Skip to main content

กิตติพันธ์ กันจินะ

ความรู้สึกแรกที่เกิดขึ้นเมื่อมีการชุมนุมของพี่ๆ ทั้งกลุ่มพันธมิตรฯ และ กลุ่มต้านพันธมิตรฯ คือ “อีกแล้วเหรอ”  ซึ่งเป็นความรู้สึกที่กลัวว่าเหตุการณ์จะนำพาไปสู่เหตุการณ์ “รัฐประหาร” เหมือนเมื่อครั้งปี 2549 อีกหน

ที่ผ่านมากลุ่มพันธมิตรฯ ถูกมองว่า เป็น “เงื่อนไข” สำคัญที่ทำให้เกิดการรัฐประหารในครั้งล่าสุด แถมยังไม่ค่อยมีบทบาทมากนักในการต่อต้านรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งเลยแม้แต่นิด ซึ่งมันก็ไม่แปลกที่คนอื่นๆ ทั่วไป เขาจะมองว่ากลุ่มพันธมิตร เอาดี เห็นงาม กับการทำให้เกิดเหตุการณ์เยี่ยงนั้น

สำหรับนักประชาธิปไตยอีกฝากแล้ว ท่านเหล่านั้นคงรับไม่ได้กับที่มาและการดำรงซึ่งอำนาจของคณะรัฐบาลรัฐประหาร เพราะไม่มีทั้งความชอบธรรม และหลักการตามครรลองประชาธิปไตย ทำให้หลายๆ คนไม่ยอมรับ “รัฐธรรมนูญ” ฉบับปัจจุบัน เพราะถือว่าที่มาไม่ถูกต้อง เสมือนเป็นดั่งไข่ของเผด็จการที่มอบไว้กับสังคม (คนกลุ่มนี้ อาจมีทั้งที่รักและไม่รักคุณทักษิณอยู่ด้วย)

ที่ว่ามาแบบนี้ ผมไม่ได้อยู่ในกลุ่ม “สองไม่เอา” นะครับ, คือ ผมไม่รู้ว่า “จะเอาอะไร” มากกว่า หรือ หากพูดให้ตรงๆ ก็คือใครจะทำอะไร จะชุมนุม จะแก้ ไม่แก้ อย่างไร มันก็ไม่ได้ทำให้ผมเดือดร้อนมากมาย

เพราะผมคิดว่า ไม่จำเป็นต้องออกมาชุมนุมคัดค้านหรือสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ผมไม่จำเป็นต้องแสดงท่าที แถลงการณ์ต่อกลุ่มที่ชุมนุมทั้งหลาย เรื่องเหล่านี้ “ถูกขีดบรรทัด” ว่าเป็นเรื่องของ “ผู้ใหญ่” ไม่ใช่เรื่องของ “เด็ก” เพราะเด็กๆ จะไปรู้อะไรล่ะ

ที่ว่าไม่รู้อะไรก็เพราะ ท่านทั้งหลายที่ออกมาชุมนุม ไม่ฟังหรือไม่ให้พื้นที่กับเสียงที่เห็นต่างเลยแม้แต่นิด ดูตัวอย่างเช่น “ปรากฏการณ์ริบบิ้นขาว” สิครับ ผมว่าเป็นสิ่งที่ดีมากที่คนรุ่นใหม่หลายๆ คนออกมาสนับสนุนให้ไม่ใช่ความรุนแรง (แต่อาจพลาดตรงที่ข้อความนี้ควรไปถึงผู้เล่นในเกมนี้ทุกกลุ่ม ไม่ใช่เน้นมาที่แค่กลุ่มพันธมิตร) แต่ก็ถูกบางกลุ่มใช้ประโยชน์ หรือ วิพากษ์ว่าเป็นการกระทำอ่อนเดียงสาไปนิด

พวกท่านที่วิพากษ์เหล่านั้นคงเป็นปรมาจารย์ในการต่อสู้ทางการเมืองมายาวนาน จนมองว่าการกระทำของคนอื่นนั้นไม่ดี ไม่งาม ขัดหู ขัดตา ซ้ำร้ายไปอีกที่คนกลุ่มเหล่านี้มักจะวิพากษ์คนอื่น แต่ไม่เคย “หยุด” มองตัวเองในฐานะ “ผู้ดู” บ้างเลย (ซึ่งการที่เป็นเพียง “ผู้เล่น” จนติดอยู่ในอารมณ์ก็เป็นการยากยิ่งที่จะถอนตัวออกมา “รู้” และ “ทัน” กับอารมณ์ความคิดจริตที่เกิดขึ้น)

ที่กล่าวมานี้ ไม่ได้หมายถึงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่หมายถึงทุกๆ กลุ่มที่ออกมาชุมนุมกันนี่แหละครับ กลุ่มเหล่านี้ มีการขับเคลื่อนไปในแนวทางที่ตัวเองมี “ธง” ไว้ ทุกกลุ่มมี “เป้าหมาย” และมุ่งเดินก้าวไปอย่างไม่ละความพยายาม

กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ออกมาทั้งคัดค้านการชุมนุม หรือกลุ่มที่สนับสนุนให้ชุมนุมโดยสันติวิธี รวมถึงกลุ่มที่มีการแถลงดักคอทหารไม่ให้ออกมาปฏิวัติ ทุกๆ กลุ่มล้วนอยากเข้ามามีส่วนร่วมทางสังคม แต่ผู้ใหญ่กลับมองว่าคนรุ่นใหม่เหล่านี้ เป็นเพียง “ไม้ประดับ” หรือ “เครื่องมือ” ทางการเมืองของคนบางกลุ่ม....นี้ช่างเป็นการดูถูกปัญญากันสักหน่อยนะครับ

ผมว่าเพื่อนๆ รุ่นเดียวกันกับผม มีปัญญาพอที่จะคิดและอยากให้สังคมการเมืองพัฒนาไปไกลมากกว่านี้ แต่การถูกกีดกันและสงวนพื้นที่ไม่ให้เข้ามายุ่งมากนักนี่แหละ จะเป็นตัวปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่สนใจการเมือง

ยิ่งการต่อสู้ของคนสองกลุ่มความคิดและสี่ห้าวาระซ้อนเร้น ยิ่งทำให้เกมการเมืองครั้งนี้ไม่รู้ว่าจะออกมาในแนวไหน จะออกมาเป็นสีอะไร ไม่ขาว ไม่ดำ ไม่เหลือง ไม่แดง ดูเหมือนจะเป็น “สีเทา” คือ ไม่ว่ายังไงก็ไม่ดี หรือ ดีน้อย ไม่มีอะไรสมบูรณ์ไปหมดจดหรอก

และการเมืองในช่วงนี้ ดูแล้ว มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น มีปัจจัยหลายอย่างมาเกี่ยวข้อง ทั้งเรื่องปากท้อง ความยากจน น้ำมัน และระบบเศรษฐกิจต่างๆ ทำให้ไม่รู้ว่าจะออกมาหน้าตาเป็นอย่างไร (นอกจากพัง!?) และหน้าตาสังคมที่จะออกมาใหม่นี้ จะเป็นการ “รื้อสร้าง” ระบบการเมืองใหม่เลยหรือไม่นั้น เป็นสิ่งที่ต้องร่วมกันติดตาม และตามมาติดๆ ว่าเราอยากให้การเมืองออกมาอย่างไร

อย่างไรเสีย ตอนนี้คนรุ่นใหม่ที่ไม่อยากเข้าไปยุ่งวุ่นวายมากนักกับพื้นที่การต่อสู้ของกลุ่มคนเหล่านั้น พวกเราอาจชวนกันมาคุย มามองดู สังคมและการเมืองในระยะยาวกันดีกว่า ว่าอนาคตเราอยากเห็นแบบไหน การเมืองแบบไหนที่เป็นมิตรต่อคนรุ่นใหม่และสังคม และ ปลดแอกจากการเมืองเดิมๆ ที่วนไปเวียนมาอย่างห้วงนี้

ขอเสริมเรื่องการเมืองในอนาคตสักนิด คือเพื่อนผมคนหนึ่ง เขาเสนอในวงสนทนาว่า การเมืองในอนาคตควรจะมีศูนย์ข้อมูลนักการเมือง เพื่อให้เรามีสิทธิในการฟ้องร้องได้ เขาบอกว่านักการเมืองตอนนี้เหมือนผลไม้กองรวมกัน มีทั้งดีและไม่ดีรวมกันอยู่ แต่เราแยกกันไม่ออกว่าดียังไง เราไม่รู้ว่าท่อนกลางๆ ดียังไงบางคนมองภาพรวมว่าคุณค่าของตลาดการเมืองลดน้อยลง ทำยังไงให้ภาพนักการเมืองดูชัดเจน เขาจึงเสนอให้มีศูนย์ข้อมูลนักการเมือง ทำหน้าที่สังเคราะห์ข้อเท็จจริงของนักการเมือง ซึ่งมีใช้แล้วในประเทศเกาหลี

หรือแม้แต่หลักการกฎหมายการเลือกตั้ง ที่ต้องเข้มงวดและดำเนินการอย่างจริงจัง ตรงไปตรงมา เพื่อนอีกคนเสนอว่า “ประชาชนต้องสามารถฟ้องรัฐบาลที่ไม่ทำตามสัญญาได้ เรื่องกฎหมายที่เราจะแก้ตอนนี้คือการยุบพรรค มันไม่ได้ช่วยให้การเมืองเราดีขึ้น ต้องถามว่าพรรคฟอร์มตัวได้ยังไง มาจากทุนและอุดมการณ์เดียวกัน แต่ตอนเรายุบ ยุบเฉพาะนามธรรม มันไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้น ถ้าอยากจะยุบพรรคต้องหาเครื่องมือที่ทำได้จริงเช่นยึดทรัพย์พรรคการเมืองด้วย เช่น การยุบพรรคต้องเลือกตั้งใหม่พรรคนั้นต้องเสียค่าใช้จ่ายในระดับพรีเมี่ยม ต้องนึกถึงค่าเสียโอกาสของสังคมอยู่ด้วย เวลาพูดแบบนี้คนในรัฐบาลชอบพูดว่าคำนวณยาก จริงๆ แล้วมันก็ยากซับซ้อน แต่มันคือหน้าที่ของคุณไม่งั้นในตุรกีก็ยุบอยู่นั่นแหละ แล้วก็ได้พรรคเดิมๆ”

หรือแม้แต่ว่า หากพรรคการเมืองไหนตกลงว่าจะมีนโยบายสาธารณะแบบใดแล้ว เมื่อได้เป็นรัฐบาลกลับไม่ทำ ก็จะต้องจ่ายค่าทดแทนให้กับประชาชน เป็นค่าธุรกรรมทางการเมืองที่ต้องจ่ายคืนประชาชน เพราะไม่ได้ทำตามสัญญา.....

พี่ๆ ที่อ่านอยู่ครับ....เมื่ออ่านมาถึงตรงจุดนี้ ผมเพียงอยากบอกว่า ในการก้าวย่างทางการเมืองท่ามกลางบรรยากาศสีเทาๆ เช่นนี้ การที่คนรุ่นใหม่ไม่เข้าไปยุ่งหรือร่วมกับการชุมนุมมากก็เพราะพื้นที่ของเรามีน้อย และมันเป็นเรื่องที่ละเอียด ซับซ้อนมากกว่าทุกๆ ครั้งที่ผ่านมา

การตั้งวงคุยกัน สนทนา ปรึกษา และหาทางออกนั้น เป็นสิ่งที่เราหลายๆ คนรวมตัว และสร้างการเรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยนำบรรยากาศการเมืองในห้วงเวลานี้มาคุยและวิเคราะห์ในมุมต่างๆ พร้อมทั้งมองภาพไปยังอนาคต มองออกไปในฐานะ “ผู้ดู” ไม่ใช่ “ผู้เล่น” ที่หลงอยู่ในอารมณ์การเมืองเฟื้องประสาทจนเงยหัวไม่ขึ้น

และแน่นอน ผม (หรือพวกเราบางคน) ก็ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลชุดนี้เท่าใด และไม่เห็นว่าการชุมนุมจนทำให้เกิดการรัฐประหารในเบื้องปลายจะทำให้ปากท้อง หรือ ประชาธิปไตยของประเทศนี้ดีขึ้น หากเพียงผมเชื่อในการชุมนุมจนรัฐบาลหน้าด้านทนไม่ไหว ยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ ให้เป็นไปตามครรลองของระบบการเลือกตั้ง นี่น่าจะเป็นก้าวย่างที่เหมาะ และอย่างไรเสียการเมืองในประชาธิปไตยจำเป็นต้องเปิดโอกาสให้กับการเมืองภาคพลเมืองเข้ามาตรวจสอบและมีส่วนร่วมอย่างมีความสมดุล

ส่วนตอนนี้ ปัจจุบันนี้ หากใครอ่านเรื่องทั้งหมดที่ผมเขียนมาทั้งหมด “ไม่เข้าใจ” ก็ไม่ต้องกลับไปอ่านใหม่อีกรอบ เพราะ “ความไม่เข้าใจ” ในเรื่องที่ผมเขียน ก็เหมือนกับ “การเมือง” ณ เวลานี้ ที่ไม่ได้สร้างความเข้าใจให้กับคนในสังคม มากกว่าการมีเรื่องงงๆ วาระซ้อนเร้นไปๆ มาๆ อยู่เยี่ยงนี้

เรื่องที่เขียนมาจึงเขียนขึ้นด้วยความโง่เขลา เขียนแบบงงๆ ซื่อๆ เซ่อๆ เรื่อยมาตั้งแต่ต้นจนถึงตอนจบ  และหวังว่าตอนจบของข้อเขียนนี้จะไม่เหมือนตอนจบของเหตุการณ์การเมืองที่จะจบลงด้วยความมึนๆ งงๆ เหมือนๆ กันนะครับ

บล็อกของ กิตติพันธ์ กันจินะ

กิตติพันธ์ กันจินะ
งานวิจัยมากมายทยอยออกมานำเสนอผ่านสื่อมวลชน ในช่วงก่อนวาเลนไทน์ ชนิดที่ว่า นอกจากจะเป็นช่วงเทศกาลวันแห่งความรักแล้ว ยังเป็นเทศกาลนำเสนอผลวิจัยวัยรุ่นอีกก็ว่าได้งานวิจัยที่ออกมาส่วนใหญ่แล้ว มีลักษณะ “ถ้ำมอง” และ นำเสนอด้าน “ลบ” ของวัยรุ่นเพียงอย่างเดียว ทำนองว่า วัยรุ่นจะมีเพศสัมพันธ์กันมากที่สุดในวันดังกล่าว – ผมเองได้พยายามค้นหาดูว่ามีผลวิจัยหรืองานสำรวจอะไรบ้างที่ให้ข้อเสนอแนะทางออกในเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับเรื่องเพศของวัยรุ่นนอกจากผลการสำรวจของ เครือข่ายเยาวชนด้านเอดส์ ประเทศไทย (Youth Net) ที่เสนอว่า วัยรุ่นกว่า 70% เห็นว่าควรมีวิชาเพศศึกษาในหลักสูตรของทุกโรงเรียน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
1นันกับฝน เรียนอยู่มหาวิทยาลัยอีกไม่กี่เดือนก็จะจบการศึกษาแล้ว เขาทั้งสองเป็นเด็กต่างอำเภอที่ได้ย้ายมาเรียนในตัวเมืองของจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคเหนือทั้งสองคนพบกันครั้งแรกตอนเข้า ม.4 ตอนนั้นเป็นจุดตั้งตนให้เขาและเธอได้รู้จักและพัฒนาความสัมพันธ์เรื่อยมาจนเป็นแฟนกัน และจากนั้นนันกับฝนจึงตัดสินใจย้ายหอมาอยู่ด้วยกัน อาศัยห้องเดียวกัน ตอนเรียน ม.5 ตอนที่มีอะไรกันครั้งแรก นันใช้ถุงยางอนามัย เพียงเพราะยังไม่อยากรับผิดชอบผลกระทบที่จะตามมาจากการมีอะไรโดยไม่ได้ป้องกัน เขาไม่ได้ให้ฝนคุมกำเนิดด้วยการทานยาคุมกำเนิดเพราะกลัวผลข้างเคียง ที่จะเกิดขึ้น แต่เลือกใช้ถุงยางอนามัยทุกๆ ครั้ง พอเรียนจบ ม.6…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ผมเพิ่งกลับจากค่ายเยาวชนที่จังหวัดเชียงราย เป็นการจัดกิจกรรมเรื่องเพศ มีวัยรุ่นหลายคนเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งโดยหลักแล้วก็เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในเรื่องเพศ เพศภาวะ และเพศวิถี ซึ่งเน้นการพูดคุยจากมุมภายในของผู้เข้าร่วมแต่ละคนมีน้องคนหนึ่งที่มาร่วมกิจกรรม บอกความรู้สึกกับผม “ผมดีใจมากครับ ที่ได้มาร่วมกิจกรรมนี้ อยากเข้าร่วมกิจกรรมแบบนี้ แต่ไม่ค่อยมีโอกาสเลย ดีนะครับที่พวกพี่มาจัด” น้องอีกคนหนึ่งก็บอกอีกว่า ที่ชุมชนของตัวเองได้มีการจัดกิจกรรมโดยอบต. แต่กิจกรรมส่วนใหญ่จะเน้นการกีฬา กิจกรรมตามวันสำคัญ และเยาวชนในชุมชนก็เข้าร่วมฟังน้องทั้งสองคนพูดขึ้นมาผมก็คิดถึง ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง “…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ผมรู้จักกับคุณหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์  ตอนอายุ 18 ปี สมัยที่ได้เริ่มวาระการเป็นกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐานบริการสาธารณสุข จากสายองค์กรเอกชนด้านเด็กและเยาวชน เมื่อหลายปีก่อน ตอนเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการในตอนแรกๆ ผมค่อนข้างจะเกร็งเพราะคณะกรรมการแต่ละท่านเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสำคัญต่อวงการสาธารณสุขและสังคมและอาวุโสห่างจากผมมากกว่า 20 ปี  ตอนนั้น คุณหมอสงวน ทำหน้าที่เป็นเลขานุการในที่ประชุม และเมื่อประชุมเสร็จสิ้น ผมได้เข้าไปทักทายและแนะนำตัวเองกับท่าน ท่านมีความเป็นกันเองและให้เกียรติกับผมมากและได้บอกให้ผมสบายใจ มั่นใจและเชื่อมั่นในการทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด
กิตติพันธ์ กันจินะ
ลมหนาว ยังไม่จางหาย....วันเด็กแห่งชาติเพิ่งจัดเสร็จไปไม่กี่วัน จนถึงวันนี้ วันเด็ก เสาร์ที่สองของเดือนมกราคม ยังคงมีการจัดมาอย่างสม่ำเสมอทุกๆ ปี นับตั้งแต่สมัย พ.ศ. 2499 ในยุคจอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และตั้งแต่ พ.ศ. 2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัตน์ ได้มอบคติเตือนใจสำหรับเด็กๆ ปีละ 1 คำขวัญ จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบเนื่องจนถึงปัจจุบันวันเด็กที่ผ่านมา ผมได้ร่วมกิจกรรมที่ศูนย์เพื่อน้องหญิง จ.เชียงราย ภายในงานจัดกิจกรรมในแนวว่า “ข้างหลังภาพ” ทำนองว่า ทำงาน ทำกิจกรรม กันมามากมาย ทั้งเด็ก ผู้ปกครอง ผู้สูงอายุ วันนี้น่าจะมาดูกันว่าได้ทำอะไรกันมาบ้าง ซึ่งเด็กๆ…
กิตติพันธ์ กันจินะ
กาลชีวิตของผมเดินทางผ่านมาแล้วอีกหนึ่งปี และคงจะเดินทางต่อไปตามเข็มนาฬิกา สายน้ำ สาดลม แสงแดด เช่นนี้อีกเรื่อยๆ ตราบที่ยังคงมีลมหายใจอยู่...เมื่อปีที่แล้ว เรื่องราวที่เกิดขึ้น อันเกี่ยวข้องกับเยาวชน คนหนุ่มสาวในประเทศนี้มีมากมายทั้งร้ายดี โดยส่วนตัวแล้ว เห็นความพยายามของผู้ใหญ่หลายภาคส่วนที่เข้ามาสนับสนุนการทำกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมของเยาวชนอยู่มากมายหลายหลากโครงการพัฒนาเยาวชนจำนวนมาก ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคธุรกิจ ล้วนมุ่งเน้นให้เยาวชนคนหนุ่มสาวเข้ามาทำกิจกรรมทางสังคมมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างที่ได้รับรู้มาดังเช่น โครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม ที่เครือข่ายเยาวชน 14 กลุ่ม…
กิตติพันธ์ กันจินะ
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพิ่งจบลงเมื่อวานนี้ ตอนค่ำ ผลสรุปจากการกากบาทลงคะแนนให้กับคนที่รัก พรรคที่ชอบ ได้ผลออกมาอย่างไม่เป็นทางการ บางคนอาจถูกใจ บางคนอาจไม่ถูกใจหลังจากลงคะแนนเสียงเสร็จ ผมได้เดินทางไปยังเขตชายแดนอำเภอแม่สายกับพี่ๆ เจ้าหน้าที่ศูนย์เพื่อน้องหญิง เพื่อจับจ่ายซื้อของและเดินเล่นไปมาตามประสาคนที่อยากพักผ่อนเที่ยวท่องให้คล่องใจเวลาในการเดินทางไป การเดินทางจับจ่ายซื้อของ และการเดินทางกลับ เริ่มจากตอนสาย จนถึงตอนหัวค่ำ ระหว่างที่อยู่เขตอำเภอแม่สาย ผมแยกตัวจากพี่ๆ เจ้าหน้าที่อีก 4 คน เดินเล่นเองคนเดียว เพียงเพื่อจะหาร้านกาแฟสดดีๆ ที่มีหนังสืออ่านและมีเพลงฟัง ผมเดินไปทั่ว…
กิตติพันธ์ กันจินะ
มาจนถึงวันนี้ผมยังไม่ได้พาตัวและตาของตนไปดูภาพยนตร์เรื่อง "รักแห่งสยาม" เลย แม้ว่าจะมีเพื่อนๆ หลายคนได้เชื้อเชิญแจ้งแถลงชวนให้ไปดูหลายเวลา หลายคราก็ตาม ผมก็ยังไม่ได้ไปดูเสียทีโดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่ได้เป็นคนปฏิเสธโรงภาพยนตร์นะครับ เพราะภาพยนตร์แต่ละเรื่องที่จะทำให้ผมไปดูได้นั้น ต้องเป็นเรื่องที่ผมมีเพื่อนไปดูด้วย คือ ถ้าไปคนเดียวผมคงไม่ไปครับ เพราะไม่เคยดูหนังคนเดียว และยิ่งไม่รู้ว่าต้องซื้อตั๋ว ซื้ออะไรยังไงบ้าง เพราะปกติเวลาไปเพื่อนๆ จะเป็นคนซื้อตั๋วและขนมขบเคี้ยวเข้าไปให้สำหรับ "รักแห่งสยาม" ถือเป็นภาพยนตร์ที่มีผู้คนกล่าวถึงค่อนข้างมาก และกล่าวถึงในหลายแง่มุม เช่น…
กิตติพันธ์ กันจินะ
“อากาศหนาวๆ เย็นๆ อย่างนี้ หากได้หาใครสักคนมาอยู่ข้างกายก็คงจะดี” เพื่อนรุ่นพี่พูด บอกเสมือนจะสื่อให้ผมหาใครสักคนมาอยู่ข้างกาย เพื่อเป็นเพื่อนคุย แต่ผมคิดว่านัยยะของคำพูดนี้ น่าจะสะท้อนความคิดบางอย่าง ว่าการที่จะมีใครสักคนเข้ามาอยู่ใกล้ๆ เราในช่วงฤดูหนาวเช่นนี้ แน่นอนว่าจะช่วยทำให้เราอุ่นกายและอุ่นใจได้พร้อมๆ กันผมครุ่นคิดถึงคำพูดของเพื่อนรุ่นพี่ หลายวัน พลันกับได้ยินเรื่องราวเรื่องการคัดค้านมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐหรือ ‘มอ’ นอกระบบ  ก็ทำให้นึกถึง ความรักนอกระบบ ไปด้วย ความรักนอกระบบ กับ ‘มอ’ นอกระบบ แม้จะไม่เหมือนกัน…
กิตติพันธ์ กันจินะ
ความรักไม่เข้าใครออกใคร ไม่ว่าวัย-อาชีพ-เพศ-ชนชั้น-เชื้อชาติใด ความรักย่อมมีอยู่ในทุกที่ ดั่งเช่นความรักของคนทำงานเรื่องเพศในการทำงานเรื่องเพศ หลายคนมองว่าอาจยากต่อการทำความเข้าใจกับคู่ของตัวเอง เมื่อเราเป็นผู้หญิงและคู่ของเราเป็นผู้ชาย แล้วให้เราเริ่มคุยเรื่องเพศก่อน ก็อาจถูก ‘คู่’ ที่คบหาตกใจ หรือมองเราในมุมที่ไม่ค่อยดีก็เป็นได้ แต่น้อยคนนักจะรู้ว่า ปัจจุบันผู้หญิงหลายคนเริ่มคุยเรื่องเพศของตนมากขึ้น และผู้ชายเองก็ไม่ได้มองผู้หญิงมุมลบๆ อย่างเดียว หากมองว่าเป็นเรื่องดีด้วยซ้ำที่ได้รับฟังเรื่องของคนที่ตัวเองคบอยู่ มีประสบการณ์ที่น่าสนใจอย่างยิ่งจากเรื่องของเธอ –…
กิตติพันธ์ กันจินะ
เมื่อหลายวันก่อน ผมได้เข้าร่วมกิจกรรมเวที “เพศศึกษาเพื่อเยาวชน” ของโครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ องค์การแพธ ร่วมกับมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และพันธมิตรอีกหลายองค์กร จัดงานระดับภาคตะวันตกและภาคตะวันออกขึ้น โดยการจัดครั้งนี้เป็นการครั้งแรกของภาคดังกล่าวภายในงานมีเยาวชนจากหลายโรงเรียนและหลายกลุ่มเข้าร่วม พร้อมๆ ทั้งผู้ใหญ่จากหน่วยงานภาคการศึกษาและหน่วยงานภาคประชาสังคม เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งธีมหลักๆ ของเวทีนี้คือ “ร่วมกันชี้โพรงให้กระรอกเข้าอย่างปลอดภัย” ทำไมต้องชี้โพรงให้กระรอก ในเมื่อกระรอกรู้ว่าโพรงนั้นต้องเข้ายังไง –…
กิตติพันธ์ กันจินะ
รายงานข่าวเมื่อไม่นานมานี้ระบุว่า มียอดเด็กที่กำพร้าจากพ่อแม่ที่ต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์ความไม่สงบจากสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวนหลายพันคน ซึ่งภาครัฐยังคงต้องหาแนวทางการดูแลเด็กที่เผชิญกับปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องการเข้าถึงการศึกษา และการดูแลคุ้มครองปกป้องสวัสดิภาพของเด็ก ทว่าอย่างไรเสีย  แม้ว่าเรื่องราวความรุนแรงในเหตุการณ์ดังกล่าว จะยังคงปรากฏให้เห็นอยู่เสมอทั้งหน้าจอโทรทัศน์หรือหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ แล้ว ยังมีเรื่องราวความรัก ความสัมพันธ์ ระหว่างคนในพื้นที่กับคนนอกพื้นที่ที่ได้ลงไปปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ในพื้นที่เกิดเหตุ ตามบทบาทหน้าที่ต่างๆ อาทิ หมอ ทหาร ครู…