Skip to main content

เมื่อกล่าวถึงเรื่องบทเพลงกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ดูเหมือนว่า จะมีความเชื่อมโยงกับบทเพลงที่เกี่ยวเนื่องกับความเป็นมาและชีวิตชีวาภายในสถาบันการศึกษา  อย่างเช่น เพลงประจำมหาวิทยาลัย หรือเพลงแม่โดมทั้งหลายของวงดนตรีสุนทราภรณ์ เป็นต้น

บทเพลงอีกพวกหนึ่งที่ราวกับว่าสะท้อนภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งยังเป็นบทเพลงที่นักศึกษาธรรมศาสตร์หลังยุคสายลมแสงแดดทุ่มเทความสนใจเป็นอย่างมาก นั่นคือ เพลงเพื่อชีวิต  แม้กระทั่งในปัจจุบัน กลิ่นอายของเพลงดังกล่าวก็ยังอวลกรุ่นอยู่กับนักศึกษามิจางหาย

แต่ยังมีบทเพลงอีกพวกหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่มิใช่น้อยเช่นกัน  นั่นคือ เพลงลูกทุ่ง  ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้ กลับไม่เป็นที่รับรู้ของนักศึกษาเท่าใดนัก

เพลงลูกทุ่งอันเกี่ยวเนื่องกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น  สามารถมองได้อย่างหลากหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กับเพลงลูกทุ่ง หรือนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กับเพลงลูกทุ่ง เป็นต้น ประเด็นเหล่านี้ล้วนมีความน่าสนใจอย่างยิ่ง

สำหรับในที่นี้จะกล่าวถึง นักร้องลูกทุ่งคนสำคัญ ซึ่งนับได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่ด้วย คือ สายัณห์ สัญญา

เพลง “ลูกสาวผู้การ”  ซึ่งประพันธ์โดย ชลธี ธารทอง และเป็นเพลงที่ทำให้สายัณห์ สัญญาแจ้งเกิดจนดังเป็นพลุแตกในปี พ.ศ. 2516 นั้น ก็เป็นเพลงที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากความงามของสาวสวยที่เดินผ่านป้อมยามทุกวันจนทาให้พลตำรวจประจำป้อมตกหลุมรัก ดังปรากฏในเพลงว่า

เกิดมาจนทุกข์เหลือทนหนอ พลตำรวจ เรื่องศักดิ์ศรีไม่มี โอ้อวด พลตำรวจ ผู้น้อยด้อยขั้น กลุ้มใจนัก ผมหลงรักลูกสาวผู้การ เธอเดินผ่าน ป้อมยามทุกวัน เก็บไปฝันถึงจนงมงาย

แปลกจริงเออ ผมรักเธอแล้ว ไม่กล้าบอก พ่อเธอรู้ กลัวโดนไล่ออก กลัวโดนออก เอาเสียง่ายๆ ได้แต่ผวาเรามีค่า แค่เพียงเม็ดทราย บังอาจรัก ลูกสาว เจ้านาย โชคจะร้ายแล้ว ซิหนอเรา

อยู่ป้อมยามได้แต่มองจ้องเธอทุกครา เมื่อไหร่หนอเธอจะผ่านมา ได้เห็นหน้าพอให้คลายเหงา นั่งฝันจนเพ้อโถนี่เธอ จะรู้หรือเปล่า พลตำรวจผู้น้อยอย่างเรา หลงรักเจ้าลูกสาวผู้การ

โปรดเมตตาผมเถิดหนาท่านผู้กากับ เฝ้าครุ่นคิดจนนอนไม่หลับ นอนไม่หลับเพราะ ความฟุ้งซ่าน ไม่กล้าเผยขอเป็นเขยของท่านผู้การ เงินเดือนจะน้อยด้อยทั้งการงาน ไม่อาจหาญไปปองดอกฟ้า

สาหรับสาวสวยที่เดินผ่านป้อมยามทุกวันนั้น  เธอเป็นนักศึกษาสาวของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชลธี ธารทองกล่าวถึงเบื้องหลังที่มาของเพลงนี้ไว้ว่า

“แต่งเพลงนี้ขณะเช่าบ้านอยู่ย่านพรานนก มีพลตำรวจนายหนึ่งทางานป้อมสี่แยกพรานนกมาบอกว่า ชอบมองนักศึกษาสาวธรรมศาสตร์เวลาเดินผ่านป้อมยามทุกวัน แต่ด้วยความเป็นตำรวจชั้นผู้น้อย ไม่กล้าไปรักไปจีบ เพราะนักศึกษาผู้นี้เป็นลูกสาวผู้กำกับการ ซึ่งเป็นเจ้านาย เขาไม่กล้าจีบ จึงวานผมช่วยเขียนเพลงแทนใจ ผมเห็นพล็อตเรื่องน่าสนใจเลยแต่งเป็นเพลงลูกสาวผู้การ ตั้งใจให้ศรคีรี แต่ที่สุดมาลงที่สายัณห์”[1]

ศรคีรีที่ถูกวางตัวให้ร้องเพลงนี้ตอนแรก คือ ศรคีรี ศรีประจวบ เจ้าของเพลงดังอย่างแม่ค้าตาคม ยังไม่ทันที่เขาจะได้ขับร้องเพลงลูกสาวผู้การ ก็มีอันต้องด่วนจากไปด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ สายัณห์ สัญญา ซึ่งเป็นเพียงเด็กล้างรถในขณะนั้น จึงได้ขับร้องแทนจนแจ้งเกิดโด่งดังเป็นพลุแตก เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งชื่อดังแห่งยุคสมัยด้วยเพลงนี้

นักศึกษาสาวของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่เพียงแต่เป็นแรงบันดาลใจจนกลายเป็นเพลง "ลูกสาวผู้การ" เท่านั้น ทว่ายังเคยเป็นข่าวในฐานะคู่รักของ "สายัณห์ สัญญา" อีกด้วย

ปลายปีพุทธศักราช 2520 สายัณห์ สัญญาตกเป็นข่าวใหญ่ในหน้าหนังสือพิมพ์ เมื่อเขาประกาศหมั้นและถอนหมั้นอย่างกะทันหันกับหญิงสาวที่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คนหนึ่ง แต่แล้วท้ายที่สุดเธอก็ถอนหมั้นไป เพราะความไม่เข้าใจกันในเรื่องงาน

นิตยสารลูกทุ่งดาราลงรายละเอียดเรื่องนี้ว่า

สายัณห์ สัญญา เป็นนักร้องลูกทุ่งผู้ยิ่งใหญ่ที่ประชาชนทั้งประเทศขนานนามให้เขาเป็นขุนพลเพลงลูกทุ่งดังแห่งยุค สายัณห์ สัญญา ครองความดัง ครองความเป็นขวัญใจคนเดิมมาอย่างสม่ำเสมอ เผลอๆจะเข้า 5 ปีแล้วมั้ง

เมื่อจะมีรัก มีหวัง มีหมั้น... จึงเป็นเรื่องราวใหญ่โตถึงกับขึ้นหน้า 1 หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของเมืองไทยเชียวแหละ ข่าวสายัณห์ สัญญา หมั้นนักศึกษาสาวเมื่อ 1 พ.ย. ยังไม่จางหาย ลูกทุ่งดาราเตรียมภาพ เตรียมรูป จะทยอยออกมาให้ดูอยู่แล้ว ข่าวสายัณห์ สัญญารักร้าว นักศึกษาถอนหมั้น นำแหวนเพชร เงินสดมาคืน ก็พาดหัวหนังสือพิมพ์ เป็นข่าวใหญ่สาหรับนักเพลงลูกทุ่งทั่วไปทันที [2]

และนี่คือเรื่องราวของนักร้องขวัญใจคนเดิม ที่ "ชาวธรรมศาสตร์หัวใจลูกทุ่งน่าจะสนใจ!



[1]บุญเลิศ ช้างใหญ่. ศิลปินแห่งชาติ ชลธี ธารทอง เทวดาเพลง ภาคสมบูรณ์. (กรุงเทพฯ :แพรวสานักพิมพ์, 2556).  หน้า 78

[2]บุญเลิศ ช้างใหญ่. รักน้อยๆ แต่ขอให้นานๆ สายัณห์ สัญญา.  (กรุงเทพฯ : นาครมีเดีย, 2556).  หน้า 202

 

บล็อกของ อุชญาสิตาส แคราสสิเม่

อุชญาสิตาส แคราสสิเม่
ความยิ่งใหญ่ของพญาอินทรีแห่งสวนอักษรที่มีนามว่า ‘รงค์ วงษ์สวรรค์ นั้น ย่อมเป็นที่ประจักษ์สำหรับนักอ่านชาวไทยมาจวบจนทุกวันนี้  
อุชญาสิตาส แคราสสิเม่
ปรีดี พนมยงค์ เป็นบุคคลที่ถูกกล่าวถึงบทบาทและผลงานสำคัญในด้านต่างๆมากมายหลายประการ  ไม่ว่าจะเป็นในฐานะมันสมองของคณะราษฎร, ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง, ผู้นำขบวนการเสรีไทยในช่วงสงครามโ
อุชญาสิตาส แคราสสิเม่
เมื่อวันอังคารของสัปดาห์ก่อน ผู้เขียนมีโอกาสได้อ่าน"หนังสือปกขาว" ที่พิมพ์ออกมาในช่วงทศวรรษ 2510 เล่มหนึ่ง และแทบไม่น่าเชื่อว่า จะเจอมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่ในนั้นหนังสือปกขาว คือหนังสืออะไรกัน?
อุชญาสิตาส แคราสสิเม่
เมื่อกล่าวถึงเรื่องบทเพลงกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ดูเหมือนว่า จะมีความเชื่อมโยงกับบทเพลงที่เกี่ยวเนื่องกับความเป็นมาและชีวิตชีวาภายในสถาบันการศึกษา  อย่างเช่น เพลงประจำมหาวิทยาลัย หรือเพลงแม่โดมทั้งหลายของวงดนตรีสุนทราภรณ์ เป็นต้น
อุชญาสิตาส แคราสสิเม่
เมื่อเอ่ยถึงประธานาธิบดีอาร์เจนตินา ดูเหมือนว่าชื่อของ ฆวน เปรอง (Juan Perón) จะเป็นชื่อสำคัญที่ผุดขึ้นมาในความคิดของผู้คน โดยมักจะปรากฏขึ้นมาพร้อมกับชื่อของภรรยาสาวสวยนาม เอวา เปรอง (Eva Perón) หรือ เอวิต้า (Evita) รวมถึงสิ่งหนึ่งที่ราวกับว่าเป็นเงาของเขา นั่นคือ นโยบายประชานิยม
อุชญาสิตาส แคราสสิเม่
สิ่งหนึ่งที่ชวนสะดุดใจเมื่ออ่านนวนิยายเรื่อง "หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว" (One Hundred Years of Solitude)[1] ผลงานเลื่องชื่อของนักเขียนรางวัลโนเบลชาวโคลอมเบียนาม กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ (Gabriel García Márquez)  คือ แผลที่รักแร้ของตัวละครพันเอกอ