Skip to main content

    เมื่อพูดถึงเพลงประสานเสียงแล้ว คนจะนึกถึงเพลงสวดศพของโมซาร์ทคือ Requiem หรือ Messiah ของแฮนเดิลเป็นระดับแรก สำหรับเบโธเฟนแล้วคนก็จะนึกถึงซิมโฟนี หมายเลข 9 เป็นส่วนใหญ่ ความจริงแล้วเพลงสวด (Mass) คือ Missa Solemnis อันลือชื่อ ของเขาก็ได้รับความนิยมอยู่ไม่น้อยในสมัยที่เบโธเฟนยังมีชีวิตอยู่ ในหนังชีวประวัติกึ่งจินตนาการ (มาก ๆ) ของเบโธเฟนคือ Immortal Beloved ได้ใช้เพลงนี้ในการประกอบพิธีศพของเขาในช่วงต้นของหนัง ต่อไปนี้เป็นการแปลและเพิ่มเติมบางส่วนมาจากบทรีวิวโฆษณาซีดีของเว็บไซต์ Good-Music-Guide.com คนเขียนไม่ปรากฏนาม

       ลุดวิก ฟาน เบโธเฟนเป็นผู้เลื่อมใสในศาสนาเป็นยิ่งนัก แต่ตัวเขาเองแทบไม่เคยเข้าร่วมพิธีสวดเลย ถึงแม้จะเป็นคาทอลิกก็ตาม ปรัชญาของเบโธเฟนนั้นค่อนข้างจะร่วมสมัยกว่า และมีลักษณะเดียวกับแนวคิด สรรพนิยม (Pantheism)* ของตะวันออก ซึ่งเป็นแนวคิดที่ว่ามีสิ่งที่ทรงอำนาจเหนือสรรพสิ่ง หรือจักรวาลเองมีเป้าหมายของตัวเอง ความเชื่อของเขามาจากการต่อสู้ภายในจิตใจและมาจากความเคารพที่ต่อความงดงามของโลกใบนี้

    ดังนั้นเราจะเห็นว่างานของเขาจำนวนมากคือภาพสะท้อนของปรัชญาของเบโธเฟนเองที่เกิดจากทั้งความทุกข์และชัยชนะต่อชีวิต เขาเขียนงานเชิงศาสนาจริงๆ จังๆ เพียง 2 ชิ้น คือ Mass in C และ Missa Solemnis ซึ่งมีพื้นฐานมาจากเพลงสวดดั้งเดิมแบบนิกายคาทอลิก ในช่วงที่แต่งเพลง Mass in C ในปี 1807 เบโธเฟนยังหนุ่มแน่น ประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียงในกรุงเวียนนาและทั่วยุโรปในเวลาอันสั้น ถือได้ว่าเป็นช่วงแห่งชีวิตอันเปี่ยมสุขอันก่อให้เกิดซิมโฟนีหมายเลข 6 และเปียโนคอนแชร์โต้หมายเลข 3

 

                                      

                                                  ภาพจาก www.amazon.com

     ในแต่ละปี เจ้าชายนิโคเลาส์ เอสเตอร์เฮซี ที่ 2  จะทรงมีบัญชาให้แต่งเพลงสวดใหม่ ๆ เพื่อใช้ประกอบงานฉลองวันเกิดของนักบุญที่พระชายาของพระองค์ทรงมีพระนามเหมือน ตามธรรมเนียมของชาวคาทอลิก ฟรานซ์ โจเซฟ ไฮเดินซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นอาจารย์ของเบโธเฟน มารับหน้าที่นี้ในช่วง 6 ปีแรก แต่แล้วปี 1807 เบโธเฟนก็มารับช่วงนี้ต่อ ซึ่งเป็นที่มาของ Mass in C นั้นเอง ในช่วงแรกเบโธเฟนประหวั่นกับตำแหน่งอันทรงเกียรตินี้ แต่ต่อมาเขากลับพอใจกับผลงานของตน โชคร้ายที่เจ้าชายเอสเตอร์เฮซีทรงรู้สึกตรงกันข้าม เพราะคาดหวังให้คีตกวีคนใหม่แต่งเพลงตามรูปแบบเดิมของไฮเดิล แต่กลับไปพบกับเบโธเฟนที่เชื่อมั่นในตัวอย่างอย่างสูง คำตำหนิของพระองค์ต่อเพลงสวดของเบโธเฟนที่ว่า "ไร้สาระอย่างสุดทนทานและน่ารังเกียจยิ่งนัก" ทำให้ชายทั้งสองคนมีความขัดแย้งกัน  ด้วยเหตุนี้กระมังที่ทำให้เบโธเฟนเคยพูดเปรย ๆ ว่า "มีเจ้าชายหลายคนแต่มีเบโธเฟนเพียงคนเดียว"

     ในขณะที่เมโลดีและโครงสร้างของ Mass in C นั้นลึกๆ แล้วมีลักษณะแบบดนตรียุคคลาสสิก ซึ่งฟังแล้วอาจเข้าใจว่าโมซาร์ทกับไฮเดิลเป็นคนแต่ง แต่งานของเบโธเฟนต้องทำให้คนดูในยุคตกใจเป็นแน่ (โดยเฉพาะคนที่มาเข้าโบสถ์) เพราะเพลงไม่ได้เริ่มต้นโดยออร์เคสตรา แต่ Kyrie นั้นโผล่ออกมาโดยเบสล้วน ๆ ส่วนต่อมาของ Sanctus นั้นเป็นเสียงร้องพร้อมกับทิมปานี (กลองชนิดหนึ่ง) อย่างเดียว   Gloria นั้นแทบจะร้องด้วยเสียงตะโกนอันเปี่ยมสุขและจมลงใน Miserere (รูปแบบหนึ่งในเพลงสวดของคริสต์แบบดั้งเดิม) อันลึกซึ้ง เพลง Mass in C ได้ก้าวล้ำผ่านยุคของเจ้าชายเอสเตอร์เฮซีมาเป็นเพลงประสานเสียงสุดอันยิ่งใหญ่และมีความประณีตอย่างหาที่เปรียบได้ยาก แต่จริงๆ แล้ว มันกลับถูกแซงหน้าโดย Missa Solemnis งานเขียนอีกชิ้นของเบโธเฟนที่เกิดจากศรัทธาส่วนตัวอันทรงพลังที่สุด

        Missa Solemnis ถูกเขียนในช่วงท้าย ๆของชีวิตเบโธเฟน ซึ่งเป็นเวลาแห่งความยากลำบากยิ่งกว่าช่วงแรกนัก ในช่วงนี้เขาได้เขียนซิมโฟนีหมายเลข 9 และ String Quartet ชุดสุดท้าย ในปี 1819 เบโธเฟนหูเกือบจะหนวกโดยสิ้นเชิง ทั้งพลาดหวังจากความรัก โรคภัยไข้เจ็บเข้าซ้ำเติมจนจะตายในไม่กี่ปีหลังจากเขียนงานเหล่านั้นจนสำเร็จ แต่เบโธเฟนก็ยังคงเขียนลงในสมุดโน้ตว่า "แด่พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงไม่เคยทอดทิ้งฉัน"

      Missa Solemnis นั้นมีจุดกำเนิดเพียงเล็ก ๆ เช่นเดียวกับเพลงสวดชิ้นแรกของเบโธเฟน ในปี 1819 องค์อุปถัมภ์ของเขาคืออาร์ชดุ๊ก รูดอล์ฟ พระอนุชาของจักรพรรดิแห่งออสเตรียทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคาร์ดินัลและเป็นอาร์คบิชอปตามลำดับ เบโธเฟนได้เริ่มต้นเขียนงานชิ้นหนึ่งเพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อความเมตตาของพระองค์ เขาหมกมุ่นอยู่กับการแต่งเพลง ศึกษาประวัติศาสตร์เกี่ยวกับดนตรีในโบสถ์เป็นปี ๆ และหลอมหัวใจกับวิญญาณเข้ากับงานชิ้นใหม่นี้ แต่เมื่อวันแห่งการแต่งตั้งอาร์ชดุ๊ก รูดดอล์ฟมาถึง เพลงสวดชิ้นนี้ก็ยังไม่เสร็จ จึงเป็นที่ชัดเจนต่อทุกคนรวมไปถึงอาร์ชดุ๊กว่าจุดประสงค์ของเบโธเฟนนั้นไปไกลเกินกว่าเพลงสวดเพื่อเฉลิมฉลองแบบธรรมดาๆ เพื่อนสนิทของเบโธเฟนคืออันตัน ชินด์เลอร์ ผู้ช่วยเขียนเนื้อร้องของซิมโฟนีหมายเลข 9 ได้ทำให้เราเห็นภาพของเบโธเฟนในช่วงนั้นเหมือนกับคนที่ถูกวิญญาณสิงในช่วงที่ "ลืมโลกภายนอกจนหมดสิ้น" 

     "ในห้องนั่งเล่น เบื้องหลังประตูที่ถูกล็อก เราได้ยินเสียงอาจารย์ร้องเพลงในส่วนของ Fugue** ของ Credo ทั้งร้องเพลง ทั้งโหนเสียง ทั้งกระทืบเท้า ฯลฯ ประตูถูกเปิดออก เบโธเฟนปรากฎกายต่อหน้าพวกเราพร้อมกับใบหน้าบูดบึ้งจนทำให้เรารู้สึกกลัว เขาเหมือนกับว่ากำลังอยู่ในสมรภูมิอันดุเดือดกับฝูง Contrapuntist*** ซึ่งเป็นศัตรูชั่วนิจนิรันดร์ของเขา" -ชินด์เลอร์

      ผลปรากฏก็คือในปี 1823 มันได้กลายเป็นเพลงอันยิ่งใหญ่ที่สุดของเบโธเฟน มันเป็นสิ่งที่สรุปความคิดอันลุ่มลึกของเขา ความถ่อมตนอย่างยิ่งยวดต่อหน้าศัตรู ชัยชนะเหนือโชคชะตา เกียรติคุณของมนุษยชาติในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของเนรมิตศิลป์ของพระเจ้า Missa Solemnis นั้นยึดมั่นอย่างยิ่งต่อเพลงร้องในโบสถ์ฉบับดั้งเดิมของคาทอลิก ฉันทลักษณ์ที่สำคัญห้าส่วนของเพลงคือ Kyrie, Gloria, Credo, Sanctus and Agnus Dei ถูกแบ่งเป็นบทเล็กบทน้อย ผู้ชมในปัจจุบันอาจจะเคยชินกับรูปแบบเพลงแบบแหกรีตฉีกรอยของเบโธเฟนและ Missa Solemnis ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในงานชิ้นที่สำคัญที่สุดของเขา ซึ่งถ่ายทอดความรู้สึกส่วนตัวและอลังการกว่าซิมโฟนีหมายเลขเก้านัก งานชิ้นนี้คือพินัยกรรมชิ้นสุดท้ายของเบโธเฟน.....

 

นี่คือโครงสร้างของ Missa Solemnis

Mass for soloists, chorus, & orchestra in C major, Op. 86

I. Kyrie

II. Gloria

III. Credo

IV. Sanctus

V. Agnus Dei

 

I. Kyrie

II. Gloria: Gloria in excelsis Deo

II. Gloria: Qui tollis

II. Gloria: Quoniam

 

III. Credo: Credo in unum Deum

III. Credo: Et incarnatus est

III. Credo: Et resurrexit

IV. Sanctus: Sanctus, Sanctus, Sanctus

IV. Sanctus: Benedictus

V. Agnus Dei: Agnus Dei, qui tollis peccata numdi

V. Agnus Dei: Dona nobis pacem

 

* แนวคิดที่เชื่อว่าทุกสิ่งในจักรวาลนี้ล้วนเป็นองคาพยพของพระผู้เป็นเจ้า พระเจ้ากับโลกและจักรวาลเป็นหนึ่งเดียวกัน แนวคิดนี้จะไม่เหมือนกับผู้นับถือศาสนาคริสต์จำนวนมากที่เชื่อในพระเจ้าที่ตัวบุคคลและอยู่ต่างหากจากโลกและจักรวาลที่พระองค์ทรงสร้างขึ้น

**Fugue และ ***Contrapunist คือการนำเอาเสียงที่อยู่กันคนละโทนหรือคนละบรรทัดมาประสานในเวลาเดียวกันหรือไล่ ๆ กัน

 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เขียนงานเขียนในรูปแบบต่างๆ  คือนวนิยาย เรื่องสั้นหรือแม้แต่บทละครมานานก็เลยอยากจะชี้แจ้งให้ท่านผู้อ่านเข้าใจว่าเนื่องจากเป็นงานเขียนแบบงานดิเรกหรือแบบนักเขียนสมัครเล่นอย่างผม จึงต้องขออภัยที่มีจุดผิดพลาดอยู่ เพราะไม่มีคนมาตรวจให้ ถึงผมเองจะพยายามตรวจแล้วตรวจอีกก็ยังมีคำผิดและหลักไวยากรณ์อยู่
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The Spook Radio (part 2)ภาค 2 ของดีเจอ้นซึ่งเป็นดีเจรายการที่เปิดให้ทางบ้านมาเล่าเรื่องสยองขวัญหรือเรื่องเหนือธรรมชาติ ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก The Shock และ The Ghost  (Facebook คนเขียนคือ Atthasit Muang-in)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
(เรื่องสั้นสยองขวัญภาษาอังกฤษเรื่องนี้ลอกมาจากเรื่องสั้นของราชาเรื่องสยองขวัญของเมืองไทย ครูเหม เวชากร ตัวเอกคือนายทองคำ เด็กกำพร้าอายุ 12 ขวบที่อาศัยอยู่กับยายและญาติในชนบทของไทยในช่วงเวลาประมาณ พ.ศ.2476)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The lingering sunlight from the dawn kissed my eyelids and I could hear faintly the flock of big birds, whose breed was unbeknownst to me, chirping merrily outside window ,as if to greet the exuberant face of a new day.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเกี่ยวกับนักเขียนวัยกลางคนที่มีความหลังอันดำมืดและความสัมพันธ์กับดาราสาวผู้มีพลังจิต 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของรปภ.หนุ่มผู้ค้นหาภูติผีปีศาจในตึกที่ลือกันว่าเฮี้ยนที่สุด  เรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากรายการ The Ghost Radio(the altered version)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของผู้ชาย 3 คนที่ขับรถบรรทุกแล้วต้องเผชิญกับผีดูดเลือด 3 Friends and The Ghosts                                                (1)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
This short novel is about a guy who works as a DJ for the radio program 'The Spook Radio', famous for its allowing audience to share their thrilling experiences or tales about the superstitious stuffs, especially the ghosts, via telephones.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเรื่องนี้เกี่ยวกับคนไทยที่ใช้ชีวิตในเยอรมันช่วงพรรคนาซีเรืองอำนาจ  เขียนยังไม่จบและยังไม่มีการ proofreading แต่ประการใด                     Chapter 1  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความนี้มาจาก facebook  Atthasit Muangin สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มหาศาสดาผู้ลี้ภัยอยู่ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส ในฐานะเป็นเอตทัคคะหรือผู้เป็นเลิศในเรื่องเจ้า (The royal affairs expert)  พบกับการวิพากษ์วิจารณ์และโจมตีอย่างมากมายจากบรรดาแฟนคลับหรือคนที่แวะเข้ามาในเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 (มีบทความอื่นอีกมากมายในเฟซบุ๊คของผมคือ Atthasit Muang-in) 1.สลิ่มไม่ชอบอเมริกาและตะวันตกซึ่งคว่ำบาตรและมักท้วงติงไทยหลังรัฐประหารปี 2557  ในเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยพวกสลิ่มเห็นว่าทั้งสองฝ่ายเป็นพวกหน้าไหว้หลังหลอกเช่นเคยบุกประเทศอื่น