Skip to main content
 

"Love films are broadcast late
But violence is allowed at any hour
While on a kibbutz a girl was raped
In the disco they set their spirits free"

- Violence -

เป็นเรื่องธรรมดาที่น้อยคนในบ้านเราจะรู้จักศิลปินหนุ่มจากอิสราเอลที่ชื่อ Aviv Geffen เพราะผมเองกว่าจะรู้จักเขาก็ต้องโยงอะไรหลายทอดอยู่เหมือนกัน

มันเริ่มจากการที่ผมชื่นชอบวงโปรเกรสซีฟร็อค ที่ชื่อ Porcupine Tree แล้วนักร้องนำและผู้กุมบังเหียนของวงนี้คือ Steve Wilson ในขณะที่ยังคงอยู่กับวงเดิม ก็ได้ออกไปมีโปรเจกท์ย่อยคือวง Blackfield ด้วย ซึ่งวงโปรเจกท์ของเขานี้ ก็ตั้งใจว่าจะเป็นวงป็อบร็อค ที่ทำร่วมกับนักดนตรีรุ่นน้องชาวอิสราเอลคนหนึ่ง และนักดนตรีรุ่นน้องที่ว่านี้ก็คือ Aviv Geffen นั่นเอง

ก่อนที่จะมาร่วมทำวง Blackfield นาย Geffen คนนี้ได้เคยมีผลงานอยู่ในบ้านเกิดตัวเองอยู่แล้ว แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ ขณะที่เราไม่ค่อยรู้จักเขากันเท่าไหร่ แต่สำหรับที่อิสราเอลแล้วเขาถือเป็นไอดอลร็อคสตาร์ประจำใจคนทั่วประเทศเลยทีเดียว

วง Blackfield : Aviv Geffen (ซ้าย) , Steve Wilson (ขวา)

ในทางดนตรีนั้น Aviv Geffen เป็นนักดนตรีป็อบร็อค ที่มีรูปลักษณ์แบบ Anti-Macho คือ ไม่เสริมคุณสมบัติตัวเองด้วยการอวดเบ่งความเป็นชาย จนบางครั้งอาจไพล่ให้นึกไปถึง David Bowie หรือ Lou Reed สไตล์เพลงของเขาได้รับอิทธิพลจาก U2 , Nirvana , Bob Dylan และนอกจากนั้นแล้วเจ้าตัวยังบอกเองว่าได้รับอิทธิพลอย่างมากจาก Roger Waters นักดนตรี/นักแต่งเพลงผู้มองโลกในแง่ร้ายและเคยเป็นมันสมองในยุคหนึ่งของ Pink Floyd

คงไม่เพียงดนตรีเท่านั้นหรอกที่เขาได้จาก Roger Waters มา แม้แต่การแต่งเนื้อเพลงรวมถึงแนวคิดซ้าย ๆ บางอย่างก็คงได้มาจาก Waters ด้วย (แต่ไม่น่าจะโหดเท่า Waters) เพราะ Aviv Geffen ไม่เพียงแต่เป็นขวัญใจคนหนุ่มสาวเท่านั้น เขายังเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองฝ่ายซ้ายคนสำคัญคนหนึ่งอีกต่างหาก

Geffen ก็เช่นเดียวกับศิลปินผู้ติดความเป็นนักเคลื่อนไหวคนอื่น ๆ เขาคิดจะใช้เพลงของตัวเองเป็นเครื่องมือเปลี่ยนแปลงสังคม เพลงที่เขาเขียนนั้นเต็มไปด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับความรัก สันติภาพ ภาพสะท้อนของยุคสมัย ความเลวร้ายของการสู้รบ และ ...ความตาย

ในฐานะที่อยู่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์ เขาต้องกลายเป็นส่วนหนึ่งการต่อสู้เรียกร้องสันติภาพในเหตุความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์อย่างแน่แท้ ในตอนนั้นกลุ่มของอิสราเอลแบ่งเป้นสองค่ายอย่างชัดเจนคือกลุ่มฝ่ายขวาอย่าง ค่ายชาตินิยม (National Camp) กับกลุ่มอิสราเอลซ้ายอย่างค่ายสันตินิยม (Peace Camp) และ Aviv Geffen ก็ได้เลือกที่จะอยู่ข้างเดียวกับกลุ่มสันตินิยม

ในช่วงที่มีการรณรงค์เพื่อสันติภาพอย่างแรงกล้านั้น เขาก็ได้อยู่ในเหตุการณ์สำคัญเหตุการณ์หนึ่งในปี 1995 คือเหตุการณ์สังหารอดีตนายกรัฐมนตรีนาย ยิทซ์ซัค ราบิน (Yitzhak Rabin) ขณะปราศัย ณ จัตุรัสกลางเมือง Tel Aviv

ในตอนนั้น Rabin เป็นนายกรัฐมนตรีของอิสราเอลที่มาจากการเลือกตั้ง และช่วงที่เขาเป็นรัฐมนตรีก็มีบทบาทสำคัญในการผลักดันนโยบายสันติภาพ เหตุการณ์ที่มีส่วนสำคัญมากที่สุดคือการทำสนธิสัญญาออสโล (Oslo Accord) ร่วมกับผู้นำปาเลสไตน์ ซึ่งสนธิสัญญานี้เป็นการมอบอำนาจการปกครองบางส่วนของดินแดนในฉนวนกาซ่าและเขตเวสต์แบงก์ ให้กับปาเลสไตน์ แลกกับการหยุดสร้างความรุนแรง

ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องดี แต่สนธิสัญญานี้ก็ได้ทำให้ชาวอิสราเอลแบ่งออกเป็นสองพวกอย่างชัดเจน ทั้งพวกที่เห็นด้วยและชื่นชม พวกนี้จะมองว่าเป็นสนธิสัญญาที่ช่วยหลักดันให้เกิดสันติภาพ ขณะที่ชาวอิสราเอลอีกส่วนหนึ่งกลับมองว่า Rabin เป็นคนทรยศที่มอบดินแดนที่ควรจะเป็นของอิสราเอลให้คนอื่นไป นอกจากนี้ยังได้ออกมาบอกว่าสนธิสัญญาออสโล ไม่ได้ทำให้การก่อการร้ายลดลงเลย มีแต่จะยิ่งทำให้เพิ่มขึ้น แล้วก็ยังมีชาวยิวผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์เหล่านี้

นอกจากนี้แม้ผู้นำองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ (ซึ่งองค์กรในตอนนั้นอ่อนกำลังลงมาก) จะยอมรับในข้อตกลงยับยั้งการต่อสู้ด้วยอาวุธและหันมาแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี แต่เนื้อหาส่วนหนึ่งของข้อตกลงได้สนับสนุนสิทธิในการครองดินแดนของไซออนนิสท์ (กลุ่มสนับสนุนแนวคิดว่าดินแดนนี้เป็นของยิว) และเป็นการทำข้อตกลงโดยผู้นำที่ไม่ได้ถามชาวปาเลสไตน์ ทำให้กลุ่มชาวปาเลสไตน์ทั้งฝ่ายชาตินิยมและฝ่ายซ้ายไม่พอใจเช่นกัน

ความไม่พอใจส่งผลบานปลายมาจนถึงในวันที่ 4 พฤศจิกายน 1995 ชาวยิวขวาจัดคนหนึ่งซึ่งไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรงกับสนธิสัญญานี้ ได้วางแผนที่จะสังหารนาย Rabin ขณะที่เขากำลังออกเดินสายสร้างการสนับสนุนสนธิสัญญาออสโลจากประชาชน (ทั้งๆ ที่มันได้ตกลงกันไปเรียบร้อยแล้ว) ซึ่งมือสังหารคนนี้คิดว่า มันจะทำให้ประเทศของเขารอดพ้นจากวิกฤตได้

ในวันเดียวกันนั้นเอง Aviv Geffen ในฐานะนักดนตรีผู้สนับสนุนสันติภาพก็ได้ขึ้นเวทีต่อหน้าผู้คนกว่า 3 แสนคน ที่โห่ร้องปรบมือแสดงความยินดี เขาได้ร้องเพลงบัลลาดที่ชื่อ "Livkot Lecha" ซึ่งเป็นชื่อเพลงภาษาฮิบรู แปลเป็นภาษาอังกฤษคือ "Cry for You" (ฉันร้องไห้เพื่อคุณ) โดยเนื้อหาของเพลงเป็นเหมือนเพลงที่จะร้องให้กับผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว

"Lanetzach achi
ezkor otcha tamid
Venipagesh basof ata yode'a.
veyesh li chaverim
aval gam hem kavim
El mul orcha hameshage'a."

- Livkot Lecha -

"Forever my friend
I'll see you in the end
And we will always be the best of brothers
The friends I have are fine
But in the light you shine
I only see the shadow of the others"

- คำแปลจากเนื้อเพลง Livkot Lecha (Cry for You)

แต่เหมือนชะตาเล่นตลก หลังจากที่จบการแสดงของเพลงนี้แล้ว Geffen ได้เข้าสวมกอดอำลานายกรัฐมนตรี บอกลากันด้วยคำว่า Shalom (ในภาษาฮิบรู คำนี้หมายความได้ทั้ง สวัสดี' ‘ลาก่อน' หรือ สันติ') แล้วหลังจากนั้นอีกไม่นานนัก ขณะที่ Rabin กำลังจะเดินไปขึ้นรถ เขาก็ได้ถูกมือสังหารเข้ามาเหนี่ยวไกใส่สามนัด พิษจากบาดแผลที่ถูกยิงทำให้ Rabin เสียชีวิตในเวลาต่อมา

"ฉันได้กลิ่นของปืนพก" คือปากคำส่วนหนึ่งของ Geffen ตอนที่ให้สัมภาษณ์ลงนิตยสารเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นวันนั้น

เป็นที่น่าตั้งคำถามว่า นอกจากกลิ่นของปืนพกแล้ว เขาได้กลิ่นของความไม่พอใจกับข้อตกลงนี้ด้วยหรือไม่ หลายต่อหลายครั้งที่คนเราลุกขึ้นมาสนับสนุนโดยที่ยังไม่เข้าใจความซับซ้อนของมันมากพอ เพียงแต่สนับสนุนเพราะมัน "เข้าทาง" สิ่งที่เราคิดฝันไว้เท่านั้นเอง 

หลังจากเหตุการณ์ ได้มีคนค้นพบกระดาษชีทเพลงเปิ้อนเลือดในกระเป๋า เนื้อเพลงในชีทเปื้อนเลือดนั้นคือเพลง Shar Lashalom (Song for Peace-บทเพลงเพื่อสันติภาพ) ซึ่งเป็นเพลงยอดนิยม และเป็นเหมือนเพลงประจำของกลุ่มซ้ายสันติในอิสราเอล โดย Rabin ได้ขึ้นร้องเพลงนี้ร่วมกับ Miri Aloni บนเวที ก่อนที่จะถูกสังหาร

มันฟังดูตลกร้ายตรงที่มีคนคิดว่าเพลง "Cry for You" ที่ Geffen ร้องในวันนั้นกลายเป็นเหมือนลางบอกเหตุสำหรับเหตุการณ์สังหารนาย Rabin อยู่กลาย ๆ แล้วเหตุการณ์นี้ยังทำให้ในเวลาต่อมาเพลง "Cry for You" กลายเป็นเพลงแห่งยุคสมัยสำหรับนักโปรโมทสันติภาพในอิสราเอลเลยทีเดียว

เหตุการณ์ในครั้งนั้นอาจจะเป็นเรื่องน่าตกใจสำหรับหลายๆ คน แต่ก็น่าเห็นใจมือสังหารผู้นั้นอยู่เหมือนกัน เพราะแทนที่เขาจะได้ในสิ่งที่หวัง แต่กลับกลายเป็นทำให้ชื่อของ Rabin ถูกนำไปใช้ในการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ของฝ่ายซ้ายไปเสีย (ยังไม่นับว่ามีคนโยงเรื่องนี้กับทฤษฎีสมคบคิด ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่ามาจากทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา)

ผมเองก็ไม่อาจทราบได้ว่าศิลปินผู้เลือกข้างอย่างชัดเจนเช่น Aviv Geffen จะเข้าใจความซับซ้อนของเหตุการณ์นี้ขนาดไหน แต่สิ่งที่พอจะรู้คือมันได้ทำให้ความคิดและจิตใจของเขาเปลี่ยนไป จากเดิมที่เขาเคยมีด้านที่จัดจ้าน เคยเขียนเพลงประท้วงแบบถอนรากถอนโคน (Radical) ก็เริ่มสุขุมเยือกเย็นและอ่อนโยนขึ้น เพลงของเขามีเนื้อหาการเมืองน้อยหรือเบาลง ขณะเดียวกันก็มีความลึกซึ้งกว่าเดิม

เขาได้บอกกับนิตยสารที่ให้สัมภาษณ์ว่า "ในอิสราเอลมันมีความกดดันมากพออยู่แล้ว มันไร้ประโยชน์ที่จะโยนน้ำมันลงไปในกองไฟ"

ความรู้สึกสะเทือนใจ เป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ แต่ขณะเดียวกันมันก็ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือได้ ไม่ว่าจะโดยฝ่ายใดก็ตาม แต่ผมลองคิดในด้านดีของมันว่า หากความสะเทือนใจในระดับปัจเจก มันได้รับการกลั่นกรองผิดถูกในสำนึกของแต่ละคน มันอาจจะทำให้คนๆ นั้นเติบโต และเรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาด หรือไม่งั้นก็เป็นสิ่งที่ช่วยกระแทกปลุกให้ตื่นจากความฝันได้

แล้ว Geffen เอง จะเติบโตจากสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ได้ขนาดไหนกัน

...ไว้คราวหน้า จะมาพูดถึงชีวิตและดนตรีของ Aviv Geffen รวมถึง Peace Camp ที่เขาสังกัดอยู่ด้วย

พอเขียนมาถึงตรงนี้ อารมณ์ของผมมันก็ไม่ค่อย Love and Peace เท่าไหร่แล้ว

 

 

บล็อกของ Music

Music
     จำได้ว่าเทปเพลงที่ผมได้ฟังเป็นม้วนสุดท้ายคือเทปรวมเพลงของ Bob Dylan ซึ่งผมไปอัดเอามาจากคนอื่นอีกที  ผมฟังมันจากเครื่องเล่นเทปพกพา (Walkman-ของปลอมเท่านั้น) แบบเปิดลำโพงได้ รถที่ผมใช้นั้นเครื่องเล่นเทปมันพังไปตั้งแต่ช่วงที่ถูกน้ำท่วมแล้ว ช่วงหนึ่งผมจึกมักจะเอา Walkman ตัวนี้มาวางเปิดไว้ในรถแทน และเวลาเดินทางด้วยรถทัวร์หรือรถไฟก็มักจะติดเจ้าเครื่องเล่นนี้เสียบหูฟัง ฟังเทปที่ว่านี้ไปขณะเดินทางทุกครั้ง จนแทบจะเรียกได้ว่าเป็น เทป Cassette คู่การเดินทางของผมไม่ว่าจะในระยะใกล้หรือระยะไกลเลยก็ว่าได้คุณภาพเสียงจากเครื่องเล่นของผมในตอนนั้น…
Music
 ที่ผ่านมาผมพูดถึงการที่ดนตรีไม่ได้ทำให้ใครกลายเป็นปัจเจกเทียมก็แล้ว พูดถึงโลกอันหลากหลายหลังปี 1970 ก็แล้ว พูดถึงการที่ตัวดนตรี Serious Music หรือ Popular Music ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการ Liberate อะไรโดยตรง (เว้นแต่วัฒนธรรมที่พ่วงมาด้วย จะว่าไป หากนับวัฒนธรรมที่พ่วงมาด้วย Popular Music น่ะ ช่วย “ปลดปล่อย” ผู้คนได้มากกว่าด้วยซ้ำ) ก็แล้วสำหรับในบทนี้ก็จะมาพูดถึงสิ่งที่อดอร์โนทำผิดพลาดมากที่สุด นั่นคือการปฏิเสธดนตรีป็อบโดยสิ้นเชิง ไม่ร่วมสังฆกรรมใด ๆ กับมันอีก เพราะเขาได้ตีกรอบมาแล้วว่าดนตรีป็อบมันย่อมเป็นอะไรที่ถูกทำให้มีมาตรฐานเดียวกัน (Standardize) และความที่มันมีมาตรฐานเดียวกันนี่เอง…
Music
   In The Flesh?"Tell me is something eluding you sunshine?Is this not what you expected to see?If you'd like to find out what's behind these cold eyesYou'll just have to claw your way through this disguise"จากเพลง ‘In The Flesh?'ของ Pink Floydอดอร์โน...ผมศึกษาและเขียนแย้งแนวคิดของคุณในเรื่องป็อบปูล่าร์มิวสิคมาพอสมควร แต่สิ่งที่ผมค้นพบได้จากตัวคุณมันมีแต่เรื่องเกี่ยวกับความคิดทฤษฎีทั้งนั้นบางขณะที่ผมเคาะแป้นคีย์บอร์ดถกเถียงกับทฤษฎีของคุณ ผมก็ไพล่นึกไปว่า ในช่วงที่คุณมีชีวิตอยู่นั้น อะไรที่ทำให้คุณบันเทิงใจกับดนตรีที่มีซาวด์แบบ Atonal จนคุณถึงกับเขียนชมมันเป็นวรรคเป็นเวรขนาดนี้ (…
Music
    Arnold Schoenberg(นักประพันธ์เพลงคนโปรดของ Adorno)ดูเหมือนความตายของ Adorno ในปี 1969 จะทำให้ผู้ที่ใช้แนวคิดของ Adorno มาวิพากษ์ Popular Music หยุดเติบโตไปด้วย พวกเขามักจะมองดนตรีที่มีอิทธิพลตั้งแต่ยุค 70's เป็นต้นมาอย่างเหมารวมและติ้นเขิน พวกเขาถึงขั้นจัด The Beatles, Nirvana และ Linkin Park ไว้ในประเภทเดียวกันผมไม่ปฏิเสธความเป็นป็อบและร็อคของทั้งสามวงที่ยกตัวอย่างมานี้ หากความเป็นร็อคคือความหนัก และการมีจังหวะที่ชัดเจน หากความป็อบคือความติดหู ฟังง่าย ผมก็เชื่อว่าทั้ง สี่เต่าทอง, กรันจ์เจอร์นิพพาน และ สวนสาธารณะของลินคอร์น ต่างก็มีความเป็นป็อบและความเป็นร็อคทั้งสิ้น (…
Music
Theodor W. Adornoผมได้อ่านบทความเรื่อง "ทบทวนแนวคิด ‘อุตสาหกรรมวัฒนธรรม' : เมื่อวัฒนธรรมกลายเป็นอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมสร้างวัฒนธรรม" ของ อ.เกษม เพ็ญภินันท์ จากวิภาษาฉบับที่ 7 แล้วก็นึกขึ้นได้ว่าเคยอ่านเรื่องของนักคิด/นักวิจารณ์ ที่ชื่อ Theodor Adorno นี้ จากบทความชื่อ "อดอร์โนกับอุตสาหกรรมวัฒนธรรม : กรณีศึกษาเพลงสมัยนิยม (Popular Music)" ในหนังสือชื่อ "เหลียวหน้าแลหลัง วัฒนธรรมป็อบ" ซึ่งเป็นบทความที่พูดถึงเกี่ยวกับดนตรีโดยเฉพาะAdorno เป็นนักคิดสังคมนิยมชาวเยอรมัน ผู้นำเอาแนวคิดของทั้ง Max Waber, Marx และ แม้แต่ Sigmund Freud เข้ามาจับในงานเขียนเชิงวิพากษ์วิจารณ์ของเขา…
Music
ยามใกล้เที่ยงคืนของวันที่ 31 ธันวาคม หรือวันสิ้นปี ในหลาย ๆ พื้นที่ของโลกจะมีการร้องเพลงที่ชื่อ "โอลด์ แลงค์ ซายน์" (Auld Lang Syne) ซึ่งนับเป็น New year's Anthem ฉบับสากล เช่นเดียวกับที่ในไทยมีเพลงตามประเพณีอย่าง "สวัสดีปีใหม่" นั่นแลเพลง "สวัสดีปีใหม่" ของไทยที่ผมได้ยินมาตั้งแต่เด็กแล้ว ผ่านเลยมาไม่ว่ากี่ปี ๆ ก็ยังได้ยิน โดยตามประวัติศาสตร์เพลงนี้มีมาตั้งแต่ สมัยช่วงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของ จอมพล ป. (ไม่มีกุ้งเผา) เป็นช่วงที่เปลี่ยนวันปีใหม่ไทยจาก 1 เมษายน มาเป็น 1 มกราคม เพื่อความเป็นสากล (ข้ออ้างยอดฮิตของชนชั้นนำในยุคนั้น) และ "สวัสดีปีใหม่" ก็เป็นหนึ่งในเพลงเทศกาล ที่มาจากวงสุนทราภรณ์…
Music
"ถึงรู้ว่ามันจะต้องเกิดขึ้น แต่ก็ยากจะทำใจ"คำๆ นี้ใช้ได้ดีกับสถานการณ์ในช่วงวันที่ 19-21 ที่ผ่านมา กับการที่พวก Elite ทั้งหลายที่นั่งเออออห่อหมกกับร่างกฏหมายที่จะมีผลกับประชาชนทั้งประเทศ ดูตัวเลขก็รู้แล้วว่าพวกเขาเออออห่อหมกกันขนาดไหน ไม่โปร่งใสมากขนาดไหน และเผด็จการกันขนาดไหน!เป็นที่รู้กันว่า พวก Elite ทั้งหลายนี้มาจากการคัดเลือกแต่งตั้งกันเองของคนบางกลุ่ม ซึ่งทำให้ได้กลิ่นคณาธิปไตยตุๆ แล้ว กระบวนการพิจารณากฏหมาย ที่พากันออกถี่ระรัว จนราวกับว่าพวกเขาไม่ได้คลอด กม.ลูกทั้งหลายอย่างมีสติ แต่เหมือนคนเมาสำรอกอาเจียนเอาทุกสิ่งทุกอย่างในใส้ในพุงออกมา!ใช่แล้ว!…
Music
นึกย้อนไปถึงวันที่ได้เข้ามหาวิทยาลัยวันแรกๆ ชุดยูนิฟอร์มถูกระเบียบกับตำราเรียนเล่มใหญ่ๆ หอพักในมหาวิทยาลัยที่ทำให้พานพบกับผู้คนมากหน้าหลายตา ความรู้สึกอย่างหนึ่งที่ต่างไปจากตอนเรียนในโรงเรียนมัธยม คือความรู้สึกว่า ที่นี่ ฉันจะมีเสรีภาพมากขึ้น มีชีวิตที่หลากหลายกว่าเก่า และพื้นที่ทางความคิดที่จะปลดปล่อยฉันจากกรงขังอันแปลกแยกของโลกใบเดิมได้แต่แล้วก็ได้พบว่า สิ่งที่คาดหวังเอาไว้มันเป็นความจริงเพียงแค่บางส่วน นอกนั้นเป็นมายาภาพที่ฉันนึกฝันเอาเองใช่ๆ ฉันเคยถูกเสี้ยมสอนเช่นเดียวกับอีกหลายๆ คนว่าผู้ใหญ่เป็นผู้มีประสบการณ์ สิ่งที่พวกเขามอบให้เราต้องเป็นสิ่งที่ดีแน่ๆ แต่มันเป็นเช่นนั้นจริงหรือ…
Music
"ไม่ว่าจะสูงต่ำดำขาว ทุกคนล้วนมีชีวิตเฉกเช่นเดียวกัน ไม่มีชีวิตของใครที่มีค่ามากกว่าของใคร ท่านทั้งหลาย...ประโยคสุดท้ายในเพลง Imagine ของ จอห์น เลนนอน ไม่ได้มีความหมายแบบนี้หรอกหรือ"
Music
Magic เป็นชื่ออัลบั้มล่าสุดของ Bruce Springsteen (หรือที่เรียกกันว่า The Boss*) ในอัลบั้มนี้เขากลับมาร่วมงานกับวงแบ็คอัพที่ชื่อ E Street band อีกครั้ง ทำให้ทิศทางของอัลบั้มนี้เน้นไปที่แนวทางของร็อคอีกครั้ง หลังจากอัลบั้มที่แล้วคือ Devils and Dust ออกเป็นงานแนวโฟล์คมากกว่าแต่ไม่ว่าจะเป็น Bruce Springsteen ในแบบของโฟล์คหรือ Bruce Springsteen ในแบบของร็อค ผมก็รู้สึกว่าดนตรีของ The Boss ผู้นี้ก็ช่างเต็มไปด้วยกลิ่นอายของความเป็นอเมริกันอยู่เสมอมาซึ่งดนตรีในอัลบั้ม Magic นี้ไม่เพียงแค่กลิ่นของความเป็นอเมริกันที่ยังคงมีอยู่ถ้วนทั่วอย่างเดียวเท่านั้น แต่ละเพลงที่ถ่ายทอดออกมาจาก The Boss กับวง E…
Music
ในคืนวันที่ 10 ของเดือนที่แล้ว (ตุลาคม)...ผมนั่งหน้าจอคอมพ์ใจจดใจจ่ออยู่กับเว็บไซต์ http://www.inrainbows.com/ เพราะได้ข่าวว่าวง Radiohead จะประกาศขายเพลงแบบ Digital Download ผ่านทางเว็บไซต์นี้และที่ทำให้คนตื่นเต้นกันอย่างหนึ่งก็คือ การที่ทางวง Radiohead ประกาศว่า จะสามารถสั่งซื้อในแบบที่ผู้ซื้อสามารถให้ราคาเองได้ตามใจชอบ ...ตามใจชอบในที่นี้หมายความว่า แม้แต่จะใส่เงินเป็น 0.00 (ซึ่งก็เหมือนขอโหลดมาฟรี ๆ นั่นแหละ) ก็สามารถทำได้ ! ซึ่งจะว่าไปเรื่องนี้ก็ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ขนาดนั้น เพราะผมเคยเจอวงที่ชื่อว่า Craw เปิดเว็บไซต์ที่ใช้ชื่อง่าย ๆ ว่า http://www.craw.com/…
Music
"ความฉาบฉวยและความสับสนอาจจะทำให้บางคนคิดว่ามันเวอร์ไปหรือเปล่า ยุคสมัยมันหม่นมืดขนาดนี้จริงๆ หรือ ต้องไม่ลืมว่าวง Porcupine Tree มาจากประเทศอังกฤษ มิวสิควีดิโอเพลง Fear of a Blank Planet เองก็อาจชวนให้นึกถึงเหตุการณ์บางอย่างที่เคยเกิดขึ้นจริง (หลายครั้ง) ในสหรัฐฯ และที่สำคัญคือการเล่าของพวกเขาก็ไม่ได้ตัดสินอะไรแทนเราว่าสิ่งที่บอกผ่านออกมานี้ดีหรือไม่ดี" วง Porcupine Tree อาจจะเป็นที่รู้จักน้อยมากสำหรับคนทั่วไป และอาจจะเป็นที่รู้จักบ้างพอสมควรสำหรับคนที่ชอบฟังเพลงแนว Progressive Rock ซึ่ง Porcupine Tree ถือเป็นวงที่มีแนวทางของ Psychedelic/Space อันหลอนและล่องลอยแบบ Pink Floyd เป็นหลัก…