Skip to main content

มีการถกเถียงกันทางญาณวิทยาซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของปรัชญามาเป็นพัน ๆ ปีว่าความจริง (Truth) แท้จริงเป็นอย่างไร แล้วเราจะสามารถรู้หรือเข้าสู่ความจริงได้หรือไม่ แน่นอนว่าผู้อ่านย่อมสามารถโต้ตอบผู้เขียนได้ว่าความจริงที่เรากำลังสัมผัสอยู่ขณะนี้เช่นหูได้ยินหรือจมูกได้กลิ่น หรือการสัมผัสแป้นคีย์บอร์ดย่อมเป็นจริง แต่ปัญหาก็คือเราสามารถสัมผัสได้อย่างที่คนอื่นสัมผัสของเหล่านี้ได้หรือเปล่าหรือว่าสอดคล้องกับความจริงที่ไม่ขึ้นอยู่กับประสาทสัมผัสของมนุษย์ได้หรือไม่ (ดังที่เรียกว่าความจริงเชิงภววิสัย หรือ Objective truth เช่น เสียงของมะพร้าวที่ตกลงในป่าโดยไม่มีคนอยู่เป็นอย่างไร) อาจด้วยลักษณะเฉพาะตัวของประสาทสัมผัสของเราแต่ละคน (เช่นเวลาไฟลนนิ้วเรา เรารู้สึกเจ็บ แต่ขอถามว่าเรารู้สึก"เจ็บ"เหมือนอย่างที่นาย ก.โดนไฟลนหรือไม่)หรืออาจจะเกิดจากความบกพร่องทางประสาทสัมผัสก็ได้เช่นขณะนี้ เราอาจจะไม่ได้กลิ่นบางอย่างที่เพื่อนที่นั่งข้างๆ เพราะเราเป็นหวัดบ่อยทำให้ประสาทการได้กลิ่นไม่ดีนัก 

ข้อโต้แย้งเหล่านี้ย่อมเป็นเรื่องปลีกย่อย ไร้สาระถ้าเทียบกับความเป็นจริงทางสังคมและการเมืองซึ่งมีความซับซ้อนอย่างยิ่งเพราะเต็มไปด้วยประโยคคำพูดที่หรูหรา ฟุ่มเฟือยและเป็นนามธรรมมีความจริงทางสังคมและการเมืองมากมายที่เรายอมรับไม่ใช่เพราะประจักษ์สัมผัสด้วยตัวเองแต่เป็นการถูกปลูกฝังด้วยระยะเวลาอันยาวนานโดยองค์กรที่เราเรียกว่า "รัฐ" เช่นสำนึกของความเป็นชาติ ชาติตามแนวคิดของนักวิชาการบางคนคือชุมชนในจินตนาการ (Imagined Community) แนวคิดชาติในจินตนาการเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าเราคิดขึ้นมาเอง แต่หมายความว่าเราสามารถรับรู้ความเป็นชาติโดยผ่านระบบสัญลักษณ์ต่างๆ ที่รัฐปลูกฝังให้เรามาตั้งแต่เป็นทารกหัวยังกลวงเปล่า ผ่านระบบการศึกษาและสื่อมวลชนที่เข้ามาตอกย้ำเราอยู่ทุกวัน เช่นเรารู้สึกว่าตัวเราคือ "คนไทย" ใช้ภาษาไทย ต้องรักชาติไทย กินอาหารไทย หวงแหนมรดกไทย ฯลฯ เราจะรู้สึกว่าเป็นคนชาติเดียวกับลุงปั๋นที่ไถนาอยู่ในตำบลแม่นาเรือพะเยา ถึงแม้เราเป็นชนชั้นกลาง นั่งทำงานอยู่ในตึกชั้นที่ 25 กลางกรุงเทพฯ เกิดที่กรุงเทพฯ ไม่เคยไปพะเยาหรือจังหวัดใด ๆ ในภาคเหนือ เพียงแต่เราสัมผัสชีวิตแบบลุงปั๋นได้ผ่านโทรทัศน์ที่เสนอรายการชาวไร่ เรารู้ว่ายิ่งลักษณ์เป็นนายกรัฐมนตรีผู้หญิงคนแรกของไทยก็ผ่านโทรทัศน์ วิทยุ อินเทอร์เน็ต ถึงแม้เราจะไม่เคยเห็นสัมผัสตัวยิ่งลักษณ์เป็นๆ มาก่อน 

ชุมชนในจินตนาการยังมีการโยงไปในเรื่องของอดีตซึ่งยิ่งดำมืดไม่มีความชัดเจนขึ้นไปอีกและไม่ค่อยจะสอดคล้องกับความจริงในปัจจุบันนักเช่นคนเชียงใหม่จะถูกทำให้เชื่อว่าพระนเรศวรเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของตนทั้งที่ในอดีตอาณาจักรล้านนารู้สึกเป็นปรปักษ์กับกรุงศรีอยุธยาไม่ต่างจากพม่ารามัญเลย  หรือแม้แต่คนภาคกลางเองที่บางคนประกาศว่าตัวเองเป็นลูกพระองค์ดำก็ไม่ค่อยทราบถึงตัวตนของพระองค์เท่าไรนัก หลายคนไม่ทราบด้วยซ้ำว่าพระองค์จริงๆ มีนิสัยอย่างไร สิ้นพระชนม์อย่างไร ที่ไหน (และพระองค์ทรงมีสำนึกความเป็นไทยหรือห่วงใยลูกหลานไทยถึงขนาดทรงย่อมเหน็ดเหนื่อย ยอมสละพระชนม์เพื่อ "ชาติไทย"ที่ในยุคของพระองค์ไม่เคยมี มีแต่เพียงอาณาจักรอโยธยาหรือไม่) เพียงแต่เพราะเราถูกครูสอนในชั้นเรียนและไปชมภาพยนตร์ที่ยาวเหยียดเหมือนหนังชุดเกาหลีของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคลซึ่งแต่งสีเพิ่มสันลงไปอย่างไม่บันยะบันยัง 

ผู้ที่สามารถกุมอำนาจรัฐจะมีพื้นที่ขนาดใหญ่ในการเสริมสร้าง(หรือยัดเหยียด)สำนึกความเป็นชาติอันนำไปสู่การสถาปนาชุดแห่งความจริงทางสังคมและการเมืองได้อย่างมากมายให้กับพลเมืองซึ่งถูกคุมขังภายในชุมชนที่ถูกจินตนาการขึ้น  การยัดเหยียดจะยิ่งทรงพลังมากขึ้นหากใช้กำลัง (Coercive force) เข้ามาประกอบเช่นผ่านทางกฎหมายโดยมีเครื่องมือของรัฐคือตำรวจกับทหาร รัฐโดยเฉพาะรัฐที่เป็นเผด็จการหรือมีลักษณะเป็นเผด็จการทั้งที่ประกาศตนว่าเป็นประชาธิปไตย มักออกกฎหมายบังคับให้พลเมืองเชื่อในชุดความจริงชุดหนึ่ง เพียงถ้าพลเมืองคนใดแสดงความไม่เชื่อในชุดความจริงนั้นก็จะถูกลงโทษเช่นถูกจับติดคุกหรือประหารชีวิต ถูกประณามว่าเป็นคนไม่ภักดีต่อชาติ 

ความเป็นจริงทางสังคมและการเมืองเช่นนี้ไม่ได้มีเพียงมีลักษณะในอดีตหรือเป็นข้อมูลหยุดนิ่งไม่ แต่ยังหมายถึงการตัดสินใจหรือทัศนคติหรือความเห็นพ้องร่วมกัน (Consensus) ของคนในชาติต่อเหตุการณ์หลายอย่างประจำวัน รัฐ (ที่หมายถึงรัฐาธิปัตย์ซึ่งยิ่งใหญ่กว่า รัฐบาล) มีวิธีในการสร้างสำนึกหรือความเห็นพ้องร่วมกันให้กับพลเมืองทั้งหลายด้วยวิธีที่แยบยลและทรงพลังเช่นนอกจากกฎหมายแล้วยังสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในการควบคุมหรือชี้นำสื่อมวลชนให้นำเสนอสารที่สอดคล้องกับชุดความจริงนั้นๆ (อย่างที่เรียกว่า Propaganda หรือโฆษณาชวนเชื่อ) ชุดความจริงเช่นนี้ยิ่งดูเสมือนจริงยิ่งขึ้น เพราะพรางตาพลเมืองให้เข้าใจว่าอยู่นอกเหนือปริมณฑลของอำนาจรัฐ

การสร้างชุดความจริงยังทำได้ก็ต่อเมื่อการพรางตาให้กับพลเมืองโดยการสรุปจากชุดความจริงที่สร้างโดยกลุ่มๆ หนึ่งแล้วชี้นำให้มวลชนซึ่งไม่มีชุดความจริงอยู่ในหัวเชื่อว่าพลเมืองทุกคนในรัฐคิดหรือเชื่อเหมือนกัน  ตามวิสัยของมนุษย์มักเห็นว่าสิ่งที่คนอื่นเชื่อร่วมกันมากๆ มักจะเป็นความจริงสูงสุด เข้าทำนองเดียวกับสำนวนภาษาอังกฤษว่า Jump on the bandwagon เมื่อทุกคนเชื่อกันมากๆ เข้าก็ย่อมเข้าข่ายอุปทานหมู่ (Mass hysteria) หลงละเมอเพ้อพกอยู่ในจินตนาการร่วมกันที่จะถูกสร้างหรือเนรมิตให้เป็นอย่างไรก็ได้โดยรัฐ แม้คนจำนวนไม่น้อยจะไม่เชืีอตามรัฐก็ต้องเงียบเสียงหรือจำกัดการแสดงออกแนวคิดส่วนตัวในแวดวงที่ตนไว้ใจอย่างเช่นคนรอบข้าง

ปรากฎการณ์เช่นนี้ไม่จำกัดอยู่เฉพาะรัฐที่เป็นเผด็จการเท่านั้น แม้แต่รัฐที่เป็นประชาธิปไตยก็ต้องมีวิธีการเช่นนี้นักวิชาการบางคนอาจจะการ กระทำเช่นนี้ก็เพื่อความอยู่รอดและประโยชน์ของรัฐเอง แต่ถ้ามองตามแว่นของนักคิดแบบลัทธิมาร์กซ์คือเพื่อผลประโยชน์ของชนชั้นปกครอง เราอาจจะไม่ต้องสนใจว่าความจริงที่แท้จริงเป็นอย่างไร เพราะความจริงที่แท้จริงอาจจะไม่มี และไม่มีวันถูกค้นพบได้ ต่อให้เรามียานย้อนเวลาหรือเป็นพระเจ้าก็ตาม !  

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เขียนงานเขียนในรูปแบบต่างๆ  คือนวนิยาย เรื่องสั้นหรือแม้แต่บทละครมานานก็เลยอยากจะชี้แจ้งให้ท่านผู้อ่านเข้าใจว่าเนื่องจากเป็นงานเขียนแบบงานดิเรกหรือแบบนักเขียนสมัครเล่นอย่างผม จึงต้องขออภัยที่มีจุดผิดพลาดอยู่ เพราะไม่มีคนมาตรวจให้ ถึงผมเองจะพยายามตรวจแล้วตรวจอีกก็ยังมีคำผิดและหลักไวยากรณ์อยู่
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The Spook Radio (part 2)ภาค 2 ของดีเจอ้นซึ่งเป็นดีเจรายการที่เปิดให้ทางบ้านมาเล่าเรื่องสยองขวัญหรือเรื่องเหนือธรรมชาติ ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก The Shock และ The Ghost  (Facebook คนเขียนคือ Atthasit Muang-in)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
(เรื่องสั้นสยองขวัญภาษาอังกฤษเรื่องนี้ลอกมาจากเรื่องสั้นของราชาเรื่องสยองขวัญของเมืองไทย ครูเหม เวชากร ตัวเอกคือนายทองคำ เด็กกำพร้าอายุ 12 ขวบที่อาศัยอยู่กับยายและญาติในชนบทของไทยในช่วงเวลาประมาณ พ.ศ.2476)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The lingering sunlight from the dawn kissed my eyelids and I could hear faintly the flock of big birds, whose breed was unbeknownst to me, chirping merrily outside window ,as if to greet the exuberant face of a new day.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเกี่ยวกับนักเขียนวัยกลางคนที่มีความหลังอันดำมืดและความสัมพันธ์กับดาราสาวผู้มีพลังจิต 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของรปภ.หนุ่มผู้ค้นหาภูติผีปีศาจในตึกที่ลือกันว่าเฮี้ยนที่สุด  เรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากรายการ The Ghost Radio(the altered version)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของผู้ชาย 3 คนที่ขับรถบรรทุกแล้วต้องเผชิญกับผีดูดเลือด 3 Friends and The Ghosts                                                (1)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
This short novel is about a guy who works as a DJ for the radio program 'The Spook Radio', famous for its allowing audience to share their thrilling experiences or tales about the superstitious stuffs, especially the ghosts, via telephones.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเรื่องนี้เกี่ยวกับคนไทยที่ใช้ชีวิตในเยอรมันช่วงพรรคนาซีเรืองอำนาจ  เขียนยังไม่จบและยังไม่มีการ proofreading แต่ประการใด                     Chapter 1  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความนี้มาจาก facebook  Atthasit Muangin สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มหาศาสดาผู้ลี้ภัยอยู่ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส ในฐานะเป็นเอตทัคคะหรือผู้เป็นเลิศในเรื่องเจ้า (The royal affairs expert)  พบกับการวิพากษ์วิจารณ์และโจมตีอย่างมากมายจากบรรดาแฟนคลับหรือคนที่แวะเข้ามาในเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 (มีบทความอื่นอีกมากมายในเฟซบุ๊คของผมคือ Atthasit Muang-in) 1.สลิ่มไม่ชอบอเมริกาและตะวันตกซึ่งคว่ำบาตรและมักท้วงติงไทยหลังรัฐประหารปี 2557  ในเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยพวกสลิ่มเห็นว่าทั้งสองฝ่ายเป็นพวกหน้าไหว้หลังหลอกเช่นเคยบุกประเทศอื่น