ‘น้ำ' ก็แอบรักเพื่อนรักอย่าง ‘พายุ'…
Cinemania
  < นพพร ชูเกียรติศิริชัย >     หากพูดถึงประเทศจีน คุณนึกถึงอะไร? กังฟู, ก๋วยเตี๋ยว, หมีแพนด้า,มังกร, ลูกท้อ,ซาลาเปา, ปรัชญาลัทธิเต๋า และภูเขาสูงหน้าตาแปลกๆ   หากสิ่งเหล่านี้คือคำตอบของคุณ นั่นก็หมายความว่า คุณพร้อมแล้วที่จะไปสัมผัสกับภาพยนตร์ ‘KUNG FU PANDA’ หรือในชื่อภาษาไทยว่า ‘กังฟูแพนด้า จอมยุทธพลิกล็อค ช็อคยุทธภพ’   ผมไม่แน่ใจว่าหมีแพนด้าถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของ ‘มิตรภาพ’ ระหว่างประเทศจีน กับประเทศอื่นๆ ตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ที่แน่ๆ บทบาทความเป็น ‘ทูตสันติภาพ’ ของหมีแพนด้า ในบัดนี้ได้ถูกนำเสนอผ่านจอภาพยนตร์ฮอลีวู้ดไปเป็นที่เรียบร้อย 
Cinemania
   ปิติ-ชูใจท่ามกลาง ‘หนังซัมเมอร์' ที่ดาหน้ากันมาถมจนเต็มพื้นที่ในโรงภาพยนตร์ช่วงฤดูร้อน ทางเลือกของคนดูหนังใน ‘โรงหนังชั้นนำใกล้บ้านคุณ' ก็ยังไม่ได้หลากหลายอะไรนัก เพราะแนวทางหลักๆ ของหนังซัมเมอร์ที่เห็นอยู่ตอนนี้ก็มีแค่ แอ๊กชั่น, ตลก, สยองขวัญ และอนิเมชั่น กรณีที่อยากดูหนังนอกกระแส ก็ต้อง ‘เข้าเมือง' กันอย่างเดียว เพราะที่ทางของหนังเหล่านี้ยังกระจุกตัวอยู่ที่สยามหรือไม่ก็สุขุมวิทแค่นั้น (ซึ่งมันก็เป็นเรื่องเข้าใจได้ในยุคที่หนังถูกจำกัดความหมายให้เป็นแค่เครื่องมือผ่อนคลายและสร้างความบันเทิง) แต่อย่างน้อยที่สุด หน้าร้อนปีนี้ยังมีหนังไทยน่าสนใจอยู่ 2 เรื่อง ที่พอจะแหวกกระแสเดิมๆ…
Cinemania
   ::: ข้อความหลังเส้นประของข้อเขียนชิ้นนี้เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของภาพยนตร์ ::: โดย...ณภัค เสรีรักษ์ภาพยนตร์พูดภาษาอังกฤษเรื่องแรกของผู้กำกับชื่อดัง ‘หว่องการ์ไว' (Wong Kar Wai) ที่เพิ่งเข้าฉายให้ผู้ชมในดินแดนประเทศไทยได้ชมกันตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมที่เพิ่งจะผ่านมา (2008) ที่มีชื่อว่า My Blueberry Nights นั้น อาจมีประเด็นต่างๆ นานาให้สามารถสร้างบทสนทนากันได้มากมายและยาวนาน แต่สำหรับในที่นี้นั้น ผมอยากจะ ‘หยิบเลือก' เพียงบางประเด็นมา ‘อ่าน' หรืออีกนัยหนึ่ง ‘สนทนา' เกี่ยวกับ ‘ตัวละคร' ในภาพยนตร์ดังกล่าว ภายใต้ความคิดเกี่ยวกับเรื่อง ‘ความทรงจำ' ซึ่งสะท้อนร่วมกับความคิดเกี่ยวกับ ‘…
Cinemania
Between the FramesE-mail: betweentheframes@gmail.com:::Spoil::: บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาที่สำคัญของภาพยนตร์ :::Spoil::: "All those gathered here will know that it is not by sword or spear that the LORD saves; for the battle is the LORD's, and He will give all of you into our hands."                                                   …
Cinemania
 :::Spoil::: บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาที่สำคัญของภาพยนตร์ :::Spoil::: เวลา 2 ชั่วโมงกว่า (158 นาที) ในหนัง There will be blood - ผลงานเรื่องที่ 5 ของผู้กำกับ Paul Thomas Anderson คือเรื่องราวในด้านที่มืดดำของมนุษย์ เต็มไปด้วยความโลภ ความอ่อนแอ สันดานดิบ และแน่นอน...มันรวมไปถึง ‘การสร้างศรัทธา' ด้วยวิธีการอันน่าขนลุกด้วย...เราได้รู้จัก ‘เดเนียล เพลนวิว' (Daniel Day-Lewis) นักเสี่ยงโชคที่ตั้งใจทำเหมืองเงิน แต่บังเอิญได้ที่ดินซึ่งมีน้ำมันดิบนอนสงบนิ่งอยู่ใต้พื้นมาแทน โลกของเดเนียลไม่มีคำว่า ‘สุดแท้แต่โชคชะตา' หรือ ‘ศรัทธา' ไม่มีแม้กระทั่งคำว่า ‘พระผู้เป็นเจ้า'…
Cinemania
ซาเสียวเอี้ยการไล่ตีแมลงสาบบนฝาบ้าน อาจเป็นเกมสนุกสนานอย่างหนึ่ง และเพียงสายลมเย็นจากพัดลมมือสองที่เป่าไล่ความร้อนในค่ำคืนอบอ้าวอาจเป็นถึง ‘รางวัลชีวิต' ของสองพ่อลูกผู้ยากจน...ผู้อาศัยอยู่ในโลกแห่งความแร้นแค้นทั้งหมดที่่ว่ามา-อาจฟังไม่ต่างจากสงครามชีวิตสุดรันทด (บัดซบ!) แต่เมื่อเรื่องราวเหล่านี้ถูกถ่ายทอดผ่านมุมมองของ ‘โจวซิงฉือ' ไอ้สิ่งที่ควรจะเศร้า...กลับทำให้เราหัวเราะออกมาได้000ถึงแม้ว่าหน้าหนังของ CJ7 จะถูกโฆษณาว่าเป็นแนว Sci-fi แต่ ‘ใจความสำคัญ' ที่อยู่ในนั้น ไม่ใช่ ‘ความลี้ลับ' ของจักรวาลอันกว้างใหญ่ หรือถ้าจะพูดให้ชัดๆ ก็ต้องบอกว่า นี่คือหนังครอบครัวแนว Comedy-Drama ที่ให้ ‘…