หากมีใครถามว่าถ้า จู่ๆ โลกนี้ หนังสือจะหายไปหมด แต่ผมสามารถเลือกหนังสือไว้เป็นส่วนตัวได้เพียงเล่มเดียว จะให้เลือกของใคร ผมก็จะตอบว่าหนังสือ "จันทร์เสี้ยว" หรือ Crescent Moon ของท่านรพินทรนาถ ฐากูร กวีและนักปราชญ์ชาวอินเดียผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี 1913 และหนังสือเล่มนี้ก็ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษในปีเดียวกัน
ก่อนหน้านี้ผมรู้สึกอับอายเป็นยิ่งนักเมื่อตอนเรียนมัธยมปีที่ 4 อาจารย์ได้ใช้หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออ่านนอกเวลา และอาจารย์ได้อ่านกวี (ซึ่งไม่เน้นสัมผัส)ให้แก่พวกเราฟัง ด้วยสติปัญญาอันตื้นเขิน พวกเราจึงหัวเราะด้วยความไม่เข้าใจสารที่ท่านมหากวีต้องการจะสื่อ แต่ครั้นเมื่อได้อ่านบทกวีเล่มนี้ของท่านซ้ำแล้วซ้ำอีก ผมถึงกลับหลั่งน้ำตาถึงความไพเราะของบทกวีที่ท่านได้รจนามาจากจิตวิญญาณอันละเอียดอ่อนและการหยั่งรู้ถึงสัจธรรมของโลกและจักรวาล งดงามเช่นเดียวกับหนังสือคีตาญชลี (ขอน้อมสรรเสริญพระเจ้าด้วยบทเพลง) แต่ในหนังสือเล่มนี้กลับเน้นไปที่การสะท้อนมุมมองอันบริสุทธิ์ของเด็กที่มีต่อโลกภายนอก โดยเฉพาะต่อแม่ของเขา ดังนั้นผมจึงใคร่จะนำเสนอบางบทโดยเฉพาะที่น่าประทับใจเป็นพิเศษ จากทั้งหมดกว่า 40 บท มีคนนำมาแปลเป็นภาษาไทยอย่างเช่นนายแพทย์ วิทูร แสงสิงแก้วที่ผมใช้อ่านเป็นหนังสือนอกเวลาและ ท่านกรุณา กุศลาสัย (ถ้าจำไม่ผิดเป็นบางส่วน) แต่ที่สามารถเอามาลงบล็อคได้คือเวอร์ชั่นของคุณปรีชา ช่อปทุมจาก http://www.fringer.org/wp-content/writings/crescent-thai.pdf ดังข้างล่าง
ภาพจาก www. tower.com
หนังสือเริ่มต้นจากบทกวีที่แสนจะงดงามทางจิตวิญญาณทำให้ผมนึกถึงชนบทแถวบ้านนอกของผม คือบทแรกที่ชื่อว่า
The Home
I paced alone on the road across the field while the sunset was hiding its last gold like a miser.
The daylight sank deeper and deeper into the darkness, and the widowed land, whose harvest had been reaped, lay silent.
Suddenly a boy's shrill voice rose into the sky. He traversed the dark unseen, leaving the track of his song across the hush of the evening.
His village home lay there at the end of the waste land, beyond the sugar-cane field, hidden among the shadows of the banana and the slender areca palm, the cocoa-nut and the dark green jack-fruit trees.
I stopped for a moment in my lonely way under the starlight, and saw spread before me the darkened earth surrounding with her arms countless homes furnished with cradles and beds, mothers' hearts and evening lamps, and young lives glad with a gladness that knows nothing of its value for the world.
บ้าน
ฉันย่ำไปตามเสนทางซึ่งตัดผานทองทุง ขณะที่ดวงอาทิตยอัสดงกําลังซอนแสงสีทอง เสมือนอาการของคนขี้ตระหนี่ ความสวางแหงวันจบลงทามกลางความมืด ทองทุงโลงตลอด ภายหลังฤดูเก็บเกี่ยวนอน สงบตัวนิ่ง ทันใดเสียงยะเยือกของเด็กกองสูนภากาศ เขาเดินฝาความมืดขมัว ทิ้งรองรอยแหงบท เพลงไวกับความสงบยามค่ํา หมูบานของเขาอยูในบริเวณรกราง พนเขตไรออยออกไป มันซุกอยูใตดงกลวย ดงหมากสูงชะลูด ดงมะพราวและขนุนใบเขียวเขม ฉันหยุดอยูครูหนึ่งบนทางเปลี่ยวภายใตแสงดาว เบื้องหนาโนนและเห็นผืนธรณีสีนิล ทอดลําแขนตระกองกอดหมูบานซึ่งประดับดวยเปลและเตียง ดวงใจของแมและเปลวประทีป เด็กๆ มีชีวิตอยูกับความรื่นรมย ์โดยหาไดตระหนักถึงคุณคาของตัวเองไม วามีตอโลกเปนประการใด
ลองนึกถึงภาพถึงความงดงามของชนบทอินเดีย ในยามสนทยา จากแสงอันขมุกขมัว (เป็นจินตนาการอันแสนบรรเจิดมากที่ท่านมหากวีเปรียบอาทิตย์เหมือนกับคนตระหนี่ที่แอบเก็บทองไว้) จนไปถึงม่านแห่งความมืดได้คลี่ลงมาให้เห็นดาวระยิบระยับ และไกลออกไปนั้นคือความงดงามของความรักที่แม่มีต่อลูก ในบทแรกนี้ ท่านรพินทรนาถได้ให้ผู้บรรยายเป็นบุคคลอื่นที่พเนจร เดินผ่านมา (คิดว่าคงใช่ เพราะในกวีบอกว่า My lonely way)
หากชีวิตของเราเหมือนคนพเนจรคนนั้นก็ดี ท่านอาจจะเปรียบกับคนทั่วไปที่ถือว่าตนเป็นคนมีฐานะ มั่งคั่ง แบบชนชั้นกลาง ชีวิตเต็มไปด้วยความวุ่นวาย ผลประโยชน์ พิธีการ แต่ไม่เคยเห็นอย่างคนพเนจร หมอนหมิ่น ได้แลเห็นบางสิ่งบางอย่างที่ชีวิตของเราตั้งแต่หนุ่มสาวถึงแก่ไม่เคยพบ นั่นคือความรักอันบริสุทธิ์ ความเงียบสงบของชนบทอาจจะหมายถึงความสงบของจิตวิญญาณมนุษย์ และเสียงของเด็กหนุ่มอาจจะเปรียบกับเสียงแห่งแห่งการสวดมนต์ หรือเสียงจากภายในของตัวมนุษย์เอง
นอกจากนี้ยังมีอีกบทที่น่าสนใจคือบทที่ 2 ดังชื่อ
On The Seashore
On the seashore of endless worlds children meet.
The infinite sky is motionless overhead and the restless water is boisterous. On the seashore of endless worlds the children meet with shouts and dances.
They build their houses with sand, and they play with empty shells. With withered leaves they weave their boats and smilingly float them on the vast deep. Children have their play on the seashore of worlds.
They know not how to swim, they know not how to cast nets. Pearl-fishers dive for pearls, merchants sail in their ships, while children gather pebbles and scatter them again. They seek not for hidden treasures, they know not how to cast nets.
The sea surges up with laughter, and pale gleams the smile of the sea-beach. Death-dealing waves sing meaningless ballads to the children, even like a mother while rocking her baby's cradle. The sea plays with children, and pale gleams the smile of the sea-beach.
On the seashore of endless worlds children meet. Tempest roams in the pathless sky, ships are wrecked in the trackless water, death is abroad and children play. On the seashore of endless worlds is the great meeting of children.
ชายฝั่ง
เด็กๆ มาพบกัน ณ ชายฝงทะเลของโลกกวาง ทองฟาเวิ้งวางนิ่งสนิทอยูเบื้องบน สวนทองน้ำเคลื่อนไหวโครมครืน เด็กๆ มาพบกันดวย เสียงตะโกน และการโลดเตน ณ ชายฝงทะเลของโลกกวาง พวกเขาสรางบานดวยทราย เลนสนุกกับเปลือกหอย ตอเรือดวยใบไมรวง แลวหยอนลง น้ําลึกและกวางดวยอาการยิ้มหัว เด็กๆ มีที่เลน ณ ชายฝงทะเลของโลกกวาง พวกเขาวายน้ำไมเปน ทอดแหไมเปน สวนนักงมไขมุกดําดิ่งลงควานหาหอยมุก นาย วาณิชแลนสําเภาออกคาขาย ขณะที่เด็กๆ รวบรวมกอน กรวด แลวก็โยนเกลื่อนกระจาย พวกเขา ไมเสาะหาขุมทรัพยและทอดแหก็ไมเปน หาดทรายเผยอยิ้ม น้ำทะเลเออลนดวยการหัวเราะ คลื่นมรณะขับขานลํานําอันปราศจาก ความหมายใหเด็กๆ ฟง เชนเดียวกับแมเหกลอมทารกขณะไกวเปล ทะเลหยอกเย้าเด็กๆ และหาด ทรายเผยอยิ้ม เด็กๆ มาพบกัน ณ ชายฝงทะเลของโลกกวาง พายุโหมกระหน่ำ สําเภาพินาศลงในแมน้ำ และความตายเขาจูโจม แตเด็กๆ คงเลนสนุกตอไป พวกเขามาพบกัน ณ ชายฝงทะเลของโลกกวาง
ในบทนี้ ท่านรพินทรนาถ ฐากูรได้เปลี่ยนสถานที่จากชนบทมายังทะเล ซึ่งในตอนแรกจะทำให้คนอ่านจินตนาการถึงทะเลในยามเช้า ที่สดใส แสงแดดส่องทะลุเมฆขาวลงกระทบกับทะเลและชายหาดเป็นกระจายราวกับมีอัญมณีเกลื่อนอยู่ แต่ท่านก็ได้บรรยายว่าทะลนี้ยังมีความน่ากลัวคือส่งเสียงดังอยู่อื้ออึง (Boisterous) และยังสามารเกิดทะเลซึ่งส่งผลให้เรือต้องอับปางและมีคนตายกันเกลื่อน
สิ่งที่ทำให้บทกวี้นี้สวยงามก็คือทะเลยังเป็นสถานที่ให้บรรดาเด็กน้อยทั้งหลายได้ เล่นก้อนกรวด กู่ร้อง เต้นรำกันอย่างมีความสุข สำหรับพวกเขาคลื่นที่แสนน่ากลัวกลับเห่กล่อมเขาด้วยบทเพลงที่ไม่มีความหมาย ดุจดังเพลงกล่อมที่มารดามีต่อบุตร
ในกวีบทนี้ท่านมหากวีต้องการเปรียบทะเลหรือ Endless World ได้ดังความร่าเริงและจินตนาการอันบริสุทธิ์ของเด็ก หรือมองอีกแง่คือความไร้ซึ่งกิเลสซึ่งคนทั่วติดอยู่ในร่างแห่ของมัน คำว่ากิเลสในบทกวีนี้ถูกแทนด้วยกิจกรรมอันแสนวุ่นวายของผู้ใหญ่ เช่นการวางอวน การค้นหาไข่มุกและ สมบัติ การจมลงของเรือจึงเปรียบได้กับความยุ่งยากหรือความพินาศของมนุษย์ที่เกิดจากกิเลสเอง ในขณะที่ผู้ปราศจากกิเลส ดังสัญลักษณ์คือ เด็ก ต่างมีความสุขสงบในโลกอันไร้ที่สิ้นสุดของเขา
แนวคิดของท่านมหากวีจึงเป็นจินตนิยมหรือ Romanticism คือเน้นไปค้นหาความจริง ความงามจากภายใน ถึงแม้ท่านจะเป็นนักปราชญ์ฮินดูแต่ท่านจะเน้นจากภายในของตัวมนุษย์เองมากกว่า จากพระเจ้า นับได้ว่าท่านมหากวีเปรียบเปรยกับชีวิตมนุษย์ได้อย่างลึกซึ้งและงดงามยิ่งนัก