Skip to main content
 
 
บทความนี้แปลมาจาก "มุมมองที่มีต่อสตาลิน : อดีตและอนาคต" (Depictions of Stalin: The Past and the Future )
 
ผู้เขียนคืออัลฟ์ วิกินสันในนิตยสาร New perspectives ฉบับที่ 8 หมายเลข 2 เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2002
 
 
        มิโลวาน ดจิลัส ผู้เป็นปรปักษ์ต่อรัฐบาลยูโกสลาเวียเรียกสตาลินว่าเป็น "อาชญากรที่ร้ายกาจที่สุดในประวัติศาสตร์"แต่นักประวัติศาสตร์ตะวันตกคือฮัชชิงส์ที่เขียนในทศวรรษที่ 60 ถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจของโซเวียตในช่วงทศวรรษที่ 30 กล่าวอย่างชัดเจนว่า "การกระทำของสตาลินนั้นสำคัญอย่างยิ่งต่อความสามารถของรัสเซียในการต้านทานการบุกของเยอรมันในปี 1941" โดยการเห็นชอบของสตาลินได้ทำให้ประชาชนของเขาเองจำนวนหลายล้านคนต้องถูกจำคุกและฆ่าตาย แต่เมื่อเขาถึงแก่อสัญกรรม ผู้ที่ถูกคุมขังจำนวนมากในกูลัก (ค่ายกักกัน-ผู้แปล) อันน่ากลัวต่างร้องไห้ด้วยความโศกเศร้า คุณจะสามารถประเมินได้อย่างสมเหตุสมผลอย่างไรเมื่อมีมุมมองอันแสนจะหลากหลายต่อผู้ชายคนนี้ต่อการกระทำของเขาและผลสำเร็จที่เกิดขึ้น ?  แน่นอนว่านักประวัติศาสตร์นั้นพิจารณาที่หลักฐาน ใช่หรือไม่ ? พวกเขาหมกตัวอยู่กับบรรดาจดหมายเหตุ พวกเขาได้อ่านมุมมองร่วมสมัยจากหนังสือพิมพ์ พวกเขาได้รับหลักฐานจากภาพยนตร์ วิทยุและพวกเขาคุยกับพยานบุคคล พวกเขาพยายามค้นหาทุกสิ่งเท่าที่ทำได้ เกี่ยวกับหัวข้อหรือบุคคลที่พวกเขากำลังศึกษาอยู่ พวกเขาระมัดระวังอย่างยิ่งยวดในการขจัดข้อเท็จจริงที่ไม่น่าเชื่อถือและการบิดเบือนออกไป เมื่อต้องเขียนหนังสือแล้วทำไมนักประวัติศาสตร์ต้องมีข้อสรุปที่แตกต่างกันขนาดนั้นด้วย ? สตาลินสามารถเป็นทั้งอาชญากรตัวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ (ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีคนที่อ้างสิทธิสำหรับสมญานามเช่นนี้อีกจำนวนหนึ่ง) และเป็นผู้ที่สำคัญอย่างใหญ่หลวงสำหรับการปกป้องโลกเสรีจากนาซีผู้รุกราน ? ในบทความนี้ ข้าพเจ้าพยายามจะชี้ให้เห็นถึงคำตอบบางข้อ 
 
 
 
 
 
 
 
                             
 
 
                                                 ภาพจาก  i.ytimg.com
 
 
 
มุมมองของโซเวียตที่มีต่อสตาลินภายหลังปี 1924 
 
 
เมื่อสตาลินได้กลายเป็นผู้นำโดยเด็ดขาดของสหภาพโซเวียตในปี 1929 เขาจำต้องได้รับการมองว่าเป็นผู้นำที่ชอบธรรมของเลนิน ดังคำขวัญที่ว่า "สตาลินคือเลนินของวันนี้" ทุกสิ่งอย่างที่เป็นเรื่องดีถูกยกอ้างว่าเกิดจากสตาลิน ดังธรรมชาติของสังคมโซเวียต จึงมีการตีความที่"เป็นทางการ"เกี่ยวกับสตาลินอยู่อย่างเดียว เบื้องหลังชีวิตและงานหรือการประสบความสำเร็จของเขาล้วนแต่ตอบรับความต้องการของรัฐโซเวียต พวกมันถูกดัดแปลงในส่วนที่จำเป็นในการสนองตอบความต้องการเหล่านั้น บทบาทที่สตาลินมีต่อพรรคบอลเชวิคในช่วงปี 1917 ถูกนำไปขยายเสียมากมายใหญ่โต และสตาลินถูกสร้างภาพว่าเป็นมือขวาของเลนิน ข้อเท็จจริงอันไม่พึงประสงค์ไม่ได้รับอนุญาตให้มาขวางทางของพรรคคอมมิวนิสต์เป็นอันขาด !  แน่นอนที่ว่าในรัฐเผด็จการเบ็ดเสร็จที่มีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวอันไม่มีฝ่ายค้านหรือไม่มีที่ว่างสำหรับความเห็นที่แตกต่าง กลไกของพรรคได้ยัดเยียดความคิดให้กับทุกคน เกิดอะไรขึ้นกับประชาชนชาวรัสเซียในทศวรรษที่30  ที่ไม่เห็นด้วยกับสตาลินอย่างเปิดเผย ? เราสามารถไว้ใจต่อบุคคลประเภทไหนในเวลานั้นที่พูดถึงสตาลิน ? มันอาจจะเป็นหลักฐานชั้นต้น พวกเขาอาจจะเป็นพยานบุคคล ซึ่งอาจจะรวมถึงตัวสตาลินด้วย แต่ว่าพวกเขาน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ? ในขณะที่ "ลัทธิเชิดชูบุคคล" (Cult of personality) กำลังยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ และสตาลินได้รับการยกย่องว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ "เห็นหมดและทำทุกอย่างหมด"แหล่งข้อมูลในช่วงนี้ถูกบิดเบือนขึ้นเรื่อย ๆ เราจะสามารถแยกแยะมายาคติออกจากความเป็นจริงได้อย่างไร ?
 
 
มุมมองจากฝ่ายปรปักษ์
 
งานเขียนจำนวนมากที่วิจารณ์สตาลินในช่วงนี้มาจาก "สมาชิกพรรคบอลเชวิคที่เก่าแก่" และคนอื่นๆ ที่ถูกสตาลินเบียดขับในช่วงการต่อสู้กันเพื่อสืบทอดตำแหน่งของเลนิน ยกตัวอย่างเช่นบูคารินเขียนว่า "สตาลินจะรัดคอพวกเรา เขาเป็นผู้ก่อการที่ไร้ซึ่งระเบียบวินัย ผู้ทำทุกอย่างเพื่อตอบสนองความกระสันในอำนาจของตน" และบูคารินน่าจะได้เป็นเพื่อนสนิทของสตาลินหรือว่าสนิทที่สุดเท่าที่สตาลินจะยอมให้ใครทำเช่นนั้น แต่ลางสังหรณ์ของเขาก็เป็นจริงเมื่อเขาถูกฆ่าในปี 1938 ในฐานะเหยื่อของการกวาดล้างครั้งยิ่งใหญ่ ทรอสกีได้กล่าวถึงสตาลินอย่างมากและมีคำชมเชยเพียงน้อยนิด เขามีเหตุผลอย่างเต็มเปี่ยมที่จะเกลียดสตาลินผู้ซึ่งเอาชนะเขาในทุกๆฝีก้าวของการต่อสู้เพื่อเป็นทายาทของเลนิน
 
 
 
 
การลี้ภัยของทรอตสกีและความตายของเขาในเวลาต่อมาได้ทำให้เกิดหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับวิธีของสตาลินในการจัดการกับผู้ที่เขาเห็นว่าเป็นปรปักษ์ นั้นหมายความว่าเราไม่สามารถไว้ใจต่อทุกอย่างที่ทรอตสกีได้พูดเกี่ยวกับสตาลินหรือ ? มุมมองของเขานั้นเกิดจากเรื่องส่วนตัว แน่นอนว่าเขาจะขมขื่นใจต่อชะตากรรมของตัวเอง ก่อนหน้าที่จะลี้ภัยทางการเมือง ทรอตสกีเป็นจุดศูนย์กลางของเหตุการณ์ อย่างไรก็ตามเขามีโอกาสได้สัมผัสกับเอกสารในการประชุม มีบทบาทในการตัดสินใจ สิ่งเหล่านี้จะหมดความน่าเชื่อถือทันทีที่เขาลี้ภัยจากรัสเซียเลยหรือ ? คุณจะสามารถแยกแยะความเป็นปรปักษ์ส่วนตัวออกจากแง่คิดทางประวัติศาสตร์อันเป็นประโยชน์ได้อย่างไร ? เพราะใครบางคนเป็นปรปักษ์ อย่างเช่นรอย เมดเวเดฟกับหนังสือของเขาคือ "ปล่อยให้ประวัติศาสตร์ตัดสินเอาเอง" (Let History Judge) ก็เช่นกัน งานของพวกเขานั้นอาจจะถูกถูกตีพิมพ์นอกรัสเซีย สิ่งเหล่าได้ทำให้พวกเขาดูน่าเชื่อถือน้อยหรือมากขึ้นในฐานะผู้บรรยายเหตุการณ์หรือไม่ ? ในฐานะที่ถูกนิยามว่าเป็นปรปักษ์ พวกเขาดูน่าจะมีมุมมองด้านลบมากกว่าผู้บรรยายเหตุการณ์คนอื่น แต่ว่าพวกเขานั้นน่าเชื่อถือน้อยกว่าในฐานะตัวผู้ประเมินหรือไม่ ? ในฐานะที่หนังสือเหล่านั้นถูกตีพิมพ์อย่างผิดกฏหมายหรือภายนอกสหภาพโซเวียตและมีเนื้อหาที่ไม่ถูกทางการสั่งห้าม นั้นหมายความว่าพวกมันจะซื่อสัตย์หรือว่าจะรุนแรงกว่าหรือไม่ ? พวกเราในฐานะนักประวัติศาสตร์จะตัดสินว่าใครน่าเชื่อถือและใครไม่น่าเชื่อถืออย่างไร ?
 
 
 
 
 
 
 
ลีออน ทรอตสกี (1879-1940) นักปฏิวัติและปัญญาชนอีกคนของบอลเชวิคที่แย่งชิงอำนาจสู้สตาลินไม่ได้จึงลี้ภัยไปต่างประเทศ ต่อมาทรอตสกีถูกสายลับของสตาลินเอาขวานจามหัวตายอย่างน่าอนาถที่เม็กซิโก
 
ภาพจาก  www.oldpicz.com
 
 
มุมมองของนิกีตา ครูซชอฟที่มีต่อสตาลิน
 
 
ภายหลังจากที่สตาลินได้ถึงแก่อสัญกรรมไปแล้ว ครูซชอพได้กลายเป็นผู้นำสูงสุดของโซเวียตแทน ก่อนหน้านี้เขาเป็นลูกน้องผู้ซื่อสัตย์ต่อสตาลินและสามารถเป็นจุดศูนย์กลางของเรื่องราวต่างๆ โดยที่ตัวเองไม่ได้เป็นเหยื่อของการกวาดล้างเสียก่อน อย่างไรก็ตามทางพรรคได้เริ่มต้นเปิดเผยความหฤโหดหลายอย่างในช่วงเวลานั้นและครูซชอฟก็เลือกที่จะไม่มองข้าม การกล่าวสุนทรพจน์ในปี 1956 แบบลับ ๆ เพื่อการขจัดอิทธิพลของสตาลิน (De-Stalinization) ของเขาคือความพยายามที่จะยกฐานะของตนโดยการแยกตัวเองและพรรคออกจาก "พฤติกรรมโฉด"ของสตาลิน ดังนั้นมุมมองของทางการโซเวียตก็กลายเป็นสิ่งที่เขาเรียกกันว่า "ผู้ประพฤติผิดต่อเลนิน" นั้นคือเลนินได้นำพรรคคอมมิวนิสต์ไปสู่เส้นทางที่ถูกที่ชอบ แต่สตาลินเพียงคนเดียวต้องรับผิดชอบต่อการเบี่ยงเบนจากนโยบายของเลนิน ดังนั้นจึงกลายเป็นว่าพรรคคอมมิวนิสต์นั้นถูกต้อง แต่สตาลินเพียงคนเดียวที่เป็นแหล่งของพฤติกรรมอันผิดพลาดในช่วงเวลาที่เขาขึ้นครองอำนาจ ด้วยบริบทเช่นนี้ เรื่องราวอันทรงพลังของอเล็กซานเดอร์ โซลเซนิตซิน ที่มีชื่อว่า "วันหนึ่งในชีวิตของวีอาน เดนิโซวิตช์ "ซึ่งเป็นเรื่องของนักโทษในค่ายกักกันก็ได้ถูกตีพิมพ์ (อย่างถูกกฏหมาย)เป็นครั้งแรกในรัสเซีย สตาลินเกือบจะไม่ได้เป็นแค่ตัวบุคคลเท่านั้น ประวัติศาสตร์กระแสหลักของโซเวียตโดยยูริ คูคัชกินตีพิมพ์ในปี 1981 ถึงกลับกล่าวว่าความเจริญของสหภาพโซเวียตถูกเหนี่ยวรั้งโดยความผิดพลาดของสตาลิน!
 
 
การประเมินของรัสเซียเมื่อไม่นานมานี้
 
นับตั้งแต่ยุคของมิคาเอล กอร์บาชอฟและนโยบายกลาสนอสต์ ได้เปิดให้มีหนทางสำหรับการตีความสตาลินและสภาพโซเวียตมากกว่าเดิมรวมไปถึงการวิพากษ์วิจารณ์เขาเป็นจำนวนมาก งานของดมิทริ โวโลโกนอฟ  ผู้เขียนเรื่องสตาลิน: ชัยชนะและโศกนาฏกรรม (Stalin: Triumph and Tragedy) การเปิดหอจดหมายเหตุของพรรคคอมมิวนิสต์ เอ็นเควีดี (NKVD -หน่วยตำรวจในช่วงปี 1934-1946) คณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง และคณะกรรมการกลางเช่นเดียวกับการเปิดเผยส่วนตัวที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์เมื่อไม่นานมานี้นำไปสู่การถกเถียงที่เปิดกว้างและอิสระมากขึ้นเกี่ยวกับตัวสตาลิน บทบาทของเขาในการตัดสินใจหรือแม้แต่จำนวนของการจับกุมและการประหารผู้คนในยุคนั้น สิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือแง่มุมบางประการของลัทธิสตาลินนั้นบัดนี้ได้รับความปรารถนาจะให้กลับมาอีกครั้งในขณะที่สังคมรัสเซียกำลังเสื่อมถอยพร้อมกับอาชญากรรม การฉ้อราษฎรบังหลวง และความยากจนเพิ่มมากขึ้น สามัญชนจำนวนมากปรารถนากฏระเบียบและความแน่นอนของสังคมในช่วงเวลาที่สตาลินครองอำนาจ
 
 
มุมมองของตะวันตก
 
เป็นเรื่องง่ายเกินไปที่จะแบ่งแยกมุมมองแบบตะวันตกที่มีต่อสตาลินออกเป็นที่เขียนโดยพรรคคอมมิวนิสต์และผู้เห็นอกเห็นใจคอมมิวนิสต์นั้นในฐานะผู้สนับสนุนสตาลิน และผู้ต่อต้านคอมมิวนิสต์ในฐานะผู้ต่อต้านสตาลิน แน่นอนว่าคุณจะคาดหวังให้นักประวัติศาสตร์ตระกูลมาร์กซ์ดังเช่นอี เอช คาร์ เจ้าของหนังสือ "ลัทธิสังคมนิยมใน 1 ประเทศ" (Socialism in One Country)  จะต้องมีความเห็นอกเห็นใจอย่างยิ่งต่อสหภาพโซเวียตและผลสำเร็จของมัน ส่วนนักประวัติศาสตร์สายเสรีนิยมหรือทุนนิยมจะต้องต่อต้านวิถีชีวิตที่ชาวโซเวียตถูกชี้นำโดยพรรคและรัฐ 
 
นอกจากนี้ ผู้สนับสนุนทรอตสกี และอื่น ๆ อีกมาก ย่อมจะไม่ให้ภาพที่ดีงามของสตาลินนัก เมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย เป็นไปได้ที่จะอ้างอย่างที่นักประวัติศาสตร์บางคนทำ ว่าอุดมการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์จะต้องล้มเหลวแน่นอนในระยะเวลาอันยาวนาน ด้วยหัวข้อที่เต็มไปด้วยข้อโต้แย้งและข้อกล่าวหาทางอุดมการณ์นี้นักศึกษาจะต้องหาทางแยกอคติทางอุดมการณ์ของนักเขียนออกจากการอธิบายของเขาในด้านประวัติศาสตร์
 
 
 
การประเมินในช่วงทศวรรษที่ 30
 
 
พวกเราต้องจำไว้ว่า ในช่วงทศวรรษที่ 30 คือปีแห่งวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้วได้รับผลกระทบโดยมีการตกงานครั้งใหญ่ ความยากจนและความไร้เสถียรภาพทางการเมือง ทุกประเทศได้รับผลกระทบกันหมด ยกเว้นสหภาพโซเวียตที่ซึ่งแผนพัฒนา 5 ปีของสตาลินดูเหมือนจะแก้ไขปัญหาที่โลกทุนนิยมทำไม่ได้ คนจำนวนมากเช่นนักหนังสือพิมพ์อเมริกันคือดับเบิลยู ดัลลันตีผู้เขียนหนังสือชื่อ "รัสเซียถูกรายงาน " (Russia Reported) ในปี 1934 หรือซิดนีย์ นักสังคมนิยมชาวอังกฤษ และบีทริซ เว็บผู้ร่วมเขียนหนังสือชื่อ "คอมมิวนิสต์โซเวียต" (Soviet Communism) ผู้ที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์เห็นว่ารัสเซียคือเรื่องราวแห่งความสำเร็จและเขียนถึงสตาลินกับการบรรลุวัตถุประสงค์ของเขา คนที่มาเยือนสหภาพโซเวียตได้บรรยายถึงสิ่งที่พวกเขาพบเห็นหรือจะให้ถูกกว่านั้นคือสิ่งที่ได้รับอนุญาตให้เห็นเช่น งาน  ความมั่งคั่ง ความภาคภูมิใจในประเทศ การพัฒนาประเทศและความกระตือรือร้น นี่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับความสิ้นหวังในหลายๆ ที่ของตะวันตก อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกคนที่จะซึมซับไปกับการพาเที่ยวชมที่จัดไว้อย่างดีแล้วมัลคอล์ม  มักเกอร์ริดช์นักหนังสือพิมพ์ชาวอังกฤษได้เขียนรายงานเป็นชุดให้กับแมนเชสเตอร์ การ์เดียน โดยเน้นความยากแค้นของชาวไร่ชาวนาจากการทำนารวม เขาชี้ให้เห็นว่า ในขณะที่สตาลินขายพืชผลให้กับตะวันตกเพื่อนำรายได้มา สนับสนุนแผน 5 ปี ประชาชนในพื้นที่ชนบทมักจะอดตาย นักเขียนที่สนับสนุนโซเวียตก็จะโจมตีเรื่องของมักเกอร์ริดช์กันยกใหญ่ ดังนั้นรายงานของเขาจึงได้รับการเปิดเผยน้อยมาก อย่างไรก็ตามภายหลังปี 1936 เมื่อสตาลินเพียงคนเดียวที่ดูเหมือนจะเตรียมการต่อต้านพวกฟาสซิสต์อันแข็งกร้าวและช่วยฝ่ายสาธารณรัฐในสงครามกลางเมืองของสเปน ยิ่งมีคนชื่นชมในตัวสตาลินกันมากขึ้น
 
 
ภายหลังปี 1941 เมื่อเยอรมันบุกรัสเซีย เขาได้กลายเป็น "ลุงโจ" และเป็นส่วนหนึ่งของฝ่ายสัมพันธมิตรในการต่อต้านพวกนาซี ทันใดนั้นในฐานะพันธมิตร เขาก็ได้รับการชื่นชอบจากทุกคน ภายหลังการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 2  กองกำลังต่อต้านฮิตเลอร์ก็แตกคอกันอย่างรวดเร็ว วินสตัน เชอร์ชิลพูดถึง "ม่านเหล็ก"ที่ได้คลี่มาปกคลุมทั่วยุโรป เมื่อสงครามเย็นแพร่ขยายไป ทัศนคติเกี่ยวกับรัสเซียก็เปลี่ยนไป สตาลินได้รับการมองว่าเป็นทรราชผู้ชั่วร้ายจะหวังจะครอบครองโลกอย่างรวดเร็ว เป็นการยากที่ใครจะเขียนถึงสหภาพโซเวียตอย่างไม่มีอคติ เมื่อจีนเป็นคอมมิวนิสต์ ในปี 1949 และสงครามเกาหลีอุบัติขึ้น บางคนเห็นว่าโลกเสรีพบกับปัญหาและสตาลินกลายเป็นสาเหตุ
 
 
 
 
 
 
ภาพจาก  blogs.voanews.com
 
 
 
การโต้เถียงกันในยุคหลังสตาลิน
 
จนถึงเมื่อไม่นานนี้ นักประวัติศาสตร์ของตะวันตกได้ทำงานพร้อมด้วยหลักฐานของฝ่ายโซเวียตที่น่าเชื่อถือแต่จำกัด พวกเขาโดยมากอิงกับบันทึกส่วนตัว ข้อเขียนจากฝ่ายตรงกันข้ามของสตาลินและเอกสารที่ถูกยึดมาจากนาซีในช่วงท้ายสงครามโลกครั้งที่ 2  เป็นการยากที่จะได้รับสิ่งที่เรียกว่าข้อมูลจาก "คนภายใน" หรือจากผู้ที่อยู่ในจุดศูนย์กลางของอำนาจและเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ อย่างไรก็ตาม มีการโต้เถียงกันอย่างแพร่หลายเกี่ยวกับสตาลินและนโยบายของเขา ขอบเขตของการโต้เถียงกันนั้นเน้นไปที่ประเด็นที่ว่า "ความเป็นปัจเจกชนหรือระบบที่สำคัญ?" ความโหดเหี้ยมของการปกครองของสตาลินส่งผลอย่างไรต่อตัวเขา ? ข้อบกพร่องของบุคลิกภาพและความทะเยอะทะยานของเขามีมากน้อยอย่างไร ? แล้วสิ่งเหล่านั้นเข้ามาข้องเกี่ยวกับระบบที่วางไว้โดยเลนินมากน้อยเพียงไหน ? ขอบเขตสำคัญอื่นๆ ของการโต้เถียงเน้นไปที่สหภาพโซเวียตนั้นถูกปกครองอย่างเข้มงวดจากศูนย์กลางหรือไม่ หรือ ภูมิภาคนั้นได้เข้ามามีส่วนร่วมในสิ่งเหล่านั้นหรือไม่ ? ระบบยังขึ้นอยู่โดยมากบนความกลัวหรือมันเป็นการยินยอมในระดับหนึ่ง ? นโยบายนั้นถูกวางจากศูนย์กลางและถูกนำมาใช้อย่างเข้มงวด หรือว่าถูกประยุกต์ใช้อย่างยืดหยุ่นในท้องถิ่น ? การเปลี่ยนแปลงเป็นเพียง "จากบนสู่ล่าง "หรือว่า "จากล่างสู่บน"เพียงบางส่วน ? 
 
 
เมื่อมีหลักฐานชิ้นใหม่โผล่ขึ้นมาเรื่อย ๆ นักประวัติศาสตร์ก็ได้ท้าทายมุมมองที่มีต่อสหภาพโซเวียตว่ามีลักษณะเป็น "องค์กรที่เป็นปึกแผ่น" และได้พบกับแนวคิดที่ว่า ถึงแม้จะมีการโฆษณาภาพของโซเวียตภายใต้การปกครองของสตาลิน เขาก็ไม่ได้สถิตอยู่ทุกหนแห่ง และเขาก็ไม่ได้มีอำนาจอย่างเต็มที่เหนือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สตาลินนั้นเป็นจุดศูนย์กลางแห่งการตัดสินใจและแน่นอนว่าเขาได้กำหนดทิศทางของประเทศ ทว่าการตีความใหม่ๆ ของการกวาดล้างและความน่าสะพึงกลัว (ดูตัวอย่างหนังสือ "ต้นกำเนิดของการกวาดล้างครั้งใหญ่" (Origins of the Great Purges) ของ เจ อาร์ช เกตตี ปี 1985) ได้แสดงว่าสตาลินนั้นมีอยู่บ่อยครั้งที่ต้องสนองตอบแรงกดดันจากหลายๆ ที่ในระบบ 
 
 
อย่างไรก็ตาม หนังสือ "ลัทธิสตาลิน " (Stalinism)  ของแกร์แฮม กิล ในปี 1990 ได้ชี้ให้เห็นว่า "ถึงแม้เขาจะไม่ตระหนักถึงตัวตนของทุกคนที่ถูกกำจัดออกไปลายมือชื่อของเขาที่อยู่ใต้รายชื่อของผู้ถูกกำจัดโยงมาโดยตรงถึงเขาถึงชะตาของคนเหล่านั้น การลงโทษของเขานั้นสำคัญสำหรับการกำจัดสมาชิกคนสำคัญของพรรค นอกจากนี้ ตำแหน่งของเขายังรับประกันได้ว่าเขาสามารถระงับการกวาดล้างเมื่อเขารู้สึกว่าพอสมควรแล้ว ดังนั้นนำมาสู่ข้อเท็จจริงที่ว่าการกวาดล้างยังคงดำเนินต่อไปตราบใดที่ยังต้องขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของเขาโดนตรง"
 
ในงานเขียนชั้นนำคือ "ยุโรปยุคใหม่ช่วงปี 1870-1945" (Modern Europe 1870-1945) ของคริส คัลพินและรูธ เฮนิก ซึ่งถูกตีพิมพ์ในปี 1997 ได้ขึ้นหัวข้อของบท ๆ หนึ่งเกี่ยวกับสตาลินว่า "จริงๆ แล้วสตาลินสำคัญขนาดนั้นหรือ ?" ความคิดของนักประวัติศาสตร์หลายคนก็แตกต่างกันออกไป บางคนเห็นว่านโยบายของเขานั้นจำเป็นที่จะนำไปสู่การเป็นประเทศมหาอำนาจทางอุตสาหกรรม และสามารถต้านทานการบุกนาซีเยอรมันได้ (แค่มาคิดดูว่าถ้าหากฮิตเลอร์ชนะ ประวัติศาสตร์จะเปลี่ยนไปขนาดไหน !) หนทางเดียวที่จะฉุดประเทศที่ล้าหลังมาสู่ศตวรรษร่วมสมัย ดังที่พระเจ้าปีเตอร์มหาราชเคยทรงค้นพบคือการนำเอานโยบายของรัฐมาปฏิบัติใช้อย่างไร้ความกรุณาแทนที่มาตรฐานการครองชีพและเสรีภาพส่วนบุคคลของประชาชนในช่วงสั้น ๆ อนึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนเห็นว่ายังมีเหตุผลอื่นๆ ในการทำเช่นนี้ ดังความคิดของบูคารินในหนังสือชื่อ "บันทึกของนักเศรษฐศาสตร์" (Notes of An Economist)  ที่ถูกตีพิมพ์ในปี 1928 ได้แนะนำว่าการสืบเนื่องของเอ็นอีพี  (New Economic Plan หรือแผนเศรษฐกิจใหม่ -ผู้แปล) ทำให้ได้ผลสำเร็จเหมือนกันแต่ใช้วิธีการที่ละมุนละม่อมกว่า เศรษฐกิจกำลังพัฒนาไปได้ดีทีเดียวในช่วงปลายทศวรรษ ที่ 20  ผลผลิตนั้นได้มีจำนวนมากกว่าในระดับเมื่อปี 1913 ไม่มีความต้องการที่จะผลักไสไล่ส่งให้ชาวนาชาวไร่เข้าสู่ระบบนารวม บางคนจึงเสนอว่าความชั่วร้ายทั้งหมดมาจากสตาลินเอง ในหนังสือ "ในประเทศรัสเซีย ช่วงปี 1917-1941" (In Russia 1917-1941) ของมาร์ติน แม็คคัลเลย์ตีพิมพ์ในปี 1997 เห็นว่าเมื่อมีการเสียสละอย่างมากมาย การเจริญเติบโตร้อยละ 5.1 ต่อปีถือว่าเล็กน้อยและอาจจะบรรลุผลได้โดยใช้วิธีการแบบเก่ามากกว่านี้
 
 
การจัดการกับความหลากหลายของมุมมอง
 
ถึงแม้ว่าจะมีหลักฐานที่นำมาศึกษาจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ความเห็นที่มีต่อตัวสตาลินก็ยังคงแตกแยกกันอยู่มาก เขาได้กลายเป็นกรณีศึกษาสำหรับประวัติศาสตร์นิพนธ์ ด้วยการกระทำของเขาซึ่งมีผลอย่างมหาศาล พวกเราจึงอาจหลีกเลี่ยงที่จะมองเขาอย่างไร้อคติไม่ได้ ในที่สุดแล้ว ตัวเขาเองยังบอกกับเชอร์ชิลว่าเศรษฐกิจแบบนารวมอาจทำให้คนเสียชีวิตถึง 10,000,0000 คน ! ดังที่ข้าพเจ้าได้บอกไว้แล้วว่ามีเหตุผลมากมายว่าทำไมนักประวัติศาสตร์ถึงเขียนเกี่ยวกับใครสักคนหนึ่ง หลักฐานะอะไรที่นำมาใช้ได้ พวกเขาได้เลือกใช้อะไร และพวกเขาได้เลือกที่จะตีความเหตุผลนั้นอย่างไร เป็นประเด็นสำคัญ ดังนั้นปมชีวิตและความเชื่อของตัวนักประวัติศาสตร์เองก็จะเป็นผลให้เกิดข้อสันนิฐานหลักต่อสิ่งที่เขาเขียนในเรื่องของอดีต นอกจากนี้ มุมมองร่วมสมัยก็เป็นเรื่องสำคัญ นั้นคือผู้คนมักจะมองอดีตจากมุมมองของตัวเองตามเวลาและความสนใจ การล่มสลายของระบบโซเวียตในปี 1990 นั้นได้เข้ามาบดบังมุมมองต่อการกระทำของสตาลินจากสายตาของคนในสมัยทศวรรษที่ 30  และ 40
 
 
ด้วยความหลากหลายของการตัดสินในตัวสตาลินเช่นนี้ จึงมีเพียง 4 ทาง นั้นคือ
 
 
1.การตัดสินต่อตัวสตาลินควรจะได้รับการประเมินโดยแหล่งนั้นถูกพิจารณาผ่านทักษะที่ถูกพัฒนาในจีซีเอสอี (การสอบวัดความรู้ของนักเรียนในอังกฤษ- ผู้แปล) ระดับก้าวหน้าและเหนือไปกว่านั้น อะไรคือความตั้งใจของผู้เขียน? เธอหรือเขานั้นอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมในการให้การตัดสินใจที่สมเหตุสมผลหรือไม่ ? มีสิ่งที่บ่งชี้ให้เห็นอคติอย่างชัดเจนหรือไม่ ? และมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวผู้เขียนกับสตาลินและรัสเซีย ?
 
 
2.การตัดสินใจและการกระทำของสตาลิน การพัฒนาของระบบการปกครองและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจสามารถถูกวางไว้ในช่วงชีวิตของคนที่ยาวกว่านี้หลาย ๆ ศตวรรษ ในประวัติศาสตร์รัสเซีย นโยบายของสตาลินและการบริหารงานมีความโดดเด่นอย่างไรในกรอบเวลาของรัสเซียที่ยาวนานยิ่งขึ้น ?
 
 
3.เมื่อการประเมินของสตาลินนั้นถูกนำมาพิจารณา เราต้องพยายามแยกอิทธิพลของเขาออกจากกลไกของพรรค (และรัฐ) ดังที่กล่าวไว้ข้างบน อิทธิพลของสตาลินนั้นได้ก้าวไปเหนือการจัดตั้งเป้าหมายและ "ภาพโดยรวม"อย่างไร ? อิทธิพลของสตาลินส่งผลต่อนโยบายและการนำไปปฏิบัติใช้ (โดยเฉพาะในแง่มุมของการกวาดล้าง)มากมายแค่ไหน ? และกลไกของพรรคนั้นได้พัฒนาวัฒนธรรมและจุดสมดุลของตัวเองเหนืออิทธิพลของสมาชิกคนสำคัญอย่างไร ?
 
 
4.ถ้าการตัดสินใจที่สำคัญของสตาลินในช่วงเวลาที่เขามีอำนาจนั้นเป็นเรื่องที่เห็นกันว่าชัดเจนอย่างยิ่ง (และโดยไม่คำนึงถึงบทบาทของเขาในนโยบายต่างๆ และการนำไปปฏิบัติ) เราจำเป็นต้องใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ขนาดไหน ? ไม่มีคำตอบเชิงประวัติศาสตร์ต่อคำถามด้านสมมติฐานเพราะว่าทุกประเทศนั้นมีความโดดเด่นเป็นของตัวเองในด้านภูมิศาสตร์ สังคมและประวัติศาสตร์ แต่ว่าการวิเคราะห์โดยตั้งเงื่อนไขแบบตรงกันข้าม (Counterfactual) อาจจะทำให้เกิดความรู้บางอย่าง 
 
 
ดังข้อสรุป เป็นเรื่องสำคัญที่จะย้ำตรงนี้ว่า คุณกำลังปลุกปล้ำกับชายผู้อยู่ในช่วงเวลาประวัติศาสตร์ที่แสนจะวุ่นวายสับสน ความเข้าใจและการประเมินที่สมเหตุสมผลอาจจะชะงัก ถ้าหากเราไม่มีความชื่นชอบถึงอุปนิสัยอันโดดเด่นของสตาลินและความเข้าใจถึงความเป็นรัสเซียของสตาลิน (สตาลินที่จริงเป็นคนจอร์เจีย -ผู้แปล) เช่นเดียวกับนโยบายและการกระทำของเขา
 
 
 
 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
(เรื่องสั้นสยองขวัญภาษาอังกฤษเรื่องนี้ลอกมาจากเรื่องสั้นของราชาเรื่องสยองขวัญของเมืองไทย ครูเหม เวชากร ตัวเอกคือนายทองคำ เด็กกำพร้าอายุ 12 ขวบที่อาศัยอยู่กับยายและญาติในชนบทของไทยในช่วงเวลาประมาณ พ.ศ.2476)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The lingering sunlight from the dawn kissed my eyelids and I could hear faintly the flock of big birds, whose breed was unbeknownst to me, chirping merrily outside window ,as if to greet the exuberant face of a new day.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเกี่ยวกับนักเขียนวัยกลางคนที่มีความหลังอันดำมืดและความสัมพันธ์กับดาราสาวผู้มีพลังจิต 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของรปภ.หนุ่มผู้ค้นหาภูติผีปีศาจในตึกที่ลือกันว่าเฮี้ยนที่สุด  เรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากรายการ The Ghost Radio(the altered version)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของผู้ชาย 3 คนที่ขับรถบรรทุกแล้วต้องเผชิญกับผีดูดเลือด 3 Friends and The Ghosts                                                (1)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
This short novel is about a guy who works as a DJ for the radio program 'The Spook Radio', famous for its allowing audience to share their thrilling experiences or tales about the superstitious stuffs, especially the ghosts, via telephones.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเรื่องนี้เกี่ยวกับคนไทยที่ใช้ชีวิตในเยอรมันช่วงพรรคนาซีเรืองอำนาจ  เขียนยังไม่จบและยังไม่มีการ proofreading แต่ประการใด                     Chapter 1  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความนี้มาจาก facebook  Atthasit Muangin สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มหาศาสดาผู้ลี้ภัยอยู่ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส ในฐานะเป็นเอตทัคคะหรือผู้เป็นเลิศในเรื่องเจ้า (The royal affairs expert)  พบกับการวิพากษ์วิจารณ์และโจมตีอย่างมากมายจากบรรดาแฟนคลับหรือคนที่แวะเข้ามาในเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 (มีบทความอื่นอีกมากมายในเฟซบุ๊คของผมคือ Atthasit Muang-in) 1.สลิ่มไม่ชอบอเมริกาและตะวันตกซึ่งคว่ำบาตรและมักท้วงติงไทยหลังรัฐประหารปี 2557  ในเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยพวกสลิ่มเห็นว่าทั้งสองฝ่ายเป็นพวกหน้าไหว้หลังหลอกเช่นเคยบุกประเทศอื่น
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ตัวละครบางตัวได้แรงบันดาลใจมาจากอิ๊กคิวซัง เณรน้อยเจ้าปัญญา The Abbot and The Noble           (1) In our village , Abbot Akisada was enormously respected by most of our
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องความแค้นของผีตายทั้งกลม This (real) horror short story is partly inspired by the ghost tale told by the popular YouTuber like Ajarn Yod. Or it is in fact from the amateurish storytellers participating in Ghost Radio or The Shock more or less.