การสังหารหมู่นักศึกษาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ปี 2519 เป็นเหตุการณ์ที่น่าสะเทือนใจมากซึ่งน่าจะเป็นเรื่อง"ไทยฆ่าไทย" ครั้งสุดท้ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่สงครามเย็นได้สิ้นสุดไปและคนไทยน่าจะมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนดีกว่าเมื่อหลายสิบปีก่อน แต่การสังหารหมู่ประชาชนกลางเมืองหลวงเมื่อหลายปีก่อน ทำให้ผมคิดว่าปัจจัยที่ทำให้เหตุการณ์การสังหารผู้บริสุทธิ์เช่นนี้เกิดขึ้นได้เรื่อยๆ ในอนาคตมีหลายปัจจัย แม้ว่าจะมีงานรำลึกถึงอยู่ทุกปีในสถานที่ศึกษาต่างๆ
ปัจจัยแรกคือวัฒนธรรมแบบไทยๆ (รวมไปถึงประเทศโลกที่ 3) ที่ไม่มีใครต้องรับผิด (Culture of Impunity) คือรัฐสามารถเข่นฆ่าประชาชนได้เรื่อยๆ หากประชาชนกลุ่มนั้นถูกตราหน้าว่าเป็นศัตรูแห่งรัฐอย่างเช่นเป็นคอมมิวนิสต์ โดยที่ผู้ฆ่าหรือใช้ความรุนแรงมีความภูมิใจว่าสามารถรักษาชาติบ้านเมืองได้โดยไม่ต้องพบกับการถูกลงโทษ ในยุคหลังมีงานวิจัยพบว่าผู้สังหารนักศึกษาในวันที่ 6 กลับรู้สึกอับอายและปิดบังบทบาทของตนเพื่อรอเวลาให้เหตุการณ์นี้ต้องจางหายไปจากความทรงจำรวมหมู่ของสังคมไทยหรืออย่างน้อยจนกว่าตัวเองจะตาย แต่นั้นก็ไม่ใช่ปัญหาอะไรสำหรับผู้ที่จะเป็นนักสังหารในอนาคตตราบใดที่พวกเขาทราบว่าหากมี "แบ็คดี" ตนก็ไม่ต้องถูกจับดำเนินคดี หรืออีกอย่างหนึ่งคือผู้เขาจะต้องถูกรัฐปลูกฝังให้สังหารศัตรูโดยปราศจากการลังเลสงสัยแม้แต่เสี้ยวเดียวอันเกิดจากปัจจัยที่ 2
ปัจจัยที่ 2 คืออุดมการณ์อันเกิดจากความรู้สึกแบบแบ่งขาวกับดำ หรือ ธรรมะกับอธรรม โดยที่รัฐจารีตนิยมกษัตริย์นิยมจะเป็นฝ่ายธรรมะที่ต้องกำจัดอธรรมโดยใช้ความรุนแรงที่ศาสนาพุทธซึ่งที่จริงแล้วต่อต้านความรุนแรงแต่สามารถอะลุ่มอล่วยได้บางกรณี (หรือว่าตามจริงศาสนาพุทธแบบไทยๆ คือการเลือกเอาหลักคำสอนบางอย่างของพระพุทธเจ้ามาปรับใช้กับตัวเองเสียมากกว่า) ดังคำพูดของพระกิตติวุฑโฒที่ว่า "ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป" ในขณะที่ความรู้สึกร่วมกันของคนไทยจำนวนมากในยุคนั้น มองเหมือนกับที่พวกขวาจัดปลุกระดมไปว่านักศึกษาเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นสายลับเวียดนามปลอมตัวมาหรืออย่างน้อยที่สุดก็เหมือนกับเป็นเด็กเว้นที่ซุกซนได้ใจตั้งแต่ได้รับชัยชนะเมื่อ 14 ตุลาคม ต้องใช้ความรุนแรงเข้าจัดการ โดยความคิดดังกล่าวยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน
ปัจจัยที่ 3 คือความพยายามของรัฐที่พยายามหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม เช่นไม่ยอมกำหนดให้เป็นวันสำคัญหรือวันหยุดแห่งชาติ อันมีชะตากรรมเดียวกับเหตุการณ์อื่นเช่น 24 มิถุนายน 2475 หรือ 14 ตุลาคม 2516 นอกจากนี้เหตุการณ์ 6 ตุลายังปราศจากอนุสาวรีย์ ซึ่งแย่ยิ่งกว่าเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ที่ยังมีอนุสาวรีย์แถว 4 แยกคอกวัว (กระนั้นอนุสาวรีย์ดังกล่าวก็ไม่ค่อยมีความศักดิ์สิทธิ์เท่าไรนัก เพราะขาดการสนับสนุนของรัฐและไม่สอดคล้องกับความเชื่อแบบพุทธพราหมณ์ไสยแบบไทยๆ) งานรำลึกถึงถูกจัดโดยกลุ่มคนเล็กๆ หรือในแวดวงปัญญาชน และมักถูกนำเสนอผ่านสื่อกระแสหลักอย่างจำกัด ยกเว้นหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ซึ่งปีนี้นำเสนออย่างต่อเนื่อง แต่เป็นเรื่องตลกร้ายว่าหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษฉบับนี้ก็ถูกกล่าวหามีส่วนในการป้ายสีบรรดานักศึกษาด้วย
ปัจจัยที่ 4 ถึงแม้นักศึกษาที่ทั้งเสียชีวิตและรอดชีวิตมาได้จะเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าไม่ได้เป็นคอมมิวนิสต์หรือไม่ได้เป็นภัยต่อสถาบันหลักของชาติ (สมมติว่าถ้าพวกเขาเป็นคอมมิวนิสต์จริงๆ รัฐบาลจะสามารถหลีกเลี่ยงโดยการเพียงแค่จับกุมและดำเนินคดีทางกฎหมายได้หรือไม่) หากเพียงเพราะพวกเขาเรียกร้องให้ดำเนินคดีกับจอมพลถนอม กิตติขจร แต่พวกเขาก็ไม่สามารถถูกผนวกเข้ากับโครงเรื่องของการเป็นวีรบุรุษแห่งชาติดังที่ลัทธิชาตินิยมของไทยได้เพียรผลิตซ้ำให้กับประชาชน เพราะวีรบุรุษแห่งชาติไม่ว่ากษัตริย์หรือสามัญชนคือนักสู้เพื่อชาติ แต่สิ่งที่นักศึกษาเรียกร้องก็คือประชาธิปไตยกับความยุติธรรม ซึ่งมักถูกรัฐไทยจัดให้เป็นสิ่งที่ถูกสร้างโดยตะวันตก (ถึงแม้"ชาติ"ก็เป็นสิ่งประดิษฐ์ของตะวันตกเหมือนกัน) ดังนั้นโครงเรื่อง 6 ตุลาคมจึงไม่สามารถสร้างความประทับใจให้กับคนในวงกว้างได้เหมือนกับโครงเรื่องปลุกใจชาตินิยมตามสื่อต่างๆ เสมอมา อันทำให้เหตุการณ์ 6 ตุลาคมถูกละเลยและไม่สามารถเป็นตัวอย่างให้กับคนรุ่นใหม่ได้มากเท่าที่ควร
ปัจจัยที่ 5 คือการศึกษาซึ่งหนังสือเรียนสังคมไม่ได้มีการกล่าวถึงเหตุการณ์อย่างชัดเจนนัก ด้วยปัจจัยที่ 4 เพราะโครงเรื่อง 6 ตุลาคมไม่สามารถถูกผนวกเข้ากับลัทธิชาตินิยมได้อย่างที่หนังสือเรียนมีความถนัดในการเผยแพร่นัก อีกทั้งหนังสือพยายามบิดเบือนไปว่าเป็นความเข้าใจผิดของเจ้าหน้าที่บ้านเมืองแทนที่จะชี้แจงให้เห็นถึงสาเหตุอันแท้จริง รวมถึงพยายามปกปิดตัวตนของผู้อยู่เบื้องหลังการเข่นฆ่านักศึกษา (แต่ลองมานึกถึงความเป็นไปได้ว่าผู้จัดทำตำราเรียนถึงแม้จะทราบแต่ก็ทำไม่ได้เพราะนั้นหมายถึงอนาคตของพวกเขา) แม้แต่นักศึกษาประวัติศาสตร์และรัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยโดยมากดูเหมือนจะไม่ใส่ใจเหตุการณ์นี้เท่าไรนัก สาเหตุเพราะสื่อจำนวนมากที่พวกเขาเสพอยู่ทุกวันก็ได้นำเสนอการสังหารหมู่กันในประวัติศาสตร์ของมนุษย์จนถึงปัจจุบัน (อย่างเช่นกรณีซีเรีย) อันทำให้เกิดการด้านชาทางความรู้สึก กระนั้นคนไทยก็ยังไม่อาจเข้าใจอะไรเกี่ยวกับสังหารหมู่ซึ่งอาจจะเกิดอีกในอนาคตก็ได้
และปัจจัยที่ 6 คือเหตุการณ์เช่นความวุ่นวายทางการเมืองในแต่ละยุคสามารถเกิดขึ้นได้โดยมีลักษณะเฉพาะตนอันทำให้พยากรณ์ได้ยากว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร และอย่างไร จะป้องกันอย่างไร ดังเช่นการประท้วงของเสื้อแดงที่ราชประสงค์เมื่อปี 2553 ซึ่งไม่อาจมีคนทำนายได้ว่าจะนำไปสู่การสังหารหมู่แบบ 6 ตุลาคม เช่นเดียวกับรูปแบบการฆ่าและโฉมหน้าของผู้ฆ่าก็แตกต่างกัน กระนั้นเป็นที่น่าสนใจว่าสังคมที่ไม่เป็นประชาธิปไตยหรือเป็นเผด็จการแบบซ่อนเร้น ซึ่งรัฐและประชาชนส่วนใหญ่มักมองข้ามเรื่องสิทธิมนุษยชนหรือการยอมรับความคิดของผู้เห็นต่าง สามารถก่อให้เกิดการสังหารหมู่เช่นนี้ได้ง่ายกว่าสังคมที่เป็นประชาธิปไตยดังเช่นเหตุการณ์การสังหารหมู่ประชาชนกลางกรุงเทพฯ ดังที่ว่านี้และในอนาคตที่กำลังจะมาถึงนี้
บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เขียนงานเขียนในรูปแบบต่างๆ คือนวนิยาย เรื่องสั้นหรือแม้แต่บทละครมานานก็เลยอยากจะชี้แจ้งให้ท่านผู้อ่านเข้าใจว่าเนื่องจากเป็นงานเขียนแบบงานดิเรกหรือแบบนักเขียนสมัครเล่นอย่างผม จึงต้องขออภัยที่มีจุดผิดพลาดอยู่ เพราะไม่มีคนมาตรวจให้ ถึงผมเองจะพยายามตรวจแล้วตรวจอีกก็ยังมีคำผิดและหลักไวยากรณ์อยู่
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The Spook Radio (part 2)ภาค 2 ของดีเจอ้นซึ่งเป็นดีเจรายการที่เปิดให้ทางบ้านมาเล่าเรื่องสยองขวัญหรือเรื่องเหนือธรรมชาติ ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก The Shock และ The Ghost (Facebook คนเขียนคือ Atthasit Muang-in)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
(เรื่องสั้นสยองขวัญภาษาอังกฤษเรื่องนี้ลอกมาจากเรื่องสั้นของราชาเรื่องสยองขวัญของเมืองไทย ครูเหม เวชากร ตัวเอกคือนายทองคำ เด็กกำพร้าอายุ 12 ขวบที่อาศัยอยู่กับยายและญาติในชนบทของไทยในช่วงเวลาประมาณ พ.ศ.2476)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The lingering sunlight from the dawn kissed my eyelids and I could hear faintly the flock of big birds, whose breed was unbeknownst to me, chirping merrily outside window ,as if to greet the exuberant face of a new day.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเกี่ยวกับนักเขียนวัยกลางคนที่มีความหลังอันดำมืดและความสัมพันธ์กับดาราสาวผู้มีพลังจิต
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของรปภ.หนุ่มผู้ค้นหาภูติผีปีศาจในตึกที่ลือกันว่าเฮี้ยนที่สุด เรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากรายการ The Ghost Radio(the altered version)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของผู้ชาย 3 คนที่ขับรถบรรทุกแล้วต้องเผชิญกับผีดูดเลือด 3 Friends and The Ghosts (1)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
This short novel is about a guy who works as a DJ for the radio program 'The Spook Radio', famous for its allowing audience to share their thrilling experiences or tales about the superstitious stuffs, especially the ghosts, via telephones.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเรื่องนี้เกี่ยวกับคนไทยที่ใช้ชีวิตในเยอรมันช่วงพรรคนาซีเรืองอำนาจ เขียนยังไม่จบและยังไม่มีการ proofreading แต่ประการใด Chapter 1
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความนี้มาจาก facebook Atthasit Muangin สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มหาศาสดาผู้ลี้ภัยอยู่ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส ในฐานะเป็นเอตทัคคะหรือผู้เป็นเลิศในเรื่องเจ้า (The royal affairs expert) พบกับการวิพากษ์วิจารณ์และโจมตีอย่างมากมายจากบรรดาแฟนคลับหรือคนที่แวะเข้ามาในเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
(มีบทความอื่นอีกมากมายในเฟซบุ๊คของผมคือ Atthasit Muang-in) 1.สลิ่มไม่ชอบอเมริกาและตะวันตกซึ่งคว่ำบาตรและมักท้วงติงไทยหลังรัฐประหารปี 2557 ในเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยพวกสลิ่มเห็นว่าทั้งสองฝ่ายเป็นพวกหน้าไหว้หลังหลอกเช่นเคยบุกประเทศอื่น