Skip to main content

Kasian Tejapira(17/10/2012)

 

ที่มา Quote ไมเคิล ฮาร์ท(Michael Hardt) จากเพจ วิวาทะ 

ในฐานะผู้เคยทำการปฏิวัติด้วยความรุนแรง ผมใคร่บอกว่าเราต้องหาทางเจือผสมการปฏิวัติด้วยความไม่รุนแรงให้มากที่สุด เพราะเหตุใดน่ะหรือ? ก็เพราะว่าบรรดาไพร่ทาสราษฎรสามัญชนโดยทั่วไปนั้นหาได้มีอาวุธสงครามในมือเหมือนกลไกรัฐภายใต้การบังคับควบคุมของชนชั้นปกครองไม่ เมื่อใดการปฏิวัติตัดสินชี้ขาดกันด้วยอาวุธ เมื่อนั้นคุณจะพบว่าชนชั้นปกครองได้เปรียบเสมอและราษฎรก็สูญเสียมากเสมอ ไม่เชื่อก็ลองดูประสบการณ์ปี ๒๕๕๓ ในเมืองไทย เทียบกับชัยชนะโดยไม่มีอาวุธจากการเลือกตั้งในปีถัดมาเถิด

คุณทราบหรือไม่ว่ารายจ่ายงบประมาณเพื่อรักษาความสงบภายในของจีนนั้นบัดนี้พอ ๆ กับรายจ่ายงบประมาณเพื่อป้องกันประเทศภายนอกของจีนแล้ว นั่นแปลว่าในสายตารัฐทุนนิยมอำนาจนิยมของจีนนั้น ภัยคุกคามจากประชาชนภายในประเทศร้ายแรงพอ ๆ กับภัยคุกคามจากต่างประเทศ

หากคุณคิดว่าการปฏิวัติต้องทำด้วยความรุนแรงหรือนัยหนึ่ง "อำนาจรัฐเกิดจากปากกระบอกปืน" แบบประธานเหมาเจ๋อตงแล้วละก็ คิดดูสิว่าประเทศจีนจะมีอนาคตอย่างไร?

ถ้ายึดตาม Max Weber ปรมาจารย์สังคมวิทยาเยอรมันว่าอำนาจรัฐคือการผูกขาดอำนาจการใช้ความรุนแรงโดยชอบธรรมเหนืออาณาดินแดนหนึ่ง ๆ แล้ว ก็มีองค์ประกอบ ๓ อย่างในแก่นของอำนาจรัฐ

๑) อำนาจผูกขาดความรุนแรง

๒) ความชอบธรรมที่จะใช้อำนาจรุนแรงนั้น

๓) เหนืออาณาดินแดนหนึ่ง ๆ

หากวิเคราะห์ให้ดี แนวทางปฏิวัติแบบต่าง ๆ ก็คือการเข้าโจมตีกร่อนทำลายองค์ประกอบเหล่านี้นี้เอง

-ทำลาย ๑) ด้วยแนวทางปฏิวัติแบบรัสเซีย คือสร้างกองกำลังติดอาวุธของกรรมกรขึ้นมาใต้การนำของพรรคบอลเชวิค

-ทำลาย ๒) ด้วยแนวทางปฏิวัติแบบอิหร่าน คือบ่อนทำลายความชอบธรรมของรัฐพระเจ้าชาห์ลงในด้านต่าง ๆ จนในที่สุดแม้มีกองกำลังอาวุธ แต่ก็ไม่สามารถสั่งการให้ใช้ปราบปรามประชาชนที่ต่อสู้ประท้วงอย่างมีประสิทธิผลได้ คือมีปืนก็ยิงไม่ออก เพราะทหารตำรวจไม่ยอมทำให้

-ทำลาย ๓) ด้วยแนวทางปฏิวัติแบบเหมา สร้างเขตปลดปล่อยภายใต้อำนาจรัฐสีแดงขึ้นในอาณาดินแดนของประเทศ

คิดตรองดูเถิดว่าวิธีการไหนต้องใช้ความรุนแรงและวิธีการไหนสามารถใช้ความไม่รุนแรงได้?

 

ฮูโก ชาเวซ

 

บทเรียนจากการปฏิวัติโบลิวาเรียนของเวเนซุเอลา: Bullets or Ballots? Coup-makers or Voters?

ฮูโก ชาเวซเริ่มชีวิตการเมืองจากฐานะนายทหารชั้นผู้น้อย รวมแก๊งเพื่อนนายทหารชั้นผู้น้อยที่สนใจตื่นตัวทางการเมืองพยายามก่อรัฐประหารยึดอำนาจโค่นระบอบเลือกตั้งฉ้อฉลผูกขาดของพรรคการเมืองชนชั้นปกครอง แต่ล้มเหลว ตัวเขาเองถูกจับติดคุก

ก่อนมอบตัวยอมจำนน เขาขอเงื่อนไขออกทีวีอ่านแถลงการณ์ ทำให้เขาเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ ประชาชนนิยมนับถือ

ออกจากคุก เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง และได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี ๓ รอบถึงปัจจุบัน และเพิ่งชนะเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีวาระ ๔ ทำให้เขาอยู่ในตำแหน่งตั้งแต่ ๑๙๙๙ ไปจนถึง ๒๐๑๙ รวม ๒๐ ปีถ้าไม่มีอันเป็นไปเพราะโรคมะเร็งเสียก่อน

ในยุคสมัยของเขา มีความพยายามก่อรัฐประหารโค่นเข้าด้วยกำลังรุนแรง แต่ล้มเหลว เพราะแรงนิยมของประชามหาชนกดดันจนกองกำลังอาวุธกลับใจ

ตกลงการปฏิวัติโบลิวาเรียนและการรักษาอำนาจรัฐปฏิวัติของชาเวซ อาศัย bullets หรือ ballots กัน?

คิดดูให้ดี

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม