Skip to main content

เมื่อพูดถึงอันโตนีโอ วิวัลดี (Antonio Vivaldi) คนก็ต้องนึกถึงเพลงยอดนิยมของเขาคือ Four Seasons หรือฤดูกาลทั้ง 4 (ต่อมา กลายเป็นชื่อโรงแรมอันอื้อฉาว) เป็นอันดับแรก ทั้งที่คีตกวีท่านนี้มีผลงานออกมาเป็นจำนวนมาก

 วิวัลดี ยักษ์ใหญ่อีกคนของดนตรียุคบาร็อคเกิดเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ปี 1678 ที่เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี บิดาเป็นช่างทำขนมปังและยังอุตสาห์เป็นนักดนตรีสมัครเล่นที่มีพรสวรรค์ จึงถ่ายทอดคุณสมบัติประการนี้ให้กับบุตร นอกจากการสอนแล้วบิดายังช่วยให้วิวัลดีได้เป็นนักไวโอลินในวงคาปเปลลา ดี ซาน มาร์โค และประสบความสำเร็จเป็นที่นับหน้าถือตาในชุมชน


                                  

                                           ภาพจาก www. i.ytimg.com

ในปี 1703 วิวัลดีบวชเป็นพระและได้รับสมญาว่า พระสีแดง (Red Priest) เพราะผมสีแดงอันโดดเด่น และได้รับการยกเว้นไม่ให้เข้าร่วมพิธีสวดตามเทศกาลต่างๆ ของคริสตศาสนาเพราะมีโรคประจำตัวคือหอบหืด อีก 1 ปีต่อมา เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นครูสอนไวโอลินให้กับสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าที่เป็นผู้หญิงและได้ตั้งวงดนตรีออกไปแสดงตามที่ต่างๆ จนมีเชื่อเสียง (ลองจินตนาการถึงหนังเรื่อง Red Violin ในเรื่องย่อยเรื่องแรกแต่คราวนี้มีแต่เด็กผู้หญิง)ในช่วงนั้นวิวัลดีได้ผลิตผลงานออกมามากมายสำหรับวงเด็กหญิง ไม่ว่าจะเป็นคอนแชร์โต (ดนตรีที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อวงดนตรีขนาดใหญ่สำหรับโต้ตอบกับเครื่องดนตรีชิ้นหนึ่งเช่นไวโอลินหรือเปียโน) คันตาตา (เสียงร้องที่มีดนตรีประกอบ) และเพลงร้องในศาสนา งานเหล่านั้นในบางส่วนได้ถูกตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในปี 1705 และสร้างชื่อเสียงให้กับวิวัลดีอย่างมาก 

ถึงแม้ตัววิวัลดีจะเป็นพระแต่ก็มีเรื่องรักๆ ใคร่ๆ กับสีกาซึ่งเป็นนักร้องนามว่าอันนา จิเราด์ ทำให้เขาโดนกล่าวหาว่าไปลอกบทร้องจากอุปรากรยุคเก่า ๆ มาดัดแปลงนิดๆ หน่อย ๆให้เธอร้อง จนทำให้เพื่อนนักดนตรีบางคนเขียนโจมตีเขาเอาแรง ๆและยังถูกสั่งห้ามเข้าเมืองเฟอร์รารา แต่วิวัลดีก็ถือได้ว่าเป็นคีตกวีที่ขยันเขียนงานออกมามากที่สุดคนหนึ่ง ในช่วงชีวิตเขาได้เขียนคอนแชร์โต ถึง 500 ชิ้นซึ่งเป็น ไวโอลินคอนแชร์โต ถึง 210 ชิ้น อุปรากร 46 เรื่อง ซึ่งหาเล่นได้ยากในปัจจุบัน โซนาตา (งานโซโลเดี่ยว) ถึง 73 ชิ้น งานของเขายังมีอิทธิพลต่อคีตกวีหลาย ๆ คนเช่นโยฮัน เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) เจ้าพ่อดนตรียุคบาร็อคอีกคนหนึ่ง

อย่างที่บอกตั้งแต่ต้นว่างานที่โด่งดังที่สุดของวิวัลดีคือ  Four Seasons หรือ ฤดูกาลทั้งสี่ ซึ่งเป็นไวโอลินคอนแชร์โตที่เขาเขียนขึ้นในปี 1723 เพลงมีทั้งหมด 4 คอนแชร์โต ตั้งชื่อตามฤดูกาลของยุโรป แต่ละคอนแชร์โตมีอยู่ 3 กระบวน จังหวะคือ เร็ว ช้า และเร็ว จังหวะโดยรวมจะเป็นไปตามแนวคิดของแต่ละฤดูกาล แถมวิวัลดียังได้เขียนบทกวีไว้ประกอบคอนแชร์โตแต่ละบทอีกด้วย เราสามารถกล่าวได้ว่า "ฤดูกาลทั้ง 4 "อยู่ในรูปแบบ Programing Music หรือดนตรีที่สื่ออะไรบางอย่างนอกจากความไพเราะ ตัวอย่างอื่นได้แก่ซิมโฟนี หมายเลข 6 ของเบโธเฟ่น หรือดอน กีโฮเต ของริชาร์ด สเตราส์

บทกวีของวิวัลดีเช่น ในฤดูใบไม้ผลิ (แปลโดยผมเอง)


Springtime is upon us.
The birds celebrate her return with festive song,
and murmuring streams are softly caressed by the breezes. 
Thunderstorms, those heralds of Spring, roar, casting their dark mantle over heaven,
Then they die away to silence, and the birds take up their charming songs once more.

On the flower-strewn meadow, with leafy branches rustling overhead, the goat-herd sleeps, his faithful dog beside him.
Led by the festive sound of rustic bagpipes, nymphs and shepherds lightly dance beneath the brilliant canopy of spring.


บัดนี้ฤดูใบไม้ผลิมาเยี่ยมเยือน
เหล่าวิหกเจี้ยวแจ้ว ต้อนรับด้วยบทเพลงอันรื่นรมย์
สายลมเข้านัวเนียลำธารที่ไหลมาแผ่วเบาดุจเสียงกระซิบ

สายฟ้าก่อนฤดูกริ้วโกรธอยู่ครืนๆ เป็นเงามืดเหนือนภางค์กว้าง พลันสิ้นเสียงเหล่านกกาครื้นเครงบรรเลงคีตอีกครา

เหนือทุ่งหญ้าเหล่าบุปผาบานสะพรั่ง เด็กเลี้ยงแพะนอนหลับไหล พร้อมสุนัขผู้ซื่อสัตย์เคียงข้าง ขับกล่อมด้วยเสียงกิ่งไม้พัดโบกอยู่ไหว ๆ เสียงขลุ่ยแห่งท้องทุ่งก้องกังวาลไกล เหล่านางไม้และเด็กเลี้ยงสัตว์เริงระบำภายใต้ม่านแห่งฤดูใบไม้ผลิ



(ภาพในจินตนาการของ Nymphs หรือนางไม้ จากภาพที่ชื่อ Nymphs and Satyr โดย Adolphe-William Bouguereau ปี 1873)


                                               
                                                      

                                                 ภาพจาก 41.media.tumblr.com

ถึงแม้จะร่ำรวยและมีชื่อเสียงแค่ไหน แต่สุดท้าย วิวัลดีก็ต้องพบกับความผันผวนของชีวิต เมื่อดนตรีของเขาตกยุคอย่างรวดเร็ว เขาถึงกลับยอมขายเพลงของตัวเองเป็นจำนวนมากด้วยราคาถูกแสนถูก เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังกรุงเวียนนา เป็นไปได้ว่าวิวัลดีไปขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 6 ผู้ทรงชื่นชอบดนตรีของเขา อนิจจาเมื่อวิวัลดีเดินทางไปถึงเวียนนาเพียงครู่ จักรพรรดิพระองค์นี้ได้เสด็จสวรรคต ทำให้เขาต้องกลับมายังชีพด้วยวิธีการแบบเดิมๆ คือขายเพลงด้วยราคาที่ถูกอย่างน่าเสียดาย

วิวัลดีถึงแก่กรรมในวันที่ 28 กรกฏาคม ปี 1741 บนความยากจน ข้นแค้นแถมยังถูกฝังในป่าช้าของผู้ยากไร้ แต่ก็ได้ทิ้งผลงานไว้ให้ชาวโลกได้ซาบซึ้ง ตราตรึงใจไปอีกนาน

 

 

                                                        

                                                             ภาพจาก  s6.postimg.org

 

 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เขียนงานเขียนในรูปแบบต่างๆ  คือนวนิยาย เรื่องสั้นหรือแม้แต่บทละครมานานก็เลยอยากจะชี้แจ้งให้ท่านผู้อ่านเข้าใจว่าเนื่องจากเป็นงานเขียนแบบงานดิเรกหรือแบบนักเขียนสมัครเล่นอย่างผม จึงต้องขออภัยที่มีจุดผิดพลาดอยู่ เพราะไม่มีคนมาตรวจให้ ถึงผมเองจะพยายามตรวจแล้วตรวจอีกก็ยังมีคำผิดและหลักไวยากรณ์อยู่
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The Spook Radio (part 2)ภาค 2 ของดีเจอ้นซึ่งเป็นดีเจรายการที่เปิดให้ทางบ้านมาเล่าเรื่องสยองขวัญหรือเรื่องเหนือธรรมชาติ ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก The Shock และ The Ghost  (Facebook คนเขียนคือ Atthasit Muang-in)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
(เรื่องสั้นสยองขวัญภาษาอังกฤษเรื่องนี้ลอกมาจากเรื่องสั้นของราชาเรื่องสยองขวัญของเมืองไทย ครูเหม เวชากร ตัวเอกคือนายทองคำ เด็กกำพร้าอายุ 12 ขวบที่อาศัยอยู่กับยายและญาติในชนบทของไทยในช่วงเวลาประมาณ พ.ศ.2476)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The lingering sunlight from the dawn kissed my eyelids and I could hear faintly the flock of big birds, whose breed was unbeknownst to me, chirping merrily outside window ,as if to greet the exuberant face of a new day.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเกี่ยวกับนักเขียนวัยกลางคนที่มีความหลังอันดำมืดและความสัมพันธ์กับดาราสาวผู้มีพลังจิต 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของรปภ.หนุ่มผู้ค้นหาภูติผีปีศาจในตึกที่ลือกันว่าเฮี้ยนที่สุด  เรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากรายการ The Ghost Radio(the altered version)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของผู้ชาย 3 คนที่ขับรถบรรทุกแล้วต้องเผชิญกับผีดูดเลือด 3 Friends and The Ghosts                                                (1)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
This short novel is about a guy who works as a DJ for the radio program 'The Spook Radio', famous for its allowing audience to share their thrilling experiences or tales about the superstitious stuffs, especially the ghosts, via telephones.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเรื่องนี้เกี่ยวกับคนไทยที่ใช้ชีวิตในเยอรมันช่วงพรรคนาซีเรืองอำนาจ  เขียนยังไม่จบและยังไม่มีการ proofreading แต่ประการใด                     Chapter 1  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความนี้มาจาก facebook  Atthasit Muangin สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มหาศาสดาผู้ลี้ภัยอยู่ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส ในฐานะเป็นเอตทัคคะหรือผู้เป็นเลิศในเรื่องเจ้า (The royal affairs expert)  พบกับการวิพากษ์วิจารณ์และโจมตีอย่างมากมายจากบรรดาแฟนคลับหรือคนที่แวะเข้ามาในเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 (มีบทความอื่นอีกมากมายในเฟซบุ๊คของผมคือ Atthasit Muang-in) 1.สลิ่มไม่ชอบอเมริกาและตะวันตกซึ่งคว่ำบาตรและมักท้วงติงไทยหลังรัฐประหารปี 2557  ในเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยพวกสลิ่มเห็นว่าทั้งสองฝ่ายเป็นพวกหน้าไหว้หลังหลอกเช่นเคยบุกประเทศอื่น