ปีเตอร์ ไชคอฟสกี (Pyotr Ilyich Tchaikovsky) คีตกวีชื่อดังที่สุดคนหนึ่งของรัสเซีย ไม่ได้เก่งแค่แต่งเพลงประกอบบัลเลต์อย่างเช่น Nutcracker หรือ Swan Lake รวมไปถึงไวโอลินและเปียโนคอนแชร์โตอันลือชื่อ หากแต่ยังฉกาจในการแต่งซิมโฟนี ซึ่งแต่ละบทก็มีชื่อเสียงทั้งสิ้นเช่น
หมายเลข 1 ชื่อว่า Winter daydream
หมายเลข 2 ชื่อว่า Little Russian
หมายเลข 3 ชื่อว่า Polish
หมายเลข 4 และ 5 ที่ไม่มีชื่อ รวมไปถึงซิมโฟนีไร้หมายเลข ที่ชื่อ Manfred opus.58 ซึ่งถูกแต่งระหว่าง 2 หมายเลขดังกล่าว
แต่ซิมโฟนีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือซิมโฟนีหมายเลข 6 ที่มีชื่อว่า Pathetique อันเป็นงานดนตรีชิ้นสุดท้ายก่อนที่คีตกวีเอกผู้นี้จะเสียชีวิต
ไชคอฟสกีแต่งเพลงนี้ในปี 1893 สำหรับคำว่า Pathetique ไม่ใช่ชื่อที่ไชคอฟสกีตั้งเอง หากแต่เป็นน้องชายของเขาคือโมเดสต์เป็นผู้ตั้งให้พร้อมกับความเห็นชอบของตัวผู้แต่ง คำว่า Pathetique ยังมีปัญหาในการตีความเพราะบางแห่งบอกว่าหมายถึง อารมณ์เศร้าสร้อยสุดจะพรรณนา แต่บางแหล่งบอกว่าเป็นภาษารัสเซียหมายถึงความกระตือรือร้นหรือเต็มไปด้วยอารมณ์อันเร่าร้อน อาจเพราะไชคอฟสกีคุยว่าเขาได้ทุ่มกายเทใจลงไปในซิมโฟนีบทนี้เสียจนหมดสิ้น
หมายเลข 1 ชื่อว่า Winter daydream
หมายเลข 2 ชื่อว่า Little Russian
หมายเลข 3 ชื่อว่า Polish
หมายเลข 4 และ 5 ที่ไม่มีชื่อ รวมไปถึงซิมโฟนีไร้หมายเลข ที่ชื่อ Manfred opus.58 ซึ่งถูกแต่งระหว่าง 2 หมายเลขดังกล่าว
แต่ซิมโฟนีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือซิมโฟนีหมายเลข 6 ที่มีชื่อว่า Pathetique อันเป็นงานดนตรีชิ้นสุดท้ายก่อนที่คีตกวีเอกผู้นี้จะเสียชีวิต
ไชคอฟสกีแต่งเพลงนี้ในปี 1893 สำหรับคำว่า Pathetique ไม่ใช่ชื่อที่ไชคอฟสกีตั้งเอง หากแต่เป็นน้องชายของเขาคือโมเดสต์เป็นผู้ตั้งให้พร้อมกับความเห็นชอบของตัวผู้แต่ง คำว่า Pathetique ยังมีปัญหาในการตีความเพราะบางแห่งบอกว่าหมายถึง อารมณ์เศร้าสร้อยสุดจะพรรณนา แต่บางแหล่งบอกว่าเป็นภาษารัสเซียหมายถึงความกระตือรือร้นหรือเต็มไปด้วยอารมณ์อันเร่าร้อน อาจเพราะไชคอฟสกีคุยว่าเขาได้ทุ่มกายเทใจลงไปในซิมโฟนีบทนี้เสียจนหมดสิ้น
ภาพจาก Wikimedia.org
ซิมโฟนีหมายเลข 6 นี้มีความยาวทั้งสิ้น 47 นาที มีทั้งหมด 4 กระบวนดังนี้
1. Adagio - Allegro non troppo
2. Allegro con grazia
3. Allegro molto vivace
4. Finale: Adagio lamentoso
กระบวนที่ 2 และ 3 ถือได้ว่าไพเราะและมีความร่าเริงอยู่บ้าง ในขณะที่กระบวนที่ 1 และ 4 เศร้าสร้อยและดำมืด ฟังแล้วชวนให้น้ำตาไหลเป็นยิ่งนัก ในบางจังหวะของเพลงจะเงียบและแผ่วเบา จนทำให้คนที่ชอบฟังซิมโฟนีแบบเบโธเฟนหรือโมซาร์ทอาจจะไม่ชอบเท่าไรนัก
แต่ 9 วันหลังจากการนำซิมโฟนีบทนี้ออกแสดง ไชคอฟสกีได้เสียชีวิตจากอหิวาตกโรค โดยการดื่มน้ำที่ไม่ได้ต้ม มีเรื่องเล่าให้คนฟังนึกภาพออกเป็นฉาก ๆ ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ไชคอฟสกีไปนั่งทานอาหารที่ภัตตาคารแห่งหนึ่ง และยืนกรานจะดื่มน้ำสักแก้วถึงแม้น้ำนั้นไม่ได้ต้มและเพื่อน ๆ ต่างก็ต่อว่า (อีกเรื่องคือ ไชคอฟสกีวิ่งไปที่ห้องครัวของห้องเช่าของโมเดสต์ผู้เป็นน้องเพื่อดื่มน้ำที่ไม่ได้ต้มพร้อมกับตะโกนว่า "ใครจะไปสนใจกัน") วันต่อมาเขาล้มป่วย และวันที่ 6 เขาก็เสียชีวิตเพราะไตล้มเหลว และขาดน้ำจากการอาเจียนและถ่ายของเสียออกมามากเกินไป
เหตุการณ์นี้สร้างความกังขาให้กับบรรดาชนชั้นสูงทั้งหลายในสังคมนครเซ็นเตอร์สเบิร์ก ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัสเซียในสมัยนั้น เพราะไชคอฟสกีถือได้ว่าเป็นผู้ใหญ่ สุขุม รอบคอบ (ถึงแม้จะอารมณ์อ่อนไหวง่ายเกินไปก็ตาม) และเป็นชนชั้นมีอันจะกิน ในขณะที่อหิวาตกโรคมักจะเป็นกับพวกชนชั้นล่าง ที่สุขอนามัยต่ำเท่านั้น แถมคนเป็นโรคนี้จะไม่ตายเร็วขนาดนี้
ริมสกี คอร์ซาคอฟ คีตกวีชื่อดังอีกคนตั้งข้อสังเกตว่าทำไมตอนก่อนจะฝังศพจึงอนุญาติให้แขกจูบมือคนตายได้ ทั้งที่ตามระเบียบของทางการ โลงศพของผู้ที่ตายจากอหิวาตกโรคต้องปิดแน่นหนาเพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่ออกมาได้ จนมีการตั้งข้อสันนิฐานว่า ไชคอฟสกีอาจถูกบังคับให้ฆ่าตัวตาย เพราะเขามีรสนิยมเป็นพวกรักร่วมเพศ ซึ่งถือกันว่าเป็นความน่าละอายใจของคนรัสเซียในสมัยนั้น ไชคอฟสกีพยายามกลบเกลื่อนโดยการไปแต่งงานกับผู้หญิงคนหนึ่งเพื่อไม่ให้นักวิจารณ์เล่นงานเขาในประเด็นนี้ ผลลัพธ์คืองานแต่งงานล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ไชคอฟสกีถึงกลับพยายามฆ่าตัวตาย
แต่เหตุผลสำคัญที่นักประวัติศาสตร์ยังอุตสาห์สืบเสาะมาอีกนั่นคือไชคอฟสกีไปมีความสัมพันธ์กับหลานชายของดุ๊กสเตนบ็อค เฟอร์มอร์ ทำให้ท่านดุ๊กไม่พอใจยิ่งนักเลยทำเรื่องกราบทูลพระเจ้าอาเล็กซานเดอร์ที่ 3 ของรัสเซีย ความผิดเช่นนี้คือการเนรเทศไปอยู่ที่ไซบีเรียซึ่งเป็นป่าอันแสนหฤโหดเพียงสถานเดียว อนึ่งไซบีเรียยังเป็นที่เนรเทศสำหรับนักโทษทางการเมืองด้วย
แต่ที่สำคัญ เหตุการณ์นี้ได้ทำสร้างความเสื่อมเสียชื่อเสียงแก่โรงเรียนกฎหมายที่ไชคอฟสกีเคยศึกษาอย่างมากมาย จาโคบี เพื่อนเก่าของไชคอฟสกีจึงได้มอบหมายจากเบื้องบนให้มากล่อมให้เขาฆ่าตัวตาย จนสำเร็จในที่สุด ว่ากันว่า ภรรยาของจาโคบีเห็นสามีและไชคอฟสกีเข้าไปคุยในห้องกันนานมากถึง 5 ชั่วโมง ด้วยเสียงโวยวาย ตะคอกใส่กันก่อนที่ไชคอฟสกีจะวิ่งโซซัดโซเซออกจากห้อง ท่าทางโมโหแต่ใบหน้าขาวจนซีด
ถ้าเป็นเช่นนั้นแสดงว่าตอนแต่งเพลงนี้ ไชคอฟสกีคงจะพอรู้ถึงจุดจบของตัวเอง ดังนั้นฝรั่งจึงเรียกว่าซิมโฟนีบทนี้ว่าเป็น Suicide Note หรือบทเพลงแห่งอัตนิบาตกรรม ดังที่ไชคอฟสกีเองก็ตั้งชื่อว่าเป็น Programming Symphony หรือซิมโฟนีที่บ่งบอกอะไรบางอย่างในห้วงลึกของจิตใจเขา ในท่อนที่ 4 คือ Finale เขาได้อุทิศให้กับหลานชายของเขา คือบ็อบหรือชื่อเต็มคือวลาดิมีร์ ดาวิดอฟ นายบ็อบนี่ต่อมาก็ฆ่าตัวตายเมื่ออายุได้เพียง 35 ปี
ภาพจาก www.allmusic.com
บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
ช่วงนี้หลายประเทศได้ทำการเฉลิมฉลองเนื่องในวาระครบรอบการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 คือเมื่อ 75 ปีที่แล้ว (ปี พ.ศ.1945 หรือ พ.ศ.2488) ประเทศที่ได้รับชัยชนะอย่างเช่นสหรัฐอเมริกาและพันธมิต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
I remember reading the interview by the last promoter of คณะราษฏร (People's Party or PP) from the Sarakandee magazine ,probably a decade ago.At that time he was ageing , frail ,but still p
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
n the future of disruptive world,if I am able to make the documentary film about Sergeant Major Chakaphan Thomma who committed the worst Mass shooting in Thai history , what will the t
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
Puzzling that it may seem when Thai authority chose the day king Naresuan reputedly fought with Hongsawadee's viceroy on the elephants as the Army Day.This is because, on that glorious
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เห็นกระแสแปนิคเมื่อหลายวันก่อน ทำให้นึกได้ว่าชาวโลกมีการคาดหมายหรือหวาดกลัวมานานแล้วว่าจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 เริ่มได้ตั้งแต่ยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 มาหมาดๆ นั่นคือการกลายเป็นศัตรูระหว่างสหรัฐฯ กับสหภาพโซเวียตซึ่งเคยเป็นพันธมิตรกันแบบหลวมๆ ในการต่อสู้กับฝ่ายอักษะ การสิ้นสุดของสงครามได้ทำให้ฝ่า
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นตำราเรียนมักบอกว่าหลังสิ้นสุดสงครามเย็นและการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 มีประเทศที่ยังเป็นคอมมิวนิสต์เหลืออยู่เพียง 5 ประเทศคือจีน เวียดนาม ลาว คิวบาว และเกาหลีเหนือ (ตลกดีมีคนที
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมาป็นวันครบรอบ 70 ปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีการเฉลิมฉลองครั้งยิ่งใหญ่ของรัฐบาลจีนไปพร้อมกับการประท้วงของชาวฮ่องกงซึ่งมุ่งมั่นท้าทายรัฐบ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
"...All right, Mr. DeMille, I'm ready for my close-up."
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
หากใครมาดูหนังเรื่อง Wild Strawberries แล้วเคยประทับใจกับหนังเรื่อง About Schmidt (2002) ที่ Jack Nicholson แสดงเป็นพ่อหม้ายชราที่ต้องเดินทางไปกับรถตู้ขนาดใหญ่เพื่อไปงานแต่งงานของลูกสาวและได้ค้นสัจธรรมอะไรบางอย่างของชีวิตมาก่อน ก็จะพบว่าทั้งสองเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
Throne of Blood (1957) หรือ"บัลลังก์เลือด" เป็นภาพยนตร์ขาวดำของยอดผู้กำกับภาพยนตร์ญี่ปุ่นคืออาคิระ คุโรซาวา ที่ทางตะวันตกยกย่องมาก เกือบจะไม่แพ้ Seven Samurai หรือ Rashomon เลยก็ว่าได้ ลักษณะเด่นของมันก็คือการดัดแปลงมาจาก Macbeth