Skip to main content

แปลมาจากบทความของคุณอิลิซาเบท ชวาร์ม เกลสเนอร์  จาก www.w3.rz-berlin.mpg.de

 

Symphony No.1, Op.21

 

ดังเช่นฮอลลีวูดมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์ของโลกในปัจจุบันนี้ กรุงเวียนนานั้นเปรียบได้โลกแห่งดนตรีในช่วงปลายทศวรรษที่ 1700 มันเป็นเมืองหลวงซึ่งมีความยิ่งใหญ่และทรงอำนาจ กรุงเวียนนาเป็นหัวใจทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมืองของทวีปยุโรป เมืองซึ่งเป็นแม่เหล็กที่ดึงดูดบุคคลที่ทะเยอทะยานในด้านต่าง ๆ สำหรับคีตกวีคนสำคัญ ๆ ซึ่งมีชื่อเกี่ยวข้องกับเมืองนี้ มีเพียงไม่กี่คนที่เป็นชาวเมืองเวียนนาจริง ๆ เพราะโดยมากพวกเขามาจากที่อื่น ๆ ด้วยความหวังต่ออาชีพที่มั่นคงรุ่งเรือง ทั้งไฮเดิน และ โมซาร์ท ก็จัดอยู่ในคนกลุ่มนั้นที่ประสบความสำเร็จในระดับแตกต่างกันไป เมื่อเบโธเฟนก้าวตามรอยของคนทั้งสองบ้างในปี 1792 คีตกวีผู้อาวุโสกว่าก็ได้สร้างรูปแบบของซิมโฟนี โซนาตา และสตริง ควอเท็ต (วงที่ใช้เครื่องสาย 4 ชิ้น) ไว้เรียบร้อยแล้ว ฉันลักษณ์เหล่านี้คือส่วนผสมของความอลังการ ความกระจ่างแจ้งและความสง่างาม แต่ในไม่ช้าพวกเขาก็ลดบทบาทความสำคัญไป ทว่ายังคงเหลือไว้ในดนตรียุคต้น ๆ ของเบโธเฟน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเปียโนคอนแชร์โต  2   บทแรกและซิมโฟนีหมายเลข 1 ของเขา ซิมโฟนีหมายเลข1  นั้นถูกนำออกแสดงเป็นครั้งแรกในโรงละครโฮฟเบิร์ก ในวันที่ 2 เมษายน ปี 1800 การแสดงดนตรีซึ่งเป็นการเปิดตัวครั้งแรกของเบโธเฟนในกรุงเวียนนายังรวมไปถึงเซปเท็ต (เพลงที่ใช้เครื่องดนตรี 7 ชิ้น) เปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 1  ซิมโฟนีของโมซาร์ทและบางส่วนจาก The Creation ของ ไฮเดิน งานของคีตกวีดาวรุ่งที่ถูกนำแสดงพร้อมกับคีตกวีอาวุโสเป็นการย้ำความเหมือนกันระหว่างรูปแบบของพวกเขา แต่ความแตกต่างก็ยังมีให้เห็น นั่นคือถึงแม้เบโธเฟนจะคงรูปแบบเก่าไว้ แต่เขาก็ได้ทดลองด้วยความคิดใหม่ ๆ

เบโธเฟนได้ใช้ความพยายามนำเอาเครื่องดนตรีที่ใช้ลมมากกว่าตามรูปแบบเดิมและยังเพิ่มความมีชีวิตชีวาอย่างมากมายในกระบวนที่ 3  หรือ Minuet (จังหวะเต้นรำ) ที่เดิมเคยอ่อนนุ่ม จนคนดูตกใจ เบโธเฟนได้สร้างสีสันให้กับฉันทลักษณ์ทางดนตรีด้วยความเฉลียวฉลาด เช่นจากส่วนเริ่มต้นโดยคีย์ที่ไม่เหมือนเดิม มายังตอนจบที่มีส่วนเหมือนเพลงมาร์ชที่มีลักษณะเดียวกับเพลงที่คนเยอรมันร้องไปพร้อมกับดื่มเหล้า ถึงแม้ว่านักวิจารณ์หัวอนุรักษ์นิยมจะตกตะลึง นักสังเกตุการณ์โดยมากจะตอบรับในด้านบวกต่องานใหม่ชิ้นนี้ หนังสือพิมพ์ อัลล์เกอมาย มูสิกาลิช ที่ทรงอิทธิพลเขียนยกย่องอย่างมากมายว่า ซิมโฟนีชิ้นนี้ได้แสดงถึงศิลปะ ความเป็นนวตกรรมและความร่ำรวยทางความคิด  คาร์ล มาเรีย ฟอน เวเบอร์ยกย่องว่ามันเป็นซิมโฟนีที่ทรงพลัง กระจ่างแจ้งและยอดเยี่ยม ซิมโฟนีหมายเลข  1  นี้เป็นงานขนาดใหญ่ชิ้นแรกที่เบโธเฟนตีพิมพ์ออกมา

 

เวลาที่ใช้เล่นทั้งหมด 28 นาที มี 4 กระบวน

 

1. Adagio molto - Allegro con brio

 

2. Andante cantabile con moto

 

3. Menuetto (Allegro molto e vivace)

 

4. Adagio - Allegro

 

                              

                                             

                                                         นำมาจาก www.boxset.ru

 

Symphony No.2, Op.36

 

ซิมโฟนีหมายเลข 2 ของเบโธเฟนเป็นประจักษ์พยานต่อความกล้าหาญที่ไม่เหมือนใคร มันถูกเขียนในช่วงที่เบโธเฟนกำลังเผชิญกับช่วงอันมืดมนที่สุดซึ่งกลายมาเป็นชีวิตอันทุกข์ระทม ถึงแม้อาชีพของเขาจะเจริญก้าวหน้า ความสามารถด้านการฟังของเบโธเฟนเริ่มอ่อนแอลงอย่างรวดเร็ว และในปี 1802 เขาไม่ได้สามารถละเลยคำว่า"หูหนวก"ได้อีกต่อไป คุณหมอแนะนำว่าการไปพักผ่อนที่ชนบทอันเงียบสงบ ปราศจากเสียงอึกทึกในเมืองใหญ่อาจจะช่วยรักษาอาการได้ อย่างน้อยที่สุดก็ในเรื่องของอารมณ์ ในฤดูใบไม้ผลิต ของปี 1802 เบโธเฟนก็ได้ออกจากกรุงเวียนนาเพื่อไปอาศัยอยู่ในหมู่บ้านไฮลิเกนสตาดท์ ซึ่งอยู่ไม่ไกล แต่ไม่เป็นผล อาการหูหนวกของเขาไม่ได้ดีขึ้น ถึงแม้จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นชนบทและน่ารื่นรมย์ คีตกวีของเราอยู่ในภาวะแห่งความเศร้าหมองสุดขีด ความทุกข์แสนสาหัสนั้นถูกระบายออกมาในจดหมายที่เขียนถึงบรรดาน้อง ๆ แต่ไม่เคยส่งถึงมือคนเหล่านั้น ซึ่งมีคนมาพบในกองจดหมายหลังจากเบโธเฟนได้เสียชีวิตไปแล้ว

"มันเป็นไปไม่ได้สำหรับพี่ที่จะพูดกับคนรอบข้างว่า "ช่วยพูดดังๆ หรือไม่ก็ตะโกนก็ได้ เพราะผมหูหนวก !" อา พี่จะสามารถประกาศความอ่อนแอในส่วนของประสาทที่พี่ควรจะมีความเฉียบไวมากกว่าคนอื่นได้อย่างไร ... ช่างน่าละอายใจอะไรเช่นนี้ เมื่อคนที่ยืนอยู่ใกล้พี่และได้ยินเสียงฟลูตแว่วมาแต่ไกล แต่พี่กลับไม่ได้ยินอะไรเลย หรือแม้แต่เด็กเลี้ยงแกะร้องเพลง แต่พี่ไม่ได้ยินอะไรเลยอีกเหมือนกัน เหตุการณ์เช่นนี้ทำให้พี่สิ้นหวังเสียแล้ว"

จดหมายนี้ต่อมาเป็นที่รู้จักกันภายในชื่อบันทึกแห่งไฮลิเกนสตาดท์ (Heligenstadt Testament) ข้างในนั้นเบโธเฟนได้เขียนไว้ว่าชีวิตเป็นเรื่องที่สุดแสนจะทนทาน เขาจึงคิดจะฆ่าตัวตาย แต่เขาก็ระงับความคิดไว้ โดยบอกว่า "มันดูเหมือนว่าพี่จะจากโลกนี้ไปไม่ได้ จนกว่าพี่จะสร้างสรรค์สิ่งที่พี่รู้สึกภายในทั้งหมด" นี่คือบุรุษผู้เลือกที่จะใช้ชีวิตเพียงประการเดียวนั่นคือเพื่อศิลปะ ตราบใดแรงบันดาลใจของเขายังดำรงอยู่

จนกระทั้งถึงวันสุดท้ายของชีวิตเขาอีก 25 ปีต่อมา เบโธเฟนได้ผลิตงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนั่นคือเปียโนโซนาตาอันแสนยิ่งใหญ่และซิมโฟนีที่โด่งดังที่มีอิทธิพลต่อซิมโฟนีอื่น ๆ ในอนาคต แต่ในบรรดางานเหล่านั้นไม่มีงานใดที่ยิ่งใหญ่ไปกว่าซิมโฟนีหมายเลข 2  ซึ่งถูกเขียนจนเสร็จสิ้นในช่วงแห่งความทุกข์ระทมของตน แต่กลับไม่ได้แสดงอารมณ์เหล่านั้นออกมาเลย ในทางกลับกัน มันกลับเต็มไปด้วยจิตวิญญาณอันสูงส่งและร่าเริง ราวกับว่าถูกเขียนโดนคนที่ไร้กังวลในชีวิตนี้ มีเพียงคีตกวีผู้มีอุทิศตนด้วยใจเด็ดเดี่ยวต่องานศิลปะ ผู้ซึ่งสามารถละทิ้งความทุกข์ใจเพียงเพื่องานศิลปะที่เขียนซิมโฟนีในเวลาเช่นนั้น ในแง่มุมนี้ งานอันทรงเสน่ห์นี้จึงเป็นสารัตถะแห่งความห้าวหาญ ซิมโฟนีหมายเลข 2 ถูกนำออกแสดงในกรุงเวียนนาเมื่อวันที่ 5 เมษายน 1803 เบโธเฟนมาควบคุมรายการด้วยตนเอง ซึ่งยังรวมไปถึงออราโตริโอ ที่ชื่อว่า Christ on the Mount of Olives รวมไปถึงเปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 3 ปฏิกิริยาที่สาธารณชนมีต่อการแสดงนั้นค่อนข้างจะหลากหลาย และต่อมาการแสดงก็ได้รับการวิจารณ์โดยรวมในด้านลบเพียงน้อยนิด นักวิจารณ์ชาวเมืองไลป์ซิกเขียนบรรยายว่า "ในตอนจบของเพลงนั้นเหมือนกับอสุรกายผู้น่าเกลียดชัง หรือไม่ก็งูหางกระดิ่งที่ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งยังดิ้นพรวดพราด อาละวาดไปจนกว่าจะสิ้นลม" แต่หนังสือพิมพ์อัลล์เกอมาย มูสิกาลิช กลับยกย่องว่าเป็นงานที่เต็มไปด้วย "ความคิดใหม่ๆ เป็นของตัวเอง"ความแปลกใหม่นั้นเองจึงเป็นสาเหตุให้คนมองในแง่มุมที่ต่างกัน อันเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะของเบโธเฟน

มันเป็นงานที่มีความยิ่งใหญ่กว่าซิมโฟนีของโมซาร์ตหรือไฮเดิน บทนำของมันนั้นมีความมหึมายิ่งกว่า ตอนจบของมันมีความยาวมากกว่าและมันยังมีลักษณะค่อนไปทางซิมโฟนีตามรูปแบบของโรแมนติกที่ยังไม่มีใครก้าวไปถึง นอกจากนี้ ในงานชิ้นใหม่นี้ เป็นครั้งแรกที่ เบโธเฟนไม่ยอมใช้กระบวนที่ 3  หรือ Minuet ตามที่รูปแบบเก่า เพราะเขาหันไปใช้จังหวะ Sherzo (จังหวะที่ออกเชิงขบขัน) กระบวนอันแสนร่าเริงพร้อมด้วยพลังและความกระตือรือล้นเกินกว่าที่นักวิจารณ์หัวอนุรักษ์นิยมบางคนจะทนทานได้ นี่คือหนทางใหม่สุดในการสร้างรูปแบบของดนตรี แต่สำหรับเบโธเฟนแล้วมันเป็นเพียงจุดเริ่มต้น

 

เวลาที่ใช้เล่นทั้งหมด 36 นาที มี 4 กระบวน

 

1. Adagio molto - Allegro con brio

 

2. Larghetto

 

3. Scherzo (Allegro)

 

4. Allegro molto

 

 

                                                   

                                                                          นำมาจาก www.demotivation.us  

 

 

 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เขียนงานเขียนในรูปแบบต่างๆ  คือนวนิยาย เรื่องสั้นหรือแม้แต่บทละครมานานก็เลยอยากจะชี้แจ้งให้ท่านผู้อ่านเข้าใจว่าเนื่องจากเป็นงานเขียนแบบงานดิเรกหรือแบบนักเขียนสมัครเล่นอย่างผม จึงต้องขออภัยที่มีจุดผิดพลาดอยู่ เพราะไม่มีคนมาตรวจให้ ถึงผมเองจะพยายามตรวจแล้วตรวจอีกก็ยังมีคำผิดและหลักไวยากรณ์อยู่
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The Spook Radio (part 2)ภาค 2 ของดีเจอ้นซึ่งเป็นดีเจรายการที่เปิดให้ทางบ้านมาเล่าเรื่องสยองขวัญหรือเรื่องเหนือธรรมชาติ ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก The Shock และ The Ghost  (Facebook คนเขียนคือ Atthasit Muang-in)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
(เรื่องสั้นสยองขวัญภาษาอังกฤษเรื่องนี้ลอกมาจากเรื่องสั้นของราชาเรื่องสยองขวัญของเมืองไทย ครูเหม เวชากร ตัวเอกคือนายทองคำ เด็กกำพร้าอายุ 12 ขวบที่อาศัยอยู่กับยายและญาติในชนบทของไทยในช่วงเวลาประมาณ พ.ศ.2476)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The lingering sunlight from the dawn kissed my eyelids and I could hear faintly the flock of big birds, whose breed was unbeknownst to me, chirping merrily outside window ,as if to greet the exuberant face of a new day.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเกี่ยวกับนักเขียนวัยกลางคนที่มีความหลังอันดำมืดและความสัมพันธ์กับดาราสาวผู้มีพลังจิต 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของรปภ.หนุ่มผู้ค้นหาภูติผีปีศาจในตึกที่ลือกันว่าเฮี้ยนที่สุด  เรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากรายการ The Ghost Radio(the altered version)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของผู้ชาย 3 คนที่ขับรถบรรทุกแล้วต้องเผชิญกับผีดูดเลือด 3 Friends and The Ghosts                                                (1)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
This short novel is about a guy who works as a DJ for the radio program 'The Spook Radio', famous for its allowing audience to share their thrilling experiences or tales about the superstitious stuffs, especially the ghosts, via telephones.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเรื่องนี้เกี่ยวกับคนไทยที่ใช้ชีวิตในเยอรมันช่วงพรรคนาซีเรืองอำนาจ  เขียนยังไม่จบและยังไม่มีการ proofreading แต่ประการใด                     Chapter 1  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความนี้มาจาก facebook  Atthasit Muangin สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มหาศาสดาผู้ลี้ภัยอยู่ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส ในฐานะเป็นเอตทัคคะหรือผู้เป็นเลิศในเรื่องเจ้า (The royal affairs expert)  พบกับการวิพากษ์วิจารณ์และโจมตีอย่างมากมายจากบรรดาแฟนคลับหรือคนที่แวะเข้ามาในเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 (มีบทความอื่นอีกมากมายในเฟซบุ๊คของผมคือ Atthasit Muang-in) 1.สลิ่มไม่ชอบอเมริกาและตะวันตกซึ่งคว่ำบาตรและมักท้วงติงไทยหลังรัฐประหารปี 2557  ในเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยพวกสลิ่มเห็นว่าทั้งสองฝ่ายเป็นพวกหน้าไหว้หลังหลอกเช่นเคยบุกประเทศอื่น