Skip to main content

                 แปลและตัดต่อบางส่วนจากบทความ Gustav Mahler : The Austrian composer เขียนโดยเดรีก วี คุก จาก  www.britannica.com

        กุสตาฟ มาห์เลอร์ เกิดเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ปี 1860 และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ปี  1911 เขาเป็นคีตกวีและวาทยกรชาวออสเตรียเชื้อสายยิว ซึ่งลือชื่อกับซิมโฟนีทั้ง 10 บทและเพลงประกอบกับออร์เคสตราอันหลากหลาย ซึ่งได้ผสมผสานดนตรีโรแมนติกรูปแบบต่าง ๆ  เข้าด้วยกัน  ถึงแม้ว่าดนตรีของเขาจะถูกทอดทิ้งไปเป็นเวลา 50 ปีภายหลังที่เสียชีวิตไปแล้ว มาห์เลอร์ก็ได้รับการถือว่าเป็นผู้ให้กำเนิดคนสำคัญของเทคนิคการประพันธ์เพลงในศตวรรษที่ 20 และยังมีอิทธิพลต่อคีตกวีคนอื่นๆ อย่างเช่นอาร์โนลด์ เชินแบร์ก  ดมิทรี โชสตาโควิช และเบนจามิน บริทเตน

 

                                  

    

        ชีวิตช่วงแรก

      มาห์เลอร์เป็นบุตรชายของผู้ผลิตสุราและเจ้าของโรงเตี๊ยมชาวออสเตรียเชื้อสายยิวซึ่งอาศัยอยู่ในหมู่บ้านคาลิสชต์ของชาวโบฮีเมียน หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ในทิศตะวันตกเฉียงใต้ของดินแดนซึ่งปัจจุบันคือสาธารณรัฐเช็ค เมื่อเกิดได้ไม่กี่เดือน ครอบครัวก็ย้ายไปยังเมืองที่อยู่ใกล้เคียงคือจิห์ลาวา (ภาษาเยอรมันคืออิกเลา)  ที่ซึ่งมาห์เลอร์ใช้ชีวิตในวัยเด็กและวัยรุ่น ความจริงเพียงแค่นี้ได้ให้ร่องรอยแก่เราถึงบุคลิกภาพอันเปี่ยมด้วยความหดหู่ของเขา นั่นคือเขาทนทุกข์จากความขัดแย้งในเรื่องเชื้อชาติตั้งแต่เกิดมา ในฐานะที่เป็นชนกลุ่มน้อยเชื้อสายออสเตรียที่พูดภาษาเยอรมัน เขากลายเป็นคนนอกท่ามกลางชนพื้นเมืองซึ่งเป็นชาวเช็ค และในฐานะเป็นชาวยิวก็กลายเป็นคนนอกท่ามกลางชนกลุ่มน้อยออสเตรีย  ต่อมาในเยอรมัน เขาก็เป็นคนนอกในฐานะชาวออสเตรียที่มาจากแคว้นโบฮีเมียและมีเชื้อสายยิว

      ชีวิตของมาห์เลอร์ยังยุ่งเหยิงด้วยความขัดแย้งระหว่างบิดามารดาของตนอีกด้วย  บิดาของเขาเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ด้วยตัวเองที่มีพลังชีวิตสูงได้แต่งงานกับผู้หญิงที่ละเอียดอ่อนจากครอบครัวซึ่งเป็นผู้ลากมากดี และเขาก็รังเกียจความสูงส่งทางสังคมของเธอจึงปฏิบัติกับเธออย่างเลวร้าย ดังนั้นมาห์เลอร์จึงรู้สึกแปลกแยกกับบิดาและหมกมุ่นในตัวมารดาเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งมีท่าทางชัดเจนคือการเดินกระโผลกกระเผลกเล็กน้อยของเขานั้นได้รับอิทธิพลโดยไม่ได้ตั้งใจจากการเดินเป๋ๆ ของมารดา ยิ่งไปกว่านั้นเขายังได้รับพันธุกรรมคือโรคหัวใจของมารดา ซึ่งนำไปสู่ความตายของเขาเมื่ออายุ 50 ปี ในที่สุดก็มีปูมหลังเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและความตายโดยฉับพลันในบรรดาพี่ๆ น้องๆ จำนวน 13 คนของมาห์เลอร์

         ปูมหลังในวัยเยาว์อันไม่น่าพิสมัยเช่นนี้อาจอธิบายความตึงเครียดทางจิตใจ ความย้อนแย้ง ความสงสัยเป็นนิจ  ความหมกมุ่นกับความตายและการดิ้นรนอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อค้นหาความหมายในชีวิตซึ่งแผ่ไปทั่วชีวิตและดนตรีของมาห์เลอร์ แต่มันไม่อาจอธิบายพลังอันมหาศาล อำนาจทางปัญญาและความทะเยอทะยานอย่างแรงกล้าในการเข้าสู่การเป็นวาทยกรและนักประพันธ์เพลงชั้นหัวแถว แน่นอนว่าองค์ประกอบด้านบวกต่อลักษณะดังกล่าวย่อมมาจากด้านครอบครัวของบิดา ดังเช่นพลังทางกายอันยิ่งใหญ่ของเขา ถึงแม้จะเป็นโรคหัวใจ แต่มาห์เลอร์ก็เป็นคนกระตือรือร้นอย่างสุดโต่ง นั่นคือเป็นผู้อำนวยการดนตรีที่ไม่ปรานีปราศรัย นักว่ายน้ำที่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย และนักท่องภูเขาที่แข็งแรงมาก

     พรสวรรค์ทางดนตรีของเขาได้ปรากฏตัวอย่างรวดเร็วและยิ่งใหญ่มาก ในช่วงราวๆ อายุ 4  ขวบ จากการตราตรึงต่อดนตรีแบบทหารซึ่งบรรเลงในค่ายใกล้ๆ และดนตรีพื้นบ้านโดยพวกกรรมกรชาวเช็ค เขาก็ผลิตซ้ำดนตรีเหล่านั้นในรูปแบบแอคคอร์เดียนและเปียโน รวมไปถึงเริ่มต้นประพันธ์เพลงของตัวเอง รูปแบบดนตรีแบบทหารและเพลงป็อบรวมไปถึงเสียงของธรรมชาติได้กลายเป็นแหล่งสำคัญของแรงบันดาลใจยามบรรลุวุฒิภาวะ  เมื่ออายุได้ 10 ขวบ เขาก็ออกแสดงต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกในฐานะเป็นนักเปียโนในเมืองจิห์ลาวา และเมื่ออายุได้ 15 ก็มีความเชี่ยวชาญในด้านดนตรีจนได้รับเข้าศึกษาที่โรงเรียนสอนดนตรีเวียนนา ภายหลังจากได้รับรางวัลการแต่งเพลงกับบรรเลงเปียโน และ จบการศึกษาจนได้ประกาศนียบัตร เขาก็หาเลี้ยงตัวเองโดยการสอนดนตรีชั่วครั้งชั่วคราว ขณะพยายามมีชื่อเสียงในฐานนักประพันธ์เพลง เมื่อเขาไม่สามารถคว้ารางวัลเบโธเฟนจากการประกวดการประพันธ์เพลงของโรงเรียนสอนดนตรีด้วยงานสำคัญชิ้นแรกของเขาคือคันตาตาที่ชื่อ Das klagende Lied (ประพันธ์เสร็จปี 1880 อันมีชื่อว่า บทเพลงแห่งเสียงบ่น)  เขาก็หันมาควบคุมวงดนตรีเพื่อชีวิตที่มั่นคงกว่าเดิมโดยเก็บการประพันธ์เพลงไว้สำหรับวันหยุดในช่วงฤดูร้อนอันยาวนาน

      อาชีพในฐานะวาทยกร

       ในอีก 17 ปีต่อมา เขาก็ได้ก้าวขึ้นถึงจุดสุดยอดของอาชีพตัวเอง จากการกำกับละครเพลงตลกที่ออสเตรีย เขาเข้ารับงานในโรงละครอุปรากรประจำท้องถิ่นหลายโรงรวมไปถึงในกรุงบูดาเปสต์และเมืองฮัมบรูก จนได้เป็นผู้กำกับการแสดงที่เวียนนาคอร์ตโอเปราในปี 1897 ด้วยอายุ 37 ปี ในฐานะเป็นวาทยกร เขาได้รับการยกย่องอย่างมาก แต่ในฐานะนักประพันธ์เพลง ในช่วงการสร้างสรรค์ช่วงแรก เขาก็พบกับความไม่เข้าใจของสาธารณชนซึ่งเป็นเช่นนี้ไปเกือบตลอดอาชีพการงานของเขา

      เพราะชีวิตการควบคุมวงของเขามุ่งเน้นไปที่รูปแบบดั้งเดิมที่โรงละครอุปรากร จึงน่าอัศจรรย์ใจในครั้งแรกว่าผลงานที่บรรลุวุฒิภาวะของเขาทั้งหมดนั้นมีลักษณะเป็นซิมโฟนี  (เพลงทั้ง 40 บทของเขาไม่ได้เป็นเชิงลีเดอร์ (Lieder หรือ เพลงที่มีเนื้อร้องเป็นบทกวี –ผู้แปล) แต่เป็นกระบวนแบบซิมโฟนีแอบแฝง ซึ่งบางเพลงนั้นที่จริงแล้วได้ให้พื้นฐานบางส่วนสำหรับซิมโฟนีหลายบท) แต่เป้าหมายอันโดดเด่นของมาห์เลอร์ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสำนักริชาร์ด แว็คเนอร์และพรานซ์ ลิซต์ นั้นมีลักษณะสำคัญคืออัตชีวประวัตินั่นคือการแสดงออกทางดนตรีของมุมมองส่วนตัวที่มีต่อโลก และสำหรับวัตถุประสงค์เช่นนี้ เพลงและซิมโฟนีนั้นดูเหมาะสมมากว่าสื่อทางอารมณ์ของอุปรากร ที่เป็นเพลงก็เพราะลักษณะการบรรยายอารมณ์ส่วนตัวที่ฝังอยู่ลึกซึ้ง และที่เป็นซิมโฟนี (จากมุมมองของแว็กเนอร์และลิซต์) ก็เพราะอำนาจในการอธิบายเชิงอัตวิสัย

       งานทางดนตรี : ช่วงต้นๆ

     แต่ละช่วงเวลาแห่งการสร้างสรรค์ทั้ง 3 ช่วงของมาห์เลอร์ได้นำไปสู่ซิมโฟนี 3 บท ซิมโฟนี 3 บทในช่วงเวลาแรกของเขานั้นถูกมองว่ามีพื้นฐานเป็นแบบโปรแกรม (เช่นอยู่บนเรื่องราวหรือความคิดที่ไม่เกี่ยวกับดนตรี)  ความคิดที่แท้จริง (ต่อมาถูกยกเลิกไป) เกี่ยวกับการสร้างพื้นฐานขั้นสูงสุดของการดำรงอยู่ของโลกที่ถูกควบคุมโดยความเจ็บปวด ความตาย ความสงสัยและความสิ้นหวัง เมื่อมาถึงตอนจบเขาได้เจริญรอยตามซิมโฟนีหมายเลข 6 ของเบโธเฟนในเอฟเมเจอร์ (ปาสทอรัล) และซิมโฟนีฟานตัสติกของเอ็กตอ เบริโอซ์ในการสร้างซิมโฟนีมากกว่าจะใช้เพียง 4 กระบวนตามจารีต เขายังได้รับอิทธิพลจากดนตรีของแว็คเนอร์ในการขยายช่วงเวลารวมไปถึงการขยายจำนวนของเครื่องดนตรี และยังหมกมุ่นในการแสดงเชิงอารมณ์อย่างไม่ยับยั้งช่างใจ เช่นเดียวกับซิมโฟนีหมายเลข 9 ในดีเมเจอร์ (คอรัล) ของเบโธเฟนในการสอดแทรกบทร้องโดยนักร้องเดี่ยวและวงประสานเสียง รวมไปถึงงานแนวแชมเบอร์บางชิ้นของฟรานซ์ ชูเบิร์ตในการนำดนตรีจากบทเพลงของตัวเอง (ชุดของบทกวีจากหนังสือคติชนของเยอรมันที่ชื่อ Des Knaben Wunderhorn [ฮอร์นวิเศษของเยาวชน] หรือบทกวีที่เขียนด้วยตัวเองในรูปแบบชาวบ้าน)

       กระบวนการเหล่านั้น พร้อมด้วยรูปแบบที่จริงจังและเป็นวาทศิลป์ ดนตรีออร์เคสตราที่ทรงพลังและการใช้ดนตรีแนวป็อบอันเป็นเชิงเสียดสี นำไปสู่ซิมโฟนี 3 บทแห่งความขัดแย้งอย่างสูงแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่ถูกรวมให้เป็นหนึ่งโดยบุคลิกภาพเชิงสร้างสรรค์อันไม่ผิดเพี้ยนของเขาและการคุมโครงสร้างของซิมโฟนีอย่างมั่นคง  แนวคิดของซิมโฟนีหมายเลข 1 ในดีเมเจอร์ ซึ่งมีลักษณะเป็นออร์เคสตราแบบบริสุทธิ์ (เขียนเสร็จในปี 1888 โดย 1 ใน 5 กระบวนของมันต่อมาถูกลบออกไป) มีลักษณะเป็นอัตชีวประวัติในวัยรุ่นของเขานั่นคือความปีติแห่งชีวิตได้ถูกปกคลุมโดยความหมกมุ่นต่อความตายใน “ขบวนแห่ศพในท่วงทีแบบคาลล็อต” (โดยพื้นฐานเป็นการล้อเลียนดนตรีชาวบ้าน) อันน่าสะพรึงกลัว ซึ่งในที่สุดก็ถอยร่นมาเป็นตอนจบที่ยากเย็นและชาญฉลาด  ซิมโฟนีหมายเลข 2 ซึ่งมี 5 กระบวน (เขียนเสร็จในปี 1894 อันมีชื่อที่รู้จักกันมาคือ “การฟื้นคืนชีพ”)  เริ่มต้นโดยการหมกมุ่นต่อความตาย (กระบวนแรกคือ “พิธีศพ”)  และยังไปถึงจุดสูงสุดในการประกาศต่อความเชื่อแบบชาวคริสต์ต่อชีวิตอันเป็นนิรันดร (ตอนจบขนาดใหญ่แสดงถึง วันพิพากษาโลกและสิ้นสุดด้วยชุดของบทกวี “การฟื้นคืนชีพ”ของนักเขียนเยอรมันในศตวรรษที่ 18 นามว่าฟรีดริก คลอปสต็อก ซึ่งต้องมีทั้งนักร้องและกลุ่มร้องประสานเสียง)  ซิมโฟนีหมายเลข 3 ในดีเมเจอร์ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า (เขียนเสร็จในปี 1896) ยังรวมถึงนักร้องและกลุ่มร้องประสานเสียง ซึ่งถูกบรรเลงเป็น 6 กระบวน ถึงภาพแบบ ไดโอนีเซียนของห่วงโซ่แห่งสรรพสิ่ง โดยเคลื่อนย้ายจากธรรมชาติไปยังสติสัมปชัญญะของมนุษย์และความรักที่มาไถ่บาปมนุษย์ของพระเจ้า

 

                               

                      

                             ภาพจาก www.everyhistory.org

 

            อิทธิพลทางศาสนาในงานเหล่านั้นก็สำคัญอย่างยิ่ง ปูมหลังช่วงต้นๆ อันน่ารำคาญใจของมาห์เลอร์ ผสมกับการขาดความศรัทธาในศาสนายิวที่สืบต่อกันมา (บิดาของเขาเป็นนักคิดอิสระ) อันนำไปสู่ความทุกข์ใจเกี่ยวกับอภิปรัชญาซึ่งเขาสามารถแก้ไขได้ชั่วคราวโดยการระบุตัวตนว่าเป็นชาวคริสต์  ที่ว่านี่เป็นแรงบันดาลใจอย่างแท้จริง ย่อมไมใช่เรื่องน่าสงสัย ถึงแม้ว่าจะมีเรื่องของประโยชน์ในการเปลี่ยนศาสนา ช่วงต้นๆ ปี 1897 เพราะมันจะเป็นการง่ายกว่าสำหรับเขาที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการของโรงละครเวียนนาโอเปรา อันเป็นเวลา 10 ปีซึ่งเป็นช่วงกลางๆ ที่สมดุลกว่าเดิมของเขา  ศาสนาใหม่ของเขาและตำแหน่งระดับสูงของเขาได้นำมาสู่การบรรลุวุฒิภาวะอย่างเต็มที่และเปี่ยมด้วยความเชื่อมั่น ซึ่งยังได้รับการเสริมโดยการแต่งงานของเขาในปี 1902 กับอัลมา มาเรีย ชินด์เลอร์ ผู้ซึ่งคลอดลูกสาวให้แก่เขา 2 คนในปี 1902 และ ปี 1904

 

บล็อกของ อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เขียนงานเขียนในรูปแบบต่างๆ  คือนวนิยาย เรื่องสั้นหรือแม้แต่บทละครมานานก็เลยอยากจะชี้แจ้งให้ท่านผู้อ่านเข้าใจว่าเนื่องจากเป็นงานเขียนแบบงานดิเรกหรือแบบนักเขียนสมัครเล่นอย่างผม จึงต้องขออภัยที่มีจุดผิดพลาดอยู่ เพราะไม่มีคนมาตรวจให้ ถึงผมเองจะพยายามตรวจแล้วตรวจอีกก็ยังมีคำผิดและหลักไวยากรณ์อยู่
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The Spook Radio (part 2)ภาค 2 ของดีเจอ้นซึ่งเป็นดีเจรายการที่เปิดให้ทางบ้านมาเล่าเรื่องสยองขวัญหรือเรื่องเหนือธรรมชาติ ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก The Shock และ The Ghost  (Facebook คนเขียนคือ Atthasit Muang-in)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
(เรื่องสั้นสยองขวัญภาษาอังกฤษเรื่องนี้ลอกมาจากเรื่องสั้นของราชาเรื่องสยองขวัญของเมืองไทย ครูเหม เวชากร ตัวเอกคือนายทองคำ เด็กกำพร้าอายุ 12 ขวบที่อาศัยอยู่กับยายและญาติในชนบทของไทยในช่วงเวลาประมาณ พ.ศ.2476)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
The lingering sunlight from the dawn kissed my eyelids and I could hear faintly the flock of big birds, whose breed was unbeknownst to me, chirping merrily outside window ,as if to greet the exuberant face of a new day.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเกี่ยวกับนักเขียนวัยกลางคนที่มีความหลังอันดำมืดและความสัมพันธ์กับดาราสาวผู้มีพลังจิต 
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของรปภ.หนุ่มผู้ค้นหาภูติผีปีศาจในตึกที่ลือกันว่าเฮี้ยนที่สุด  เรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากรายการ The Ghost Radio(the altered version)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
เรื่องของผู้ชาย 3 คนที่ขับรถบรรทุกแล้วต้องเผชิญกับผีดูดเลือด 3 Friends and The Ghosts                                                (1)
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
This short novel is about a guy who works as a DJ for the radio program 'The Spook Radio', famous for its allowing audience to share their thrilling experiences or tales about the superstitious stuffs, especially the ghosts, via telephones.
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
นวนิยายภาษาอังกฤษเรื่องนี้เกี่ยวกับคนไทยที่ใช้ชีวิตในเยอรมันช่วงพรรคนาซีเรืองอำนาจ  เขียนยังไม่จบและยังไม่มีการ proofreading แต่ประการใด                     Chapter 1  
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
บทความนี้มาจาก facebook  Atthasit Muangin สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มหาศาสดาผู้ลี้ภัยอยู่ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส ในฐานะเป็นเอตทัคคะหรือผู้เป็นเลิศในเรื่องเจ้า (The royal affairs expert)  พบกับการวิพากษ์วิจารณ์และโจมตีอย่างมากมายจากบรรดาแฟนคลับหรือคนที่แวะเข้ามาในเ
อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์
 (มีบทความอื่นอีกมากมายในเฟซบุ๊คของผมคือ Atthasit Muang-in) 1.สลิ่มไม่ชอบอเมริกาและตะวันตกซึ่งคว่ำบาตรและมักท้วงติงไทยหลังรัฐประหารปี 2557  ในเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน โดยพวกสลิ่มเห็นว่าทั้งสองฝ่ายเป็นพวกหน้าไหว้หลังหลอกเช่นเคยบุกประเทศอื่น