Skip to main content

ข้อเสนอของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ให้นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสังกัดพรรคการเมือง, ส.ส. มาจากระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม คือเป็นส.ส.แบ่งเขต ๒๕๐ คน และส.ส.แบบสัดส่วน ๒๐๐ คนโดยให้มีเขตเลือกตั้งสำหรับ ส.ส. แบบสัดส่วนเป็น ๘ กลุ่มจังหวัดตามภูมิภาค, และส.ว.ไม่เกิน ๒๐๐ คนมาจากการแต่งตั้งและคัดสรร ไม่ใช่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง นั้น

อุปมาอุปไมยได้ดั่ง “พายเรือในอ่างที่กำลังรั่ว” และสะท้อนวิกฤตจินตนาการทางการเมืองของตัวแทนชนชั้นนำอนุรักษ์นิยม/ปฏิกิริยาของไทย

สรุปก็คือไม่มีอะไรใหม่ ไม่ได้ไปเกินกว่าที่เคยพยายามทำมาแล้วตามรัฐธรรมนูญ คสช. พ.ศ. ๒๕๕๐ และระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบเมื่อสามสิบปีก่อน

เนื้อแท้ของข้อเสนอเหล่านี้คืออะไร? ผมคิดว่ามี ๓ ประการด้วยกัน กล่าวคือ

๑) ทำให้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารอ่อนแอลง เพราะตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนี่แหละที่เป็นหัวหาดของการเข้ายึดและควบคุมอำนาจรัฐจากพลังที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเสียงข้างมาก

๒) ด้วยการทำให้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตกเป็นตัวประกันทางอำนาจต่อรองกำกับควบคุมของบรรดาสถาบันและองค์การทางการเมืองที่ไม่ได้มาจากเสียงข้างมากทั้งหลาย (non-majoritarian institutions) หรือที่เรียกกันว่า “อำมาตย์”

๓) และบ่อนเบียนจำกัดโอกาสความเป็นไปได้ในการสร้างแกนนำทางการเมืองระดับชาติอันเป็นทางเลือกที่อาจมาจากพรรคการเมือง และต่างหากออกไปจากระบบราชการประจำ

หลัก ๆ แล้วเป้าหมายทั้งหมดมีแค่นี้ ซึ่งล้วนแต่พิสูจน์ตัวมันเองว่าล้มเหลวในการแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองของสังคมไทยในระยะสิบปีที่ผ่านมาแล้วทั้งสิ้น และไม่ได้เป็นที่ยอมรับนับถือของกลุ่มพลังยุทธศาสตร์ใหม่ที่ปรากฎตัวขึ้น

ชะตากรรมเบื้องหน้าของร่างรัฐธรรมนูญฉบับ “พายเรือในอ่างที่กำลังรั่ว” จึงเป็นที่คาดเดาได้

อันที่จริง ผมไม่คิดว่าเป็นภาระของผมที่ควรจะมาถกเสนออะไรเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญซึ่งมีปัญหาความชอบธรรมแต่ต้น เพราะอำนาจปฐมสถาปนาในการร่างรัฐธรรมนูญ (pourvoir constituant originaire) ที่ชอบธรรมต้องมาจากประชาชนแหล่งเดียวเท่านั้น ไม่ใช่แหล่งอื่น อย่างไรก็ตาม ถ้าจะถามถึงเกณฑ์ประเมิน (benchmark) ของผมในการหาทางออกเรื่องกฎกติกาบ้านเมืองเพื่อคลี่คลายความขัดแย้งในสังคมการเมืองไทยและปกป้องระบอบเสรีประชาธิปไตยไว้แล้ว ผมคิดว่ามีหลัก ๔ ประการคือ:

๑) ธำรงรักษาและขยายพื้นที่สิทธิเสรีภาพ

๒) ธำรงรักษาและขยายพื้นที่ประชาธิปไตย

๓) ไม่ดึงเอาสถาบันพระมหากษัตริย์เข้ามาเกี่ยวพันกับความขัดแย้งทางการเมือง

๔) ไม่ดึงสถาบันกองทัพแห่งชาติเข้ามาแทรกแซงทางการเมือง

สรุปก็คือถือรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๕๔๐ เป็นหลักหมาย ไม่ถอยหลังไปกว่านั้นในแง่ต่าง ๆ ทั้ง ๔ ที่กล่าวมา แล้วหาทางปรับปรุงติดตั้งกลไกสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยทางตรงต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการฉวยใช้อำนาจเสียงข้างมากที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาไปในทางมิชอบ (เช่น ร่างพรบ.นิรโทษกรรมเหมาเข่ง) และปัญหาการเคลื่อนไหวอนาธิปไตยนอกระบบสถาบันการเมืองของเสียงข้างน้อย (เช่น กปปส.)

 

หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้เผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊ก ‘Kasian Tejapira’ 28 ธ.ค.2557

บล็อกของ เกษียร เตชะพีระ

เกษียร เตชะพีระ
จาก "บทอาเศียรวาทของมติชน" ถึง "กาแฟลวกมือของ "ทราย เจริญปุระ" สู้ "การิทัตผจญภัย" นิยายปรัชญาการเมืองที่ตอนหนึ่งกล่าวถึงลักษณะของชุมชนนครหนึ่ง ที่ "เจตนาของผู้พูดผู้แต่งไม่สำคัญ ยึดเอาการตีความของผู้อ่านผู้ฟังเป็นสรณะ แล้วตัดสินวินิจฉัยตามนั้นเลย"
เกษียร เตชะพีระ
คำอธิบายของสายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิคกรณีดำเนินการกับพนักงานที่โพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย: ประเด็นไม่ใช่สีไหน แต่คือกระทำอะไร (Professionalism, not ideology, is the issue.) และตรรกะเบื้องหลังวิธีคิดและการกระทำสุดโต่งทางการเมือง
เกษียร เตชะพีระ
ข้ออ้างคำโตแค่ว่าตลาดข้าวหรือตลาดสินค้า/บริการด้านใดด้านหนึ่งเป็นระเบียบศักดิ์สิทธิ์ ห้ามรัฐยุ่งเกี่ยวแตะต้องสภาพดังที่เป็นอยู่ อันเป็นข้อถกเถียงแบบฉบับของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมกระแสหลักที่ระแวงการเมือง เกลียดรัฐแทรกแซง แบบตายตัวบ้องตื้นนั้น ฟังไม่ขึ้น มิพักต้องยกมากรอกหูอีกต่อไป
เกษียร เตชะพีระ
ไม่มีประชาธิปไตยแน่ ๆ คือสภาตรายางและการเลือกตั้งที่มีเก๊ทั้งนั้น หลังฉากจัดตั้งของพรรคคุมเข้มตลอด, ประชาชนลำบากเดือดร้อนก็หาทางประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐลำบาก การรอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชนหนักข้อมาก และไม่มีหลักนิติรัฐครับ ยืนยันได้ว่าไม่มี เพราะพรรคอยู่เหนือศาลและอยู่เหนือความพร้อมรับผิดทางการเมืองและกฎหมาย
เกษียร เตชะพีระ
ความสัมพันธ์อันมั่นคงยืนนานตั้งอยู่บนความรักโดยสมัครใจ ซึ่งกว่าจะได้มาก็ใช้เวลายาวนานในการปลูกสร้างสั่งสมจนเชื่อมั่นไว้วางใจกัน เพราะได้ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูลอุปถัมภ์กันในยามยากและยามคับขัน ให้อภัยกันในยามหลุดปากพลั้งมือผิดพลาดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเราตั้งใจจะคงความสัมพันธ์นี้ต่อไปและเราจะอยู่ด้วยกันอย่างยาวนานได้ก็ด้วยการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงนี้
เกษียร เตชะพีระ
"..ทุกสังคมมีพลังฝ่ายขวา ผมอยากให้เขาอยู่และรวมกลุ่มต่อสู้รณรงค์ในระบอบรัฐสภาครับ ถึงตอนนั้นเป็นไปได้ว่าเขาจะมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่เข้มแข็งกว่านี้ แต่ตอนนี้เขากลายเป็น outlet สำหรับสารพัดความอึดอัดไม่พอใจรัฐบาล แต่ไม่รู้จะสู้ในระบบอย่างไร.."
เกษียร เตชะพีระ
วิธีคิดที่เหมารวมการวิพากษ์วิจารณ์ทุกอย่างว่าเป็น hate speech นั้นไม่ต่างจากวิธีคิดของคนจำนวนมากในสังคมไทยต่อกฎหมายม. ๑๑๒ คือไม่สามารถแยกแยะระหว่าง วิพากษ์วิจารณ์ กับ ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย เลย ถ้าเราเริ่มคิดแบบนั้น เราก็กำลังเดินตรรกะเดียวกับผู้จงรักภักดีที่ไม่อาจแยกแยะแบบนั้นได้ น่าแปลกใจไหมครับ?
เกษียร เตชะพีระ
ตกลงประชาชนมีดุลพินิจถ่องแท้เที่ยงธรรม หรือ อ่อนเปราะพลิ้วไหวถูกคนอื่นชักจูงให้รังแกข่มเหงคนอื่นด้วยอคติกันแน่?
เกษียร เตชะพีระ
บางทีที่น่ากลัวที่สุดไม่เพียงแต่เป็น hate speech แต่รวมทั้ง love speech ด้วย อะไรที่สุดโต่งและไม่ฟังไม่ยับยั้งชั่งใจ คิดว่า สิ่งนี้ สำคัญ กว่าชีวิตคน น่ากลัวทั้งนั้น ไม่ว่ามันจะมาในนามอะไร? ความจงรักภักดี, สิทธิเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คำเหล่านี้ใช้เป่าคาถาฆ่าคนมาแล้วทั้งนั้น ไม่มีคำไหนไม่เปื้อนเลือด คำถามจึงไม่ใช่แค่กำจัดคำ แต่จะทำอย่างไรให้เงื่อนไขการใช้คำฆ่าคน น้อยลง
เกษียร เตชะพีระ
..ในสังคมสาธารณ์ที่ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ถูกบ่อนทำลายลงจากความรู้สมัยใหม่ทางวิทยาศาสตร์ทุกวี่วัน พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กลับเพิ่มพูนขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ และในทางกลับกัน พื้นที่เหล่านั้นก็กลับสาธารณ์หรือเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ลงทุกทีเหมือนกัน..
เกษียร เตชะพีระ
คนเพิ่งอพยพจากชนบทเข้าเมืองไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรทางการ ทำให้เข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ เช่น น้ำประปา, สาธารณสุข, โรงเรียน ยาก คนที่รายได้ไม่เข้าเกณฑ์ทางการ (ต่ำไม่พอ) ทำให้ไม่มีสิทธิ์ลงชื่อในทะเบียนคนจน ก็เลยพลอยไม่ได้สวัสดิการสำหรับคนจนของรัฐไปด้วย
เกษียร เตชะพีระ
...สันติวิธีหรือปฏิบัติการไม่รุนแรงเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยกว่าความรุนแรง และมีคุณค่าทางจริยธรรมในตัว สมควรได้รับการพิจารณาสำหรับผู้ต้องการต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าเพื่อเป้าหมายใดก็ตาม