มัดย้อมสีธรรมชาติ,อีกทางเลือกของคนรักงานศิลป์

23 June, 2009 - 17:10 -- aumaum

*** รับอบรม /สอนกระบวนการทำผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ ติดต่อได้ที่

คุณเปเล่ 089-145-0033 คุณกุ้ง 084-515-6646 หรือ

คุณศรีประไพร 087-261-1784

(ถ้าสนใจโทรมาคุยกันได้นะคะ)

นำเคล็ดลับสีธรรมชาติมาฝาก

สีย้อมธรรมชาติ

               การย้อมสีเขียวจากเปลือกต้นเพกา  เอาเปลือกเพกามาหั่น  หรือสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปต้ม 20 นาที  ช้อนเอาเปลือกออก  ต้มเถาถั่วแปบเอาแต่น้ำใสเติมลงไปใส่น้ำมะเกลือกเล็กน้อย  ใส่ปูนขาวและใบส้มป่อยผสมลงไป  ทิ้งไว้สักพัก  แล้วกรองให้เหลือแต่น้ำสีพร้อมที่จะย้อม  นำเอาน้ำย้อมตั้งไฟพออุ่น นำด้ายฝ้ายซึ่งซุบน้ำบิดพอหมาด  จุ่มลงในอ่างย้อม  ต้มต่อไปนาน  20  นาที จนได้สีที่ต้องการ  ยกด้ายฝ้ายออก  ซักน้ำสะอาดใส่ราวกระตุกตากจนแห้ง  จะได้สีเขียวตามต้องการ

               การย้อมสีดำจากเปลือกสมอ  ให้เอาเปลือกสมอมาต้มเคี่ยวให้แห้งจนงวดพอสมควร  รินเอาแต่น้ำใส่หม้อดิน  เอาด้ายฝ้ายที่เตรียมไว้ลงย้อมขณะที่น้ำสียังร้อนอยู่  จะได้สีดำแกมเขียวเข้ม  ถ้าต้องการได้สีเขียว  ใช้ด้ายฝ้ายที่ผ่านการย้อมสีครามมาย้อมจะได้สีเขียวตามต้องการ

               การย้อมสีเขียวจากเปลือกสมอ  เอาเปลือกสมอมาต้มเคี่ยวให้แห้งพอสมควร  รินเอาแต่น้ำใส่หม้อดิน  เอาด้ายฝ้ายที่ผ่านการย้อมครามมาครั้งหนึ่งแล้ว  ลงไปย้อมในน้ำสีที่ยังร้อนอยู่  ต้มต่อไปประมาณ  1  ชั่วโมง  หมั่นกลับด้ายฝ้ายไปมา  เพื่อให้สีดูดซึมอย่างสม่ำเสมอ  พอได้สีตามต้องการยกด้ายฝ้ายขึ้นกระตุก ตากให้แห้ง  จะได้สีเขียวตามต้องการ

               การย้อมสีจากเปลือกรกฟ้า โดยการแช่เปลือกต้นรกฟ้าในปริมาณพอสมควรไว้นาน  3  วันแล้วตั้งไฟต้ม ให้เดือด  จนเห็นว่าสีออกหมดดีแล้ว  จึงเทน้ำย้อมใส่ลงในอ่างย้อมหมักแช่ไว้  1  คืน  นำเอาเปลือกไม้ผึ่งแดด  จนแห้ง  เก็บไว้ใช้ต่อไป  สีเปลือกไม้นี้ถ้าถูกต้มจะกลายเป็นสีดำได้

               การย้อมสีกากีแกมเขียวจากเปลือกเพกากับแก่นขนุน  เอาเปลือกเพกาสด ๆ มาล้างน้ำ  ผึ่งแดดสัก  2-3 แดด  พักทิ้งไว้  เอาแก่นขนุนหั่นหรือไสให้เป็นชิ้นบาง ๆ แบ่งเอามา  1  ส่วน ผสมกับเปลือกเพกา  3  ส่วน  ต้มเคี่ยวให้น้ำเดือดแล้วกรองเอาแต่น้ำ  เวลาย้อมเติมน้ำสารส้มเล็กน้อยเพื่อให้สีติดดีและทนทาน  การย้อมเอาด้ายฝ้ายซึ่งชุบน้ำแล้วบิดพอหมาดลงในอ่างย้อมหมั่นกลับด้ายฝ้ายไปมา เพื่อให้สีติดสม่ำเสมอ ไม่ด่าง  จึงยกด้ายฝ้ายขึ้นซักน้ำให้สะอาดบิดกระตุก ตาก

               การย้อมสีน้ำตาลแก่จากเปลือกไม้โกงกาง  นำเอาเปลือกไม้โกงกางที่แห้งพอหมาด  มาล้างน้ำให้สะอาด  แช่น้ำไว้  1  คืน  แล้วต้มเคี่ยวไว้  2  วัน  กรองเอาแต่น้ำย้อมใส่สารเคมีไฮโดรเจนซัลไฟต์ ผสมลงในน้ำย้อมเล็กน้อย  เพื่อให้สีติดดีขึ้น  เอาด้ายฝ้ายที่ชุบน้ำพอหมาดจุ่มลงในน้ำย้อม ตั้งไฟต้มนาน 30  นาที  ยกด้ายฝ้ายขึ้นซักน้ำ  บิดให้แห้ง กระตุกด้ายฝ้ายให้กระจาย  ตากแดด

            การย้อมสีเปลือกไม้โกงกาง แช่เปลือกไม้โกงกางในปริมาณพอสมควรไว้นาน  3  วัน แล้วตั้งไฟต้มให้เดือด  จนเห็นว่าสีออกหมดดีแล้ว  จึงเทน้ำย้อมใส่ลงใสอ่างย้อม  หมักแช่ไว้  1  คืน  นำเอาเปลือกไม้ผึ่งแดดจนแห้งเก็บไว้ใช้ต่อไป  สีเปลือกไม้นี้ถ้าถูกต้มจะกลายเป็นสีดำได้  แต่ทนน้ำเค็ม

               การย้อมสีด้วยรากยอ  เอารากยอแห้งที่มีอายุสักหน่อย  เพื่อจะให้ได้สีเข้มมาสับหรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปต้มน้ำเดือด น้ำสีจะเป็นสีแดงจึงยกลง  กรองเอาแต่น้ำสี  นำเอาด้ายฝ้ายซึ่งเตรียมจะย้อมชุบน้ำให้เปลือกพอหมาดลงแช่ในน้ำสีประมาณ  30  นาที  หรือกว่านั้น  หมั่นยกด้ายฝ้ายกลับไปกลับมาเพื่อให้สีติดด้ายฝ้ายอย่างทั่วถึง  แล้วนำด้ายฝ้ายที่ย้อมขึ้นจากหม้อบิดพอหมาด  นำไปล้างน้ำสะอาด  แล้วผึ่งให้แห้ง  จะได้ด้ายฝ้ายที่ย้อมเป็นสีแดงตามต้องการ

               การย้อมสีด้วยเมล็ดคำแสด วิธีเตรียมสีจากเมล็ดคำแสด  แกะเมล็ดออกจากผลที่แก่จัด แช่น้ำร้อนหมักทิ้งไว้หลาย ๆ วัน จนสารสีตกตะกอน  แยกเมล็ดออก  นำน้ำสีที่ได้ไปเคี่ยวจนงวดเกือบแห้งแล้วนำไปตากแดด  จนแห้งเป็นผงเก็บไว้ใช้ 

               วิธีย้อมสีผ้าฝ้าย  ละลายสีเช่นเดียวกับการย้อมผ้าฝ้าย  แต่นำผ้าไหมที่ต้องการย้อมแช่ไว้ประมาณ  1  ชั่วโมง  และเติมสบู่ลงเล็กน้อยลงไปในสีที่ใช้ย้อม  ถ้าต้องการให้ผ้ามีสีเหลืองเพิ่มขึ้นให้เติมกรด  tataric  ลงไปเล็กน้อย  ผ้าที่ย้อมด้วยสีจากเมล็ดคำแสดที่จะไม่ตกง่ายเมื่อถูกับสบู่  หรือกรดอ่อน ๆ

               การย้อมสีดำจากลูกมะเกลือ นำเอาลูกมะเกลือมาตำละเอียด  แล้วแช่ในน้ำ ในน้ำที่แช่นี้เอารากลำเจียก  หรือต้นเบงตำปนกับลูกมะเกลือ  แล้วเอาด้ายฝ้ายที่ลงน้ำแล้วบิดพอหมาดลงย้อมในน้ำย้อม สัก 3-4 ครั้ง  การย้อมทุกครั้งต้องตากแดดให้แห้งจนเห็นว่าดำสนิทดี  ถ้าต้องการให้ผ้าเป็นเงาใช้งาดำตำละเอียด  นำด้ายฝ้ายมาคลุกเคล้าให้ทั่ว  ผึ่งไว้สักพัก  กระตุกตาก

               การย้อมอีกวิธีหนึ่งคือ เอาลูกมะเกลือที่แช่น้ำทิ้งไว้นั้นในปริมาณที่ต้องการมาตำให้ละเอียดพร้อมกับใบหญ้าฮ่อมเกี่ยวแล้วเอาไปแช่ในน้ำด่าง (ได้จากต้นมะขามเผาไฟให้เป็นขี้เถ้า  แล้วละลายน้ำกรองเอาน้ำใส ๆ จะได้น้ำย้อมที่ต้องการ)  นำเอาด้ายฝ้ายที่ลงน้ำบิดพอหมาด  จุ่มลงในอ่างย้อม  ใช้มือช่วยบีบด้วยฝ้ายเพื่อให้สีดูดซึมอย่างทั่วถึง ปล่อยทิ้งสักพักแล้วยกขึ้นจากอ่างน้ำย้อม  ซักให้สะอาดกระตุกตากให้แห้ง

               การย้อมสีแดงจากดอกคำฝอย  นำดอกคำฝอยมาตำให้ละเอียด  ห่อด้วยผ้าขาวบางผสมน้ำด่างเพื่อให้เกิดสี  (น้ำด่างได้จากการนำต้นผักขมหนามที่แก่จนเป็นสีแดงหรือน้ำตาลมาตากให้แห้งสนิทแล้วนำไปเผาไฟให้เป็นขี้เถ้า  ผสมกับน้ำทิ้งให้ตกตะกอน  รินเอาแต่น้ำใส ๆ มาผสมกับสี) ส่วนวิธีย้อมทำโดยนำดอกคำฝอยมาต้มให้น้ำออกมาก ๆ จนเหนียว  เก็บน้ำสีไว้      จากนั้นเอาแก่นไม้ฝางมาไสด้วยกบบาง ๆ แล้วต้มให้เดือดนานประมาณ  6  ชั่วโมง ช้อนกากทิ้ง เวลาจะย้อมฝ้าย  นำเอาน้ำย้อมที่ต้มแล้วทั้งสองอย่างมาเทรวมเข้าด้วยกัน  แล้วเติมสารส้มลงไปเล็กน้อย คนให้เข้ากันดีนำฝ้ายที่ชุบน้ำและตีเส้นให้กระจายลงย้อมในอ่างย้อม

               การย้อมสีเขียวจากใบหูกวาง เอาใบหูกวางมาตำคั้นเอาแต่น้ำสีกรองให้สะอาดต้มให้เดือดเอาฝ้ายที่เตรียมไว้  ลงย้อมจะได้เป็นสีเขียวอ่อน  หมั่นยกด้ายฝ้ายกลับไปกลับมา  เพื่อไม่ให้ด้ายฝ้ายด่าง และสีย้อมจะได้ติดทั่วถึง  พอได้ความเข้มของสีติดด้ายฝ้ายตามต้องการจึงยกขึ้นบิดพอหมาด  ซักน้ำสะอาดผึ่งให้แห้ง

            การย้อมสีจากคราม  ตัดต้นครามมาม้วนและมัดเป็นฟ่อน ๆ นำไปแช่น้ำไว้ในภาชนะที่เตรียมไว้ประมาณ  2-3 วัน จนใบครามเปื่อย  จึงแก้มัดครามออกเพื่อให้ใบครามหลุดออกจากลำต้น  นำลำต้นทิ้งไป เอาปูนขาวในอัตราส่วนที่เหมาะสมกันกับน้ำที่แช่ครามผสมลงไปแทนต้นคราม  จากนั้นนำเอาขี้เถ้าซึ่งได้จากเหง้ากล้วยเผาจนดำ  ผสมลงไป ทิ้งไว้ประมาณ  2-3 คืน  จนกว่าน้ำที่กวนใส รินน้ำที่ใสออกทิ้ง จะได้น้ำสีครามตามต้องการ  อาจใช้ผ้าขาวบางกรองเพื่อจะได้น้ำสีครามที่ละเอียด  นำด้ายไปขยำในหม้อคราม พยายามอย่าให้ด้ายฝ้ายพันกัน  ให้น้ำสีกินเข้าไปในเนื้อด้ายฝ้ายอย่างทั่วถึง  จนกระทั่งได้สีเข้มตามต้องการ จึงยกด้ายฝ้ายขึ้นจากหม้อ  บิดให้หมาดล้างน้ำสะอาด  นำไปขึ้นราวตากให้แห้ง

               การย้อมสีชมพูจากต้นมหากาฬและต้นฝาง  เอาเปลือกของต้นมหากาฬมาสับให้ละเอียดต้มในน้ำเดือดประมาณ 1  ชั่วโมง  แล้วช้อนเอาเปลือกออก เติมไม้ฝางซึ่งผ่าเป็นชิ้นเล็ก ๆ ลงไปต้มในน้ำเดือดนาน 1 ชั่วโมง เติมใบส้มป่อยลงไปอีก 1 กำ  ต้มต่อไปอีกเล็กน้อย  ช้อนเอากากออกแล้วเติมน้ำด่างลงไป จะได้น้ำย้อมสีชมพูจึงเอาด้ายฝ้ายที่ชุบน้ำบิดพอหมาด  จุ่มลงไปในอ่างย้อม ตั้งไฟต้มนาน   30  นาที ยกขึ้นจากอ่างย้อมนำไปซักน้ำบิดให้แห้งกระตุกให้เส้นด้ายกระจายตากแดด

               การย้อมสีเหลืองจากแก่นขนุน นำแก่นขนุนที่แห้งแล้วมาหั่นหรือไสด้วยกบเบา ๆ ใช้มือขยำให้ป่นละเอียด  ห่อด้วยผ้าขาวบาง แล้วต้มประมาณ  4  ชั่วโมง ดูว่าสีนั้นออกตามความต้องการหรือยังเมื่อใช้ได้ช้อนเอากากทิ้งกรองเอาน้ำใสเติมน้ำสารส้มเล็กน้อย  เพื่อให้สีติดดี  เอาด้ายฝ้ายซึ่งชุบน้ำพอหมาด จุ่มลงในอ่างย้อม  กลับด้ายฝ้ายไปมานาน 1 ชั่วโมง เอาขึ้นจากอ่างย้อม ซักน้ำสะอาดกระตุกตาก

               การย้อมสีเหลืองจากแก่นแกแล  ใช้ส่วนของแก่นแกเลย้อมผ้าจะได้สีเหลือง  ซึ่งจะมีสารสีเหลืองชื่อ Morin  อยู่ประมาณ  1% ให้นำเอาแก่นแกแลมาตากให้แห้งแล้วผ่าให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่หม้อต้มเดือด จนน้ำต้มสีเป็นสีเหลืองจึงยกลง  และนำเอาไปกรองเก็บน้ำสีไว้  เอาแกแลที่กรองไว้ไปต้มน้ำให้เดือดต่อไปจนได้น้ำสีจากแกแล  ซึ่งสีอ่อนกว่าหม้อแรก  เก็บน้ำสีไว้ทำแบบเดียวกัน  จนได้น้ำสีครบ 3 หม้อ จะได้น้ำสีอ่อนสุดถึงแก่สุด นำเอาด้ายฝ้ายที่เตรียมไว้ลงย้อมในน้ำสีหม้อที่  3  ซึ่งเป็นสีอ่อนสุดยกด้ายฝ้ายกลับไปกลับมาเพื่อให้น้ำสีเข้าไปในเนื้อฝ้ายได้ทั่วถึงไม่ด่าง  ทิ้งไว้สักพักจึงยกด้ายฝ้ายขึ้นบิดพอหมาด นำไปย้อมในหม้อที่ 2 และหม้อที่ 1 ทำแบบเดียวกัน จนย้อมได้ครบ  3  หม้อ นำด้ายฝ้ายขึ้นซักน้ำสะอาดจนสีไม่ตก เอาเข้ารางผึ่งให้แห้ง

 

 ขอขอบคุณข้อมูลดีดี มีประโยชน์จากเว็บไซต์

www.kobfapasuay.igetwab.com

 

มีภาพตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ

   

สมุดทำมือ ทำได้เองไม่ต้องพึ่งพาโรงงาน

   ผ้าเช็ดหน้าลายกิ๊บเก๋

 

ผ้าพันคอสุดเท่  

 

จะนำไปฝากคนที่เรารักก็คงเข้าที

 กางเกง+เสื้อ ก็มีนะ

ผ้าเช็ดหน้าลายหวาน

 

 

 

(ขอได้รับความขอบคุณจาก "ปนเป" ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ ที่กรุณาเอื้อเฝื้อรูปภาพสวยๆ ขอบคุณจากใจจริง)

สนใจติดต่อ 089-1450-033(คุณเปเล่)

หรือ 084-5156-646(คุณกุ้ง)

"ไม่ซื้อไม่ว่า....โทรมาคุยกันก็ได้ อยากแบ่งปันสิ่งดี ดี"

 

พบกับผลิตภัณฑ์งานศิลป์ ที่ผ่านการถ่ายทอดฝีมือระดับแนวหน้า เสกสรรค์งานผ่านความเป็นธรรมชาติ "เน้นง่าย แต่งดงาม"

การย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ

    การย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติมีมาตั้งแต่ปู่ย่าตาทวด ด้วยวิถีชีวิตที่ผูกพันและพึ่งพิงกับทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบกับเทคโนโลยีที่ยังไม่ค่อยก้าวหน้า เป็นเหตุผลให้คนพึ่งพาตนเองสูง การดำเนินชีวิตที่ต้องอาศัยปัจจัย ๔ ในการดำเนินชีวิต อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ในที่นี้จะขอพูดถึงเฉพาะเรื่องของเครื่องนุ่มห่มเท่านั้น

    ชาวบ้านสมัยก่อน หรือในปัจจุบันก็ยังมีให้เห็นกันอยู่ตามชนบท มีวิธีการสร้างเครื่องนุ่งห่มให้กับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการปลูกฝ้าย การเลี้ยงไหม เพื่อนำมาทอผ้า ซึ่งก่อนที่จะนำมาทอก็จะมีกระบวนการย้อมสี เพื่อให้เกิดความสวยงาม

    สีทอผ้าได้มาจากไหน ? น่าจะเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย แน่นอนว่าเราอยู่กับธรรมชาติสีที่ใช้ก็จะต้องมาจากธรรมชาติ จากใใบไม้ กิ่งไม้ เปลือกไม้ แก่นไม้ หรือส่วนต่างๆของต้นไม้ อาจจะไม่เฉพาะเจาะจง ช่วงแรกผู้เขียนคิดว่าจะต้องมีการลองผิดลองถูกอยู่หลายต่อหลายครั้ง และเมื่อได้ผลประการใดก็จะจดจำไว้ใช้ คือ เมื่อเลือกใช้ต้นไม้ต้นนี้ได้สีสวยงาม ครั้งต่อไปก็อาจจะเลือกใช้อีก(เพราะผู้เขียนเองก็เคยลองทำมาเหมือนกัน) เมื่อได้ชุดความรู้เหล่านี้แล้วก็จะสืบทอดให้กับลูกหลาน โดยถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นนั่นเอง

    ขั้นตอนการย้อมสีแบบง่าย ๆ (เอาเป็นว่าเป็นสมัยของผู้เขียนเลยละกัน) เริ่มต้นจากการหาต้นไม้ที่เราต้องการสี เช่น ต้นหูกวาง เราจะใช้ใบของต้นหูกวางเป็นหลัก เมื่อได้ใบมามากพอสมควรแล้ว(แล้วแต่ความต้องการ) จัดการหั่นใบหูกวาง และนำไปต้มในหม้อที่เตรียมไว้ ควรใช้ถ่าน หรือฟืนในการต้ม เพราะจะใช้เวลานาน ต้มจนกว่าจะมองเห็นสีเกิดขึ้น หรือได้สีที่ต้องการ

    ขั้นตอนการเตรียมผ้า ควรเลือกใช้ผ้าฝ้ายจะย้อมสีได้สวยกว่า ตัดแต่งผ้าตามความต้องการว่าจะนำผ้าชิ้นนั้นไปทำอะไร เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าคลุมไหล ผ้าพันคอ เสื้อ กระโปรง กางเกง ตามความต้องการ จากนั้นนำไปซักเพื่อล้างแป้งที่ติดมากับผ้าให้สะอาด นำผ้าที่ซักแล้วมาทำลวดลายโดยการพับ การขยุบ และการมัด เมื่อได้ลวดลายตามความต้องการแล้วก็นำผ้าลงไปย้อมสีที่ต้อมไว้ โดยต้มผ้าไปพร้อมกับต้มสี ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที หลังจากนั้นให้นำมาขึ้นมาผึ่งลม

    ขั้นตอนการจับสี ตัวจับสีที่ใช้ อาจจะใช้นำสนิม(ได้จากการแช่เศษเหล็ก) น้ำขี้เถ้า น้ำปูนใส หรือสารส้มก็ใช้ได้ ให้นำผ้าที่ย้อมแล้วมลงมาแช่ในตัวจับสีประมาณ 10 นาที จากนั้นก็นำไปซักด้วยน้ำเปล่า บดพอหมาด ผึ่งลม และเมื่อแกะเชือกที่มัดออกแล้วเราก็จะพบสิ่งมหัศจรรย์ชิ้นสำคัญของโลก เพราะมันคือฝีมือของเราเอง อาจจะทำซ้ำกระบวนการเดิมก็ได้หากอยากให้สีที่คงทน หรืออาจจะได้สีใหม่เพิ่มขึ้นหลังจากทำกระบวนการซ้ำอีกครั้ง

    เอกลักษณ์ของผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ คือ มีชิ้นเดียวในโลก ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร พร้อมทั้งเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง เพราะเกิดจากไอเดีย และฝีมือของเราเองทั้งนั้น นี่คือขั้นตอนอย่างง่ายของการทำผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ ที่สำคัญเป็นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผสมผสานกับศิลปะ หรืออาจจเรียกได้ว่าเป็น "ศิลปะวิทยาศาสตร์" ก็ได้ เราอาจจะชวนน้องๆ หนู ๆ มาทำผ้ามัดย้อมกันในวันหยุด ก็เป็นกิจกรรมที่น่าสนุกสนานของครอบครัว ฝึกกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และผ่านประสบการณ์ตรง อีกอย่างก็ยังช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้ด้วยนะ ...สิบอกให้...

 

 

 

ความเห็น

Submitted by ซอมบะ on

สวัสดีค่ะ
ดิฉันสนใจเรื่องย้อมผ้ามากค่ะ
ชอบ หัดไปเรื่อยๆ โน้นนี่
ถ้ามีข้อเสนอแนะความรู้ที่เกี่ยวข้องกับผ้ามัดย้อม
ขอน้อมรับด้วยความยินดีค่ะ
เพราะอาศัยหาไปเรื่อยเปิดเน็ตหรืออ่านตามหนังสือค่ะ
ถ้าได้ความรู้จากผู้รู้และผู้มีประสบการตรงจักขอบพระคุณมากค่ะ
ซอมบะ

Submitted by ใจโกะ on

เรื่องการทำผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติเป็นเรื่องของความสนใจเฉพาะบุคคล เพราะถ้าใจไม่รักแล้วก็จะไม่เห็นคุณค่า
อยากเสนอแนะเรื่องของการทำสี ถ้าใช้เปลือกจะบก และน้ำสนิมจะได้สีเทาที่สวยมาก ไม่เชื่อก็ลองทำดูก็ได้

มัดย้อมสีธรรมชาติ,อีกทางเลือกของคนรักงานศิลป์

23 June, 2009 - 17:10 -- aumaum

*** รับอบรม /สอนกระบวนการทำผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ ติดต่อได้ที่

คุณเปเล่ 089-145-0033 คุณกุ้ง 084-515-6646 หรือ

คุณศรีประไพร 087-261-1784

(ถ้าสนใจโทรมาคุยกันได้นะคะ)

นำเคล็ดลับสีธรรมชาติมาฝาก

สีย้อมธรรมชาติ

               การย้อมสีเขียวจากเปลือกต้นเพกา  เอาเปลือกเพกามาหั่น  หรือสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปต้ม 20 นาที  ช้อนเอาเปลือกออก  ต้มเถาถั่วแปบเอาแต่น้ำใสเติมลงไปใส่น้ำมะเกลือกเล็กน้อย  ใส่ปูนขาวและใบส้มป่อยผสมลงไป  ทิ้งไว้สักพัก  แล้วกรองให้เหลือแต่น้ำสีพร้อมที่จะย้อม  นำเอาน้ำย้อมตั้งไฟพออุ่น นำด้ายฝ้ายซึ่งซุบน้ำบิดพอหมาด  จุ่มลงในอ่างย้อม  ต้มต่อไปนาน  20  นาที จนได้สีที่ต้องการ  ยกด้ายฝ้ายออก  ซักน้ำสะอาดใส่ราวกระตุกตากจนแห้ง  จะได้สีเขียวตามต้องการ

               การย้อมสีดำจากเปลือกสมอ  ให้เอาเปลือกสมอมาต้มเคี่ยวให้แห้งจนงวดพอสมควร  รินเอาแต่น้ำใส่หม้อดิน  เอาด้ายฝ้ายที่เตรียมไว้ลงย้อมขณะที่น้ำสียังร้อนอยู่  จะได้สีดำแกมเขียวเข้ม  ถ้าต้องการได้สีเขียว  ใช้ด้ายฝ้ายที่ผ่านการย้อมสีครามมาย้อมจะได้สีเขียวตามต้องการ

               การย้อมสีเขียวจากเปลือกสมอ  เอาเปลือกสมอมาต้มเคี่ยวให้แห้งพอสมควร  รินเอาแต่น้ำใส่หม้อดิน  เอาด้ายฝ้ายที่ผ่านการย้อมครามมาครั้งหนึ่งแล้ว  ลงไปย้อมในน้ำสีที่ยังร้อนอยู่  ต้มต่อไปประมาณ  1  ชั่วโมง  หมั่นกลับด้ายฝ้ายไปมา  เพื่อให้สีดูดซึมอย่างสม่ำเสมอ  พอได้สีตามต้องการยกด้ายฝ้ายขึ้นกระตุก ตากให้แห้ง  จะได้สีเขียวตามต้องการ

               การย้อมสีจากเปลือกรกฟ้า โดยการแช่เปลือกต้นรกฟ้าในปริมาณพอสมควรไว้นาน  3  วันแล้วตั้งไฟต้ม ให้เดือด  จนเห็นว่าสีออกหมดดีแล้ว  จึงเทน้ำย้อมใส่ลงในอ่างย้อมหมักแช่ไว้  1  คืน  นำเอาเปลือกไม้ผึ่งแดด  จนแห้ง  เก็บไว้ใช้ต่อไป  สีเปลือกไม้นี้ถ้าถูกต้มจะกลายเป็นสีดำได้

               การย้อมสีกากีแกมเขียวจากเปลือกเพกากับแก่นขนุน  เอาเปลือกเพกาสด ๆ มาล้างน้ำ  ผึ่งแดดสัก  2-3 แดด  พักทิ้งไว้  เอาแก่นขนุนหั่นหรือไสให้เป็นชิ้นบาง ๆ แบ่งเอามา  1  ส่วน ผสมกับเปลือกเพกา  3  ส่วน  ต้มเคี่ยวให้น้ำเดือดแล้วกรองเอาแต่น้ำ  เวลาย้อมเติมน้ำสารส้มเล็กน้อยเพื่อให้สีติดดีและทนทาน  การย้อมเอาด้ายฝ้ายซึ่งชุบน้ำแล้วบิดพอหมาดลงในอ่างย้อมหมั่นกลับด้ายฝ้ายไปมา เพื่อให้สีติดสม่ำเสมอ ไม่ด่าง  จึงยกด้ายฝ้ายขึ้นซักน้ำให้สะอาดบิดกระตุก ตาก

               การย้อมสีน้ำตาลแก่จากเปลือกไม้โกงกาง  นำเอาเปลือกไม้โกงกางที่แห้งพอหมาด  มาล้างน้ำให้สะอาด  แช่น้ำไว้  1  คืน  แล้วต้มเคี่ยวไว้  2  วัน  กรองเอาแต่น้ำย้อมใส่สารเคมีไฮโดรเจนซัลไฟต์ ผสมลงในน้ำย้อมเล็กน้อย  เพื่อให้สีติดดีขึ้น  เอาด้ายฝ้ายที่ชุบน้ำพอหมาดจุ่มลงในน้ำย้อม ตั้งไฟต้มนาน 30  นาที  ยกด้ายฝ้ายขึ้นซักน้ำ  บิดให้แห้ง กระตุกด้ายฝ้ายให้กระจาย  ตากแดด

            การย้อมสีเปลือกไม้โกงกาง แช่เปลือกไม้โกงกางในปริมาณพอสมควรไว้นาน  3  วัน แล้วตั้งไฟต้มให้เดือด  จนเห็นว่าสีออกหมดดีแล้ว  จึงเทน้ำย้อมใส่ลงใสอ่างย้อม  หมักแช่ไว้  1  คืน  นำเอาเปลือกไม้ผึ่งแดดจนแห้งเก็บไว้ใช้ต่อไป  สีเปลือกไม้นี้ถ้าถูกต้มจะกลายเป็นสีดำได้  แต่ทนน้ำเค็ม

               การย้อมสีด้วยรากยอ  เอารากยอแห้งที่มีอายุสักหน่อย  เพื่อจะให้ได้สีเข้มมาสับหรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปต้มน้ำเดือด น้ำสีจะเป็นสีแดงจึงยกลง  กรองเอาแต่น้ำสี  นำเอาด้ายฝ้ายซึ่งเตรียมจะย้อมชุบน้ำให้เปลือกพอหมาดลงแช่ในน้ำสีประมาณ  30  นาที  หรือกว่านั้น  หมั่นยกด้ายฝ้ายกลับไปกลับมาเพื่อให้สีติดด้ายฝ้ายอย่างทั่วถึง  แล้วนำด้ายฝ้ายที่ย้อมขึ้นจากหม้อบิดพอหมาด  นำไปล้างน้ำสะอาด  แล้วผึ่งให้แห้ง  จะได้ด้ายฝ้ายที่ย้อมเป็นสีแดงตามต้องการ

               การย้อมสีด้วยเมล็ดคำแสด วิธีเตรียมสีจากเมล็ดคำแสด  แกะเมล็ดออกจากผลที่แก่จัด แช่น้ำร้อนหมักทิ้งไว้หลาย ๆ วัน จนสารสีตกตะกอน  แยกเมล็ดออก  นำน้ำสีที่ได้ไปเคี่ยวจนงวดเกือบแห้งแล้วนำไปตากแดด  จนแห้งเป็นผงเก็บไว้ใช้ 

               วิธีย้อมสีผ้าฝ้าย  ละลายสีเช่นเดียวกับการย้อมผ้าฝ้าย  แต่นำผ้าไหมที่ต้องการย้อมแช่ไว้ประมาณ  1  ชั่วโมง  และเติมสบู่ลงเล็กน้อยลงไปในสีที่ใช้ย้อม  ถ้าต้องการให้ผ้ามีสีเหลืองเพิ่มขึ้นให้เติมกรด  tataric  ลงไปเล็กน้อย  ผ้าที่ย้อมด้วยสีจากเมล็ดคำแสดที่จะไม่ตกง่ายเมื่อถูกับสบู่  หรือกรดอ่อน ๆ

               การย้อมสีดำจากลูกมะเกลือ นำเอาลูกมะเกลือมาตำละเอียด  แล้วแช่ในน้ำ ในน้ำที่แช่นี้เอารากลำเจียก  หรือต้นเบงตำปนกับลูกมะเกลือ  แล้วเอาด้ายฝ้ายที่ลงน้ำแล้วบิดพอหมาดลงย้อมในน้ำย้อม สัก 3-4 ครั้ง  การย้อมทุกครั้งต้องตากแดดให้แห้งจนเห็นว่าดำสนิทดี  ถ้าต้องการให้ผ้าเป็นเงาใช้งาดำตำละเอียด  นำด้ายฝ้ายมาคลุกเคล้าให้ทั่ว  ผึ่งไว้สักพัก  กระตุกตาก

               การย้อมอีกวิธีหนึ่งคือ เอาลูกมะเกลือที่แช่น้ำทิ้งไว้นั้นในปริมาณที่ต้องการมาตำให้ละเอียดพร้อมกับใบหญ้าฮ่อมเกี่ยวแล้วเอาไปแช่ในน้ำด่าง (ได้จากต้นมะขามเผาไฟให้เป็นขี้เถ้า  แล้วละลายน้ำกรองเอาน้ำใส ๆ จะได้น้ำย้อมที่ต้องการ)  นำเอาด้ายฝ้ายที่ลงน้ำบิดพอหมาด  จุ่มลงในอ่างย้อม  ใช้มือช่วยบีบด้วยฝ้ายเพื่อให้สีดูดซึมอย่างทั่วถึง ปล่อยทิ้งสักพักแล้วยกขึ้นจากอ่างน้ำย้อม  ซักให้สะอาดกระตุกตากให้แห้ง

               การย้อมสีแดงจากดอกคำฝอย  นำดอกคำฝอยมาตำให้ละเอียด  ห่อด้วยผ้าขาวบางผสมน้ำด่างเพื่อให้เกิดสี  (น้ำด่างได้จากการนำต้นผักขมหนามที่แก่จนเป็นสีแดงหรือน้ำตาลมาตากให้แห้งสนิทแล้วนำไปเผาไฟให้เป็นขี้เถ้า  ผสมกับน้ำทิ้งให้ตกตะกอน  รินเอาแต่น้ำใส ๆ มาผสมกับสี) ส่วนวิธีย้อมทำโดยนำดอกคำฝอยมาต้มให้น้ำออกมาก ๆ จนเหนียว  เก็บน้ำสีไว้      จากนั้นเอาแก่นไม้ฝางมาไสด้วยกบบาง ๆ แล้วต้มให้เดือดนานประมาณ  6  ชั่วโมง ช้อนกากทิ้ง เวลาจะย้อมฝ้าย  นำเอาน้ำย้อมที่ต้มแล้วทั้งสองอย่างมาเทรวมเข้าด้วยกัน  แล้วเติมสารส้มลงไปเล็กน้อย คนให้เข้ากันดีนำฝ้ายที่ชุบน้ำและตีเส้นให้กระจายลงย้อมในอ่างย้อม

               การย้อมสีเขียวจากใบหูกวาง เอาใบหูกวางมาตำคั้นเอาแต่น้ำสีกรองให้สะอาดต้มให้เดือดเอาฝ้ายที่เตรียมไว้  ลงย้อมจะได้เป็นสีเขียวอ่อน  หมั่นยกด้ายฝ้ายกลับไปกลับมา  เพื่อไม่ให้ด้ายฝ้ายด่าง และสีย้อมจะได้ติดทั่วถึง  พอได้ความเข้มของสีติดด้ายฝ้ายตามต้องการจึงยกขึ้นบิดพอหมาด  ซักน้ำสะอาดผึ่งให้แห้ง

            การย้อมสีจากคราม  ตัดต้นครามมาม้วนและมัดเป็นฟ่อน ๆ นำไปแช่น้ำไว้ในภาชนะที่เตรียมไว้ประมาณ  2-3 วัน จนใบครามเปื่อย  จึงแก้มัดครามออกเพื่อให้ใบครามหลุดออกจากลำต้น  นำลำต้นทิ้งไป เอาปูนขาวในอัตราส่วนที่เหมาะสมกันกับน้ำที่แช่ครามผสมลงไปแทนต้นคราม  จากนั้นนำเอาขี้เถ้าซึ่งได้จากเหง้ากล้วยเผาจนดำ  ผสมลงไป ทิ้งไว้ประมาณ  2-3 คืน  จนกว่าน้ำที่กวนใส รินน้ำที่ใสออกทิ้ง จะได้น้ำสีครามตามต้องการ  อาจใช้ผ้าขาวบางกรองเพื่อจะได้น้ำสีครามที่ละเอียด  นำด้ายไปขยำในหม้อคราม พยายามอย่าให้ด้ายฝ้ายพันกัน  ให้น้ำสีกินเข้าไปในเนื้อด้ายฝ้ายอย่างทั่วถึง  จนกระทั่งได้สีเข้มตามต้องการ จึงยกด้ายฝ้ายขึ้นจากหม้อ  บิดให้หมาดล้างน้ำสะอาด  นำไปขึ้นราวตากให้แห้ง

               การย้อมสีชมพูจากต้นมหากาฬและต้นฝาง  เอาเปลือกของต้นมหากาฬมาสับให้ละเอียดต้มในน้ำเดือดประมาณ 1  ชั่วโมง  แล้วช้อนเอาเปลือกออก เติมไม้ฝางซึ่งผ่าเป็นชิ้นเล็ก ๆ ลงไปต้มในน้ำเดือดนาน 1 ชั่วโมง เติมใบส้มป่อยลงไปอีก 1 กำ  ต้มต่อไปอีกเล็กน้อย  ช้อนเอากากออกแล้วเติมน้ำด่างลงไป จะได้น้ำย้อมสีชมพูจึงเอาด้ายฝ้ายที่ชุบน้ำบิดพอหมาด  จุ่มลงไปในอ่างย้อม ตั้งไฟต้มนาน   30  นาที ยกขึ้นจากอ่างย้อมนำไปซักน้ำบิดให้แห้งกระตุกให้เส้นด้ายกระจายตากแดด

               การย้อมสีเหลืองจากแก่นขนุน นำแก่นขนุนที่แห้งแล้วมาหั่นหรือไสด้วยกบเบา ๆ ใช้มือขยำให้ป่นละเอียด  ห่อด้วยผ้าขาวบาง แล้วต้มประมาณ  4  ชั่วโมง ดูว่าสีนั้นออกตามความต้องการหรือยังเมื่อใช้ได้ช้อนเอากากทิ้งกรองเอาน้ำใสเติมน้ำสารส้มเล็กน้อย  เพื่อให้สีติดดี  เอาด้ายฝ้ายซึ่งชุบน้ำพอหมาด จุ่มลงในอ่างย้อม  กลับด้ายฝ้ายไปมานาน 1 ชั่วโมง เอาขึ้นจากอ่างย้อม ซักน้ำสะอาดกระตุกตาก

               การย้อมสีเหลืองจากแก่นแกแล  ใช้ส่วนของแก่นแกเลย้อมผ้าจะได้สีเหลือง  ซึ่งจะมีสารสีเหลืองชื่อ Morin  อยู่ประมาณ  1% ให้นำเอาแก่นแกแลมาตากให้แห้งแล้วผ่าให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่หม้อต้มเดือด จนน้ำต้มสีเป็นสีเหลืองจึงยกลง  และนำเอาไปกรองเก็บน้ำสีไว้  เอาแกแลที่กรองไว้ไปต้มน้ำให้เดือดต่อไปจนได้น้ำสีจากแกแล  ซึ่งสีอ่อนกว่าหม้อแรก  เก็บน้ำสีไว้ทำแบบเดียวกัน  จนได้น้ำสีครบ 3 หม้อ จะได้น้ำสีอ่อนสุดถึงแก่สุด นำเอาด้ายฝ้ายที่เตรียมไว้ลงย้อมในน้ำสีหม้อที่  3  ซึ่งเป็นสีอ่อนสุดยกด้ายฝ้ายกลับไปกลับมาเพื่อให้น้ำสีเข้าไปในเนื้อฝ้ายได้ทั่วถึงไม่ด่าง  ทิ้งไว้สักพักจึงยกด้ายฝ้ายขึ้นบิดพอหมาด นำไปย้อมในหม้อที่ 2 และหม้อที่ 1 ทำแบบเดียวกัน จนย้อมได้ครบ  3  หม้อ นำด้ายฝ้ายขึ้นซักน้ำสะอาดจนสีไม่ตก เอาเข้ารางผึ่งให้แห้ง

 

 ขอขอบคุณข้อมูลดีดี มีประโยชน์จากเว็บไซต์

www.kobfapasuay.igetwab.com

 

มีภาพตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ

   

สมุดทำมือ ทำได้เองไม่ต้องพึ่งพาโรงงาน

   ผ้าเช็ดหน้าลายกิ๊บเก๋

 

ผ้าพันคอสุดเท่  

 

จะนำไปฝากคนที่เรารักก็คงเข้าที

 กางเกง+เสื้อ ก็มีนะ

ผ้าเช็ดหน้าลายหวาน

 

 

 

(ขอได้รับความขอบคุณจาก "ปนเป" ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ ที่กรุณาเอื้อเฝื้อรูปภาพสวยๆ ขอบคุณจากใจจริง)

สนใจติดต่อ 089-1450-033(คุณเปเล่)

หรือ 084-5156-646(คุณกุ้ง)

"ไม่ซื้อไม่ว่า....โทรมาคุยกันก็ได้ อยากแบ่งปันสิ่งดี ดี"

 

พบกับผลิตภัณฑ์งานศิลป์ ที่ผ่านการถ่ายทอดฝีมือระดับแนวหน้า เสกสรรค์งานผ่านความเป็นธรรมชาติ "เน้นง่าย แต่งดงาม"

การย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ

    การย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติมีมาตั้งแต่ปู่ย่าตาทวด ด้วยวิถีชีวิตที่ผูกพันและพึ่งพิงกับทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบกับเทคโนโลยีที่ยังไม่ค่อยก้าวหน้า เป็นเหตุผลให้คนพึ่งพาตนเองสูง การดำเนินชีวิตที่ต้องอาศัยปัจจัย ๔ ในการดำเนินชีวิต อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ในที่นี้จะขอพูดถึงเฉพาะเรื่องของเครื่องนุ่มห่มเท่านั้น

    ชาวบ้านสมัยก่อน หรือในปัจจุบันก็ยังมีให้เห็นกันอยู่ตามชนบท มีวิธีการสร้างเครื่องนุ่งห่มให้กับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการปลูกฝ้าย การเลี้ยงไหม เพื่อนำมาทอผ้า ซึ่งก่อนที่จะนำมาทอก็จะมีกระบวนการย้อมสี เพื่อให้เกิดความสวยงาม

    สีทอผ้าได้มาจากไหน ? น่าจะเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย แน่นอนว่าเราอยู่กับธรรมชาติสีที่ใช้ก็จะต้องมาจากธรรมชาติ จากใใบไม้ กิ่งไม้ เปลือกไม้ แก่นไม้ หรือส่วนต่างๆของต้นไม้ อาจจะไม่เฉพาะเจาะจง ช่วงแรกผู้เขียนคิดว่าจะต้องมีการลองผิดลองถูกอยู่หลายต่อหลายครั้ง และเมื่อได้ผลประการใดก็จะจดจำไว้ใช้ คือ เมื่อเลือกใช้ต้นไม้ต้นนี้ได้สีสวยงาม ครั้งต่อไปก็อาจจะเลือกใช้อีก(เพราะผู้เขียนเองก็เคยลองทำมาเหมือนกัน) เมื่อได้ชุดความรู้เหล่านี้แล้วก็จะสืบทอดให้กับลูกหลาน โดยถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นนั่นเอง

    ขั้นตอนการย้อมสีแบบง่าย ๆ (เอาเป็นว่าเป็นสมัยของผู้เขียนเลยละกัน) เริ่มต้นจากการหาต้นไม้ที่เราต้องการสี เช่น ต้นหูกวาง เราจะใช้ใบของต้นหูกวางเป็นหลัก เมื่อได้ใบมามากพอสมควรแล้ว(แล้วแต่ความต้องการ) จัดการหั่นใบหูกวาง และนำไปต้มในหม้อที่เตรียมไว้ ควรใช้ถ่าน หรือฟืนในการต้ม เพราะจะใช้เวลานาน ต้มจนกว่าจะมองเห็นสีเกิดขึ้น หรือได้สีที่ต้องการ

    ขั้นตอนการเตรียมผ้า ควรเลือกใช้ผ้าฝ้ายจะย้อมสีได้สวยกว่า ตัดแต่งผ้าตามความต้องการว่าจะนำผ้าชิ้นนั้นไปทำอะไร เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าคลุมไหล ผ้าพันคอ เสื้อ กระโปรง กางเกง ตามความต้องการ จากนั้นนำไปซักเพื่อล้างแป้งที่ติดมากับผ้าให้สะอาด นำผ้าที่ซักแล้วมาทำลวดลายโดยการพับ การขยุบ และการมัด เมื่อได้ลวดลายตามความต้องการแล้วก็นำผ้าลงไปย้อมสีที่ต้อมไว้ โดยต้มผ้าไปพร้อมกับต้มสี ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที หลังจากนั้นให้นำมาขึ้นมาผึ่งลม

    ขั้นตอนการจับสี ตัวจับสีที่ใช้ อาจจะใช้นำสนิม(ได้จากการแช่เศษเหล็ก) น้ำขี้เถ้า น้ำปูนใส หรือสารส้มก็ใช้ได้ ให้นำผ้าที่ย้อมแล้วมลงมาแช่ในตัวจับสีประมาณ 10 นาที จากนั้นก็นำไปซักด้วยน้ำเปล่า บดพอหมาด ผึ่งลม และเมื่อแกะเชือกที่มัดออกแล้วเราก็จะพบสิ่งมหัศจรรย์ชิ้นสำคัญของโลก เพราะมันคือฝีมือของเราเอง อาจจะทำซ้ำกระบวนการเดิมก็ได้หากอยากให้สีที่คงทน หรืออาจจะได้สีใหม่เพิ่มขึ้นหลังจากทำกระบวนการซ้ำอีกครั้ง

    เอกลักษณ์ของผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ คือ มีชิ้นเดียวในโลก ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร พร้อมทั้งเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง เพราะเกิดจากไอเดีย และฝีมือของเราเองทั้งนั้น นี่คือขั้นตอนอย่างง่ายของการทำผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ ที่สำคัญเป็นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผสมผสานกับศิลปะ หรืออาจจเรียกได้ว่าเป็น "ศิลปะวิทยาศาสตร์" ก็ได้ เราอาจจะชวนน้องๆ หนู ๆ มาทำผ้ามัดย้อมกันในวันหยุด ก็เป็นกิจกรรมที่น่าสนุกสนานของครอบครัว ฝึกกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และผ่านประสบการณ์ตรง อีกอย่างก็ยังช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้ด้วยนะ ...สิบอกให้...