Skip to main content

บล็อกกาซีน ประชาไท

kangkard
ยินดีที่ได้รู้จักโครงการอบรมนักข่าวคุ้มครองสิทธิ์ทุกท่านครับผม     
witsanu
ชื่อ  นายวิษณุ   โนศรี องค์กร  เครือข่ายพิทักสิทธิผู้บริโภคจังหวัดมหาสารคาม  
boobie7547
เดชาธร เศรษฐรัตน์ 1 สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริง      
aumaum
*** รับอบรม /สอนกระบวนการทำผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ ติดต่อได้ที่ คุณเปเล่ 089-145-0033 คุณกุ้ง 084-515-6646 หรือ คุณศรีประไพร 087-261-1784 (ถ้าสนใจโทรมาคุยกันได้นะคะ) นำเคล็ดลับสีธรรมชาติมาฝาก สีย้อมธรรมชาติ                การย้อมสีเขียวจากเปลือกต้นเพกา  เอาเปลือกเพกามาหั่น  หรือสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปต้ม 20 นาที  ช้อนเอาเปลือกออก  ต้มเถาถั่วแปบเอาแต่น้ำใสเติมลงไปใส่น้ำมะเกลือกเล็กน้อย  ใส่ปูนขาวและใบส้มป่อยผสมลงไป  ทิ้งไว้สักพัก  แล้วกรองให้เหลือแต่น้ำสีพร้อมที่จะย้อม  นำเอาน้ำย้อมตั้งไฟพออุ่น นำด้ายฝ้ายซึ่งซุบน้ำบิดพอหมาด  จุ่มลงในอ่างย้อม  ต้มต่อไปนาน  20  นาที จนได้สีที่ต้องการ  ยกด้ายฝ้ายออก  ซักน้ำสะอาดใส่ราวกระตุกตากจนแห้ง  จะได้สีเขียวตามต้องการ                การย้อมสีดำจากเปลือกสมอ  ให้เอาเปลือกสมอมาต้มเคี่ยวให้แห้งจนงวดพอสมควร  รินเอาแต่น้ำใส่หม้อดิน  เอาด้ายฝ้ายที่เตรียมไว้ลงย้อมขณะที่น้ำสียังร้อนอยู่  จะได้สีดำแกมเขียวเข้ม  ถ้าต้องการได้สีเขียว  ใช้ด้ายฝ้ายที่ผ่านการย้อมสีครามมาย้อมจะได้สีเขียวตามต้องการ                การย้อมสีเขียวจากเปลือกสมอ  เอาเปลือกสมอมาต้มเคี่ยวให้แห้งพอสมควร  รินเอาแต่น้ำใส่หม้อดิน  เอาด้ายฝ้ายที่ผ่านการย้อมครามมาครั้งหนึ่งแล้ว  ลงไปย้อมในน้ำสีที่ยังร้อนอยู่  ต้มต่อไปประมาณ  1  ชั่วโมง  หมั่นกลับด้ายฝ้ายไปมา  เพื่อให้สีดูดซึมอย่างสม่ำเสมอ  พอได้สีตามต้องการยกด้ายฝ้ายขึ้นกระตุก ตากให้แห้ง  จะได้สีเขียวตามต้องการ                การย้อมสีจากเปลือกรกฟ้า โดยการแช่เปลือกต้นรกฟ้าในปริมาณพอสมควรไว้นาน  3  วันแล้วตั้งไฟต้ม ให้เดือด  จนเห็นว่าสีออกหมดดีแล้ว  จึงเทน้ำย้อมใส่ลงในอ่างย้อมหมักแช่ไว้  1  คืน  นำเอาเปลือกไม้ผึ่งแดด  จนแห้ง  เก็บไว้ใช้ต่อไป  สีเปลือกไม้นี้ถ้าถูกต้มจะกลายเป็นสีดำได้                การย้อมสีกากีแกมเขียวจากเปลือกเพกากับแก่นขนุน  เอาเปลือกเพกาสด ๆ มาล้างน้ำ  ผึ่งแดดสัก  2-3 แดด  พักทิ้งไว้  เอาแก่นขนุนหั่นหรือไสให้เป็นชิ้นบาง ๆ แบ่งเอามา  1  ส่วน ผสมกับเปลือกเพกา  3  ส่วน  ต้มเคี่ยวให้น้ำเดือดแล้วกรองเอาแต่น้ำ  เวลาย้อมเติมน้ำสารส้มเล็กน้อยเพื่อให้สีติดดีและทนทาน  การย้อมเอาด้ายฝ้ายซึ่งชุบน้ำแล้วบิดพอหมาดลงในอ่างย้อมหมั่นกลับด้ายฝ้ายไปมา เพื่อให้สีติดสม่ำเสมอ ไม่ด่าง  จึงยกด้ายฝ้ายขึ้นซักน้ำให้สะอาดบิดกระตุก ตาก                การย้อมสีน้ำตาลแก่จากเปลือกไม้โกงกาง  นำเอาเปลือกไม้โกงกางที่แห้งพอหมาด  มาล้างน้ำให้สะอาด  แช่น้ำไว้  1  คืน  แล้วต้มเคี่ยวไว้  2  วัน  กรองเอาแต่น้ำย้อมใส่สารเคมีไฮโดรเจนซัลไฟต์ ผสมลงในน้ำย้อมเล็กน้อย  เพื่อให้สีติดดีขึ้น  เอาด้ายฝ้ายที่ชุบน้ำพอหมาดจุ่มลงในน้ำย้อม ตั้งไฟต้มนาน 30  นาที  ยกด้ายฝ้ายขึ้นซักน้ำ  บิดให้แห้ง กระตุกด้ายฝ้ายให้กระจาย  ตากแดด             การย้อมสีเปลือกไม้โกงกาง แช่เปลือกไม้โกงกางในปริมาณพอสมควรไว้นาน  3  วัน แล้วตั้งไฟต้มให้เดือด  จนเห็นว่าสีออกหมดดีแล้ว  จึงเทน้ำย้อมใส่ลงใสอ่างย้อม  หมักแช่ไว้  1  คืน  นำเอาเปลือกไม้ผึ่งแดดจนแห้งเก็บไว้ใช้ต่อไป  สีเปลือกไม้นี้ถ้าถูกต้มจะกลายเป็นสีดำได้  แต่ทนน้ำเค็ม                การย้อมสีด้วยรากยอ  เอารากยอแห้งที่มีอายุสักหน่อย  เพื่อจะให้ได้สีเข้มมาสับหรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปต้มน้ำเดือด น้ำสีจะเป็นสีแดงจึงยกลง  กรองเอาแต่น้ำสี  นำเอาด้ายฝ้ายซึ่งเตรียมจะย้อมชุบน้ำให้เปลือกพอหมาดลงแช่ในน้ำสีประมาณ  30  นาที  หรือกว่านั้น  หมั่นยกด้ายฝ้ายกลับไปกลับมาเพื่อให้สีติดด้ายฝ้ายอย่างทั่วถึง  แล้วนำด้ายฝ้ายที่ย้อมขึ้นจากหม้อบิดพอหมาด  นำไปล้างน้ำสะอาด  แล้วผึ่งให้แห้ง  จะได้ด้ายฝ้ายที่ย้อมเป็นสีแดงตามต้องการ                การย้อมสีด้วยเมล็ดคำแสด วิธีเตรียมสีจากเมล็ดคำแสด  แกะเมล็ดออกจากผลที่แก่จัด แช่น้ำร้อนหมักทิ้งไว้หลาย ๆ วัน จนสารสีตกตะกอน  แยกเมล็ดออก  นำน้ำสีที่ได้ไปเคี่ยวจนงวดเกือบแห้งแล้วนำไปตากแดด  จนแห้งเป็นผงเก็บไว้ใช้                 วิธีย้อมสีผ้าฝ้าย  ละลายสีเช่นเดียวกับการย้อมผ้าฝ้าย  แต่นำผ้าไหมที่ต้องการย้อมแช่ไว้ประมาณ  1  ชั่วโมง  และเติมสบู่ลงเล็กน้อยลงไปในสีที่ใช้ย้อม  ถ้าต้องการให้ผ้ามีสีเหลืองเพิ่มขึ้นให้เติมกรด  tataric  ลงไปเล็กน้อย  ผ้าที่ย้อมด้วยสีจากเมล็ดคำแสดที่จะไม่ตกง่ายเมื่อถูกับสบู่  หรือกรดอ่อน ๆ                การย้อมสีดำจากลูกมะเกลือ นำเอาลูกมะเกลือมาตำละเอียด  แล้วแช่ในน้ำ ในน้ำที่แช่นี้เอารากลำเจียก  หรือต้นเบงตำปนกับลูกมะเกลือ  แล้วเอาด้ายฝ้ายที่ลงน้ำแล้วบิดพอหมาดลงย้อมในน้ำย้อม สัก 3-4 ครั้ง  การย้อมทุกครั้งต้องตากแดดให้แห้งจนเห็นว่าดำสนิทดี  ถ้าต้องการให้ผ้าเป็นเงาใช้งาดำตำละเอียด  นำด้ายฝ้ายมาคลุกเคล้าให้ทั่ว  ผึ่งไว้สักพัก  กระตุกตาก                การย้อมอีกวิธีหนึ่งคือ เอาลูกมะเกลือที่แช่น้ำทิ้งไว้นั้นในปริมาณที่ต้องการมาตำให้ละเอียดพร้อมกับใบหญ้าฮ่อมเกี่ยวแล้วเอาไปแช่ในน้ำด่าง (ได้จากต้นมะขามเผาไฟให้เป็นขี้เถ้า  แล้วละลายน้ำกรองเอาน้ำใส ๆ จะได้น้ำย้อมที่ต้องการ)  นำเอาด้ายฝ้ายที่ลงน้ำบิดพอหมาด  จุ่มลงในอ่างย้อม  ใช้มือช่วยบีบด้วยฝ้ายเพื่อให้สีดูดซึมอย่างทั่วถึง ปล่อยทิ้งสักพักแล้วยกขึ้นจากอ่างน้ำย้อม  ซักให้สะอาดกระตุกตากให้แห้ง                การย้อมสีแดงจากดอกคำฝอย  นำดอกคำฝอยมาตำให้ละเอียด  ห่อด้วยผ้าขาวบางผสมน้ำด่างเพื่อให้เกิดสี  (น้ำด่างได้จากการนำต้นผักขมหนามที่แก่จนเป็นสีแดงหรือน้ำตาลมาตากให้แห้งสนิทแล้วนำไปเผาไฟให้เป็นขี้เถ้า  ผสมกับน้ำทิ้งให้ตกตะกอน  รินเอาแต่น้ำใส ๆ มาผสมกับสี) ส่วนวิธีย้อมทำโดยนำดอกคำฝอยมาต้มให้น้ำออกมาก ๆ จนเหนียว  เก็บน้ำสีไว้      จากนั้นเอาแก่นไม้ฝางมาไสด้วยกบบาง ๆ แล้วต้มให้เดือดนานประมาณ  6  ชั่วโมง ช้อนกากทิ้ง เวลาจะย้อมฝ้าย  นำเอาน้ำย้อมที่ต้มแล้วทั้งสองอย่างมาเทรวมเข้าด้วยกัน  แล้วเติมสารส้มลงไปเล็กน้อย คนให้เข้ากันดีนำฝ้ายที่ชุบน้ำและตีเส้นให้กระจายลงย้อมในอ่างย้อม                การย้อมสีเขียวจากใบหูกวาง เอาใบหูกวางมาตำคั้นเอาแต่น้ำสีกรองให้สะอาดต้มให้เดือดเอาฝ้ายที่เตรียมไว้  ลงย้อมจะได้เป็นสีเขียวอ่อน  หมั่นยกด้ายฝ้ายกลับไปกลับมา  เพื่อไม่ให้ด้ายฝ้ายด่าง และสีย้อมจะได้ติดทั่วถึง  พอได้ความเข้มของสีติดด้ายฝ้ายตามต้องการจึงยกขึ้นบิดพอหมาด  ซักน้ำสะอาดผึ่งให้แห้ง             การย้อมสีจากคราม  ตัดต้นครามมาม้วนและมัดเป็นฟ่อน ๆ นำไปแช่น้ำไว้ในภาชนะที่เตรียมไว้ประมาณ  2-3 วัน จนใบครามเปื่อย  จึงแก้มัดครามออกเพื่อให้ใบครามหลุดออกจากลำต้น  นำลำต้นทิ้งไป เอาปูนขาวในอัตราส่วนที่เหมาะสมกันกับน้ำที่แช่ครามผสมลงไปแทนต้นคราม  จากนั้นนำเอาขี้เถ้าซึ่งได้จากเหง้ากล้วยเผาจนดำ  ผสมลงไป ทิ้งไว้ประมาณ  2-3 คืน  จนกว่าน้ำที่กวนใส รินน้ำที่ใสออกทิ้ง จะได้น้ำสีครามตามต้องการ  อาจใช้ผ้าขาวบางกรองเพื่อจะได้น้ำสีครามที่ละเอียด  นำด้ายไปขยำในหม้อคราม พยายามอย่าให้ด้ายฝ้ายพันกัน  ให้น้ำสีกินเข้าไปในเนื้อด้ายฝ้ายอย่างทั่วถึง  จนกระทั่งได้สีเข้มตามต้องการ จึงยกด้ายฝ้ายขึ้นจากหม้อ  บิดให้หมาดล้างน้ำสะอาด  นำไปขึ้นราวตากให้แห้ง                การย้อมสีชมพูจากต้นมหากาฬและต้นฝาง  เอาเปลือกของต้นมหากาฬมาสับให้ละเอียดต้มในน้ำเดือดประมาณ 1  ชั่วโมง  แล้วช้อนเอาเปลือกออก เติมไม้ฝางซึ่งผ่าเป็นชิ้นเล็ก ๆ ลงไปต้มในน้ำเดือดนาน 1 ชั่วโมง เติมใบส้มป่อยลงไปอีก 1 กำ  ต้มต่อไปอีกเล็กน้อย  ช้อนเอากากออกแล้วเติมน้ำด่างลงไป จะได้น้ำย้อมสีชมพูจึงเอาด้ายฝ้ายที่ชุบน้ำบิดพอหมาด  จุ่มลงไปในอ่างย้อม ตั้งไฟต้มนาน   30  นาที ยกขึ้นจากอ่างย้อมนำไปซักน้ำบิดให้แห้งกระตุกให้เส้นด้ายกระจายตากแดด                การย้อมสีเหลืองจากแก่นขนุน นำแก่นขนุนที่แห้งแล้วมาหั่นหรือไสด้วยกบเบา ๆ ใช้มือขยำให้ป่นละเอียด  ห่อด้วยผ้าขาวบาง แล้วต้มประมาณ  4  ชั่วโมง ดูว่าสีนั้นออกตามความต้องการหรือยังเมื่อใช้ได้ช้อนเอากากทิ้งกรองเอาน้ำใสเติมน้ำสารส้มเล็กน้อย  เพื่อให้สีติดดี  เอาด้ายฝ้ายซึ่งชุบน้ำพอหมาด จุ่มลงในอ่างย้อม  กลับด้ายฝ้ายไปมานาน 1 ชั่วโมง เอาขึ้นจากอ่างย้อม ซักน้ำสะอาดกระตุกตาก                การย้อมสีเหลืองจากแก่นแกแล  ใช้ส่วนของแก่นแกเลย้อมผ้าจะได้สีเหลือง  ซึ่งจะมีสารสีเหลืองชื่อ Morin  อยู่ประมาณ  1% ให้นำเอาแก่นแกแลมาตากให้แห้งแล้วผ่าให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่หม้อต้มเดือด จนน้ำต้มสีเป็นสีเหลืองจึงยกลง  และนำเอาไปกรองเก็บน้ำสีไว้  เอาแกแลที่กรองไว้ไปต้มน้ำให้เดือดต่อไปจนได้น้ำสีจากแกแล  ซึ่งสีอ่อนกว่าหม้อแรก  เก็บน้ำสีไว้ทำแบบเดียวกัน  จนได้น้ำสีครบ 3 หม้อ จะได้น้ำสีอ่อนสุดถึงแก่สุด นำเอาด้ายฝ้ายที่เตรียมไว้ลงย้อมในน้ำสีหม้อที่  3  ซึ่งเป็นสีอ่อนสุดยกด้ายฝ้ายกลับไปกลับมาเพื่อให้น้ำสีเข้าไปในเนื้อฝ้ายได้ทั่วถึงไม่ด่าง  ทิ้งไว้สักพักจึงยกด้ายฝ้ายขึ้นบิดพอหมาด นำไปย้อมในหม้อที่ 2 และหม้อที่ 1 ทำแบบเดียวกัน จนย้อมได้ครบ  3  หม้อ นำด้ายฝ้ายขึ้นซักน้ำสะอาดจนสีไม่ตก เอาเข้ารางผึ่งให้แห้ง    ขอขอบคุณข้อมูลดีดี มีประโยชน์จากเว็บไซต์ www.kobfapasuay.igetwab.com   มีภาพตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ     สมุดทำมือ ทำได้เองไม่ต้องพึ่งพาโรงงาน    ผ้าเช็ดหน้าลายกิ๊บเก๋   ผ้าพันคอสุดเท่     จะนำไปฝากคนที่เรารักก็คงเข้าที  กางเกง+เสื้อ ก็มีนะ ผ้าเช็ดหน้าลายหวาน       (ขอได้รับความขอบคุณจาก "ปนเป" ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ ที่กรุณาเอื้อเฝื้อรูปภาพสวยๆ ขอบคุณจากใจจริง) สนใจติดต่อ 089-1450-033(คุณเปเล่) หรือ 084-5156-646(คุณกุ้ง) "ไม่ซื้อไม่ว่า....โทรมาคุยกันก็ได้ อยากแบ่งปันสิ่งดี ดี"   พบกับผลิตภัณฑ์งานศิลป์ ที่ผ่านการถ่ายทอดฝีมือระดับแนวหน้า เสกสรรค์งานผ่านความเป็นธรรมชาติ "เน้นง่าย แต่งดงาม" การย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ     การย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติมีมาตั้งแต่ปู่ย่าตาทวด ด้วยวิถีชีวิตที่ผูกพันและพึ่งพิงกับทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบกับเทคโนโลยีที่ยังไม่ค่อยก้าวหน้า เป็นเหตุผลให้คนพึ่งพาตนเองสูง การดำเนินชีวิตที่ต้องอาศัยปัจจัย ๔ ในการดำเนินชีวิต อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ในที่นี้จะขอพูดถึงเฉพาะเรื่องของเครื่องนุ่มห่มเท่านั้น     ชาวบ้านสมัยก่อน หรือในปัจจุบันก็ยังมีให้เห็นกันอยู่ตามชนบท มีวิธีการสร้างเครื่องนุ่งห่มให้กับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการปลูกฝ้าย การเลี้ยงไหม เพื่อนำมาทอผ้า ซึ่งก่อนที่จะนำมาทอก็จะมีกระบวนการย้อมสี เพื่อให้เกิดความสวยงาม     สีทอผ้าได้มาจากไหน ? น่าจะเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย แน่นอนว่าเราอยู่กับธรรมชาติสีที่ใช้ก็จะต้องมาจากธรรมชาติ จากใใบไม้ กิ่งไม้ เปลือกไม้ แก่นไม้ หรือส่วนต่างๆของต้นไม้ อาจจะไม่เฉพาะเจาะจง ช่วงแรกผู้เขียนคิดว่าจะต้องมีการลองผิดลองถูกอยู่หลายต่อหลายครั้ง และเมื่อได้ผลประการใดก็จะจดจำไว้ใช้ คือ เมื่อเลือกใช้ต้นไม้ต้นนี้ได้สีสวยงาม ครั้งต่อไปก็อาจจะเลือกใช้อีก(เพราะผู้เขียนเองก็เคยลองทำมาเหมือนกัน) เมื่อได้ชุดความรู้เหล่านี้แล้วก็จะสืบทอดให้กับลูกหลาน โดยถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นนั่นเอง     ขั้นตอนการย้อมสีแบบง่าย ๆ (เอาเป็นว่าเป็นสมัยของผู้เขียนเลยละกัน) เริ่มต้นจากการหาต้นไม้ที่เราต้องการสี เช่น ต้นหูกวาง เราจะใช้ใบของต้นหูกวางเป็นหลัก เมื่อได้ใบมามากพอสมควรแล้ว(แล้วแต่ความต้องการ) จัดการหั่นใบหูกวาง และนำไปต้มในหม้อที่เตรียมไว้ ควรใช้ถ่าน หรือฟืนในการต้ม เพราะจะใช้เวลานาน ต้มจนกว่าจะมองเห็นสีเกิดขึ้น หรือได้สีที่ต้องการ     ขั้นตอนการเตรียมผ้า ควรเลือกใช้ผ้าฝ้ายจะย้อมสีได้สวยกว่า ตัดแต่งผ้าตามความต้องการว่าจะนำผ้าชิ้นนั้นไปทำอะไร เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าคลุมไหล ผ้าพันคอ เสื้อ กระโปรง กางเกง ตามความต้องการ จากนั้นนำไปซักเพื่อล้างแป้งที่ติดมากับผ้าให้สะอาด นำผ้าที่ซักแล้วมาทำลวดลายโดยการพับ การขยุบ และการมัด เมื่อได้ลวดลายตามความต้องการแล้วก็นำผ้าลงไปย้อมสีที่ต้อมไว้ โดยต้มผ้าไปพร้อมกับต้มสี ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที หลังจากนั้นให้นำมาขึ้นมาผึ่งลม     ขั้นตอนการจับสี ตัวจับสีที่ใช้ อาจจะใช้นำสนิม(ได้จากการแช่เศษเหล็ก) น้ำขี้เถ้า น้ำปูนใส หรือสารส้มก็ใช้ได้ ให้นำผ้าที่ย้อมแล้วมลงมาแช่ในตัวจับสีประมาณ 10 นาที จากนั้นก็นำไปซักด้วยน้ำเปล่า บดพอหมาด ผึ่งลม และเมื่อแกะเชือกที่มัดออกแล้วเราก็จะพบสิ่งมหัศจรรย์ชิ้นสำคัญของโลก เพราะมันคือฝีมือของเราเอง อาจจะทำซ้ำกระบวนการเดิมก็ได้หากอยากให้สีที่คงทน หรืออาจจะได้สีใหม่เพิ่มขึ้นหลังจากทำกระบวนการซ้ำอีกครั้ง     เอกลักษณ์ของผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ คือ มีชิ้นเดียวในโลก ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร พร้อมทั้งเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง เพราะเกิดจากไอเดีย และฝีมือของเราเองทั้งนั้น นี่คือขั้นตอนอย่างง่ายของการทำผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ ที่สำคัญเป็นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผสมผสานกับศิลปะ หรืออาจจเรียกได้ว่าเป็น "ศิลปะวิทยาศาสตร์" ก็ได้ เราอาจจะชวนน้องๆ หนู ๆ มาทำผ้ามัดย้อมกันในวันหยุด ก็เป็นกิจกรรมที่น่าสนุกสนานของครอบครัว ฝึกกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และผ่านประสบการณ์ตรง อีกอย่างก็ยังช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้ด้วยนะ ...สิบอกให้...      
athaso
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในชุมชนนั้น ชุมชนต้องช่วยกันในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการให้มีสุขภาพดีเพื่อให้ผู้พิการในชุมชน สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเข้ามามีส่วนร่วม
puwan
ปูแลแนวของฉัน
puwan
ชื่อ.. ปิยนุช  โพธิ์แก้ว องค์กร.. สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.)
tupop
ชื่อ จิราภรณ์  มาลาอุตม์ ชื่อเล่น......จีจี้
tupop
ไม่น่าสนใจไม่ต้องรู้หรอก55555555
nantnapas
มาเสวนาครั้งนี้มีอะไรดีๆที่ภูมิใจม๊าก มาก ทีมงานประชาไทยน่ารักกันทุกคนเลย
khampong
วิทยุท้องถิ่นไทย วทท.กมลาไสย
khampong
ชื่อบรรณเพ็ญ เครือประสาร ศูนย์ สบท.อุบลราชธานี

แท็กล่าสุด

แท็กยอดนิยม